ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 187/2567) งาน “อว.แฟร์” ศูนย์ฯ สิริกิติ์ สุดยิ่งใหญ่ กรมวิทย์ฯ บริการ จำลอง “สนามทดสอบรถอัตโนมัติ” โชว์ พร้อมเดินหน้าเสริมความเชื่อมั่น ผลักดันการพัฒนายานยนต์อัตโนมัติในไทย

0001

0002

004

 

             กระทรวง อว. โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ เดินหน้าพัฒนา “สนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ” สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความปลอดภัย รองรับการพัฒนาและผลิตยานยนต์อัตโนมัติในไทยให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล เผยความคืบหน้าอยู่ระหว่างดำเนินการเฟส 2 คาดเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการได้ภายในปี 2568 พร้อมยก “สนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติจำลอง” มาโชว์ศักยภาพในงาน “อว.แฟร์” 22-28 กรกฎาคมนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เปิดเผยว่า ตามนโยบายของนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นแผนงานสำคัญโดยเน้นผลักดัน 3 แผนงานที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ 1) EV-HRD การพัฒนาทักษะกำลังคน เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 2) EV-Transformation การส่งเสริมให้หน่วยงานภายใต้ อว. ปรับเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 3) EV-Innovation การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ขานรับนโยบายดังกล่าวและเห็นความสำคัญของการพัฒนายานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicle) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย แม้บางประเทศแม้จะมีการทดสอบใช้งานจริงในพื้นที่สาธารณะแล้ว แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งด้านสมรรถนะและความปลอดภัยก็ยังคงเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
              โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งมีภารกิจหลักในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ(NQI) ของประเทศจึงได้จัดทำ “โครงการสร้างสนามทดสอบรถอัตโนมัติหรือ Connected and Autonomous Vehicle (CAV) Proving Ground”ขึ้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จ.ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาและผลิตยานยนต์อัตโนมัติในประเทศให้ได้มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ.2565-2568) คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ถึง 2 แสนล้านบาทในปี 2573
             ด้านดร.ปาษาณ กุลวาณิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) หัวหน้าโครงการพัฒนาสนามทดสอบยานยนต์ CAV Proving Ground กล่าวว่า ปัจจุบันการดำเนินงานโครงการระยะแรก คือปรับพื้นที่ และสร้างสนามส่วนถนนแล้วเสร็จ ขณะนี้สนามทดสอบรถอัตโนมัติ CAV Proving Ground อยู่ในระหว่างการดำเนินงานในระยะที่ 2 คือ การก่อสร้างอาคารสำนักงาน (Control and Welcome Center) และอาคาร Small Workshop สำหรับใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานเชิงเทคนิค ก่อสร้างอุโมงค์กันสัญญาณ GNSS ติดตั้งระบบตรวจติดตามรถ ณ 4 แยก ด้วยเลเซอร์ผ่านเครือข่าย 5G สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลจราจรกับรถอัตโนมัติที่ขับผ่านทางแยกนั้นผ่านเครือข่าย 5G เพื่อจัดเก็บข้อมูลการจราจร ตำแหน่ง ความเร็ว และทิศทางของยานยนต์ที่มีความแม่นยำสูงสำหรับให้ยานยนต์อัตโนมัติได้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในการนำทางผ่าน 4 แยกได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวของยานยนต์ที่ถูกตรวจจับ เนื่องจากการติดตามจะไม่บันทึกข้อมูลป้ายทะเบียนรถ อีกทั้งมีการพัฒนาการทดสอบนวัตกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ได้แก่ การพัฒนาวิธีทดสอบ ADAS แบบใช้เป้าสะท้อนสัญญาณ RADAR แบบลาก และการทดสอบระบบ HD map แบบแม่นยำสูง เพื่อยกระดับมาตรฐานยานยนต์แห่งอนาคตที่พัฒนาได้เองภายในประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ลดค่าใช้จ่ายในการส่งออกรถยนต์ไปทดสอบในต่างประเทศ โดยคาดว่าการก่อสร้างสนามทดสอบรถอัตโนมัติ CAV Proving Ground จะแล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการภายในปี 2568
             ดร.ปาษาณ กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันยานยนต์ไร้คนขับยังไม่สามารถออกมาใช้งานได้เทียบเท่ารถที่วิ่งบนถนน ทำให้เกิดการคาดการณ์ที่ผิดพลาด ส่งผลให้นักลงทุนถอนตัว สตาร์ทอัพหลายพันบริษัททยอยเลิกกิจการจนเหลือเพียงไม่ที่รายที่ยังคงวิจัยและพัฒนาต่อ แต่ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้าง “สนามทดสอบรถอัตโนมัติ” และผลักดัน “อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่” ซึ่งยานยนต์ไร้คนขับอาจจะไม่สำเร็จภายใน 2-5 ปีนี้ แต่ไม่ได้แปลว่าจะทำไม่สำเร็จ เมื่อสำเร็จแล้วจะเกิดประโยชน์หลายอย่างที่ตามมา ได้แก่ ทำให้อุบัติเหตุบนถนนเป็นศูนย์ ทำให้อุตสาหกรรมการขนส่งที่เป็น Smart City มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อจำกัดทางร่างกายช่วยผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถเดินทางง่ายขึ้น ตลอดจนการดึงนักลงทุนเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย
             “ยานยนต์ไร้คนขับถือเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจมาก ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมกับการใช้งานในโรงงาน คลังสินค้า สนามบิน แคมปัส ท่าเรือ ซึ่งการที่ไทยยังพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งสามารถใช้บนท้องถนน ไทยจะได้เป็นส่วนหนึ่งไม่ต้องรอรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศอย่างเดียว และสามารถดึงนักลงทุนเข้ามาสร้างมูลค่าภายในประเทศได้ เพราะมีนวัตกรรมที่พร้อมใช้แล้ว”
              อย่างไรก็ดีในระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการจะนำสนามทดสอบฯ จำลองทั้งสนามมาไว้ในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ อว.แฟร์ : Sci Power For Future Thailand ” ณ บริเวณโซน F (โซน Science for Future Thailand) ฮอลล์ 1-4 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ เวลา 10.00-20.00 น.
             นอกจากนี้ ภายในงาน อว.แฟร์ กรมวิทย์ฯ บริการ ยังจัดกิจกรรมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ความสำคัญของการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืน” ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องอบรม MR 209 ชั้น 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ และ หัวข้อ “บทบาทการสอบเทียบกับคุณภาพแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์สมัยใหม่” ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องอบรม MR 204 ชั้น 2 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ และยังได้เชิญสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) มาร่วมแสดงผลงานการพัฒนาหุ่นยนต์ ภายในพื้นที่จัดนิทรรศการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ อีกด้วย

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 186/2567) วศ.อว. ร่วมกับ กฟภ. เสริมห้องสมุดแหล่งการเรียนรู้อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม รร.บ้านป่าซาง จ.ลำพูน

451990253 804072675197640 9155779319162315403 n

451719243 804076981863876 282886726085480701 n

 

              วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ และเจ้าหน้าที่กองหอสมุดฯ ร่วมส่งมอบห้องสมุดสีเขียวและจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยมีร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช ประธานกรรมการธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นประธานในพิธีส่งมอบโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ประจำปี 2567 พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานราชการ ผู้บริหารและพนักงาน ร่วมในพิธี ณ โรงเรียนบ้านป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมกว่า 100 คน
             การดำเนินงานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กรมวิทยาศาสตร์บริการ วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงห้องสมุด ของโรงเรียน และการคัดแยกหนังสือให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยในระหว่างวันที่ 16 - 18 กรกฏาคม 2567 เจ้าหน้าที่กองหอสมุดฯ ได้ลงพื้นที่ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนบ้านป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยการคัดแยกหมวดหมู่หนังสือ ติดแถบสีตามหมวดหมู่ ลงข้อมูลในระบบห้องสมุดอัตโนมัติกว่า 1,200 รายการ เพื่อให้การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการยืม-คืน สารสนเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มมุมการเรียนรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ยกระดับให้เป็นห้องสมุดสีเขียว "Green Library” โดยจัดห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมให้เยาวชนมีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมการเรียนรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท พร้อมทั้งกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ การทำน้ำหมักชีวภาพจากการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ขจัดคราบไขมัน หรือบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น เป็นสารบำรุงต้นไม้ ต่อไป

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 185/2567) กรมวิทย์ฯบริการ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การผลิตแผ่นตกแต่งภายในอาคารด้วยเส้นใยจากกาบมะพร้าว” สร้างรายได้แก่ชุมชน เพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

21

9

 

             วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นายก่อพงศ์ หงษ์ศรี หัวหน้ากลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ณ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแผ่นตกแต่งภายในอาคารด้วยเส้นใยจากกาบมะพร้าว ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือก การปรับปรุงคุณภาพเส้นใยจากกาบมะพร้าว การเติมสารเติมแต่ง (filler) และตัวประสาน (binder) การขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ (mold) การลอกแผ่นติดหนังออกจากแม่พิมพ์และการตรวจสอบความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรมชาติ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ให้สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างรายได้แก่ชุมชน และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่

               ตามนโยบายรัฐบาลในการเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยรูปแบบ BCG Economy Model ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ และให้ความสำคัญกับการนำวัตถุดิบที่ผ่านการบริโภคหรือเหลือทิ้งทางการเกษตรเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่หรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ กรมวิทย์ฯ บริการ จึงดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาแผ่นตกแต่งภายในอาคารจากกาบมะพร้าว จนสามารถผลิตแผ่นติดผนังฯ จากกาบมะพร้าว ที่มีความสวยงาม แข็งแรง การนำความร้อนต่ำสามารถเป็นฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียงได้ดี พร้อมนำเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นถ่ายทอดสู่ชุมชนที่มีความพร้อมให้สามารถผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ เป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของชุมชนให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน

              หากสนใจเทคโนโลยี การผลิตแผ่นตกแต่งภายในอาคารด้วยเส้นใยจากกาบมะพร้าว สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กลุ่มงานเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม โทร.02-201-7307 หรือ e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 184/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนความพร้อมบุคลากร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Measurement uncertainty and decision rule in conformity assessment” ความไม่แน่นอนของการวัด และกฎการตัดสินใจในการประเมินความสอดคล้องของผลการทดสอบ

4

10

 

              วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2567 นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Measurement uncertainty and decision rule in conformity assessment” ความไม่แน่นอนของการวัด และกฎการตัดสินใจในการประเมินความสอดคล้องของผลการทดสอบ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมและได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงข้อกำหนด Decision rule และสามารถประยุกต์ใช้  Decision rule ในการตัดสินประเมินความสอดคล้องตามข้อกำหนดเฉพาะ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวทิพวรรณ นิ่งน้อย ข้าราชการบำนาญ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาเป็นวิทยากร โดยมีนักวิจัยกรมวิทย์ฯ บริการ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน ณ ห้อง 320 ชั้น 3 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 183/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. จับมือจังหวัดสมุทรสงคราม หนุน “อัมพวา โมเดล” เดินหน้าถ่ายทอดองค์ความรู้การจำกัดน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวอย่างยั่งยืน

451841029 892406059581715 3297839950709849

451834638 892406276248360 6003930325286990

 

             เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และ นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียจากการแปรรูปมะพรต้าวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (อัมพวา โมเดล) ถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางการจัดการน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ บูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ส่งเสริมอาชีพเพื่อพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับการรักษาสภาพแวดล้อมจากการประกอบอาชีพด้านการแปรรูปมะพร้าว มีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 150 คน ณ ห้องประชุม ชั้น 4 โรงแรมชูชัยบุรีศรีอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
            นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวว่า ตามนโยบายของนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนายกระดับชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความอย่างยั่งยืน โดยนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาช่วยส่งเสริมและแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งกรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. มีบทบาทภารกิจหลักในการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) มีเป้าหมายสำคัญในการนำกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชนเพื่อรตอบโจทย์สำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้สามารถสนับสนุนและเอื้อประโยชน์เพื่อบริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่ชุมชนให้มากขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ
            สำหรับโครงการอัมพวาโมเดล เป็นการบูรณาการร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีหน่วยงานหลักของจังหวัดร่วมขับเคลื่อน ได้แก่ สภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานสาธารณสุขอำเภออัมพวา เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวในพื้นที่อำเภออัมพวา ทั้งนี้ เพื่อจัดการน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าว ทั้งด้านการกำหนดนโยบาย และข้อกำหนดในการจัดการน้ำเสีย รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีการจัดการน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการนำร่องที่สามารถขยายผลไปยังอำเภออื่นในจังหวัดสมุทรสงครามได้ และสามารถใช้เป็นต้นแบบในการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืนสำหรับกิจการอื่นๆ ในจังหวัดสมุทรสงครามเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยังยืนต่อไป
            ภายในงาน ได้มีเสวนาหัวข้อ “แนวทางการจัดการน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวอย่างยั่งยืน” โดยได้รับเกียรติจากนายสมฤทธิ์ วงษ์สวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม , นายยรรยงค์ อินทฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม , นายสุชิน น้อยสกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ,นายอมรพล ช่างสุพรรณ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และนางสาวเจนจิรา ภูริรักษ์พิติกร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ มาเป็นวิทยากร ถือเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ และหน่วยงานบูรณาการงานวิจัยฯ ให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม และการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกด้วย

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 182/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ประสานความร่วมมือศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภูมิภาค ยกระดับ ห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศสู่ระดับสากล
  2. (ข่าวที่ 181/2567) กรมวิทย์ฯบริการ โชว์ศักยภาพศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAVs) แก่คณะผู้บริหารระดับสูง หลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) รุ่นที่ 4” และคณะเจ้าหน้าที่สนข.
  3. (ข่าวที่ 180/2567) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมประชุม “APAC Annual Meetings 2024” ในฐานะประเทศสมาชิกเพื่อการยอมรับร่วม
  4. (ข่าวที่ 179/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนความพร้อมบุคลากร ด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. (ข่าวที่ 178/2567) รัฐมนตรี "ศุภมาส" จัดประชุมวิชาการระดับโลกสร้างความร่วมมือ 56 ประเทศ ส่งเสริมการศึกษาวิทยาศาสตร์ “เคมี” สร้างสมดุล คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
  6. (ข่าวที่ 177/2567) รมว.“ศุภมาส” ให้กรมวิทย์ฯ บริการสานความร่วมมือกรมส่งเสริมการเกษตร ยกระดับคุณภาพเกลือทะเลไทยสู่สากล สร้างมูลค่าการส่งออกกว่า 1,000 ล้านบาท
  7. (ข่าวที่ 176/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ฯ” หนุนบุคลากรยกระดับพัฒนาศักยภาพ ออกปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  8. (ข่าวที่ 175/2567) นักวิจัย กรมวิทย์ฯบริการ ชนะเลิศเหรียญทอง Gold Medal Award ในการประกวด Worldlnvent Singapore 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์
  9. (ข่าวที่ 174/2567) เอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ ชื่นชมผลงานของคณะนักประดิษฐ์ไทยที่นำเสนอในงาน “WorldInvent Singapore 2024” พร้อมสนับสนุนในการสร้างโอกาสการพัฒนาด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในสิงคโปร์
  10. (ข่าวที่ 173/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เปิดบ้านต้อนรับ คณะผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากร ภาควิชาเคมี มทร.ธัญบุรี เข้าศึกษาดูงานและหารือ “การอบรมและยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบ” เพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการยกระดับห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ให้ได้มาตรฐานสากล