ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 84/2567) วศ.อว. ร่วมหารือแนวทางการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. กับ 3 หน่วยงานเครือข่ายภาคใต้ ในการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นและใกล้สูญพันธุ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

F470 1 F470 2

F470 4 F470 3

 

           เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 2 เมษายน 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ โดย คณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - กรมวิทยาศาสตร์บริการ (อพ.สธ.-วศ.) ลงพื้นที่เข้าพบ 3 หน่วยงานเครือข่าย อพ.สธ.ภาคใต้ ในสังกัดกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สถาบันวิจัยพืชสวน จังหวัดตรัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรพังงา สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จังหวัดพังงาและศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรภูเก็ต สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 11-12 และ 18-20 มีนาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาพืชพื้นเมืองท้องถิ่นหายากและใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่ภาคใต้ และการดำเนินงานกิจกรรมอื่นๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการแปรรูปสร้างมูลค่าเพื่อนำมาซึ่งโอกาสในการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร สอดคล้องตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการพัฒนาการเกษตร และแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด ซึ่งประเด็นในการหารือร่วมกันประกอบด้วย 4 ประเด็นหลักสำคัญคือ 1. การปลูกรักษาทรัพยากร ที่มุ่งเน้นปลูกรักษา รวบรวมพันธุกรรมพืชในท้องถิ่น พืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่ภาคใต้ ที่ทางศูนย์วิจัยฯ ดำเนินการอยู่ในพื้นที่จังหวัด 2. งานวิจัยและพัฒนาพืชอนุรักษ์ 3. การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากร 4. การส่งเสริมชุมชนด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืชและการนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร
          นอกจากนั้น ทางคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ ได้นำคณะทำงานฯ วศ.เข้าพบเกษตรกรผู้ปลูกพืชพื้นเมืองหายากในพื้นที่แต่ละจังหวัด และเก็บตัวอย่างพืชพื้นเมืองในพื้นที่แปลงอนุรักษ์และแปลงสาธิตของศูนย์วิจัยเพื่อนำมาทดสอบทางห้องปฏิบัติการและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากร เพื่อเป็นแหล่งความรู้แก่สมาชิก อพ.สธ ที่สนใจและสามารถนำไปต่อยอดในเชิงอนุรักษ์และงานวิจัยต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

(ข่าวที่ 83/2567) วศ.อว. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำฯ หนุนสร้างความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

F469 3 F469 1

F469 4 F469 2

 

           กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 300 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบรายการ Total Suspended Solids (TSS) in water เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการฯ ซึ่งคุณภาพน้ำสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ 1) คุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ (Physical quality) 2) คุณภาพน้ำทางด้านเคมี (Chemical quality) และ3) คุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพ (Biological quality) การปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทางด้านเคมี มีสาเหตุจากการละลายของสารประกอบต่าง ๆทั้งสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ที่เจือปนในน้ำ สารประกอบเหล่านี้สามารถทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงได้ หากพบในปริมาณมากเกินข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพราะการปนเปื้นของสารเคมีบางชนิดอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อมนุษย์ได้ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการนำมาใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids : SS) คือ ของแข็งหรือตะกอนที่ไม่ละลายน้ำ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีสารที่ทำให้เกิดสีและความขุ่น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ เศษอาหาร ซากสิ่งมีชีวิต แพลงก์ตอนบางชนิด ตะกอนทรายที่ถูกพัดพามากับน้ำรวมถึงสิ่งสกปรกที่ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งอาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ดังนั้นการวิเคราะห์ปริมาณของสารแขวนลอยทั้งหมดในน้ำ (Total Suspended Solids) จึงมีความสำคัญ และเป็นหนึ่งในพารามิเตอร์ที่แสดงถึงคุณภาพของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
          การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Total Suspended Solids (TSS) in water ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อีกทั้งยังเป็นการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ และระบบควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการ ทำให้สามารถระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 82/2567) วศ.อว. ร่วมประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ความยั่งยืน (Library Development Towards Sustainability) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

F468 1 F468 4

F468 2 F468 3

 

          วันที่ 29 มีนาคม 2567 นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สท.) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ สท. เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ความยั่งยืน (Library Development Towards Sustainability) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี พุทธศักราช 2565 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา หาญพล นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย เป็นประธานรายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ณ โรงเรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร
          การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ดังกล่าว เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างห้องสมุดและภาคีเครือข่ายทุกหน่วยงาน และบุคคลในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ รวมถึงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) การออกแบบบริการเชิงสร้างสรรค์ในห้องสมุดยุคชีวิตวิถีใหม่ และการออกแบบห้องสมุดเชิงสร้างสรรค์และการใช้ Soft power ในยุคชีวิตวิถีใหม่ : Reskill, Upskill & New Skill เพื่อให้บุคคลากรในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดได้รับความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวปฏิบัติ เตรียมความพร้อมในการปรับบทบาทของห้องสมุดและผู้ปฏิบัติงานให้เท่าทันกับเทคโนโลยี สามารถนำมาออกแบบสร้างนวัตกรรมการจัดการห้องสมุดเป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบโจทย์กับความต้องการของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 81/2567) วศ.อว. ปลื้ม 2 ข้าราชการพลเรือนดีเด่น รับมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ จาก รมว.อว. “ศุภมาส“ เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน

F466 1 F466 4

F466 3 F466 2

 

           วันที่ 2 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการพลเรือนดีเด่น พร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณคนดีศรี อว. ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมี 2 ข้าราชการดีเด่นของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้รับการเชิดชูเกียรติในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ วศ.อว.
           นางสาวศุภมาสฯ กล่าวแสดงความยินดีแก่ข้าราชการและบุคลากรกระทรวง อว. จำนวน 91 ท่าน ที่ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น และเป็นคนดีศรี อว. ประจำปี 2566 โดยการเชิดชูเกียรติดังกล่าว เพื่อมุ่งส่งเสริมและยกย่องข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ประพฤติปฏิบัติงานและครองตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้ข้าราชการ องค์กรและครอบครัว ดำรงตนเป็นที่ยอมรับแก่เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติดีต่อประชาชนผู้รับบริการ ทั้งในหน้าที่ราชการและสังคม เพียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณข้าราชการปรากฏชัดเจนเป็นที่ยอมรับ โดยมีผลงานโดดเด่นเป็นประโยชน์ยิ่งกับภารกิจราชการที่รับมอบหมายส่งผลกับประชาชนที่เป็นผู้รับบริการเป็นสำคัญ
          โอกาสนี้ นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวืทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า ตนขอแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่นของ วศ. ทั้ง 2 ท่าน ได้แก่ นายกรธรรม สถิรกุล นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านฟิสิกส์และวิศวกรรม) ผู้มีผลงานโดดเด่นในการพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ มากมาย และนายเกรียงไกร นาคะเกศ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ผู้ผลักดันการบริหารจัดการให้ วศ. เป็นหน่วยรับรองความสามารถบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการควบคุมและจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 โดยทั้ง 2 ท่านได้ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ จนมีผลการปฏิบัติงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานจริยธรรมของข้าราชการพลเรือน สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นข้าราชการดีเด่น นับเป็นบุคคลทรงคุณค่าของชาว วศ.อว. และเป็นแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากร วศ. ในการปฏิบัติหน้าที่และกระทำความดีเพื่อส่วนรวมต่อไป
           *ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชมบทสัมภาษณ์ข้าราชการพลเรือนดีเด่นของ วศ. ในรายการ So Sci DSS Award ได้ที่ Youtube กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามลิงก์ https://youtube.com/playlist...

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 80/2567) รมว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. นำวิทยาศาสตร์ขับเคลื่อนงานเซรามิก “กระเบื้องศิลปะโบราณ“ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท

F467 1 F467 3 F467 2 F467 4

 

          เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและกระจายรายได้ สร้างโอกาสและลดความเลื่อมล้ำทางสังคมด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ซึ่งตนได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) วิจัยและพัฒนา ฟื้นฟูกระบวนการผลิตกระเบื้องโบราณเพื่อการบูรณะงานและอุตสาหกรรมระดับชุมชน เช่น ประติมากรรมมังกรจีนศาลเจ้า "เกียนอันเกง" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานส่วนองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนในย่านชุมชนกุฎีจีน อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมความศรัทธาไทย-จีน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อายุกว่า 200 ปี และขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศและลงสู่ภาคอุตสาหกรรมชุมชนให้คงอัตลักษณ์ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมระดับชุมชน ด้วยการเพิ่มมูลค่าอัตลักษณ์วัฒนธรรมจากผลการดำเนินงาน คาดว่าจะสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยปี 2567 กว่า 1 หมื่นล้านบาท
          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า วศ.อว. ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายท่านรัฐมนตรี.อว. ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชุมชนด้วยการพัฒนาและฟื้นฟูวิธีการผลิตกระเบื้องประดับตัวมังกรจีนและในรูปแบบอื่น ๆ ตามวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่โดยระบุการใช้อุณหภูมิการเผาเคลือบและเวลาการเผาที่เหมาะสมกับสูตรเคลือบเซรามิก เพื่อให้ได้กระเบื้องใหม่ที่มีความเหมือนกับโบราณวัตถุดั้งเดิมมากที่สุด นับเป็นการปูทางสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่ผสานระหว่างความงามแบบศิลปะดั้งเดิมและการผลิตกระเบื้องแบบสมัยใหม่ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับกรมศิลปากร และพันธมิตรเอกชนทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ
          ทั้งนี้ วศ.อว. เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเซรามิกครบวงจรมากว่า 40 ปี ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกให้มีคุณภาพและมาตรฐานสากล และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกและคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน โดย วศ.อว. ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิต การพัฒนาฝีมือแรงงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สวยงามและมีคุณสมบัติพิเศษตามวัตถุดิบที่ใช้ รวมไปถึงส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อให้ผู้ประกอบการในชุมชนสามารถพัฒนาต่อยอดส่งออกสู่ตลาดโลก
           ทั้งนี้ นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า ในอนาคต วศ.อว. จะขยายความร่วมมือกับกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เชิงอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุทั่วประเทศไทยเนื่องจากเป็นมรดกของประเทศและโลกอันทรงคุณค่าและมีมูลค่าในตัวเอง ดังนั้นการบูรณะให้คงอยู่ในสภาพเดิมได้ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จะมีผลต่อความภาคภูมิใจของคนไทยและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 79/2567) รมว.ศุภมาส ชื่นชม นักวิทย์ฯ วศ.อว. สร้างชื่อรับรางวัลระดับนานาชาติ “ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมฆ่าเชื้อในรถพยาบาลฉุกเฉิน” เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าว
  2. (ข่าวที่ 78/2567) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2567 (NSTDA Annual Conference: NAC2024) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สานพลัง สร้างงานวิจัย พลิกโฉมเ
  3. (ข่าวที่ 77/2567) นักวิทย์ฯ กรมวิทย์บริการ อว. สร้างชื่อรับรางวัลระดับนานาชาติ นวัตกรรมฆ่าเชื้อในรถพยาบาลฉุกเฉิน
  4. (ข่าวที่ 76/2567) วศ.อว. เร่งพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์ยางไทยสู่มาตรฐานสากล
  5. (ข่าวที่ 75/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป
  6. (ข่าวที่ 74/2567) รมว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. พัฒนาอาหารชุมชนสู่อาหารแห่งอนาคต ล่าสุดพัฒนาอาหารจากเศษดักแด้หนอนไหมอีรี่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนสูง ปลอดภัย รสชาติอร่อย
  7. (ข่าวที่ 73/2567) วศ.อว. เสริมองค์ความรู้บรรจุภัณฑ์ เพื่อการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ มุ่งเพิ่มรายได้ชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
  8. (ข่าวที่ 72/2567) ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ
  9. (ข่าวที่ 71/2567) วศ.อว. หนุนการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ มุ่งรับใช้ประชาชน
  10. (ข่าวที่ 70/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวสู่ประเทศไทยยั่งยืน เพิ่มรายได้ชุมชน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้ วศ.อว. เร่งรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์วัสดุจากธรรมชาติ ล่าสุด…ผ่านรับรองแล้ว 70 โมเดล