ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 190/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. ส่งเสริมความปลอดภัยทางชีวภาพ จัดอบรม Biosafety และ Biosecurity ให้กับบุคลากรห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์

452176160 893970539425267 5484674117697031329 n

452289597 893970226091965 400628023254

 

               นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ห่วงใยสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ จึงได้มอบหมายให้กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) วศ. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity) ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องผู้ดำเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
            การฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง 519 ชั้น 5 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยเนื้อหาประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามรายละเอียดที่กำหนดครบถ้วนและได้รับการรับรองหลักสูตรโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ตรวจประเมิน ISO/IEC 17025 ทางจุลชีววิทยา นำโดย ดร.สุพรรณี เทพอรุณรัตน์ อาจารย์เกรียงไกร นาคะเกศ หัวหน้ากลุ่มรับรองความสามารถบุคลากร กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ พร้อมคณะวิทยากรจากกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจาก 22 หน่วยงาน รวม 36 ท่าน เป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ จากภาครัฐ 15 ท่าน และภาคเอกชน 21 ท่าน
             วศ.อว. มุ่งหวังให้ผู้ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ในหน่วยงานของตนเอง อีกทั้งปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย สร้างความตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยทางชีวภาพ สามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง บุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม ตามภารกิจ กรมวิทยาศาสตร์บริการ “นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน”

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 189/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนผู้ประกอบการให้เกิดทักษะกระบวนการผลิตที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์

452050383 893968422758812 3963353394678789202 n

452169565 893968429425478 87994732297187396 n

 

               เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกองเทคโนโลยีชุมชน (ทช.) กลุ่มอำนวยการเทคโนโลยีชุมชน ได้ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการอาหารที่ผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกและเครื่องดื่ม ในพื้นที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
             การลงพื้นที่ฯ ในครั้งนี้มุ่งหวังให้เกิดการนำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วศ. ไปแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการอาหารในการพัฒนากระบวนการผลิต การวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการเกิดทักษะกระบวนการผลิตที่ดี ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามโดดเด่น มีเอกลักษณ์ และสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการสามารถพึ่งพาตนเองได้

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 188/2567) กรมวิทย์ฯบริการ ร่วมประชุมวิชาการ “APFAN Workshop 2024” และนำเสนอโปสเตอร์เรื่อง “The validated method and uncertainty measurement of four cannabinoids in beverages”

452021997 89350745280490

452029399 893507466138241

 

              กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นางวรรณี อู่ไพบูรณ์ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร พร้อมด้วยนางเยาวลักษณ์ ชินชูศักดิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ นางจุฑาทิพย์  ลาภวิบูลย์สุข และนางอัจฉราวรรณ  วัฒนหัตถกรรม เข้าร่วมประชุมวิชาการ “APFAN Workshop 2024” ณ เมืองปูตราจายา ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 โดยการประชุมครั้งนี้ได้ร่วมนำเสนอโปสเตอร์ เรื่อง  “The validated method and uncertainty measurement of four cannabinoids in beverages” และได้รับรางวัล BEST POSTER PRESENTATION AWARD ชนะเลิศอันดับที่ 2 ในงานประชุมวิชาการประจำปี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้จากนานาประเทศทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก อาทิ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ โดย APFAN 2024 International Workshop on Advancing Food Analysis, Safety and Testing Standards for Global Comparability เป็นการประชุมวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักวิเคราะห์อาหารในบทบาทสองประการ (1)เพื่อให้ได้รับคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร และโภชนาการที่ดี และ (2) เพื่อส่งเสริมการค้าอาหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก APFAN ช่วยสนับสนุนการรักษาและปรับปรุงความสามารถในการวิเคราะห์อาหาร ซึ่งทำโดยการพัฒนาเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางด้านอาหารและนักเทคโนโลยีอาหารในการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ในการวิเคราะห์ทดสอบอาหาร การทดสอบความชำนาญ  ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

 

(ข่าวที่ 187/2567) งาน “อว.แฟร์” ศูนย์ฯ สิริกิติ์ สุดยิ่งใหญ่ กรมวิทย์ฯ บริการ จำลอง “สนามทดสอบรถอัตโนมัติ” โชว์ พร้อมเดินหน้าเสริมความเชื่อมั่น ผลักดันการพัฒนายานยนต์อัตโนมัติในไทย

0001

0002

004

 

             กระทรวง อว. โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ เดินหน้าพัฒนา “สนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ” สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความปลอดภัย รองรับการพัฒนาและผลิตยานยนต์อัตโนมัติในไทยให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล เผยความคืบหน้าอยู่ระหว่างดำเนินการเฟส 2 คาดเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการได้ภายในปี 2568 พร้อมยก “สนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติจำลอง” มาโชว์ศักยภาพในงาน “อว.แฟร์” 22-28 กรกฎาคมนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เปิดเผยว่า ตามนโยบายของนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นแผนงานสำคัญโดยเน้นผลักดัน 3 แผนงานที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ 1) EV-HRD การพัฒนาทักษะกำลังคน เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 2) EV-Transformation การส่งเสริมให้หน่วยงานภายใต้ อว. ปรับเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 3) EV-Innovation การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ขานรับนโยบายดังกล่าวและเห็นความสำคัญของการพัฒนายานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicle) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย แม้บางประเทศแม้จะมีการทดสอบใช้งานจริงในพื้นที่สาธารณะแล้ว แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งด้านสมรรถนะและความปลอดภัยก็ยังคงเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
              โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งมีภารกิจหลักในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ(NQI) ของประเทศจึงได้จัดทำ “โครงการสร้างสนามทดสอบรถอัตโนมัติหรือ Connected and Autonomous Vehicle (CAV) Proving Ground”ขึ้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จ.ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาและผลิตยานยนต์อัตโนมัติในประเทศให้ได้มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ.2565-2568) คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ถึง 2 แสนล้านบาทในปี 2573
             ด้านดร.ปาษาณ กุลวาณิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) หัวหน้าโครงการพัฒนาสนามทดสอบยานยนต์ CAV Proving Ground กล่าวว่า ปัจจุบันการดำเนินงานโครงการระยะแรก คือปรับพื้นที่ และสร้างสนามส่วนถนนแล้วเสร็จ ขณะนี้สนามทดสอบรถอัตโนมัติ CAV Proving Ground อยู่ในระหว่างการดำเนินงานในระยะที่ 2 คือ การก่อสร้างอาคารสำนักงาน (Control and Welcome Center) และอาคาร Small Workshop สำหรับใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานเชิงเทคนิค ก่อสร้างอุโมงค์กันสัญญาณ GNSS ติดตั้งระบบตรวจติดตามรถ ณ 4 แยก ด้วยเลเซอร์ผ่านเครือข่าย 5G สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลจราจรกับรถอัตโนมัติที่ขับผ่านทางแยกนั้นผ่านเครือข่าย 5G เพื่อจัดเก็บข้อมูลการจราจร ตำแหน่ง ความเร็ว และทิศทางของยานยนต์ที่มีความแม่นยำสูงสำหรับให้ยานยนต์อัตโนมัติได้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในการนำทางผ่าน 4 แยกได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวของยานยนต์ที่ถูกตรวจจับ เนื่องจากการติดตามจะไม่บันทึกข้อมูลป้ายทะเบียนรถ อีกทั้งมีการพัฒนาการทดสอบนวัตกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ได้แก่ การพัฒนาวิธีทดสอบ ADAS แบบใช้เป้าสะท้อนสัญญาณ RADAR แบบลาก และการทดสอบระบบ HD map แบบแม่นยำสูง เพื่อยกระดับมาตรฐานยานยนต์แห่งอนาคตที่พัฒนาได้เองภายในประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ลดค่าใช้จ่ายในการส่งออกรถยนต์ไปทดสอบในต่างประเทศ โดยคาดว่าการก่อสร้างสนามทดสอบรถอัตโนมัติ CAV Proving Ground จะแล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการภายในปี 2568
             ดร.ปาษาณ กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันยานยนต์ไร้คนขับยังไม่สามารถออกมาใช้งานได้เทียบเท่ารถที่วิ่งบนถนน ทำให้เกิดการคาดการณ์ที่ผิดพลาด ส่งผลให้นักลงทุนถอนตัว สตาร์ทอัพหลายพันบริษัททยอยเลิกกิจการจนเหลือเพียงไม่ที่รายที่ยังคงวิจัยและพัฒนาต่อ แต่ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้าง “สนามทดสอบรถอัตโนมัติ” และผลักดัน “อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่” ซึ่งยานยนต์ไร้คนขับอาจจะไม่สำเร็จภายใน 2-5 ปีนี้ แต่ไม่ได้แปลว่าจะทำไม่สำเร็จ เมื่อสำเร็จแล้วจะเกิดประโยชน์หลายอย่างที่ตามมา ได้แก่ ทำให้อุบัติเหตุบนถนนเป็นศูนย์ ทำให้อุตสาหกรรมการขนส่งที่เป็น Smart City มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อจำกัดทางร่างกายช่วยผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถเดินทางง่ายขึ้น ตลอดจนการดึงนักลงทุนเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย
             “ยานยนต์ไร้คนขับถือเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจมาก ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมกับการใช้งานในโรงงาน คลังสินค้า สนามบิน แคมปัส ท่าเรือ ซึ่งการที่ไทยยังพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งสามารถใช้บนท้องถนน ไทยจะได้เป็นส่วนหนึ่งไม่ต้องรอรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศอย่างเดียว และสามารถดึงนักลงทุนเข้ามาสร้างมูลค่าภายในประเทศได้ เพราะมีนวัตกรรมที่พร้อมใช้แล้ว”
              อย่างไรก็ดีในระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการจะนำสนามทดสอบฯ จำลองทั้งสนามมาไว้ในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ อว.แฟร์ : Sci Power For Future Thailand ” ณ บริเวณโซน F (โซน Science for Future Thailand) ฮอลล์ 1-4 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ เวลา 10.00-20.00 น.
             นอกจากนี้ ภายในงาน อว.แฟร์ กรมวิทย์ฯ บริการ ยังจัดกิจกรรมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ความสำคัญของการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืน” ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องอบรม MR 209 ชั้น 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ และ หัวข้อ “บทบาทการสอบเทียบกับคุณภาพแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์สมัยใหม่” ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องอบรม MR 204 ชั้น 2 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ และยังได้เชิญสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) มาร่วมแสดงผลงานการพัฒนาหุ่นยนต์ ภายในพื้นที่จัดนิทรรศการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ อีกด้วย

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 186/2567) วศ.อว. ร่วมกับ กฟภ. เสริมห้องสมุดแหล่งการเรียนรู้อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม รร.บ้านป่าซาง จ.ลำพูน

451990253 804072675197640 9155779319162315403 n

451719243 804076981863876 282886726085480701 n

 

              วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ และเจ้าหน้าที่กองหอสมุดฯ ร่วมส่งมอบห้องสมุดสีเขียวและจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยมีร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช ประธานกรรมการธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นประธานในพิธีส่งมอบโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ประจำปี 2567 พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานราชการ ผู้บริหารและพนักงาน ร่วมในพิธี ณ โรงเรียนบ้านป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมกว่า 100 คน
             การดำเนินงานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กรมวิทยาศาสตร์บริการ วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงห้องสมุด ของโรงเรียน และการคัดแยกหนังสือให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยในระหว่างวันที่ 16 - 18 กรกฏาคม 2567 เจ้าหน้าที่กองหอสมุดฯ ได้ลงพื้นที่ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนบ้านป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยการคัดแยกหมวดหมู่หนังสือ ติดแถบสีตามหมวดหมู่ ลงข้อมูลในระบบห้องสมุดอัตโนมัติกว่า 1,200 รายการ เพื่อให้การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการยืม-คืน สารสนเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มมุมการเรียนรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ยกระดับให้เป็นห้องสมุดสีเขียว "Green Library” โดยจัดห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมให้เยาวชนมีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมการเรียนรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท พร้อมทั้งกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ การทำน้ำหมักชีวภาพจากการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ขจัดคราบไขมัน หรือบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น เป็นสารบำรุงต้นไม้ ต่อไป

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 185/2567) กรมวิทย์ฯบริการ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การผลิตแผ่นตกแต่งภายในอาคารด้วยเส้นใยจากกาบมะพร้าว” สร้างรายได้แก่ชุมชน เพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
  2. (ข่าวที่ 184/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนความพร้อมบุคลากร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Measurement uncertainty and decision rule in conformity assessment” ความไม่แน่นอนของการวัด และกฎการตัดสินใจในการประเมินความสอดคล้องของผลการทดสอบ
  3. (ข่าวที่ 183/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. จับมือจังหวัดสมุทรสงคราม หนุน “อัมพวา โมเดล” เดินหน้าถ่ายทอดองค์ความรู้การจำกัดน้ำเสียจากการแปรรูปมะพร้าวอย่างยั่งยืน
  4. (ข่าวที่ 182/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ประสานความร่วมมือศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภูมิภาค ยกระดับ ห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศสู่ระดับสากล
  5. (ข่าวที่ 181/2567) กรมวิทย์ฯบริการ โชว์ศักยภาพศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAVs) แก่คณะผู้บริหารระดับสูง หลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) รุ่นที่ 4” และคณะเจ้าหน้าที่สนข.
  6. (ข่าวที่ 180/2567) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมประชุม “APAC Annual Meetings 2024” ในฐานะประเทศสมาชิกเพื่อการยอมรับร่วม
  7. (ข่าวที่ 179/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนความพร้อมบุคลากร ด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
  8. (ข่าวที่ 178/2567) รัฐมนตรี "ศุภมาส" จัดประชุมวิชาการระดับโลกสร้างความร่วมมือ 56 ประเทศ ส่งเสริมการศึกษาวิทยาศาสตร์ “เคมี” สร้างสมดุล คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
  9. (ข่าวที่ 177/2567) รมว.“ศุภมาส” ให้กรมวิทย์ฯ บริการสานความร่วมมือกรมส่งเสริมการเกษตร ยกระดับคุณภาพเกลือทะเลไทยสู่สากล สร้างมูลค่าการส่งออกกว่า 1,000 ล้านบาท
  10. (ข่าวที่ 176/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ฯ” หนุนบุคลากรยกระดับพัฒนาศักยภาพ ออกปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Page 2 of 433