ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่149/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานและมอบวัสดุโครงการยกระดับ OTOP ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

C9 2 C9 3

C9 4 C9 1

วันที่ 7-10 กันยายน 2561 ดร.พจมาน ท่าจีน เลขานุการกรม นายธีระชัย รัตนโรจน์มงคล นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ พร้อมทีมนักวิทยาศาสตร์จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับสินค้า OTOP (Big rock) จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ กลุ่มผ้า เครื่องแต่งกาย และกลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร โดยครั้งนี้ติดตามและให้คำปรึกษาเชิงลึกผู้ประกอบการจำนวน 61 กลุ่ม เป็นผ้า 46 กลุ่ม สมุนไพรไม่ใช่อาหาร 15 กลุ่ม ในเขตพื้นที่ อ.เมือง อ.ปางมะผ้า อ.ปาย อ.สบเมย อ.แม่สะเรียง อ.แม่ลาน้อย และ อ.ขุนยวม

ดร.พจมานฯ กล่าวว่า การดำเนินงานภายใต้โครงการยกระดับสินค้า OTOP ซึ่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดเป้าหมายที่ได้ยกระดับ ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อที่จะนำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยผู้ประกอบการ ซึ่งหลักๆเป็นกลุ่มทางด้านสิ่งทอ จะเป็นเสื้อกะเหรี่ยงและย่าม ด้านสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจะเป็นสบู่และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาผลิต จากการดำเนินงานดังกล่าว เราได้เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ไปทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. เราจึงนำวิทยาศาสตร์เข้ามาเพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีกระบวนการตั้งแต่การอบรม การถ่ายทอดเชิงลึก เมื่อทางผู้ประกอบการไปพัฒนาสินค้าแล้วเราก็เก็บตัวอย่างเพื่อไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการอีกครั้ง ผลก็คือผลิตภัณฑ์ผ่านตามมาตรฐาน ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระบวนการส่วนนี้มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อจากนั้นเราจึงมาตรวจติดตามและมอบวัสดุ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำเอาวัสดุไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในขั้นตอนต่อไปก็จะพาผู้ประกอบการในจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปเปิดตลาดที่เชียงใหม่หน้าห้างสรรพสินค้าเมญ่า บริเวณนิมมานเหมินทร์ ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายนนี้ ต่อจากนั้นจะคัดกลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมีความพร้อมในด้านผลิตภัณฑ์ เชิญชวนไปจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ เพื่อให้สินค้าออกสู่ท้องตลาดได้กว้างมากยิ่งขึ้น ส่วนการต่อยอดอีกขั้นเราจะนำผู้ประกอบการที่มีคุณภาพกลุ่มนี้ไปยื่นจดทะเบียนได้มาตรฐาน มผช. อย่างเต็มรูปแบบเพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการได้ดาวถึงขั้นห้าดาวต่อไป

นางพวงทอง ชื่นกรมรักษ์ ประธานกลุ่มแปรรูปผ้าทอสารภี กล่าวว่า ทางกลุ่มมีสมาชิกจำนวน 22 คน ผลิตงานเสื้อผ้าจากฝ้ายและกระเป๋า ก่อนหน้าพบปัญหาในด้านการเย็บ การติดซิปไม่เรียบร้อย ย้อมผ้าสีตกมาก ผ้าโดนแดดสีจางและเนื้อผ้าแข็งไม่อ่อนนุ่ม พอมีโครงการนี้เกิดขึ้นก็มีทีมนักวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ลงพื้นที่มาแนะนำกระบวนการด้านการผลิตที่ถูกต้อง นำหลักทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ สร้างความมั่นใจให้กับกลุ่ม อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กระเป๋าของกลุ่มมีการยื่นขอมาตรฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ยังไม่เคยผ่านมาตรฐาน หลังจากนี้จะยื่นขอมาตรฐานอีกครั้งทางกลุ่มมีความมั่นใจว่าจะผ่านมาตรฐาน มผช.อย่างแน่นอน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว/ภาพ : จิตลดา คณีกุล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

(ข่าวที่148/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามโครงการยกระดับสินค้า OTOP จ.บุรีรัมย์

 

 

C8 4 C8 3

C8 1 C8 2

 

วันที่ 7 - 9 กันยายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการนำโดย ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดี เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมทีมนักวิทยาศาสตร์จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับสินค้า OTOP (Big rock) ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอและสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารให้มีคุณภาพ โดยการให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มผู้ประกอบการ ในกลุ่มวิสาหกิจ 26 กลุ่ม ในเขตพื้นที่ อ. เฉลิมพระเกียรติ อ. พลับพลาชัย อ. สตึก อ. แดงดง อ. ห้วยราช และ อ. กระสัง 
                      จากการตรวจติดตามหลังจากที่มีการให้คำปรึกษาเชิงลึก พบว่า ผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ส่วนใหญ่สามารถย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติโดยใช้วัสดุในพื้นที่ และซักแล้วสีไม่ตก การผลิตผ้าทอที่มีลวดลายที่หลากหลายตามความต้องการของตลาด มีการแปรรูปผ้าทอเป็นผ้าสำเร็จรูป รวมทั้งการนำเศษผ้ามาผลิตสินค้าหัตถกรรมสำหรับสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร มีการนำสมุนไพรในชุมชนไปผลิตนำ้มันหอมระเหย เจลนวด ลูกประคบ ในการตรวจเยียมกลุ่มต่างๆ ได้มีการมอบวัสดุอุปกรณ์ให้แก่กลุมผู้ประกอบการด้วย นอกจากนี้ ยังสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการทดสอบตลาด โดยขายสินค้าในตลาดเซาะกราว นับว่ากรมวิทยาศาสตร์บริการบรรลุวัตถุประสงค์ในการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิต มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว/ภาพ : พรระวินทร์ ควรแย้ม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

(ข่าวที่147/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน การนำเทคโนโลยียกระดับสินค้า OTOP จ.น่าน ครั้งที่ 2

 

 

C7 2 C7 1

C7 3 C7 4

 

5-7 กันยายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงพื้นที่ตรวจติดตามงานโครงการ bigrock ยกระดับสินค้า OTOP ในจังหวัดน่าน ซึ่งได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำโดย ดร.เทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม และคณะ โดยครั้งนี้ได้ติดตามงานการแก้ไขปัญหาและการให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่กลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 13 กลุ่ม ในเขต อ.ภูเพียง อ.เวียงสา อ.นาน้อย อ.นาหมื่น อ.เมือง
                จากการตรวจติดตามหลังจากที่มีการให้คำปรึกษาเชิงลึก พบว่า ผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารมีความต้องการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตราฐาน การพัฒนา packaging ให้มีความสวยงาม ส่วนของผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอ มีความต้องการด้านกระบวนการผลิตในการควบคุมค่า pH ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การตัดเย็บในรูปแบบใหม่ๆ การควบคุมคุณภาพของการทอให้ได้มาตราฐาน เป็นต้น จากการตรวจติดตามพบว่าผู้ประกอบการแต่ละรายมีปัญหาที่แตกต่างกันดังนั้นการแก้ปัญหาให้แต่ละรายจำเป็นต้องมุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานและพัฒนารูปแบบให้เป็นที่ต้องการของตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสินค้าได้อย่างยั่งยืน/////

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว /ภาพ : คุณวุฒิ ลี่แตง  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

(ข่าวทืี่146/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน โครงการยกระดับสินค้า OTOP จ.บุรีรัมย์ ครั้งที่ 1 ตามนโยบายวิทย์แก้จน ด้วยงบประมาณ Big Rock

 

 

C6 4 C6 2

C6 2 C6 3

วันที่ 3-5 กันยายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย นายเดช บัวคลี่ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และคณะ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด นำโดย ดร.พูนสุข จันทศิลป์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้า และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ในพื้นที่ อ.ละหานทราย อ.บ้านกรวด อ.โนนดินแดง และ อ. ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

                  จากการตรวจติดตามการดำเนินงานหลังจากการอบรมและให้คำปรึกษาเชิงลึก พบว่า ผู้ประกอบการด้านผ้าทอ จากเดิมที่ใช้การย้อมผ้าไหมด้วยสีเคมีเป็นหลัก มีปัญหาว่าผ้ามีสีตก และค่ากรด-ด่างเกินมาตรฐานกำหนด จึงมีความต้องการที่จะนำเทคนิคการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติมาใช้ โดยเห็นว่าสามารถนำวัตถุดิบธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่มาทำเป็นสีย้อมได้ ปลอดภัยและ มีสีสันที่สวยงาม เช่น ใบสบู่เลือด ประดู่ เปลือกเกาลัด เป็นต้น กลุ่มสามารถนำความรู้จากการอบรมมาต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอให้มีสีที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและมีคุณภาพตามมาตรฐาน มผช. อีกด้วย สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรอบตัว ได้ให้การอบรมและคำปรึกษาเชิงลึกเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ปนเปื้อน การลงข้อความฉลากให้ถูกต้อง การทดสอบผลิตภัณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามมาตรฐาน มผช.

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

(ข่าวที่145/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ หนุนผ้าไทยสู่สากล เปิดตัว "คัลเลอร์ ไอดี เลเบลลิ่ง" (Color ID Labeling) แอพพลิเคชั่น สำหรับคนรักผ้าไทย

 

 

C5 4 C5 1

C5 2 C5 3

4 กันยายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานเปิดตัว "คัลเลอร์ ไอดี เลเบลลิ่ง" (Color ID Labeling) แอพพลิเคชั่น สำหรับคนรักผ้าไทย ภายใต้โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ที่เปรียบเสมือน       แคตตาล็อกรวบรวมความงามของผ้าไทยจากหลายท้องถิ่น มาให้เลือกชมเพียงปลายนิ้วสัมผัส พร้อมนิทรรศการผ้าไทยที่คัดสรรฝีมือจากเหล่าช่างชั้นครูมาจัดแสดงให้ชมอย่างใกล้ชิด รวมถึงแฟชั่นโชว์เสื้อผ้าดีไซน์พิเศษ "กลีบใบ เฮือไฟ (เรือไฟ) สายน้ำ" (Blue voyage and Passage of Petals) ที่นำความงดงามทางธรรมชาติมาผสมผสานกับอัตลักษณ์ของผ้าไทยได้อย่างสวยงาม โดยมี นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งภายในงานมีดีไซน์เนอร์และเซเลบริตี้ชื่อดังเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ณ ร้าน QUAINT ซอยสุขุมวิท 61

นางอุมาพรฯ กล่าวถึงจุดเด่นของแอพพลิเคชั่นและแนวคิดหลักในการจัดงานครั้งนี้ว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ต้องการยกระดับผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ชื่นชอบผ้าไทย รวมถึงกลุ่มดีไซน์เนอร์ที่ต้องการใช้ผ้าไทยในการออกแบบเสื้อผ้า โครงการนี้จึงได้รวบรวมแหล่งผลิตผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติที่ดีที่สุดเอาไว้บนแอพพลิเคชั่นคัลเลอร์ ไอดี เลเบลลิ่ง ซึ่งแหล่งผลิตผ้าแต่ละแห่งจะมีจุดเด่นการทอผ้าและย้อมสีที่แตกต่างกัน จึงได้ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ค่าสีเพื่อกำหนดเฉดสีออกมาในรูปแบบรหัสตัวเลขที่เป็นสากล ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการอ่านค่าสีให้กับผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ใช้แอพฯ สามารถเลือกเฉดสีผ้าที่ต้องการได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น และยังสามารถสั่งผลิตกับทีมช่างได้โดยตรงจากข้อมูลแหล่งผลิตภายในแอพฯ ซึ่งภายในได้จัดเป็นนิทรรศการผ้าไทยนำเสนออัตลักษณ์การออกแบบลวดลายผ้าของทั้ง 20 แห่ง พร้อมมีเหล่าทีมช่างผู้ผลิตมาร่วมพูดคุยถึงเทคนิคการทอผ้าและย้อมสี โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการหวังว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ชื่นชอบผ้าไทย และสามารถเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการผ้าทอในประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ทั้งนี้ คัลเลอร์ ไอดี เลเบลลิ่ง (Color ID Labeling) เป็นแอพพลิเคชั่นที่รวบรวมความงดงามของผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติของคนไทยจากแหล่งที่ดีที่สุดจำนวน 20 แห่ง จาก 6 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่เทคนิคการวิเคราะห์ค่าสีที่ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการได้นำมาใช้จำแนกเอกลักษณ์ของกลุ่มทอผ้า จากเฉดสีของผ้าที่มีความแตกต่างกันตามวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ช่างแต่ละกลุ่มได้เลือกใช้ในการย้อม ประกอบกับเทคโนโลยี QR Code และ AR Code ที่สามารถแสดงถึงกระบวนการผลิตทั้งในรูปแบบของภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เผื่อให้เหล่าคนรักผ้าไทยได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตการทอผ้าไทยได้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังตอบโจทย์การทำงานของเหล่านักดีไซน์ยุคใหม่ที่ต้องการแหล่งผลิตผ้าไทยย้อมสีธรรมชาติคุณภาพดี

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : ธนากร ปัญญาฤดีพร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

 

 

  1. (ข่าวที่144/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน การนำเทคโนโลยียกระดับสินค้า OTOP จ.นครพนม
  2. (ข่าวที่143/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ เร่งดำเนินงานช่วยยกระดับผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่ 10จังหวัดเป้าหมาย
  3. (ข่าวที่142/2561) กรมวิทยาศาสตร์บริการ มุ่งยกระดับ OTOP ผ้า จ.นครพนม ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. (ข่าวที่141/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำ วทน. ยกระดับ OTOP จัดงาน “มหกรรมวิทย์ สร้างอาชีพ ยกระดับภูมิภาค” จังหวัดนราธิวาส
  5. (ข่าวที่140/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการผ่านการคงสถานะการยอมรับร่วม 3 ขอบข่ายจาก APLAC
  6. (ข่าวที่139/2561)อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการและคณะ ลงพื้นทีติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับ OTOP ในจังหวัดน่าน
  7. (ข่าวที่138/2561)ก.วิทย์ฯ โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือเครือข่ายสถาบันการศึกษา เปิดมหกรรมสินค้า OTOP ของดีอำนาจเจริญ จากภูมิปัญญาไทยสู่สากล
  8. (ข่าวที่137/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตามรอยพ่อร่วมพิทักษ์ อนุรักษ์ป่าชายเลน
  9. (ข่าวที่136/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมถวายพานดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
  10. (ข่าวที่135/2561)กระทรวงวิทย์ฯ โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดสัมมนาสารสนเทศดิจิทัลแบบเปิดหนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จ.ระยอง สู่ยุคดิจิทัล