ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่57/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเกลือทะเล เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสินค้าของเกษตรกร

 

57 2568

       กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้กับพืชกระท่อม ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและตรวจวิเคราะห์สารไมทราไจนีนในใบกระท่อมมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สารสกัดใบกระท่อมชนิดผง และผงใบกระท่อม อีกทั้งจัดกิจกรรมการเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการ เรื่องการวิเคราะห์ปริมาณสารไมทราไจนีนในตัวอย่างใบกระท่อม และสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาพืชกระท่อมกับ มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและเกษตรกรผู้ปลูกพืชกระท่อมในพื้นที่เป้าหมาย
      เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ (ศวว.) สถาบันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชุมชน(สทช.) โดย นางสุบงกช ทรัพย์แตง ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ร่วมด้วยคณะนักวิทยาศาสตร์ เดินทางเข้าร่วมหารือกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสร้างความร่วมมือและต่อยอดการวิจัยและพัฒนาพืชกระท่อม และในวันที่ 26 – 27 กุมภาพันธ์ 2568 ได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บตัวอย่างใบกระท่อมของเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช และตรัง เพื่อนำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนาในห้องปฏิบัติการ พร้อมให้คำปรึกษาเชิงลึกในเรื่องของปริมาณสารไมทราไจนีนในใบกระท่อม และความสำคัญของค่าปริมาณสารสำคัญในใบกระท่อมตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ตลอดจนการขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice; GAP) เพื่อให้สามารถนำไปจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรม ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นด้านคุณภาพของใบกระท่อมต่อเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพืชกระท่อม สร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรผู้ปลูก สามารถขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดของพืชกระท่อมได้อย่างยั่งยืน

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่56/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ เปิดบ้านโชว์ศักยภาพศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAVs) ต่อยอดความร่วมมือกับ สถาบันยานยนต์

 

56 2568

     เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร. ปาษาณ กุลวานิช ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมหุ่นยนต์และยานยนต์อัตโนมัติ ให้การต้อนรับ นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ และคณะ เนื่องในโอกาสเข้าเยี่ยมชม ศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (TCAVs) และสนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ รวมทั้งได้แสดงการทดสอบระบบเบรกอัตโนมัติ automated emergency braking (AEB) โดยใช้ระบบหุ่นยนต์เป้าทดสอบ การทดลองนั่งรถอัตโนมัติระดับ 3 และการแสดงระบบ LiDARs tracking สำหรับงานทางด้านการจราจรอัจฉริยะ intelligent traffic system (ITS) พร้อมกันนี้ได้มีการหารือถึงประเด็นความร่วมมือในการพัฒนาวิธีทดสอบระบบ Advanced Driver Assistance System: ADAS และการทดสอบยานยนต์แบบ Connected and Automated Vehicle (CAV) ระหว่าง ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) และ ศูนย์ TCAVs ณ วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง
    ศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ มีภารกิจให้บริการการทดสอบเพื่อผลในการวิจัยพัฒนาระบบยานยนต์สมัยใหม่เน้นการทดสอบระบบขับขี่แบบอัตโนมัติ (Autonomous Driving) ระบบ Advanced Driver Assistance System: ADAS และระบบเชื่อมต่อสื่อสารแบบ CV2X ผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม สามารถให้บริการทดสอบสมรรถนะ และความปลอดภัยของระบบช่วยขับขี่ของยานยนต์สมัยใหม่ รถอัตโนมัติ และหุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับใช้ในที่แจ้ง ตามข้อกำหนดและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่55/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ส่งเสริมความสามารถห้องปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการวิเคราะห์หาค่าปริมาณการดูดซับไอโอดีนและเมทิลีนบลูของถ่านกัมมันต์

55 2568


        วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสถาบันพัฒนาเครือข่ายวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การวิเคราะห์หาค่าปริมาณการดูดซับไอโอดีนและเมทิลีนบลูของถ่านกัมมันต์" ให้แก่บุคลากร ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม เตรียมความพร้อมเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว. มหาวิทยาลัยศิลปากร และเปิดบริการทดสอบใหม่ในการทดสอบตัวอย่างถ่านตามความต้องการที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการ
       ในการนี้ กรมวิทย์ฯ บริการ โดยนายเมธี ครองพงษ์ ศูนย์พัฒนาเครื่องมือชุมชน สถาบันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชุมชน วิทยากรในการอบรม ยังให้ความรู้การจัดทำเอกสารประกอบการขอการรับรองตามมาตรฐานการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (DSS Recognized Lab) การดำเนินการในครั้งนี้เพื่อการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายในกระทรวง อว. และการบูรณาการองค์ความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่54/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์ เชิงพื้นที่แบบทั่วถึงและยั่งยืน

54 2568

     เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ”การพัฒนาระดับพื้นที่สู่สังคมและคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน" ในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "ยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึงเพื่อความเป็นเลิศในระดับพื้นที่" (AREAS STRATEGIC DEVELOPMENT OF INCLUSIVE CLUSTERSEXCELLENCE) โดยมีคณะผู้บริหารและนักวิชาการกรมวิทย์ฯ บริการ ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สมาชิกชมรมนักยุทธศาสตร์ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และธนาคารโลก (world bank) ประเทศไทย เข้าร่วม ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ (รางน้ำ)
     นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ตามนโยบายของนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. มุ่งเน้นในด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ตรงความต้องการ โดยเน้นประเด็นสำคัญของประเทศ ได้แก่ Go Green, พอเพียง, ความยั่งยืน (Sustainabilty), ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality), พลังงานสะอาด, เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ (Regional Economic Development) ต้องอาศัยแนวทางที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุม ตอบสนองต่อความท้าทายด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึง (Inclusive Clusters) เชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์ระหว่างภาคธุรกิจ ท้องถิ่น และ ภาคประชาสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่ การพัฒนาคลัสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการ คาดการณ์แนวโน้มอนาคต (Foresight Analysis) และ การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ (Area-based Analysis) เพื่อกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ กรมวิทย์ฯ บริการ จึงได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "ยุทธศาสตร์การพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึงเพื่อความเป็นเลิศในระดับพื้นที่" ดังกล่าว โดยร่วมกัยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
     นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะในการ วิเคราะห์แนวโน้มเชิงยุทธศาสตร์ ที่มีผลต่อการพัฒนาคลัสเตอร์ในระดับพื้นที่ โดยบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชนมีความรู้และทักษะด้านการพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึง สามารถวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต ประเมินปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์ และออกแบบแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ บูรณาการองค์ความรู้ด้านอนาคตศึกษา ในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ให้ครอบคลุม และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นที่
การสัมมนาฯ ครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันแนวทาง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่” ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของแต่ละพื้นที่ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับประเทศและระดับสากล โดยเน้น การพัฒนาคลัสเตอร์แบบทั่วถึง ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่53/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ผนึก 7 หน่วยงานขับเคลื่อน “Phuket Robotic for Sustainability Sandbox”

 

53 2568
     เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยนางพจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมงานสัมมนา “Andaman Sustainable Tourism Forum 2025” และร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ “Phuket Robotics for Sustainability Sandbox” ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอันดามัน ขับเคลื่อนให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสนับสนุนผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงสามารถกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือต้องการสร้างการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงพัฒนาบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม เพื่อรักษาเสน่ห์และความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในระยะยาว เพื่อให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก พร้อมทั้งตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งบันทึกความร่วมมือดังกล่าวทำขึ้นระหว่าง 7 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมควบคุมมลพิษ กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน
      สถาบันนวัตกรรมหุ่นยนต์และยานยนต์อัตโนมัติ (สนอ.) กรมวิทย์ฯ บริการ เสนอโครงการที่สามารถนำไปพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตโดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนี้
1. การออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้และทดลองใช้งานจริงในพื้นที่ที่กำหนดมุ่งเน้นระบบหุ่นยนต์แบบ Service Robot ที่สามารถปฏิบัติการได้ในพื้นที่แจ้ง เพื่อใช้ในการทำงานด้านการรักษาความสะอาด รวมทั้งการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติสำหรับการขนส่งสีเขียว
2. การใช้เทคโนโลยีการทำแผนที่ดิจิทัลสำหรับยานยนต์อัตโนมัติ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 5G มาผสมผสานกับระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อช่วยแก้ปัญหาการจราจร
3. การใช้หุ่นยนต์เรือ ในการเก็บตัวอย่างเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
4. การจัดทำศูนย์ข้อมูลด้านอัตลักษณ์ ของสีเพื่อใช้ประโยชน์ในการบูรณะสถาปัตยกรรม ดั้งเดิมในพื้นที่ให้คงเอกลักษณ์ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เฉพาะของจังหวัดภูเก็ตเช่น ผ้าที่มีเฉดสีต่างๆ สีของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นต้น
     ด้วยความมุ่งมั่นของกรมวิทย์ฯ บริการ ที่ต้องการ “นำวิทยาศาสตร์มาสู่การดูแลประชาชน” เป็นการปรับเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อให้เกิดผลกระทบที่จริงจังและยั่งยืนต่อประชาชน รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่แบบบูรณาการ และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศูนย์สื่อสารยุทธศาสตร์ สำนักงานเลขานุการกรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่52/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ สร้างความเชื่อมั่นผลการทดสอบยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการภาครัฐ และเอกชน 28 หน่วยงาน
  2. (ข่าวที่51/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพภายใน ISO 9001:2015 มุ่งสู่การรักษามาตรฐานระดับสากล
  3. (ข่าวที่50/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมทักษะ Trainer พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  4. (ข่าวที่49/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมองค์ความรู้การจัดทำเอกสารกระบวนการทดสอบสารที่ติดไฟได้เอง สนับสนุนการยื่นขอรับรองตามมาตรฐานสากล
  5. (ข่าวที่48/2568)กรมวิทย์ฯ ลงพื้นที่ลำปาง หนุนผู้ผลิตภาชนะเซรามิก ยกระดับมาตรฐาน สู้ศึกนำเข้า
  6. (ข่าวที่47/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ลงพื้นที่หนุนผู้ผลิตภาชนะกาบหมาก มุ่งยกระดับมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค
  7. (ข่าวที่46/2568)ศูนย์ห้องปฏิบัติการอ้างอิงการสอบเทียบ สถาบันห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติ กรมวิทย์ฯ บริการ ยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบ มุ่งสู่การเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงการสอบเทียบของประเทศ
  8. (ข่าวที่45/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมผลักดันยางแท่ง STR ไทยสู่ตลาดโลก พร้อมนำเทคโนโลยีเครื่องกรองน้ำสะอาดปลอดภัย เสนอ รมว.ศุภมาส ในโอกาสติดตามการดำเนินงานของกระทรวง อว. ภายใต้การประชุม ครม. สัญจรกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
  9. (ข่าวที่44/2568)กรมวิทย์ฯ บริการ มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสู่มาตรฐานสากลอย่างยั่งยืน
  10. (ข่าวที่43/2568)กรมวิทย์ฯบริการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยกระดับฟาร์มไข่ผำอินทรีย์สู่มาตรฐาน GAP และ PGS นำร่อง 4 จังหวัดภาคอีสาน