ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 115/2567) รมว.อว. “ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ “ดูแลสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะพลาสติก“ ร่วมมือภาครัฐ เอกชน ชวนผู้ป่วยเบาหวาน ‘เช็ก ถอด ทิ้ง’ คืนชีวิตใหม่ให้ปากกาอินซูลิน

F506 4 F506 1

F506 2 F506 3

 

          วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในปัจจุบัน ตนได้เน้นย้ำ ให้ทุกหน่วยงานในกระทรวง อว. ตระหนักและดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับโครงการ “ดูแลสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะพลาสติก“ ตนได้มอบหมายกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นหน่วยงานหลักเพื่อประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวง อว. รวมถึงภาคเอกชน และภาคประชาชน และให้นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นผู้แทน รมว. อว. ร่วมเปิดตัว “โครงการ Sanofi Planet Care Upcycling Program คืนชีวิตใหม่ให้ปากกาอินซูลิน โดยมีผู้แทนจากบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมสุขภาพระดับโลก ผู้นำด้านธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร พร้อมด้วยโรงพยาบาล ตลอดจนพันธมิตรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันเปิดตัวโครงการฯ ดังกล่าว
          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้แทน รมว.อว. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า ท่านรัฐมนตรีศุภมาส มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในกระทรวง อว. มีแผนงานและหน่วยงานร่วมกันแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
          สำหรับ “โครงการ Sanofi Planet Care Upcycling Program คืนชีวิตใหม่ให้ปากกาอินซูลิน เป็นหนึ่งตัวอย่างของโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากพลังความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ปัจจุบันคนไทยเป็นเบาหวานจำนวนมากกว่า 5 ล้านคน โดยผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะใช้ยาฉีดอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อใช้เสร็จแล้วอาจทิ้งไม่ถูกวิธีจนกลายเป็นขยะที่ต้องกำจัดให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ดังนั้นการรณรงค์ “เช็ก ถอด ทิ้ง” โดยตั้งกล่องรับคืนปากกาอินซูลินใช้แล้วในโรงพยาบาลเป็นตัวอย่างการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและน่าชื่นชมอย่างยิ่ง การผนึกกำลังของทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันลดปัญหาการจัดการขยะและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม นับเป็นทางออกที่ดีในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
           นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ.อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการฯ ดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บปากกาอินซูลินใช้แล้วนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ รณรงค์ให้ผู้ป่วยเบาหวานส่งคืนปากกาอินซูลินใช้แล้ว โดยเริ่มนำร่องใน 6 โรงพยาบาลชั้นนำ ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยร่วมมือกับบริษัทเอกชนชั้นนำ ได้แก่ บริษัทซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ ตลอดจนบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืนและผู้เชี่ยวชาญด้าน Green Polymer บริษัทเซอร์พลาส เทค จำกัด (Cirplas) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร สำหรับปากกาอินซูลินใช้แล้วเป็นหนึ่งในขยะทางการแพทย์ที่นับเป็นขยะอันตรายที่มีปริมาณมหาศาลและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งมีเพียง 13% เท่านั้นที่ได้รับการจัดเก็บและกำจัดอย่างถูกวิธี ที่เหลือเกือบ 90% เป็นขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดเป็นมลพิษที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนลงในดิน ในแหล่งน้ำ กระทบกับคุณภาพน้ำใช้อุปโภคบริโภค สุขภาพสัตว์น้ำ และย้อนกลับมาที่สุขภาพของเราเอง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนให้เกิดความตระหนักรู้เรื่องการแยกขยะแก่ประชาชน รณรงค์ให้กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะอันตรายอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การนำมารีไซเคิลเปลี่ยนพลาสติกจากปากกาอินซูลินใช้แล้วเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยี Advanced Recycling เป็นการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม โครงการฯ ช่วยส่งเสริมการทิ้งขยะอันตรายในประเทศให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถลดปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโรคในชุมชนได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแผนแม่บท “การจัดการขยะมูลฝอย” ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างสุขอนามัยของประชาชนให้ปลอดภัย“โครงการ Sanofi Planet Care Upcycling Program คืนชีวิตใหม่ให้ปากกาอินซูลิน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่นวัตกรรมสุขภาพดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อม แสดงถึงพลังความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน”

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 114/2567) รมว." ศุภมาส" นำวิทยาศาสตร์สู่การพัฒนาระดับพื้นที่ เดินหน้าจัดตั้ง “ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม ม.เชียงใหม่ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์” เตรียมขยายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

F505 2 F505 1

F505 3 F505 4

 

           วันที่ 9 พฤษภาคม 2567. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ตนมีนโยบายในการพัฒนาด้านการอุดมศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตประชาชนลงสู่พื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดคุณภาพมาตรฐานที่ทัดเทียมทุกพื้นที่ ตนได้ให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จัดตั้ง “ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว.ในระดับภูมิภาค” ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว. จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในส่วนกลางของกระทรวง อว. รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในระดับพื้นที่ โดยอาศัยกลไกความเชื่อมโยงการให้บริการระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวง อว. ที่เป็นองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายและมหาวิทยาลัยที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว นอกจากนี้ภายใต้ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว. ได้มีการจัดตั้ง "หน่วยปฏิบัติการผู้พันวิทย์" ระดับพื้นที่เพื่อเฝ้าระวัง เตือนภัย ให้ความรู้ รับรู้ถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน นำมาตรวจสอบสาเหตุด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แนะนำแนวทางแก้ปัญหาให้เกิดการตอบสนองอย่างทันท่วงที โดยมีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินงานศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว. ถือเป็นการประสานให้เกิดพลังร่วมสู่การดูแลประชาชนโดยตรง
          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ดำเนินงานเพื่อจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้หารือกับ ศ.ดร. พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในความร่วมมือพัฒนาการให้บริการและจัดตั้ง “ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” โดยการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น การพัฒนาห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อทดสอบคุณภาพสินค้า ส่งเสริมห้องปฏิบัติการที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ได้ขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ในสาขาวัสดุก่อสร้าง คุณภาพน้ำอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์อาหาร การวิเคราะห์สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs-Volatile organic compounds) ใน Green Material การทดสอบพลาสติกรีไซเคิล (rPET- recycled polyethylene terephthalate) นอกจากนี้จะมีความร่วมมือการวิจัยพัฒนาด้านกระบวนการนำคอนกรีตทิ้งแล้วมาใช้ใหม่ (Recycled Concrete) การพัฒนาวัสดุชีวภาพประเภท Bioglass ผลิตภัณฑ์ป้องกัน PM2.5 เช่น มุ้งนาโนกันฝุ่น รวมถึงการวิจัยพัฒนาวัสดุที่ใช้ในการบูรณะโบราณสถาน เช่น แก้ว เซรามิค รวมถึงการดำเนินงาน "หน่วยปฏิบัติการผู้พันวิทย์" พื้นที่ภาคเหนือตอนบน
           นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการได้สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากรองศาสตราจารย์มาลิณี. จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง และในระดับชุมชน ให้เกิดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการให้บริการประชาชนอย่างทันท่วงที หรือหน่วยปฏิบัติการ “ผู้พันวิทย์” เพื่อเฝ้าระวัง เตือนภัย และให้ความรู้ประชาชน รวมถึงการลงปฏิบัติการในระดับพื้นที่ และได้ร่วมพัฒนาห้องปฏิบัติการที่สำคัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ให้ได้มาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เช่น ด้านวัสดุก่อสร้างและคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุ การตรวจวิเคราะห์ น้ำอุปโภค บริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ตลอดจนหารือความร่วมมือวิจัยพัฒนาด้านกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากสีย้อมของอุตสาหกรรมผ้าทอ และเรื่อง PM 2.5 ตาม พรบ.อากาศสะอาด
            การจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและอีสานตอนล่าง จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่ ด้วยการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานสากล การเพิ่มมูลค่าสินค้า การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาเพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะให้นักศึกษาในการทำงานจริงหลังสำเร็จการศึกษา โดยกระทรวง อว. จะขยายการดำเนินงาน “ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว.” ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและนอกกระทรวง อว. ถือ เป็นการผนึกพลังเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชนอย่างยั่งยืน ด้วยภารกิจด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 113/2567) รมว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. เสริมแกร่ง “อุตสาหกรรมเรือธง” ยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน เพิ่มมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท

F504 4 F504 1

F504 2 F504 3

 

            นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. มีนโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดสู่อนาคต ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ก่อสร้าง อาหาร เคมีภัณฑ์ เกษตร เหมืองแร่ พลังงาน การแพทย์ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงมอบหมายให้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียกระดับ การผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก

            นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า วศ.อว. เริ่มให้บริการสอบเทียบเพื่อควบคุมมาตรฐานและการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงระดับชาติ รวมถึงการสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการ เพื่อมีส่วนสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน ISO 3310-1 และ ASTM E11 ให้กับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ครอบคลุมในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ก่อสร้าง อาหาร เคมีภัณฑ์ เกษตร เหมืองแร่ พลังงาน และการแพทย์ สำหรับใช้ควบคุมคุณภาพในด้านความละเอียดของวัตถุดิบในกระบวนการผลิต ซึ่งวัตถุดิบที่เข้าสู่กระบวนการผลิตต้องมีขนาดตามมาตรฐานข้อกำหนดของแต่ละอุตสาหกรรม ผ่านขั้นตอนควบคุมให้ได้รับการสอบเทียบแล้ว ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา วศ.อว ให้บริการสอบเทียบหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 411 แห่ง ส่งเสริมให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ สามารถแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้ โดยคาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและส่งออกของไทยปี 2567 กว่า 1 หมื่นล้านบาท

           นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวเพิ่มเติมว่า วศ.อว. ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายท่านรัฐมนตรี อว. โดยพัฒนาวิธีสอบเทียบ เพื่อควบคุมมาตรฐาน พัฒนายกระดับการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงระดับชาติ และเครือข่ายห้องปฏิบัติการทั่วประเทศ พัฒนาระบบเพื่อลดเวลา และเพิ่มความแม่นยำในการสอบเทียบ และตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการรองรับการสอบเทียบจำนวนมากจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการ วศ.อว. ห้องปฏิบัติการเครือข่ายให้ก้าวสู่ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพยกระดับอุตสาหกรรม

           ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการได้สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ และเอกชน รวมถึงรองรับความร่วมมือกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เพื่อร่วมกันเป็นหน่วยตรวจสอบ ควบคุมมาตรฐานสินค้าและอุตสาหกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. มุ่งมั่นพัฒนาภารกิจ เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 112/2567) วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อมรายการ Oil and Grease in water (pilot study)

F503 1 F503 3

F503 4 F503 2

 

            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (บท.)ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing: PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 193 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการต่างประเทศ จำนวน 2 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบในรายการ Oil and Grease in water (pilot study) น้ำมัน (Oil) และไขมัน (Grease) คือ สารอินทรีย์จำพวกไขมันที่ส่วนมากละลายในตัวทำละลายอินทรีย์แต่จะไม่ละลายน้ำ โดยทั้งคู่มีไตรกลีเซอไรด์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน น้ำมันและไขมันนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบ โดยที่อุณหภูมิห้องน้ำมันมีสถานะเป็นของเหลว แต่ไขมันมีสถานะเป็นของแข็ง
           นอกจากนี้น้ำมันและไขมันมีความสามารถในการละลายที่ต่ำ ส่งผลให้อัตราการย่อยสลายโดยธรรมชาติของจุลินทรีย์เกิดได้ช้ามาก น้ำมันที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด ของเสียในครัวเรือน หากมีการบำบัดอย่างไม่เหมาะสม อาทิ ไม่มีบ่อดักไขมัน หรือระบบบำบัดที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของไขมันและน้ำมันในแหล่งน้ำที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย หลายหน่วยงานในประเทศไทยได้กำหนดค่ามาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้ง จากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนกำหนดปริมาณน้ำมันและไขมัน ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร เนื่องจากการปนเปื้อนของน้ำมันและไขมันเกินกว่าปริมาณที่กำหนดอาจเกิดการสะสมในแหล่งน้ำ และสร้างผลกระทบโดยตรงต่อการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ กีดขวางการถ่ายเทออกซิเจนของแหล่งน้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำเน่าเสีย
            กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตระหนักถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จึงได้ส่งเสริมห้องปฏิบัติการ ด้านการทดสอบคุณภาพน้ำ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Oil and Grease in water (pilot study) เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำของประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
           ทั้งนี้ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ
- ทำให้ห้องปฏิบัติการมั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง
- เพื่อยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการ และยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
- ชี้บ่งปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้น
- เป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ
- ใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 111/2567) รมว. “ศุภมาส” นำวิทยาศาสตร์สู่การพัฒนาอุตสาหกรรม “น้ำมันรำข้าว” ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เปิดห้องปฏิบัติการอ้างอิง กรมวิทย์บริการ ช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออก 1 หมื่นล้านบาท

F502 3 F502 4

F502 1 F502 2

 

            นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ประเทศไทยมี “ข้าว” เป็นสินค้าหลักมีการเพาะปลูกปริมาณมาก ผลพลอยได้จากการขัดสีข้าวทำให้ได้ “รำข้าว” ปัจจุบันมีภาคเอกชนนำรำข้าวมาสกัดน้ำมันปีละกว่า 800,000 ตัน มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำมันรำข้าว สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยรูปแบบ BCG Economy Model ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ตนได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) นำกลไกวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มาขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันรำข้าวตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า ตั้งแต่รากฐานการผลิตวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูปจนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายสู่เชิงพาณิชย์ ด้วยการตรวจสอบรับรองคุณภาพ ตลอดจนการจัดทำข้อกำหนดคุณลักษณะผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (Specification) ที่สามารถบ่งชี้ถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์ และได้เปิดห้องปฏิบัติการอ้างอิงทดสอบคุณภาพอาหารและน้ำมันรำข้าว และห้องปฏิบัติการเครือข่าย
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของท่านรัฐมนตรี อว. ที่ให้มีการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าน้ำมันรำข้าวด้วยการใช้กลไกวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งขณะนี้ วศ.อว. ได้เปิดห้องปฏิบัติการอ้างอิงทดสอบคุณภาพอาหารและน้ำมันรำข้าวด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ทันสมัย นักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพและมีการบูรณาการร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดย วศ.อว. มีการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ทดสอบหาชนิดและปริมาณสารสำคัญในน้ำมันรำข้าว ให้บริการทดสอบคุณภาพน้ำมันรำข้าวตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นอกจากนี้ วศ. ยังเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐาน (Standards Developing Organization หรือ SDO) ของประเทศไทย ในการจัดทำมาตรฐาน (Standards) หรือข้อกำหนดคุณลักษณะ (Specifications) ตามหลักการในการจัดทำมาตรฐานสากล เร่งส่งเสริมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการวิจัยพัฒนานวัตกรรมจากน้ำมันรำข้าวหรือนวัตกรรมกระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าว เช่น นวัตกรรมอาหาร นวัตกรรมเครื่องสำอาง นวัตกรรมเครื่องมือในการสกัดน้ำมันรำข้าว เป็นต้น สามารถมาปรึกษาหารือ วศ. ในการวิจัยพัฒนาการทดสอบคุณภาพสินค้านวัตกรรม การกำหนดคุณลักษณะสินค้านวัตกรรม ตลอดจนการผลักดันสินค้าให้สามารถขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยได้
            นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าน้ำมันรำข้าว ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำที่มีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกันเสมือนห่วงโซ่ เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก” ทำให้ได้น้ำมันรำข้าว นวัตกรรมจากน้ำมันรำข้าวที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนนวัตกรรมกระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าว สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ขยายตลาดทั้งภายในประเทศและสู่ตลาดโลก เสริมสร้างเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตประชาชนให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 110/2567) ทุเรียน "ราชาแห่งผลไม้" บริโภคอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ
  2. (ข่าวที่ 109/2567) วศ.อว. เข้าร่วมงานครบรอบ 5 ปี วันสถาปนากระทรวง อว.
  3. (ข่าวที่ 108/2567) ด่วน..รมว. “ศุภมาส” เป็นห่วงประชาชนบริเวณเหตุไฟไหม้โกดังกากเคมี ส่ง “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่ร่วมตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำ
  4. (ข่าวที่ 107/2567) วศ.อว. จัดอบรมข้าราชการ พนักงานใหม่ ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม เสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร
  5. (ข่าวที่ 106/2567) วศ.อว. เข้าร่วมงานและรับโล่ประกาศเกียรติคุณเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 2567
  6. (ข่าวที่ 105/2567) วศ.อว. สร้างจิตสำนึกบุคลากร พัฒนาห้องสมุด (Green Library) และสำนักงานสีเขียว (Green Office) ร่วมกันอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  7. (ข่าวที่ 104/2567) ศ.อว. เดินหน้าเสริมความเข้มแข็งหน่วยรับรองระบบงานประเทศไทยเพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการไทยสู่มาตรฐานสากล
  8. (ข่าวที่ 103/2567) วศ.อว. ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ม
  9. (ข่าวที่ 102/2567) วศ.อว. เสริมความรู้บุคลากรด้าน AI หนุนประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  10. (ข่าวที่ 101/2567) ยกระดับนักเคมีไทย!! วศ.อว. ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกสามัญระดับ National Adhering Organization (NAO) ของสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ IUPAC ของประเทศไทย