ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 85/2567) ด่วน รมว. ศุภมาส สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมี่ยมสมุทรสาคร เร่งเฝ้าระวังควบคุม ป้องกันผลกระทบประชาชนและสิ่งแวดล้อม

 F471 2 F471 4

F471 3 F471 1

 

          เช้าวันนี้ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ตนมีความห่วงใยประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครจากกรณีกากแคดเมียม จึงสั่งการด่วนให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. นำโดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ พร้อมลงพื้นที่และให้การสนับสนุนภารกิจ กรณีกากแคดเมี่ยมที่สมุทรสาคร เพื่อร่วมเฝ้าระวังควบคุม ป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนและสิ่งแวดล้อม
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ขณะนี้ กรม วศ. พร้อมส่งหน่วยปฏิบัติการ DSS Team วศ.อว. เข้าให้การสนับสนุนภารกิจและประสานการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีดังกล่าว พร้อมกันนี้ได้ให้ข้อมูลและข้อแนะนำด้านวิทยาศาสตร์ในการควบคุมสถานการณ์ เฝ้าระวัง ป้องกันผลกระทบประชาชนและสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนี้
          1. แคดเมียม (Cd) เป็นโลหะหนัก พบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือทองแดง ในการทำเหมืองสังกะสี จะได้แคดเมียมเป็นผลตามมาด้วย สามารถพบแร่แคดเมียมได้ในอาหาร น้ำ เหมือง และส่วนน้ำทิ้ง น้ำเสีย และยังสามารถพบกากแร่แคดเมียมในสีที่ผสมใช้กับบ้านหรืออาคาร ในประเทศไทยพบการปนเปื้อนสารแคดเมียมมากในตะกอนดินที่ห้วยแม่ตาว ต.แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก
         2. อันตรายจากแคดเมียมเกิดขึ้นได้หากแคดเมียมถูกความร้อนที่ 321 องศาเซลเซียส จะเกิดเป็นควันกระจายสู่สิ่งแวดล้อม เมื่อร่างกายสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปอด ไต และตับจะถูกทำลาย ถ้าหากหายใจควันเข้าไปในปอดจะมีอาการเจ็บคอ หายใจสั่น มีเสมหะเป็นเลือด น้ำหนักลด โลหิตจาง การหายใจจะลำบากมากขึ้นจนถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ ยังเกิดจากการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ดังกรณีในอดีตชาวญี่ปุ่นบริโภคอาหารทะเล ข้าว อาหารที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียมที่ถูกปล่อยจากโรงงานสารเคมีผ่านระบบระบายน้ำเสีย ทำให้มีผู้ได้รับสารปนเปื้อนจำนวนมากเกิดอาการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง ปวดบริเวณแขน ขา สะโพก ฟัน อาการเหล่านี้สะสมนานถึง 20-30 ปี จนทำให้ร่างกายเดินไม่ไหว เกิดการกดทับของกระดูกสันหลัง เมื่อได้รับแคดเมียมสะสมมาก ๆ จะสังเกตเห็นวงสีเหลืองที่โคนของซี่ฟัน ซึ่งจะขยายขึ้นไปเรื่อย ๆ จนอาจเต็มซี่ ถ้าขนาดของวงยิ่งกว้างและสียิ่งเข้มก็แสดงว่ามีแคดเมียมสะสมมากจนเรียกชื่อโรคนี้ว่า "อิไต-อิไต (Itai-Itai disease)" ในภาษาญี่ปุ่น อิไต-อิไต แปลว่าเจ็บโอ๊ย ๆ ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์พบว่า แคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็งที่ไตและต่อมลูกหมาก นอกจากนั้นยังทำอันตรายต่อไตเกิดโรคไตอย่างรุนแรง ทำให้สูญเสียประสาทการดมกลิ่นและทำให้ เลือดจาง ถ้าได้รับปริมาณมากระยะสั้น ๆ จะมีอาการจับไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดศีรษะ อาเจียน อาการนี้จะเป็นได้นานถึง 20 ชั่วโมงแล้วตามด้วยอาการเจ็บหน้า อก ไอรุนแรง น้ำลายฟูม ดังนั้น เมื่อใดมีไอของแคดเมียม เช่น จากการเชื่อมเหล็กชุบ ควรใช้หน้ากากป้องกันไอและฝุ่นของแคดเมียม หรือสารประกอบแคดเมียม ในขณะทำงาน อย่างไรก็ตาม อาการส่วนใหญ่มักเป็นแบบไม่เฉพาะเจาะจง เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หรือนอนไม่หลับ บางครั้งมีความรู้สึกว่าสมองล้า ลืมง่าย หรือความคิดสร้างสรรค์เรื่องงานลดลง แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เบาหวาน จะทำให้อาการแย่ลงหรือว่าการรักษาไม่สำเร็จผลอย่างที่ควรจะเป็น บางครั้งผู้ที่ได้รับสารพิษโลหะหนักอาจจะพบว่ามีอาการภูมิแพ้แบบไม่ทราบสาเหตุ หรือมักจะมีอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรมีอาการเฝ้าระวังสุขภาพในผู้มีความเสี่ยงจากกรณีดังกล่าว
          3. หากพบผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ต้องมีระบบส่งต่อผู้ป่วยสู่การรักษา ซึ่งมีวิธีรักษา คือการกำจัดหรือล้างสารพิษโลหะหนักในร่างกาย ทำได้โดยการให้สารทางหลอดเลือดเพื่อที่จะไปจับกับโลหะหนักออกจากร่างกาย ซึ่งวิธีนี้มีการใช้ยาวนานมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันก็ยังมีที่ใช้อย่างแพร่หลายทางพิษวิทยา แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
          4. ควรมีการเฝ้าระวังและควบคุมปัญหาในสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะการปนเปื้อนแคดเมียมในพื้นที่เพาะปลูก เพราะแคดเมียมไม่สามารถถูกย่อยสลายได้ และสามารถถูกสะสมผ่านทางห่วงโซ่อาหารได้ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการบำบัดพื้นที่ปนเปื้อน ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ วิธีการทางชีวภาพ โดยเฉพาะการใช้พืชในการบำบัดดินปนเปื้อน แต่การใช้พืชในการบำบัดยังมีประสิทธิภาพที่จำกัด เช่น การนำจุลินทรีย์ต้านทานแคดเมียมบางสายพันธุ์ ที่มีความสามารถในการช่วยส่งเสริมการเติบโตของพืช หรือช่วยในการละลายหรือเคลื่อนที่แคดเมียมให้หลุดออกมาจากดิน ซึ่งเพิ่มโอกาสให้พืชสามารถดูดดึงแคดเมียมขึ้นไปสะสมในพืชได้มากขึ้นรวมทั้งการที่พืชเติบโตดีขึ้นจะมีมวลชีวภาพที่มากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีในการนำพืชไปใช้ในการบำบัดโลหะหนักในดิน กระบวนการนี้ สามารถเรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบำบัดโลหะหนักในดินด้วยพืชโดยการเติมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
ท้ายสุด นายแพทย์รุ่งเรือง อธิบดี วศ.กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ จังหวัดสมุทรสาครและทุกหน่วยงานได้เข้าคุมสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี ถูกต้องตามหลักวิชาการ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 84/2567) วศ.อว. ร่วมหารือแนวทางการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. กับ 3 หน่วยงานเครือข่ายภาคใต้ ในการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นและใกล้สูญพันธุ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

F470 1 F470 2

F470 4 F470 3

 

           เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 2 เมษายน 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ โดย คณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - กรมวิทยาศาสตร์บริการ (อพ.สธ.-วศ.) ลงพื้นที่เข้าพบ 3 หน่วยงานเครือข่าย อพ.สธ.ภาคใต้ ในสังกัดกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน จังหวัดตรัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรพังงา สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จังหวัดพังงาและศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรภูเก็ต สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 11-12 และ 18-20 มีนาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาพืชพื้นเมืองท้องถิ่นหายากและใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่ภาคใต้ และการดำเนินงานกิจกรรมอื่นๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการแปรรูปสร้างมูลค่าเพื่อนำมาซึ่งโอกาสในการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร สอดคล้องตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการพัฒนาการเกษตร และแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด ซึ่งประเด็นในการหารือร่วมกันประกอบด้วย 4 ประเด็นหลักสำคัญคือ 1. การปลูกรักษาทรัพยากร ที่มุ่งเน้นปลูกรักษา รวบรวมพันธุกรรมพืชในท้องถิ่น พืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่ภาคใต้ ที่ทางศูนย์วิจัยฯ ดำเนินการอยู่ในพื้นที่จังหวัด 2. งานวิจัยและพัฒนาพืชอนุรักษ์ 3. การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากร 4. การส่งเสริมชุมชนด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืชและการนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร
          นอกจากนั้น ทางคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ ได้นำคณะทำงานฯ วศ.เข้าพบเกษตรกรผู้ปลูกพืชพื้นเมืองหายากในพื้นที่แต่ละจังหวัด และเก็บตัวอย่างพืชพื้นเมืองในพื้นที่แปลงอนุรักษ์และแปลงสาธิตของศูนย์วิจัยเพื่อนำมาทดสอบทางห้องปฏิบัติการและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากร เพื่อเป็นแหล่งความรู้แก่สมาชิก อพ.สธ ที่สนใจและสามารถนำไปต่อยอดในเชิงอนุรักษ์และงานวิจัยต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

(ข่าวที่ 83/2567) วศ.อว. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำฯ หนุนสร้างความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

F469 3 F469 1

F469 4 F469 2

 

           กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 300 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบรายการ Total Suspended Solids (TSS) in water เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการฯ ซึ่งคุณภาพน้ำสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ 1) คุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ (Physical quality) 2) คุณภาพน้ำทางด้านเคมี (Chemical quality) และ3) คุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพ (Biological quality) การปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทางด้านเคมี มีสาเหตุจากการละลายของสารประกอบต่าง ๆทั้งสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ที่เจือปนในน้ำ สารประกอบเหล่านี้สามารถทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงได้ หากพบในปริมาณมากเกินข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพราะการปนเปื้นของสารเคมีบางชนิดอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อมนุษย์ได้ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการนำมาใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids : SS) คือ ของแข็งหรือตะกอนที่ไม่ละลายน้ำ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีสารที่ทำให้เกิดสีและความขุ่น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ เศษอาหาร ซากสิ่งมีชีวิต แพลงก์ตอนบางชนิด ตะกอนทรายที่ถูกพัดพามากับน้ำรวมถึงสิ่งสกปรกที่ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งอาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ดังนั้นการวิเคราะห์ปริมาณของสารแขวนลอยทั้งหมดในน้ำ (Total Suspended Solids) จึงมีความสำคัญ และเป็นหนึ่งในพารามิเตอร์ที่แสดงถึงคุณภาพของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
          การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Total Suspended Solids (TSS) in water ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อีกทั้งยังเป็นการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ และระบบควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการ ทำให้สามารถระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 82/2567) วศ.อว. ร่วมประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ความยั่งยืน (Library Development Towards Sustainability) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

F468 1 F468 4

F468 2 F468 3

 

          วันที่ 29 มีนาคม 2567 นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สท.) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ สท. เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ความยั่งยืน (Library Development Towards Sustainability) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี พุทธศักราช 2565 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา หาญพล นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย เป็นประธานรายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ณ โรงเรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร
          การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ดังกล่าว เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างห้องสมุดและภาคีเครือข่ายทุกหน่วยงาน และบุคคลในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ รวมถึงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) การออกแบบบริการเชิงสร้างสรรค์ในห้องสมุดยุคชีวิตวิถีใหม่ และการออกแบบห้องสมุดเชิงสร้างสรรค์และการใช้ Soft power ในยุคชีวิตวิถีใหม่ : Reskill, Upskill & New Skill เพื่อให้บุคคลากรในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดได้รับความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวปฏิบัติ เตรียมความพร้อมในการปรับบทบาทของห้องสมุดและผู้ปฏิบัติงานให้เท่าทันกับเทคโนโลยี สามารถนำมาออกแบบสร้างนวัตกรรมการจัดการห้องสมุดเป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบโจทย์กับความต้องการของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 81/2567) วศ.อว. ปลื้ม 2 ข้าราชการพลเรือนดีเด่น รับมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ จาก รมว.อว. “ศุภมาส“ เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน

F466 1 F466 4

F466 3 F466 2

 

           วันที่ 2 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการพลเรือนดีเด่น พร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณคนดีศรี อว. ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมี 2 ข้าราชการดีเด่นของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้รับการเชิดชูเกียรติในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ วศ.อว.
           นางสาวศุภมาสฯ กล่าวแสดงความยินดีแก่ข้าราชการและบุคลากรกระทรวง อว. จำนวน 91 ท่าน ที่ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น และเป็นคนดีศรี อว. ประจำปี 2566 โดยการเชิดชูเกียรติดังกล่าว เพื่อมุ่งส่งเสริมและยกย่องข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ประพฤติปฏิบัติงานและครองตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้ข้าราชการ องค์กรและครอบครัว ดำรงตนเป็นที่ยอมรับแก่เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติดีต่อประชาชนผู้รับบริการ ทั้งในหน้าที่ราชการและสังคม เพียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณข้าราชการปรากฏชัดเจนเป็นที่ยอมรับ โดยมีผลงานโดดเด่นเป็นประโยชน์ยิ่งกับภารกิจราชการที่รับมอบหมายส่งผลกับประชาชนที่เป็นผู้รับบริการเป็นสำคัญ
          โอกาสนี้ นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวืทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า ตนขอแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่นของ วศ. ทั้ง 2 ท่าน ได้แก่ นายกรธรรม สถิรกุล นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านฟิสิกส์และวิศวกรรม) ผู้มีผลงานโดดเด่นในการพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ มากมาย และนายเกรียงไกร นาคะเกศ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ผู้ผลักดันการบริหารจัดการให้ วศ. เป็นหน่วยรับรองความสามารถบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการควบคุมและจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 โดยทั้ง 2 ท่านได้ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ จนมีผลการปฏิบัติงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานจริยธรรมของข้าราชการพลเรือน สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นข้าราชการดีเด่น นับเป็นบุคคลทรงคุณค่าของชาว วศ.อว. และเป็นแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากร วศ. ในการปฏิบัติหน้าที่และกระทำความดีเพื่อส่วนรวมต่อไป
           *ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชมบทสัมภาษณ์ข้าราชการพลเรือนดีเด่นของ วศ. ในรายการ So Sci DSS Award ได้ที่ Youtube กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามลิงก์ https://youtube.com/playlist...

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 80/2567) รมว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. นำวิทยาศาสตร์ขับเคลื่อนงานเซรามิก “กระเบื้องศิลปะโบราณ“ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท
  2. (ข่าวที่ 79/2567) รมว.ศุภมาส ชื่นชม นักวิทย์ฯ วศ.อว. สร้างชื่อรับรางวัลระดับนานาชาติ “ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมฆ่าเชื้อในรถพยาบาลฉุกเฉิน” เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าว
  3. (ข่าวที่ 78/2567) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2567 (NSTDA Annual Conference: NAC2024) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สานพลัง สร้างงานวิจัย พลิกโฉมเ
  4. (ข่าวที่ 77/2567) นักวิทย์ฯ กรมวิทย์บริการ อว. สร้างชื่อรับรางวัลระดับนานาชาติ นวัตกรรมฆ่าเชื้อในรถพยาบาลฉุกเฉิน
  5. (ข่าวที่ 76/2567) วศ.อว. เร่งพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์ยางไทยสู่มาตรฐานสากล
  6. (ข่าวที่ 75/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป
  7. (ข่าวที่ 74/2567) รมว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. พัฒนาอาหารชุมชนสู่อาหารแห่งอนาคต ล่าสุดพัฒนาอาหารจากเศษดักแด้หนอนไหมอีรี่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนสูง ปลอดภัย รสชาติอร่อย
  8. (ข่าวที่ 73/2567) วศ.อว. เสริมองค์ความรู้บรรจุภัณฑ์ เพื่อการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ มุ่งเพิ่มรายได้ชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
  9. (ข่าวที่ 72/2567) ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ
  10. (ข่าวที่ 71/2567) วศ.อว. หนุนการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ มุ่งรับใช้ประชาชน

Page 4 of 414