ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่92/2563)วศ.อว. ร่วมกับ มอ. คิกออฟต้นแบบแพลตฟอร์ม Online Education เจาะประเด็นท้าทายโมเดลการเรียนรู้ในโลกหลังโควิด-19

 

A 6 A 7

A 8 A 9

   

           23 เมษายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ประชุมทางไกลผ่าน video conference เพื่อระดมความคิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่พบในระบบการศึกษาไทย ซึ่งที่ผ่านมาหลักสูตรเป็นสูตรสำเร็จมากกว่าเป็นฐานให้ไปคิดต่อยอด และเน้นท่องจำทฤษฎี มากกว่าให้ลงมือทำ โดยการหารือมีข้อสรุปการพัฒนานำร่องทำเป็นต้นแบบแพลตฟอร์มการเรียนรู้ Online Education แบบใหม่ มุ่งกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ผ่านการให้คำปรึกษา (Mentoring) รวมทั้งเสริมสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียน และปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้สอดรับกับพลวัตโลกหลังโควิด-19

          ทั้งนี้เริ่มคิกออฟต้นแบบแพลตฟอร์ม Online Education ด้วยหลักสูตร "สถิติสำหรับการวิเคราะห์ทดสอบ" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2563นอกจากนี้ หลักสูตรด้านระบบคุณภาพ และหลักสูตรนักวิเคราะห์มืออาชีพสาขาเคมี ของกรมวิทยาศาสตร์บริการจะนำไปวิเคราะห์ร่วมกับหลักสูตรการอุดมศึกษาของ มอ. เพื่อปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้ก้าวไปสู่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับโมเดลการเรียนรู้ในสถานการณ์หลังโควิด-19 ร่วมกันต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่91/2563)วศ.อว. ร่วมมือเครือข่ายประชุมหารือความคืบหน้างานทดสอบผลิตภัณฑ์ต้าน Covid-19

     

A5 1 A5 2

   

          เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมประชุมหารือ เรื่องการพัฒนา PPE. Coverall Lavel 4 แบบ Disposable ร่วมกับ นายสมคิด รัตนประภาพร นายกสมาคมอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ไทย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และผู้แทนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้แทนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬามหาวิทยาลัยลงกรณ์ ผู้แทนมหาลัยมหิดล ผู้แทนสมาคม Non Woven ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนบริษัทเทยิน ผู้แทนบริษัท ปตท. ผู้แทนบริษัทบูติกบิวตี้. และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ณ สถาบันสิ่งทอ กรุงเทพฯ

          จากการประชุมดังกล่าว วศ อว. ได้นำเสนอมาตรฐานการทดสอบชุด Coverall และห้องปฏิบัติการในประเทศไทยที่สามารถตรวจสอบตามมาตรฐานได้ ในด้านของภาคเอกชนได้กล่าวถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการผลิตชุดที่ทำจากผ้าสปันบอนด์ภายในประเทศ และเน้นการพัฒนาในรายละเอียดที่เป็นจุดสำคัญต่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการจะเป็นผู้รวบรวมมาตรฐานการทดสอบและจัดทำฐานข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ในการพัฒนาในครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายในการจัดทำ Spec ของชุด PPE Coverall ให้เสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 หลังจากนั้นจะขยายสู่ภาคการผลิต เพื่อจัดจำหน่ายให้กระทรวงสาธารณสุขและองค์การเภสัชกรรมต่อไป

          ทั้งนี้ในช่วงพัฒนางานวิจัยดังกล่าว วศ.อว. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทดสอบทั้งหมด โดยร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ที่ให้บริการทดสอบโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเช่นกัน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่90/2563)วศ.อว. ดูงานความคืบหน้าการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ต้าน Covid-19

 

A6 2 A6 3

A6 1 A6 3 

 

         23 เมษายน 2563 ทีมนักวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นคณะจัดทำ SPec PAPR ร่วมสังเกตการณ์การทดสอบประสิทธิภาพการกรองของเครื่อง PAPR ที่พัฒนาโดยบริษัท แม่น้ำสแตนเลสไวร์ จำกัด (มหาชน) โดยการใช้ไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 พ่นรอบเครื่อง PAPR แล้วทำการเก็บตัวอย่างจากอากาศภายในหมวก ก่อนนำมาตรวจหาเชื้อเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงาน วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับเกณฑ์การยอมรับเพื่อกำหนดคุณลักษณะเครื่อง PAPR เบื้องต้นที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ณ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จ.นครปฐม

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่89/2563)วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Caliper (Digital)

 

A4 3 A4 2

A4 1 A4 4

       สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์บริกทาร ได้กิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) สาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Caliper (Digital) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ 2 กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้มีการรับ-ส่งตัวอย่างเครื่องมือ ณ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้การติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับริการ ต้องทำการเปลี่ยนสถานที่ติดต่อรับ-ส่งจากเดิม และกิจกรรมทดสอบความชำนาญได้เริ่มเวียนวัตถุตัวอย่าง (artifact) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จะสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2563 มีห้องปฎิบัติการต่างๆ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 43 ห้องปฏิบัติการ
        การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญในสาขาสอบเทียบรายการนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติ ที่มีใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก การแพทย์ วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านความยาวและมิติ จึงจำเป็นต้องได้รับการรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้แก่ห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการต้องมีวิธีการหรือขั้นตอนการปฏิบัติในการเฝ้าระวังความน่าเชื่อถือของผลทดสอบและสอบเทียบ การเข้าร่วมกิจกรรม PT ถือเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ เพื่อยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการที่ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดแก่ภาคอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล และห้องปฏิบัติการที่ให้บริการสอบเทียบยังต้องคงรักษาสภาพความน่าเชื่อถือของห้องปฏิบัติการไว้ และเตรียมความพร้อมหลังวิกฤติ COVID-19 ผ่านพ้นไป เพื่อบริการตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือในภาคอุตสาหกรรมที่มีการหยุดดำเนินการในช่วงนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

(ข่าวที่88/2563)วศ.อว. แนะใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารช่วยเก็บรักษาอาหาร สดใหม่ ช่วงวิกฤติอยู่บ้านหยุดเชื้อโควิด 19

ฟลม91129792 149570803201214 1238218116291362816 o

     16 เมษายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แนะเลือกใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารช่วยเก็บรักษาอาหาร สดใหม่ ช่วงวิกฤติอยู่บ้านหยุดเชื้อโควิด 19 ที่มีความจำเป็นต้องซื้ออาหารมาเก็บไว้ใช้ให้เพียงพอโดยไม่ต้องออกไปซื้อบ่อยครั้ง เมื่ออาหาร ผักผลไม้ที่ซื้อมาปริมาณมาก และต้องเก็บรักษาในภาชนะปิดสนิท เพื่อให้สดใหม่ ป้องกันฝุ่นละออง หรือ เชื้อจุลินทรีย์ นอกจากการแยกเก็บจัดใส่กล่องแล้ว การเลือกใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารไว้จะช่วยลดพื้นที่การเก็บ และคงความสดใหม่ ที่สำคัญฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารมีหลายชนิดที่ควรรู้จัก เพื่อจะได้เลือกซื้อมาใช้ได้ตรงกับประเภทอาหารที่จะเก็บรักษา โดยนักวิทยาศาสตร์ จากกลุ่มงานพลาสติก กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ให้ข้อมูลชนิดของฟิล์มยืดที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
     1) โพลีเอทิลีน (PE) มีสมบัติที่ให้ไอน้ำซึมผ่านได้น้อย แต่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ดี เหมาะสำหรับใช้ห่อผัก ผลไม้สด เป็นต้น
     2) โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสมบัติยอมให้ไอน้ำและอ็อกซิเจนไหลผ่านได้เหมาะสม ส่วนใหญ่นิยมใช้ห่ออาหารสด เพื่อช่วยรักษาความสดของอาหารเอาไว้ เช่น เนื้อสัตว์ และปลา เป็นต้น.
     3) โพลีไวนิลิดีนคลอไรด์ (PVDC) มีสมบัติที่เหมือนกับฟิล์มยืดที่ผลิตจาก PVC แต่จะทนความร้อนได้มากกว่า ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำ คงความสดของอาหารไว้ได้เป็นอย่างดี

     อย่างไรก็ตามการใช้ฟิล์มยืดที่ปลอดภัย ควรเลือกซื้อชนิดที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า (มอก.) ดูรายละเอียดและสัญลักษณ์ข้างกล่องบรรจุ ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานพลาสติก กองวัสดุวิศวกรรม วศ. โทร. 02 201 7000 ในวันและเวลาราชการ หรือติดตามข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้ทางเพจ Doctor D. ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ควบคุมดูแลข้อมูลโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีมโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7121, 0 2210 7097 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSS

  1. (ข่าวที่87/263)วศ.อว. ให้ข้อมูลการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ย้ำไม่ควรใช้น้ำยาซักผ้าขาวผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อเสี่ยงอันตรายได้
  2. (ข่าวที่86/2563)วศ.อว. แนะวิธีเก็บอาหารสดอย่างง่าย อยู่ได้นาน ช่วงอยู่บ้านยุคโควิด-19
  3. (ข่าวที่85/2563)วศ.อว. คุมเข้มความสะอาดปลอดภัยร้านค้าสวัสดิการ ต้านโควิด-19
  4. (ข่าวที่84/2563) วศ.อว.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Digital Thermometer with probe (RTD)
  5. (ข่าวที่83/2563) วศ. อว. กระตุ้นประชาชนใช้เวลาเรียนรู้เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างทักษะจากสารสนเทศดิจิทัลออนไลน์
  6. (ข่าวที่82/2563) วศ.อว. เคียงข้างประชาชนจับมือเครือข่ายเปิดแลปทดสอบผลิตภัณฑ์สนับสนุนการป้องกัน Covid-19 ฟรี!!
  7. (ข่าวที่81/2563) วศ.อว.ร่วมกับ มอ. พัฒนาหลักสูตร Dual degree สร้างนักศึกษาคุณภาพ
  8. (ข่าวที่80/2563) วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Gauge Block
  9. (ข่าวที่79/2563) วศ.อว.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ด้วยการวัดค่า Total Dissolved Solids (TDS)
  10. (ข่าวที่78/2563)วศ.อว. ยืนยันมาตรการ Work from Home ไม่กระทบต่อการให้บริการประชาชน