ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 185/2567) กรมวิทย์ฯบริการ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การผลิตแผ่นตกแต่งภายในอาคารด้วยเส้นใยจากกาบมะพร้าว” สร้างรายได้แก่ชุมชน เพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

21

9

 

             วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นายก่อพงศ์ หงษ์ศรี หัวหน้ากลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ณ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแผ่นตกแต่งภายในอาคารด้วยเส้นใยจากกาบมะพร้าว ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือก การปรับปรุงคุณภาพเส้นใยจากกาบมะพร้าว การเติมสารเติมแต่ง (filler) และตัวประสาน (binder) การขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ (mold) การลอกแผ่นติดหนังออกจากแม่พิมพ์และการตรวจสอบความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรมชาติ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ให้สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างรายได้แก่ชุมชน และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่

               ตามนโยบายรัฐบาลในการเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยรูปแบบ BCG Economy Model ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ และให้ความสำคัญกับการนำวัตถุดิบที่ผ่านการบริโภคหรือเหลือทิ้งทางการเกษตรเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่หรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ กรมวิทย์ฯ บริการ จึงดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาแผ่นตกแต่งภายในอาคารจากกาบมะพร้าว จนสามารถผลิตแผ่นติดผนังฯ จากกาบมะพร้าว ที่มีความสวยงาม แข็งแรง การนำความร้อนต่ำสามารถเป็นฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียงได้ดี พร้อมนำเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นถ่ายทอดสู่ชุมชนที่มีความพร้อมให้สามารถผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ เป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของชุมชนให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน

              หากสนใจเทคโนโลยี การผลิตแผ่นตกแต่งภายในอาคารด้วยเส้นใยจากกาบมะพร้าว สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กลุ่มงานเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม โทร.02-201-7307 หรือ e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 184/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนความพร้อมบุคลากร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Measurement uncertainty and decision rule in conformity assessment” ความไม่แน่นอนของการวัด และกฎการตัดสินใจในการประเมินความสอดคล้องของผลการทดสอบ

4

10

 

              วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2567 นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Measurement uncertainty and decision rule in conformity assessment” ความไม่แน่นอนของการวัด และกฎการตัดสินใจในการประเมินความสอดคล้องของผลการทดสอบ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมและได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงข้อกำหนด Decision rule และสามารถประยุกต์ใช้  Decision rule ในการตัดสินประเมินความสอดคล้องตามข้อกำหนดเฉพาะ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวทิพวรรณ นิ่งน้อย ข้าราชการบำนาญ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาเป็นวิทยากร โดยมีนักวิจัยกรมวิทย์ฯ บริการ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน ณ ห้อง 320 ชั้น 3 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 183/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. จับมือจังหวัดสมุทรสงคราม หนุน “อัมพวา โมเดล” เดินหน้าถ่ายทอดองค์ความรู้การจำกัดน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวอย่างยั่งยืน

451841029 892406059581715 3297839950709849

451834638 892406276248360 6003930325286990

 

             เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และ นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียจากการแปรรูปมะพรต้าวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (อัมพวา โมเดล) ถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางการจัดการน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ บูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ส่งเสริมอาชีพเพื่อพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับการรักษาสภาพแวดล้อมจากการประกอบอาชีพด้านการแปรรูปมะพร้าว มีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 150 คน ณ ห้องประชุม ชั้น 4 โรงแรมชูชัยบุรีศรีอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
            นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวว่า ตามนโยบายของนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนายกระดับชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความอย่างยั่งยืน โดยนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาช่วยส่งเสริมและแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งกรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. มีบทบาทภารกิจหลักในการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) มีเป้าหมายสำคัญในการนำกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชนเพื่อรตอบโจทย์สำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้สามารถสนับสนุนและเอื้อประโยชน์เพื่อบริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่ชุมชนให้มากขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ
            สำหรับโครงการอัมพวาโมเดล เป็นการบูรณาการร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีหน่วยงานหลักของจังหวัดร่วมขับเคลื่อน ได้แก่ สภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานสาธารณสุขอำเภออัมพวา เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวในพื้นที่อำเภออัมพวา ทั้งนี้ เพื่อจัดการน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าว ทั้งด้านการกำหนดนโยบาย และข้อกำหนดในการจัดการน้ำเสีย รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีการจัดการน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการนำร่องที่สามารถขยายผลไปยังอำเภออื่นในจังหวัดสมุทรสงครามได้ และสามารถใช้เป็นต้นแบบในการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืนสำหรับกิจการอื่นๆ ในจังหวัดสมุทรสงครามเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยังยืนต่อไป
            ภายในงาน ได้มีเสวนาหัวข้อ “แนวทางการจัดการน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวอย่างยั่งยืน” โดยได้รับเกียรติจากนายสมฤทธิ์ วงษ์สวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม , นายยรรยงค์ อินทฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม , นายสุชิน น้อยสกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ,นายอมรพล ช่างสุพรรณ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และนางสาวเจนจิรา ภูริรักษ์พิติกร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ มาเป็นวิทยากร ถือเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ และหน่วยงานบูรณาการงานวิจัยฯ ให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม และการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกด้วย

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 182/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ประสานความร่วมมือศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภูมิภาค ยกระดับ ห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศสู่ระดับสากล

7418593215

963978887874588

 

              กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภูมิภาคยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายในประเทศให้ได้มาตรฐานสากลและเป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎระเบียบของประเทศไทยและประเทศคู่ค้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันไทยมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับที่ 2 ของโลก คิดเป็นมูลค่าเชิงเศรษฐกิจกว่า 150,000 ล้านบาทต่อปี
             วันที่ 15-17 พฤษภาคม และ 10-13 มิถุนายน 2567 คณะเจ้าหน้าที่และนักวิทยาศาสตร์ กรมวิทย์ฯบริการ ลงพื้นที่เข้าพบผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 3 และ 4 และได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายของภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก (มหาชน) วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว บริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) สาขา น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลอีสาน จำกัด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อการส่งเสริมและยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศสู่ระดับสากล พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและองค์ความรู้ร่วมกับนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต การทดสอบคุณภาพ ตลอดจนปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของภาคอุตสาหกรรม เพื่อนำมาปรับปรุงระบบประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย ให้เป็นไปตามกฎระเบียบและตอบโจทย์ความต้องการประเทศคู่ค้า โดยการเพิ่มสมรรถนะของห้องปฏิบัติการทดสอบภายในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 มีขอบข่ายการทดสอบครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก สามารถรองรับการขยายตัวและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) หลักของประเทศโดยมีการผลิตและส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับที่ 2 ของโลก คิดเป็นมูลค่าเชิงเศรษฐกิจกว่า 150,000 ล้านบาทต่อปี สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2566-2570
             กรมวิทย์ฯบริการ ตระหนักถึงความสำคัญกลไกการประกันคุณภาพสินค้า ด้วยห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้มาตรฐานสากล โดยร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆของประเทศ เร่งขับเคลื่อนการยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาลทรายให้ได้มาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและสร้างความแข็งแกร่งของระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ตามนโยบายของท่านอธิบดีฯ โดยปัจจุบันห้องปฏิบัติกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ในขอบข่ายความชื้น ค่าสี ค่าโพลาไรเซชั่น ในน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ทั้งนี้กำลังขยายขอบข่ายในการรับรองด้านเถ้าคอนดักติวิตี้ สิ่งที่ละลาย และค่าน้ำตาลรีดิวซิง ในปี พ.ศ. 2567 อย่างไรก็ตาม วศ.อว. สามารถวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายตามวิธีมาตรฐาน International Commission for Uniform Methods of Sugar Analysis (ICUMSA) ในผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลทรายดิบ ตามข้อกำหนด กฎระเบียบของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 181/2567) กรมวิทย์ฯบริการ โชว์ศักยภาพศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAVs) แก่คณะผู้บริหารระดับสูง หลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) รุ่นที่ 4” และคณะเจ้าหน้าที่สนข.

1

5

 

            ดร.ปาษาณ กุลวาณิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) หัวหน้าโครงการพัฒนาสนามทดสอบยานยนต์ CAV Proving Ground ของ วศ. พร้อมทีมงานผู้วิจัย ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) รุ่นที่ 4” และคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่เข้าร่วมอบรมภายใต้โครงการการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) เข้าเยี่ยมศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAVs) ของ วศ. บนพื้นที่ 26 ไร่ ณ EECi วังจันทร์วัลเลย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง โดยได้สาธิตการทดสอบรถอัตโนมัติบนสนามทดสอบ CAV ที่มีการจำลองลักษณะของถนนในประเทศไทย การทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยของระบบ assisted/automated driving และแสดงศักยภาพการทำงานของหุ่นยนต์ล่อเป้าที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อรองรับการทดสอบด้วยระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
            ดร.ปาษาณฯ กล่าวว่า ขณะนี้สนามทดสอบรถอัตโนมัติ CAV Proving Ground อยู่ในระหว่างการดำเนินงานในระยะที่ 2 คือการก่อสร้างอาคารสำนักงาน (Control and Welcome Center) และอาคาร Small Workshop สำหรับใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานเชิงเทคนิค ก่อสร้างอุโมงค์กันสัญญาณ GNSS ติดตั้งระบบตรวจติดตามรถ ณ 4 แยก ด้วยเลเซอร์ผ่านเครือข่าย 5G สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลจราจรกับรถอัตโนมัติที่ขับผ่านทางแยกนั้นผ่านเครือข่าย 5G เพื่อจัดเก็บข้อมูลการจราจร ตำแหน่ง ความเร็ว และทิศทางของยานยนต์ ที่มีความแม่นยำสูง สำหรับให้ยานยนต์อัตโนมัติได้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในการนำทางผ่าน 4 แยกได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้นแต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวของยานยนต์ที่ถูกตรวจจับ เนื่องจากการติดตามจะไม่บันทึกข้อมูลป้ายทะเบียนรถ อีกทั้งมีการพัฒนาการทดสอบนวัตกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ได้แก่ การพัฒนาวิธีทดสอบ ADAS แบบใช้เป้าสะท้อนสัญญาณ RADAR แบบลาก และการทดสอบระบบ HD map แบบแม่นยำสูง เพื่อยกระดับมาตรฐานยานยนต์แห่งอนาคตที่พัฒนาได้เองภายในประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ลดค่าใช้จ่ายในการส่งออกรถยนต์ไปทดสอบในต่างประเทศ โดยคาดว่าการก่อสร้างสนามทดสอบรถอัตโนมัติ CAV Proving Ground จะแล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการภายในปี 2568
             ทั้งนี้ในระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการจะยกสนามทดสอบฯจำลอง มาไว้ในงาน มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : Sci Power For Future Thailand) มหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดด้านนวัตกรรม ที่รวบรวมความสนุก ตื่นเต้น เร้าใจในทุกเรื่องเทคโนโลยีนวัตกรรม ทั้งในชีวิตประจำวัน อนาคตสุดล้ำ และวิทยาศาสตร์ใกล้ตัวมากมาย ณ บริเวณโซน F (โซน Science for Future Thailand) ฮอลล์ 1-4 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ เวลา 10.00-20.00 น.

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 180/2567) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมประชุม “APAC Annual Meetings 2024” ในฐานะประเทศสมาชิกเพื่อการยอมรับร่วม
  2. (ข่าวที่ 179/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนความพร้อมบุคลากร ด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. (ข่าวที่ 178/2567) รัฐมนตรี "ศุภมาส" จัดประชุมวิชาการระดับโลกสร้างความร่วมมือ 56 ประเทศ ส่งเสริมการศึกษาวิทยาศาสตร์ “เคมี” สร้างสมดุล คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
  4. (ข่าวที่ 177/2567) รมว.“ศุภมาส” ให้กรมวิทย์ฯ บริการสานความร่วมมือกรมส่งเสริมการเกษตร ยกระดับคุณภาพเกลือทะเลไทยสู่สากล สร้างมูลค่าการส่งออกกว่า 1,000 ล้านบาท
  5. (ข่าวที่ 176/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ฯ” หนุนบุคลากรยกระดับพัฒนาศักยภาพ ออกปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  6. (ข่าวที่ 175/2567) นักวิจัย กรมวิทย์ฯบริการ ชนะเลิศเหรียญทอง Gold Medal Award ในการประกวด Worldlnvent Singapore 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์
  7. (ข่าวที่ 174/2567) เอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ ชื่นชมผลงานของคณะนักประดิษฐ์ไทยที่นำเสนอในงาน “WorldInvent Singapore 2024” พร้อมสนับสนุนในการสร้างโอกาสการพัฒนาด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในสิงคโปร์
  8. (ข่าวที่ 173/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เปิดบ้านต้อนรับ คณะผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากร ภาควิชาเคมี มทร.ธัญบุรี เข้าศึกษาดูงานและหารือ “การอบรมและยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบ” เพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการยกระดับห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ให้ได้มาตรฐานสากล
  9. (ข่าวที่ 172/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จับมือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ขานรับนโยบายรัฐมนตรี อว. “ศุภมาส” เดินหน้าพัฒนาห้องปฏิบัติการสู่การเป็นเครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม อว. รองรับการให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานในพื
  10. (ข่าวที่ 171/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงานแถลงข่าว อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND เดินหน้ายกระดับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต

Page 3 of 433