ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 77/2567) นักวิทย์ฯ กรมวิทย์บริการ อว. สร้างชื่อรับรางวัลระดับนานาชาติ นวัตกรรมฆ่าเชื้อในรถพยาบาลฉุกเฉิน

F462 1 F462 3 F462 2

F462 6 F462 5 F462 4

 

           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงนโยบายสำคัญด้านการพัฒนากำลังคนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. นางสาวศุภมาศ อิสระภักดี เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนตามแนวทางที่กำหนดในยุทธศาสตร์ชาติ โดย วศ.อว. มุ่งมั่นส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานแสวงหาพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยียกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมของประเทศ
          ล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. ได้ส่ง นางสาวพรรัตน์ ไชยมงคล นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กองเทคโนโลยีชุมชน เข้าร่วมงาน International Exhibition of Inventions in the Middle East ณ ประเทศคูเวต จัดโดย Kuwait Science Club ในพระอุปถัมภ์ของเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต โดยนำผลงาน “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน“ โดยการใช้กระบวนการ Advanced Oxidation Process ในการฆ่าเชื้อโรคทั้งในพื้นผิวและอากาศภายในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน” ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ตัวแทนจากประเทศไทยเข้าประกวดและได้รับรางวัลระดับนานาชาติ นับเป็นที่น่ายินดีและนำมาซึ่งความภาคภูมิใจอย่างยิ่งแก่นักวิทยาศาสตร์และชาว วศ.อว. ที่เรามีนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ทั้งเก่งและมีความรู้ความสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติได้
           นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานฯ ดังกล่าว ได้รับเกียรติจากเอกอัครราชทูตฯ ณ คูเวต ร่วมแสดงความยินดีและพูดคุยกับทีมนวัตกรเกี่ยวกับโอกาสทำความร่วมมือด้านนวัตกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องระหว่างไทยกับคูเวต พร้อมทั้งเชิญชวนทีมนวัตกรเข้าร่วมโครงการ Soft Power ของสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขยายเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต
          สำหรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินฯ ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 Model ได้แก่ Model สำหรับติดตั้งในสถานีรถพยาบาล จะใช้งานเมื่อรถพยาบาลออกไปให้บริการผู้ป่วยและกลับมาทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่ Station และ Portable Model สำหรับติดตั้งในรถพยาบาล กรณีที่ไม่สามารถกลับเข้าทำความสะอาดที่สถานีได้ ตัวเครื่องใช้แบตเตอรี่และสามารถชาร์จไฟจากรถพยาบาลได้ โดยทั้ง 2 model ทำการฆ่าเชื้อแบบอัตโนมัติ สามารถสั่งงานผ่าน Remote หรือ Applications โดยไม่ต้องใช้คนเข้าไปทำความสะอาดฆ่าเชื้อ
           ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวฯ ได้ส่งมอบเพื่อนำร่องใช้งานจริงในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ปทุมธานี แหลมฉบัง ชลบุรี สมุทรปราการ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วย และเป็นการร่วมผลักดันบูรณาการระหว่างองค์กรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดระบบฆ่าเชื้อที่สามารถติดตั้งในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินและสามารถขยายการใช้งานนวัตกรรมทั่วประเทศต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

(ข่าวที่ 76/2567) วศ.อว. เร่งพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์ยางไทยสู่มาตรฐานสากล

F461 6 F461 3 F461 5

F461 1 F461 2 F461 4

 

          เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบให้ ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบและการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบผลิตภัณฑ์ยาง” กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) มีภารกิจในการพัฒนาหลักสูตร และจัดการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมยางในประเทศไทยสู่มาตรฐานระดับสากล ตามแผนงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) เพื่อส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานด้านยาง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในทฤษฏีและหลักการผลิตภัณฑ์ยางตามมาตรฐานสากล
          โดยการฝึกอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 -22 มีนาคม 2567 ณ ห้อง 519 ชั้น 5 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิของกรมวิทยาศาสตร์บริการ นำโดย อาจารย์จันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ ดร.อรวรรณ ปิ่นประยูร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง พร้อมคณะวิทยากรจากกองวัสดุวิศวกรรม และกองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมจาก 17 หน่วยงาน รวม 41 ท่าน โดยเป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์ยาง จากภาครัฐ 25 ท่าน และภาคเอกชน 16 ท่าน
          วศ.อว. มุ่งหวังให้ผู้ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้ด้านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบและการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบผลิตภัณฑ์ยางไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวิธีทดสอบในหน่วยงานของตนเอง เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลการวิเคราะห์ทดสอบให้ความถูกต้อง และแม่นยำ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการยางในประเทศไทยให้ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางของประเทศ เพิ่มศักยภาพในการส่งออก และโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลก ภายใต้ภารกิจ กรมวิทยาศาสตร์บริการ “นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน”

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 75/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

F460 2 F460 1

F460 3 F460 4

 

            เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในทุกมิติ สร้างโอกาสและลดความเลื่อมล้ำทางสังคม ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับชุมชน ล่าสุดขอชื่นชมความสำเร็จของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ที่ได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเซรามิกจากดินโปร่งแสง “แร่หินผุ” ช่วยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งจากเดิมอุตสาหกรรมเซรามิกของไทยมักใช้เป็นแร่ดินขาว ซึ่งขณะนี้ทรัพยากรกำลังจะหมดไปภายใน 10 ปีนี้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซรามิกของไทย ดังนั้น วศ.อว. ได้ศึกษาวิจัยนำแร่หินผุ ที่เดิมไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์และไม่มีมูลค่า นำมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเซรามิก โดยพบว่า แร่หินผุ นอกจากสามารถทดแทนดินขาวแล้ว ยังมีสมบัติโปร่งแสงและมีความพรุนตัวต่ำ ได้มีการนำมาพัฒนาเป็น โคมไฟและผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอื่น ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เป็นความต้องการของลูกค้าต่างชาติ หากมีการเพิ่มกำลังผลิตและพัฒนาเสริมมูลค่าผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกจะมีมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี
          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า วศ.อว. ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายของ รมว.อว. ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชุมชนด้วยการพัฒนานำแร่หินผุมาใช้ทดแทนวัตถุดิบดินขาว โดย วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตจากแร่หินผุและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดการใช้ประโยชน์ของแร่หินผุให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่นำร่องจังหวัดลำปาง และขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ
          ทั้งนี้ วศ.อว. เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเซรามิกให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และครบวงจรมากว่า 20 ปี ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และ วศ. ได้นำองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตเซรามิกจากแร่หินผุไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสมาคมเครื่องปั้นดินเผาและในระดับชุมชม เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาผลงานเซรามิกและคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ซึ่ง วศ.อว. ได้ศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งกระบวนการผลิต การพัฒนาฝีมือแรงงาน งานดีไซน์ที่เน้นทั้งความสวยงามคุณสมบัติพิเศษของวัตถุดิบและการตลาดควบคู่กัน เพื่อส่งเสริมให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน
          นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า การขยายความร่วมมือของ วศ.อว. หลังจากที่วิจัยพัฒนาสำเร็จ กับสมาคมเครื่องปั้นดินเผา ทำให้เกิดการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจะมีการขยายผลสร้างความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เกิดความครอบคลุมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 74/2567) รมว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. พัฒนาอาหารชุมชนสู่อาหารแห่งอนาคต ล่าสุดพัฒนาอาหารจากเศษดักแด้หนอนไหมอีรี่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนสูง ปลอดภัย รสชาติอร่อย

F459 4 F459 2

F459 1 F459 3

 

            วันที่ 22 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ปัจจุบัน นวัตกรรม “อาหารแห่งอนาคต (Future Food)” ในตลาดโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก อีกทั้งประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก จึงได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ขับเคลื่อนสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ด้วยการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่การพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอาหารชุมชน สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีโอกาสพัฒนานวัตกรรมอาหารในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างตรงความต้องการของตลาด และสามารถสร้างความได้เปรียบในตลาดภายในประเทศและตลาดโลก
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของ ท่านรัฐมนตรี อว. กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารในเมืองนวัตกรรมอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคโดยการนำวัตถุดิบอาหารแมลงที่มีโปรตีนสูงและเป็นส่วนเหลือจากกระบวนการผลิตเส้นไหมมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพความปลอดภัย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพให้ทันสมัย จะเป็นการผลักดันธุรกิจอาหารของประเทศให้เข้มแข็งเติบโตอย่างยั่งยืน
           ล่าสุด ทีมนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร วศ. ได้ร่วมมือกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 5 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จ.ขอนแก่น ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวโปรตีนสูงจากหนอนไหมอีรี่ ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น โดยใช้โรงงานต้นแบบอาหารเพื่อให้ผู้ประกอบการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ฯ ไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวโปรตีนสูงจากหนอนไหมอีรี่ในเชิงพาณิชย์
           ทั้งนี้ จากนี้ทีมวิจัยฯ ได้ตั้งโจทย์ร่วมกับกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้องฯ ในการนำหนอนไหมอีรี่มาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมกับตลาดชุมชน ทางกลุ่มมีการเลี้ยงหนอนไหมอีรี่ทั้งชุมชน มีการผลิตดักแด้เพื่อนำมาทอเป็นผ้าไหมอีรี่ส่งขายตลาดภายในและต่างประเทศ แต่ในส่วนตัวดักแด้ที่เหลือจากการสาวไหมแล้ว มีปริมาณมากถึง 3-4 ตัน ต่อเดือน ซึ่งหนอนไหมอีรี่เป็นตัวดักแด้มีโปรตีนสูงถึงร้อยละ 70 จึงสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจำหน่าย ลดการตกค้างของตัวดักแด้จำนวนมาก
           ทีมวิจัยฯ ได้นำตัวดักแด้จากหนอนไหมอีรี่มาวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวโปรตีนสูงจากหนอนไหมอีรี่ ผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสกับผู้บริโภค ในห้องปฏิบัติการทดสอบรสชาติอาหารไทย และทดสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ในห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพอาหาร ของ วศ. ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวโปรตีนสูงจากหนอนไหมอีรี่ที่มีคุณภาพความปลอดภัย รสชาติเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและเก็บรักษาไว้ได้นาน
           นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลงานดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการฯ ทั้งนี้ วศ. จะขับเคลื่อนสร้างความร่วมมือ ด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอาหารชุมชนให้เกิดความครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 73/2567) วศ.อว. เสริมองค์ความรู้บรรจุภัณฑ์ เพื่อการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ มุ่งเพิ่มรายได้ชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

F458 3 F458 2

F458 4 F458 1

 

          วันที่ 20 มีนาคม 2567 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบหมายให้ นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดกิจกรรมสนทนาประสา วศ. เรื่อง "รอบรู้ บรรจุภัณฑ์ เพื่อการคุ้มครองและแข่งขัน" โดยมี อาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก ที่ปรึกษาสมาคมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมการพิมพ์ไทย และสถาบันพลาสติก เป็นวิทยากร มีบุคลากร วศ. และบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกสนใจเข้าร่วมกิจกรรมฯ ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ และผ่านระบบออนไลน์ กว่า 150 คน ทั้งนี้ วศ.อว. เป็นหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มุ่งให้ความสำคัญในการดูแลด้านคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนคนไทยในทุกมิติ จึงเล็งเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าว จะช่วยสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องและทันสถานการณ์กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ใน ปัจจุบันให้แก่บุคลากร ในการนำองค์ความรู้ไปใช้ประกอบการวิจัย พัฒนา วิเคราะห์ทดสอบ ถ่ายทอด เทคโนโลยีหรือการให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการ รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชน SMEs และประชาชน
          ปัจจุบัน พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนในสังคม มีทิศทางการเลือกซื้อสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าสินค้าที่พบได้ทั่วไป และยังเลือกสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปสู่มือของผู้บริโภค การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมยังเป็นการเพิ่มคุณค่า สร้างมูลค่า และส่งเสริมความสามารถให้สินค้าไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน รวมถึงสามารถก่อให้เกิดระบบนิเวศของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ดี ซึ่งอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และประชาคมโลกได้

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 72/2567) ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ
  2. (ข่าวที่ 71/2567) วศ.อว. หนุนการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ มุ่งรับใช้ประชาชน
  3. (ข่าวที่ 70/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวสู่ประเทศไทยยั่งยืน เพิ่มรายได้ชุมชน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้ วศ.อว. เร่งรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์วัสดุจากธรรมชาติ ล่าสุด…ผ่านรับรองแล้ว 70 โมเดล
  4. (ข่าวที่ 69/2567) วศ.อว. แสดงความยินดีกับ 2 ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2566 เตรียมรับมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ จากผู้บริหารระดับสูงกระทรวง อว. ในวันข้าราชการพลเรือน
  5. (ข่าวที่ 68/2567) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระเนตรศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียมแห่งชาติและความพร้อมของดาวเทียมธีออสสองเอ ก่อนนำส่งขึ้นสู่อวกาศในช่วงกลางปี 2567
  6. (ข่าวที่ 67/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. ผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ล่าสุด “เฝือกขาจากยางพารา (Bio-Slab)” ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยสำเร็จแล้ว
  7. (ข่าวที่ 66/2567) ด่วน ! รมว. “ศุภมาส” ส่ง “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่ระยอง ตรวจพิสูจน์น้ำเปลี่ยนสี หวั่นกระทบคุณภาพชีวิตประชาชนและระบบนิเวศทะเลไทย
  8. (ข่าวที่ 65/2567) วศ.อว. จับมือสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ สร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เคมี ร่วมจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และดำเนินกิจกรรมภายใต้แนวคิด Green Chemistry
  9. (ข่าวที่ 64/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ยกระดับการก่อสร้างไทยและโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคม ให้ วศ.อว. เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการอ้างอิงรองรับตามมาตรฐานสากล
  10. (ข่าวที่ 63/2567) “รมว. ศุภมาส ห่วงใยปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้ วศ.อว. เร่งสร้างความมั่นใจผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ”