ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่154/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือเครือข่ายสถาบันการศึกษา เปิดมหกรรม“ วิทย์แก้จน OTOP นครพนมสร้างชาติ ”

D5 4 D5 1

D5 2 D5 3

12 กันยายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด “วิทย์แก้จน OTOP นครพนมสร้างชาติ ” ในพื้นที่จังหวัดนครพนม โดยมี นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยนางสาวลดา พันธ์สุขุมธนา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะ ร่วมเปิดงาน และ รศ.ดร.ชนินทร์ วะสีนนทน์ ที่ปรึกษามหาวิทยาราชภัฏสกลนคร กล่าวรายงาน ในระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน ณ พิพิธภัณฑ์และหอสมุดเมืองนครพนม เทศบาลเมืองนครพนม ตั้งแต่เวลา 09.00 – 19.00 น มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ 110 กลุ่ม 
               ในการนี้ นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว กล่าวว่า โครงการนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้นโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ต้องการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ไปช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ มาพัฒนากลุ่มพื้นที่ 10 จังหวัด เป้าหมาย ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน ชัยนาท นครพนม กาฬสิทธุ์ อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ปัตตานี นราธิวาส เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร โดยมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP (Bigrock) ให้ประสบความสำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด สำหรับในพื้นที่จังหวัดนครพนม กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในการดำเนินงานโครงการฯ เป็นโครงการที่มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเรื่องต่างๆ เช่น ย้อมสีธรรมชาติ สีไม่ตก สีสด ลายผ้า บรรจุภัณฑ์ เทคนิคการขาย ฯลฯ เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ OTOP ตลอดจนพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ รวมทั้งเพื่อผลักดันและสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปพัฒนากระบวนการผลิต และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ 
           โดยการจัดงานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมตลาดให้ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์หลังการพัฒนามาทดสอบตลาด ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครจึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด “วิทย์แก้จน OTOP นครพนมสร้างชาติ” กิจกรรมในงานประกอบไปด้วยการจัดแสดงสินค้า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับสินค้า OTOP โดยคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมงานจะได้ซื้อสินค้า OTOP ที่มีคุณภาพ และเห็นถึงความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และพัฒนาเข้าสู่การเป็นห่วงโซ่ที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป///

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว/ภาพ : คุณวุฒิ  ลี่แตง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

(ข่าวที่153/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการเปิดห้องปฏิบัติการด้านอาหารและวัสดุสัมผัสอาหารให้คณะ VINALAB เข้าศึกษาดูงาน

 

 

D4 1 D4 2

D4 3 D4 4

วันที่ 12 กันยายน 2561 นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ให้เกียรติเป็นประธานต้อนรับ คณะ Vietnam Associations of Testing Laboratories(VINALAB) จากประเทศเวียดนาม ในการเข้าศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ จำนวนกว่า 30 คน ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

           ในการนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการได้เปิดให้ศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ห้องปฏิบัติการด้านวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อน ของกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร ห้องปฏิบัติการด้านวัสดุสัมผัสอาหาร เซรามิกและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ของกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์ นำเยี่ยมชมและตอบข้อซักถามให้แก่คณะ VINALAB รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันด้วย คาดหวังให้เกิดประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในอนาคตต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว/ภาพ : พรระวินทร์ ควรแย้ม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

(ข่าวที่152/2561)เปิดตัวงานแสดงสินค้า และงานประชุมนานาชาติสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือห้องปฏิบัติการ "THAILAND LAB INTERNATIONAL 2018 ครั้งที่ 8"

 

 

D3 1 D3 4

D3 2 D3 3

  12 กันยายน 2561 นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ในฐานะผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน THAILAND LAB INTERNATIONAL 2018 ครั้งที่ 8 อย่างเป็นทางการ พร้อมนั้นกล่าวรายงานโดย คุณอนุชา พันธุ์พิเชษฐ หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้จัดโครงการ THAILAND LAB INTERNATIONAL 2018 บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด กล่าวต้อนรับโดยคุณแอนโตเนียส อ็อตธิร์น กรรมการบริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด กล่าวสนับสนุนการจัดงานโดย ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ดร.อุดม ชนะสิทธิ์ นายกสมาคมการค้าวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี นางสาวกนกพร ดำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และดร.ภัทรวีร์ สร้อยสังวาล ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา 
                นางอุมาพรกล่าวว่า งาน THAILAND LAB INTERNATIONAL 2018 เป็นงานที่ตอบรับนโยบายของรัฐบาล ที่ผลักดันและสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เครื่องมือ และบริการ สำหรับห้องปฏิบัติการ สร้างการค้าด้านเครื่องมือเทคโนโลยี รวมทั้งงานประชุมนานาชาติสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องมือห้องปฏิบัติการ จัดขึ้นภายใต้แนวความคิดผสมผสานกันระหว่าง เทคโนโลยีสมัยใหม่ Technology, การถ่ายทอดความรู้และสร้างเครือข่าย Network และการต่อยอดธุรกิจและการลงทุน Investment และบริษัทชั้นนำกว่า 330 บริษัท จาก 30 ประเทศทั่วโลก พร้อมด้วยพาวิลเลี่ยนนานาชาติ ทั้งจาก จีน อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน รวมทั้งพาวิลเลี่ยนพิเศษ ที่เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และกลุ่มอุตสาหกรรมทางการแพทย์ด้านสุขภาพ เพื่อเชิญชวนให้ผู้ซื้อ นักวิจัย ผู้ปฏิบัติการในห้องแล็บ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศได้มีโอกาสพบผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องมือแล็บได้โดยตรง
              ทั้งนี้งาน Thailand LAB INTERNATIONAL 2018 เป็นงานสำคัญระดับประเทศงานหนึ่ง เป็นการร่วมมือของภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงพันธมิตรจากต่างประเทศ มุ่งเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตอบโจทย์ทั้งกลุ่มนักธุรกิจที่ต้องการเพิ่มการลงทุนในประเทศไทยและอาเซียน รวมไปถึงภาครัฐและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการเผยแพร่เนื้อหา แลกเปลี่ยนความรู้จากงานวิจัยต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอดกลับมาพัฒนาประเทศ งานนี้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี 2011 จนถึงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 ซึ่งมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ได้เพิ่มเนื้อหาด้านวิชาการ การนำผู้ผลิต และผู้นำด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ จากต่างประเทศ มาจับคู่ เจรจาธุรกิจ กับผู้ค้าในประเทศไทย รวมไปถึงอาเซียนด้วย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว/ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

(ข่าวที่151/2561)วศ. ผนึกกำลัง 3 หน่วยงานใหญ่ยกระดับ “ผ้าทออีสาน-ล้านนา ร่วมสมัย”ด้วยนวัตกรรม

 

 

D2 1 D2 3

D2 2 D2 4

 10 กันยายน 2561 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผนึกกําลัง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จัดงานแสดงผลงาน “นวัตกรรมผ้าทออีสาน - ล้านนา ร่วมสมัย” ณ ลานอีเดน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล ภายใต้โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานด้วยนวัตกรรม ประจําปี 2561 มิติใหม่ของวงการทอผ้าไทย ที่ร่วมผลักดันศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (OTOP) และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคอีสาน และ 3 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 110 กลุ่ม รวม 1,034 คน ให้มีความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายของอีสาน – ล้านนา ด้วยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ ผสมผสานกับการออกแบบบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่า ความแตกต่าง และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสามารถต่อยอดทางธุรกิจกับผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงดึงดูดกลุ่มวัยรุ่นและวัยทํางานหันมาให้ความสําคัญการสวมใส่ผ้าไทยในชีวิตประจําวัน ที่มีการผสมผสานนวัตกรรมและถูกดีไซน์ออกมาให้เหมาะสมและทันสมัย พร้อมทั้งกระตุ้นให้ทุกคนหันมาใช้สอยผลิตภัณฑ์ของไทยให้มากยิ่งขึ้น
                   นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ เน้นการนำนวัตกรรม คัลเลอร์ไอดีเลเบลลิง (Color ID Labeling) เป็นมาตรฐานสีที่บ่งบอกอัตลักษณ์ได้อย่างแม่นยํา ควบคู่กับการใช้สื่อดิจิตอลประเภท คิวอาร์โค้ด (QR Code) และ เออาร์โค้ด (AR Code) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของ ผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ วิถีชีวิต และความพิถีพิถันในการออกแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ ด้วยวิธีแบบดั้งเดิมให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่ได้พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอเทคนิคการทอผ้ายีนส์จากเส้นฝ้ายและเส้นไหม โดยใช้วิธีการทอมือด้วยกี่ดั้งเดิม และการย้อมเส้นใยด้วยครามธรรมชาติ ทําให้เกิดผ้ายีนส์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 
                    ภายในงานมีกิจกรรมเสวนาความสำเร็จของโครงการโดย ดร.นพ ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางอุมาพร สุขม่วงอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการรองศาสตราจารย์สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครและ ดร. ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นิทรรศการโชว์ผลสำเร็จจากนวัตกรรมผ้าทอ การแสดงแฟชั่นโชว์ผลงานสุดอลังการ รวมทั้งยังได้เหล่าเซเลบริตี้มาแชร์ประสบการณ์ และแนะนำเคล็บลับดีๆ เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ผ้าไทย โดย ป้อม อัครเดช นาคบัลลังก์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ “สบันงา" พร้อมด้วย หนูสิ - สิริรัตน์ เรืองศรี มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2010 มาแนะนำด้านการแต่งตัวด้วยผ้าไทยให้สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้จริงของโลกต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : ธนากร ปัญญาฤดีพร  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

 

(ข่าวที่150/2561)กรมวิทย์ฯ ร่วมงาน 8th IUPAC International Conference on Green Chemistry

 

 

D1 1 D1 2

D1 3 D1 4

10 กันยายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ดร. จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดี และคณะ ในฐานะ National Adhering Organization (NAO) ของ Internationnal Union of Pure and Applied Chemistry (IUPAC) เข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ 8th IUPAC International Conference on Green Chemistrty โดยมี ศ.ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ Prof. Pietro Tundo ประธาน Interdivisional Committee on Green Chemistry for Sustainable Development (ICGCSD) กล่าวต้อนรับ Prof. Christopher Brett รองประธาน IUPAC เชิญรางวัลนักวิจัยดีเด่น 9 ท่าน และ Prof. Nicole Jeanne Moreau กล่าวเปิดงาน การประชุมฯ จัดระหว่างวันที่ 9-14 กันยายน 2561 ณ โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงาน ราว 600 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลก
          ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICGCSD เป็นครั้งแรกในเอเชีย โดยสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การประชุมวิชาการครั้งนี้เน้น “Green for Sustainable Growth : Chemistry, Scaling-Up, Economic, Regulation, Innovation and Education” ซึ่งจะมีการนำเสนอผลงานวิชาการใน 4 หัวข้อหลักคือ (1) Green Chemicals, Polymers, and Materials (2) Green Synthesis, Manufacturing and Engineering Processes (3)Green Fossil Energy, Biomass, and Future Fuels และ (4) Green Chemistry Education นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอโปสเตอร์ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการร่วมจัดนิทรรศการด้วย 8th IUPAC Internationnal Conference on Green Chemistrty ครั้งนี้ Prof. Christopher Brett รองประธาน IUPACได้พบปะกับนักวิจัยไทยและเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะร่วมพัฒนางานวิจัยระดับแนวหน้า (Frontier Research) ของโลกต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว/ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 
  1. (ข่าวที่149/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานและมอบวัสดุโครงการยกระดับ OTOP ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  2. (ข่าวที่148/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามโครงการยกระดับสินค้า OTOP จ.บุรีรัมย์
  3. (ข่าวที่147/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน การนำเทคโนโลยียกระดับสินค้า OTOP จ.น่าน ครั้งที่ 2
  4. (ข่าวทืี่146/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน โครงการยกระดับสินค้า OTOP จ.บุรีรัมย์ ครั้งที่ 1 ตามนโยบายวิทย์แก้จน ด้วยงบประมาณ Big Rock
  5. (ข่าวที่145/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ หนุนผ้าไทยสู่สากล เปิดตัว "คัลเลอร์ ไอดี เลเบลลิ่ง" (Color ID Labeling) แอพพลิเคชั่น สำหรับคนรักผ้าไทย
  6. (ข่าวที่144/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน การนำเทคโนโลยียกระดับสินค้า OTOP จ.นครพนม
  7. (ข่าวที่143/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ เร่งดำเนินงานช่วยยกระดับผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่ 10จังหวัดเป้าหมาย
  8. (ข่าวที่142/2561) กรมวิทยาศาสตร์บริการ มุ่งยกระดับ OTOP ผ้า จ.นครพนม ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  9. (ข่าวที่141/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำ วทน. ยกระดับ OTOP จัดงาน “มหกรรมวิทย์ สร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค” จังหวัดนราธิวาส
  10. (ข่าวที่140/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการผ่านการคงสถานะการยอมรับร่วม 3 ขอบข่ายจาก APLAC