ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 222/2567) กระทรวง อว. โดย กรมวิทย์ฯ บริการ ผนึก 3 หน่วยงาน วิจัยลดควันดำและ PM2.5 ได้กว่า 50 % สร้างอากาศสะอาดเพื่อคนไทย

454560373 906317324857255 169611255288366499 n

454867540 906317394857248 4159629181857658892 n

 

             วันที่ 9 สิงหาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานและสักขีพยาน งานบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสร้างอากาศสะอาดเพื่อคนไทย ซึ่งลงนามโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น1 อาคารพระจอมเกล้าฯ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
             นางสาวศุภมาสฯ กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567 และท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่า รัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อการดำเนินการทุกด้านเพื่อเร่งแก้ปัญหา PM2.5 ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการ PM2.5 แห่งชาติ และมอบหมายให้ทุกกระทรวงเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี กระทรวง อว. จึงมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา PM 2.5 ที่กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยทั้งประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหากยังไม่ได้รับการแก้ไข กระทรวง อว. จึงเน้นย้ำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเน้นการทำงานเชิงรุก ใช้กลไกและกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ทุกหน่วยงานนำไปปรับใช้เพื่อกำหนดมาตรการให้มีความเข้มข้นและเป็นรูปธรรม
             นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ปัญหา PM2.5 จากภาคจราจรมีสาเหตุหลักเกิดจากไอเสียรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเก่าที่ยังไม่ได้มาตรฐานไอเสียยูโร 5 ทางภาคีเครือข่ายงานวิจัยจึงได้ร่วมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยใช้สารเติมแต่งเชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมื่อเติมลงในน้ำมันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ และลดฝุ่น PM2.5 ได้ โดยสารเติมแต่งนี้สามารถผลิตได้จากสารตั้งต้นที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต ซึ่งเตรียมได้จากปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง หรืออ้อย ดังนั้นงานวิจัยนี้นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยจากการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม
            ซึ่งการลงนามครั้งนี้ฯ ถือเป็นการเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรมที่จะร่วมกันสนับสนุนการวิจัยพัฒนานวัตกรรมการลดควันดำและฝุ่น PM2.5 ของเครื่องยนต์ดีเซล ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา ต่อยอด และหาแนวทางการดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และสาธารณประโยชน์ต่อไป เพื่อเดินหน้าคืนอากาศสะอาดให้กับประชาชนในทุกมิติ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

(ข่าวที่ 221/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนบุคลากรด้าน Generative AI มุ่งเน้นการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเต็มความสามาร

454580405 906299094859078 9155328433408528673 n

454689536 906300628192258 6081430140173807179 n

 

            วันที่ 8 สิงหาคม 2567 นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การเสริมสร้างศักยภาพนักวิจัยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ครั้งที่ 3/2567 เรื่อง การประยุกต์ใช้ Generative AI สำหรับนักจัดการงานทั่วไป ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2567 โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาเป็นวิทยากร โดยมีบุคลากรเข้าร่วมอบรมกว่า 80 คน ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคาร ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
            ทั้งนี้ Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์เป็นเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากขอบเขตที่มนุษย์จะคิดได้ Gen-AI ไม่เพียงแค่ตอบสนองต่อข้อความในการสืบค้นและการป้อนข้อมูล แต่ยังสามารถออกแบบและสร้างข้อมูลสังเคราะห์โดยอาศัยการเรียนรู้แพทเทิร์นของข้อมูลเพื่อสร้างคอนเท้นต์ใหม่ขึ้นมา และสามารถนำมาใช้เป็นตัวช่วยในกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การค้นหาข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการงานด้านต่างๆเพิ่มประสิทธิภาพ และลดเวลาในการทำงานเพื่อให้มั่นใจว่าผลงานวิจัยจะมีศักยภาพและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 220/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึก หนุน ผปก.อาหารและเครื่องดื่ม

454638912 906269258195395 4512934538473206223 n

454655949 906269358195385 8137362223373004232 n

 

             เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กองเทคโนโลยีชุมชน (ทช.) ได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ จำนวน 2 กลุ่ม ณ ที่ทำการของผู้ประกอบการในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
            การลงพื้นที่ฯ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการในการควบคุมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มให้มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการจัดทำฉลากและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและศักยภาพของผู้ประกอบการ ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจากกรมวิทยาศาสตร์บริการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 219/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดอบรมหลักสูตร “เสริมภาพลักษณ์ ปรับบุคลิกภาพและเพิ่มศักยภาพผู้บริหารยุคใหม่ วศ.”

454688257 906264258195895 8504284221675976904 n

454680316 906264221529232 14553672950544

 

             วันที่ 7 สิงหาคม 2567 ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรพัฒนาทักษะผู้บริหารระดับสูง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ เสริมสร้างศักยภาพในการเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในทุกมิติ ในหลักสูตรนี้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เทคนิคสำคัญทั้งหมดต่อการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพ โดยได้รับเกียรติจาก คุณรัลรัศมี รัศมีจตุรนต์ และคุณธัญญา รอตก้า ถาวรเวช จาก John Robert Powers Thailand มาเป็นวิทยากร โดยมีผู้บริหารและบุคลากรกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมกว่า 70 คน ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
             ดร.พจมานฯ กล่าวว่า บุคลิกภาพและภาพลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้บริหารในยุคใหม่ที่มีการเติบโตทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการมีบุคลิกภาพและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตนเอง จะสร้างความประทับใจให้กับผู้คนรอบข้างและผู้พบเห็น ทั้งนี้การที่จะมีบุคลิกภาพที่ดีได้นั้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนบางอย่างจนเป็นพฤติกรรมเป็นบุคลิกภาพที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสง่างามที่สามารถแสดงออกได้จากภายในสู่ภายนอก ดังนั้นการที่ผู้บริหารและบุคลากร วศ. มีโอกาสได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะเสริมสร้างพัฒนาบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตนเอง เนื่องจากต้องเป็นตัวแทนขององค์กรในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ การมีบุคลิกภาพที่ดีจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรอีกด้วย
             ทั้งนี้เนื้อหาการบรรยาย ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาสต่างๆ และมารยาทสากลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น มีการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้นำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรนำร่องและเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาบุคลากรของ วศ. ที่จัดโดยกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในทุกระดับ เพื่อยกระดับการให้บริการและการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกรมวิทย์ฯ บริการต่อไปในอนาคต

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 218/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดหลักสูตร “พัฒนาทักษะผู้บริหารระดับสูง วศ.” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ “การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

454568528 906136968208624 454

454568546 906137038208617 14432322428357

 

             เมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิด การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์กับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก อภิศักดิ์ สมบัติเจริญนนท์ อดีตเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นวิทยากร โดยมีคณะผู้บริหารและบุคลากร วศ.เข้าร่วมกว่า 50 คน ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
            โดยเนื้อหาการบรรยายประกอบด้วยภูมิรัฐศาสตร์ชาติไทยในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แนวโน้มขั้วอำนาจโลก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภัยคุกคามต่อความมั่งคงในด้านต่างๆ ผลกระทบต่อความมั่นคงในระดับประเทศ เช่น ภัยทางเศรษฐกิจ ภัยทางสังคม ภัยทางเทคโนโลยี ภัยพิบัติทางธรรมาชาติ และภัยจากโรคอุบัติใหม่ รวมไปถึงโอกาสและอุปสรรคในการวางยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลก
             ทางด้าน ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) กล่าวว่า ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกถึงแนวทางที่จะทำให้ วิสัยทัศน์ (vision) วัตถุประสงค์ (objective) และเป้าหมาย (target) ขององค์กรสำเร็จโดยที่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในองค์กรต้องมีส่วนนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปดำเนินการผ่านแผนการปฏิบัติงาน (action plans) และโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจัดทำให้เกิดผลสำเร็จ (strategy execution) ผ่านการกำหนดแผนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง รวมทั้งเข้าใจมุมมองของการบริหารความเปลี่ยนแปลง (change management) ที่จำเป็น เพื่อเพิ่มความมั่นใจได้ว่าผลสำเร็จที่คาดหวังไว้จะเกิดขึ้น และเกิดกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการ รู้จักเชื่อมโยงแผนงานกับเป้าหมายขององค์กร ได้ตลอดจนการควบคุมแผนปฏิบัติงานด้วยงบประมาณที่มีประสิทิภาพ ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

  1. (ข่าวที่ 217/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2567
  2. (ข่าวที่ 216/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เปิดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง “การพัฒนาคลังข้อมูลด้านคุณภาพและด้านความปลอดภัยของหน่วยตรวจสอบและรับรองสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง” หนุนการใช้ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. (ข่าวที่ 215/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดอบรม หลักสูตร การเสริมสร้างศักยภาพนักวิจัยกรมวิทยาศาสตร์บริการ
  4. (ข่าวที่ 214/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลกระทบโครงการวิจัย เตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. (ข่าวที่ 213/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ พัฒนานักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาให้มีความรู้ด้านการเก็บรักษาและการใช้เชื้อจุลินทรีย์อ้างอิง
  6. (ข่าวที่ 212/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงาน 40 ปี ทุนพสวท. ผลิตผลคนคุณภาพขับเคลื่อนวัตกรรมนำไทย “การสร้างกำลังคน พสวท. เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอย่างยั่งยืน”
  7. (ข่าวที่ 211/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
  8. (ข่าวที่ 210/2567) รัฐมนตรีศุภมาสฯ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักวิทยาศาสตร์ไทยและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศด้านงานวิจัยเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ไทยในการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อ
  9. (ข่าวที่ 209/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมหารือ วว. ด้านความร่วมมือการทดสอบวัสดุฝังใน
  10. (ข่าวที่ 208/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หารือ มรภ.นครสวรรค์ เตรียมยกระดับห้องปฏิบัติการให้ได้รับการรับรองในระดับสากล