ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 157/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการรองรับอุตสาหกรรมใหม่ทางด้านแบตเตอรี่ระดับเซลล์ ยานยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์อัตโนมัติ

449161211 878636780

87863

 

          เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ นางเยาวลักษณ์ ชินชูศักดิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ และคณะเดินทางจำนวนกว่า 18 คน ได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษากิจการของกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ณ โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน บริษัท อมิตา เทคโนโลยี่ ประเทศไทย ณ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้า (บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด) ณ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการรองรับอุตสาหกรรมใหม่ทางด้านแบตเตอรี่ระดับเซลล์ ยานยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์อัตโนมัติ ปัจจุบันความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนในระบบขนส่ง ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและเพิ่มการใช้ไฟฟ้าสะอาดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ในอนาคตคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกจะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 7% เช่นเดียวกับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้มีการขยายตัวของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้น ในระดับภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก เช่น แบตเตอรี่ อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการรองรับเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มรายได้ของประเทศ ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมดังกล่าวฯ
          ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ ได้ทราบถึงข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ การวิเคราะห์ทดสอบและรับรองคุณภาพวัตถุดิบตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตขั้วแคโทด ขั้วแอโนด และสารอิเล็กโทรไลต์ด้วยเทคนิคขั้นสูงทางด้านเคมีและวัสดุศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาแนวทางบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วแบบครบวงจรอีกด้วย

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 156/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ขานรับนโยบาย "อว. for AI" ติดอาวุธคนไทยใช้ AI พัฒนาประเทศ เดินหน้าระบบ AI พัฒนาขีดความสามารถห้องปฏิบัติการฯ และบุคลากร

449252968 877959134359741 7659002879582063247 n

449256421 877961584359496 8510880744143542315 n

 

           วันที่ 24 มิถุนายน 2567 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการอภิปราย เรื่อง “อนาคตปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับห้องปฏิบัติการ” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย เกี่ยวกับการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในห้องปฏิบัติการในอนาคต ตลอดจนกระตุ้นการนำ AI มาใช้ในการวิจัยและพัฒนาในห้องปฏิบัติการ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และภาคอุตสาหกรรม โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ปรัชญา บุญขวัญ ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (สวทช.) ,ผศ.ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ , นายกันต์ดนัย ลีนุตพงษ์ AI Engineering-Client Engineering พร้อมคณะ จากบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ,นายอัครพล บุญวรเศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อัฟวาแลนท์ จำกัด ,นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) มาเป็นวิทยากรและร่วมอภิปราย โดยมีผู้บริหาร นักวิจัยนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมอภิปรายกว่า 40 คน ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 155/2567) “ศุภมาส” ประกาศยกระดับขีดความสามารถห้องปฏิบัติการไทย ด้วยเกณฑ์การยอมรับความสามารถที่รับรองโดย “กรมวิทย์ฯ บริการ” เตรียมพร้อมสู่การเป็นห้องแล็บมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เปิดประตูเศรษฐกิจไทยสู่อนาคต ลดการพึ่งพาแล็บจากต่างประเทศ

448792525 874325481389773 6286488641734219446 n

448869583 874325488056439 3172047823987656865 n

 

           นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า การทดสอบห้องปฏิบัติการเป็นกระบวนการที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่การประเมินคุณภาพของวัตถุดิบหรือสารประกอบที่ใช้ในการผลิต การตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การรักษาคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และการต่อยอดกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยเป็นที่ยอมรับระดับสากลว่าห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถจะต้องได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 แต่เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังมีห้องปฏิบัติการจำนวนมากที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ส่งผลให้การทดสอบผลิตภัณฑ์หลายชนิดต้องส่งไปตรวจกับห้องปฏิบัติการในต่างประเทศที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025
          กระทรวง อว. ในฐานะที่กำกับดูแลงานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ จึงมีแนวคิดในการจัดทำเกณฑ์การยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และมอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นหน่วยงานหลักในการให้การรับรองและยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศ เช่น สมอ. อย. มกอช. กวก. เป็นต้น ในการเลือกใช้ห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถในระดับประเทศที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการขอการรับรองมาตรฐานฯ และเป็นบันไดให้กับห้องปฏิบัติการดังกล่าว ในการพัฒนาและยกระดับไปสู่การรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยตั้งเป้าหมายให้ส่งเสริมและยกระดับความสามารถห้องปฏิบัติการในสถาบันอุดมศึกษาฯ ของ อว. ให้ได้รับการรับรองและพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว. เพื่อเพิ่มปริมาณห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถให้กับประเทศไทย พร้อมให้บริการกับภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเพียงพอและตรงกับความต้องการ สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายนโยบาย IGNITE THAILAND ของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่มุ่งเป้ายกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรม High Technology ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทย์ฯ บริการ อว. มีภารกิจหลักในการพัฒนาประเทศโดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาให้บริการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพสินค้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จากการศึกษาของกรมฯ พบว่าหากภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยจะไปสู่การผลิตนวัตกรรมหรือสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานได้อย่างยั่งยืน จะต้องมีห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถไม่น้อยกว่า 20,000 ห้องปฏิบัติการ โดยกรมวิทย์ฯ บริการ อว. พร้อมนำนโยบาย รมว.อว. ไปขับเคลื่อน ด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาทและภารกิจของหน่วยงาน จากการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ ไปทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพและความสามารถของหน่วยตรวจสอบและรับรอง และถ่ายโอนกิจการด้านการบริการวิเคราะห์ทดสอบไปยังห้องปฏิบัติการเครือข่าย พร้อมๆ กับการพัฒนาและยกระดับห้องปฏิบัติการฯ ให้มีขีดความสามารถเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล
           ทั้งนี้ เกณฑ์การยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบที่ กรมวิทย์ฯ บริการ อว. จัดทำขึ้นจะเป็นบันไดขั้นแรกให้กับห้องปฏิบัติการขนาดเล็กโดยเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาของ อว. ก้าวไปสู่ระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ในขณะที่เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำที่ยอมรับได้ เพื่อให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล สามารถเลือกใช้ห้องปฏิบัติการได้อย่างมั่นใจในความสามารถของผลการทดสอบ ขับเคลื่อนให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI)ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มและความเชื่อมั่นให้กับสินค้าและนวัตกรรม ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย ตลอดจนส่งผลต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมของประเทศ ตอบโจทย์การขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 154/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ยกขบวนคาราวานวิทยาศาสตร์ อว. สร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนสู่ความยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

7885887

76434584

 

           เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมจัดนิทรรศการภายในงาน คาราวานวิทยาศาสตร์ อว. สืบสาน รักษา ต่อยอดสู่ความยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ โรงเรียนประจวบวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป้าหมายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนสู่ความยั่งยืนในสังคม โดยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านรูปแบบที่เข้าใจง่าย สนุกสนานเพลิดเพลิน สามารถนำความรู้ไปต่อยอดและปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และพร้อมจะพัฒนาตนเองให้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมไทยต่อไป
           ทั้งนี้ วศ. นำชุดนิทรรศการและกิจกรรมเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อ “เล่นแร่แปรธาตุ” ผ่านเกมบิงโกตารางธาตุและเกมจับคู่ธาตุ เพื่อให้เยาวชนมีความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับตารางธาตุให้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นการบริการความรู้แก่ชุมชน ช่วยให้ครู นักเรียนและประชาชนทุกคน สามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวด้วยวิธีการง่ายๆ สนุกสนานและเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน 2567

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 153/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ต้อนรับ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล กระทรวง อว. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ณ จังหวัดสตูล

448789058 873229488166039 6693816914948711964

448759588 873227838166204 54946296089180205 n

 

            เมื่อวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2567 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล (คตป.) ประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยมีเจ้าหน้าที่ของกองเทคโนโลยีชุมชน และกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการให้การต้อนรับ ซึ่งกรมวิทย์ฯ บริการ ได้ประชุมร่วมกับคณะ คตป. เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ดังกล่าว
           จากนั้น คตป.อว. และคณะ ได้เยี่ยมชมกิจกรรมการดำเนินงานโครงการฯ ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพริกไทยพื้นเมืองสุไหงอุเป ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า และกลุ่มปันหยาบาติก ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยได้ชื่นชมการดำเนินงานของบุคลากรของกรมวิทย์ฯ บริการ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถนำองค์ความรู้ วทน.ถ่ายทอดสู่ชุมชน และยกระดับสินค้าในการพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ รวมทั้งมีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าชุมชนได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งชื่นชมผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มุ่งมั่นตั้งใจ และร่วมกันสร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองจากองค์ความรู้ที่ได้รับจากหน่วยงานที่มีภายใต้กระทรวง อว.

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 152/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงานแถลงแนวทาง “การสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ตั้งเป้า 5 ปีผลิตด้านเซมิคอนดักเตอร์ 80,000 คน - EV 150,000 คน - AI 50,000 คนพร้อมพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อยกระดับประเทศไปสู่การเ
  2. (ข่าวที่ 151/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพนักวิจัยด้านแผน ววน. 5 ปี หนุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. (ข่าวที่ 150/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ อว. เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) และการยกระดับมาตรฐานอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามมาตรฐานสากล เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคใต้
  4. (ข่าวที่ 149/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงาน “การแข่งขัน อว. เกมส์ ประจำปี 2567” มุ่งสร้างความสามัคคี ความมีน้ำใจนักกีฬา และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับบุคลากร
  5. (ข่าวที่ 148/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมงานแถลงข่าวงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : Sci Power for Future Thailand) ระดับภูมิภาค
  6. (ข่าวที่ 147/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ อว. หนุนพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้าน “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากกัญชง – กัญชา สู่ตลาดและการส่งออก”
  7. (ข่าวที่ 146/2567) กรมวิทย์ ฯ บริการ เข้าร่วมงาน Global Sustainable Development Congress 2024 หนุนคุณภาพและมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาฯไทยสู่ระดับสากล
  8. (ข่าวที่ 145/2567) วศ.อว. ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2567
  9. (ข่าวที่ 144/2567) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมกับ 3 หน่วยรับรองระบบงานภาครัฐ จัดงานวันรับรองระบบงานโลก World Accreditation Day 2024 ภายใต้หัวข้อ Empowering Tomorrow and Shaping the Future
  10. (ข่าวที่ 143/2567) รัฐมนตรี "ศุภมาส" เร่งพัฒนาการศึกษาและวิทยาศาสตร์ “เคมี” ให้กรมวิทย์ ฯ บริการ ร่วมกับสมาคมเคมี จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ และ ม. บูรพา จัดประชุมวิชาการระดับโลก