ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่7/2561)วศ./กระทรวงวิทย์ฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ ด้วยระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017

 

 

rsz 0237 rsz 0282

rsz 0287 rsz 0276

   วันที่ 15 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ/ สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ(บร.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรข้อกำหนด ISO/IEC 17025: 2017 ให้เจ้าหน้าที่ของห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก วศ. ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 ซึ่งเป็นมาตรฐานฉบับใหม่ เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยมี นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมด้วยนางแน่งน้อย เวทยพงษ์ และ น.ส. อุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ รวมทั้งผู้บริหารร่วมในการเปิดการอบรมฯ ดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวนประมาณ 300 คน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 

ข่าว : สุกฤต แก้วบุญ ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

(ข่าวที่6/2561) เปิดแล้วอย่างยิ่งใหญ่ “ถนนสายวิทยาศาสตร์” รับวันเด็กแห่งชาติ ปี 2561

 

 

rsz 26731301 1707405149299191 5188066917181271491 n rsz 26903880 1707406075965765 1032812859678632347 n

rsz 26230336 1707405942632445 2404379759084352037 n rsz 26219596 1707405952632444 6289011649631918686 n

     11 มกราคม 2561 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงานวันเด็ก “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ภายใต้แนวคิด “นักวิทย์น้อย ตามรอยพระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย โดยมีนางแน่งน้อย เวทยพงษ์ และนางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมด้วย ซึ่งในปีนี้กรมวิทยาศาสตร์บริการร่วมจัดบูธแสดงนิทรรศการ รวม 10 สถานี ได้แก่ Cube paper craft โมเดลกระดาษแสนสนุก, ปั้นน้ำผลไม้เป็นไข่ปลา Fruit caviar, จินตนาการเปลี่ยนโลก, จินตนาการพาเพลิน, ขวดแฟนซีมหาสนุก, เจลหอมปรับอากาศ, ช่างคิด "ชั่งสนุก",ปาโป่งหาของ, Balloon cup shooter และนักวิทย์น้อยสืบสานศาสตร์พระราชาฯ 
                  ผู้ที่สนใจสามารถมาเที่ยวชมงานถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ 2561 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนโยธี พระราม 6 ได้ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 11 – วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2561 เวลา 09.00 – 17.00 น. ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 

ภาพ  /ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

  

(ข่าวที่5/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำเทคโนโลยี Color ID Labeling และผ้ายีนส์ สู่ ผปก. ผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติ เพื่อรองรับตลาด Thailand 4.0

 

 

rsz 26229713 1707246995981673 8212270299807052631 n rsz 26804971 1707247312648308 4503032306186102535 n

rsz 26230312 1707247472648292 4340699861806229916 n rsz 26731671 1707247195981653 3486829893618567852 n

วันที่ 11 มกราคม 2561 ณ โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเทคโนโลยี Color ID Labeling และผ้ายีนส์ เพื่อรองรับตลาด Thailand 4.0 โดยมี นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และกล่าวต้อนรับโดย นายพรพจน์ บัณฑิตยานุรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้ประกอบการ โอทอปและSMEs ผ้าทอมือจากจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และชัยภูมิ รวมทั้งผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด นักการตลาด ดีไซน์เนอร์จากภาคเอกชน ประมาณ 160 คน

นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เข้มแข็งด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้แผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อจะนำองค์ความรู้ด้าน วทน. ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของกรมถ่ายทอดสู่กลุ่มผู้ประกอบการ นำไปประกอบอาชีพและนำไปพัฒนารูปแบบสินค้าของชุมชนให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์จังหวัด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มโอกาสในการตลาดให้กับสินค้าประเภทผ้าไหมของกลุ่มจังหวัดให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และเกิดการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มประชากรยุค Thailand 4.0 เพิ่มมากขึ้น

การดำเนินงานพัฒนาเทคโนโลยี Color ID Labeling และ ผ้ายีนส์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติโดยสร้างฐานข้อมูลในการสอบกลับของแหล่งที่มาของผ้าบนระบบดิจิตอล โดยการให้ค่าสีที่เป็นรหัสสากล สถานที่ กระบวนการและเวลาในการผลิต รวมถึงปริมาณที่ผลิตได้ในแต่ละครั้ง เพื่อให้เกิดเรื่องราวของผืนผ้าที่สามารถส่งต่อไปยังผู้ซื้อในตลาดสากลได้ การจัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อใช้ Color ID Labeling ในการเพิ่มคุณค่าของผ้าทอของไทยและการผลิตผ้าฝ้ายย้อมครามเป็นผ้ายีนส์ รวมถึงการออกแบบและเทคนิคด้านการตลาด ให้เหมาะสมกับกลุ่มจังหวัดและผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างเทคโนโลยีการตลาดและผลิตภัณฑ์ ที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ภายในงานสัมมนาฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันในหลายด้านระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ นักวิทยาศาสตร์ นักการตลาด และดีไซน์เนอร์จากภาคเอกชน อาทิ ด้านการพัฒนาผ้าฝ้ายย้อมครามสู่ผ้ายีนส์ไทย ด้านแนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับการค้าในยุคดิจิตัลและระบบ customer/product matching กิจกรรม  Workshop “การพัฒนาแบรนด์ดิ้งของสินค้าทอมือ” เป็นต้น รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการนำผลงานผ้ามาจัดแสดงและจัดจำหน่าย พร้อมขอคำแนะนำเทคนิคการพัฒนารูปแบบในด้านต่างๆจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของผ้าทอไทยนำไปสู่การสนับสนุนเรื่องท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 

ภาพ : ธนากร ปัญญาฤดีพร /ข่าว :จิตลดา คณีกุล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

  

(ข่าวที่4/2561)กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำ วทน. พัฒนาเทคโนโลยี Color ID Labeling และผ้ายีนส์ เพื่อรองรับตลาด Thailand 4.0 ในกลุ่ม “สนุก” สกลนคร นครพนม มุกดาหาร

 

rsz 1colorid 14 rsz 1colorid 23

rsz 1colorid 13 rsz 1colorid 10

วันที่ 8 มกราคม 2561 ณ โรงแรมสกลแกรนด์พาเลซ จังหวัดสกลนคร กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเทคโนโลยี Color ID Labeling และผ้ายีนส์ เพื่อรองรับตลาด Thailand 4.0 ในกลุ่มจังหวัด “สนุก” สกลนคร นครพนม มุกดาหาร โดยมี นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และกล่าวต้อนรับโดย ดร.สุริยะ วิริยะสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้ประกอบการ โอทอปและSMEs ในกลุ่ม“สนุก” สกลนคร นครพนม มุกดาหาร รวมทั้งผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด นักการตลาด ดีไซน์เนอร์จากภาคเอกชน ประมาณ 180 คน

นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การสร้างความสามารถของผู้ประกอบการในการแข่งขันด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยนำผลงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ นวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ OTOP เพื่อพัฒนาสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานระดับต่างๆทั้งในประเทศ และระดับสากล รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า

          การดำเนินงานด้านนวัตกรรมเรื่อง Color ID Labeling และ ผ้ายีนส์นั้นจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติโดยการสร้างฐานข้อมูลในการสอบกลับของแหล่งที่มาของผ้าบนระบบดิจิตอล โดยการให้ค่าสีที่เป็นรหัสสากล สถานที่ กระบวนการและเวลาในการผลิต รวมถึงปริมาณที่ผลิตได้ในแต่ละครั้ง เพื่อให้เกิดเรื่องราวของผืนผ้าที่สามารถส่งต่อไปยังผู้ซื้อในตลาดสากลได้  อีกทั้งการใช้เทคนิคการทอและฟอกย้อม  แบบผ้ายีนส์ในการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมครามของไทยทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ได้ลักษณะร่วมสมัยและมีการออกแบบเพื่อให้เกิดการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มประชากรยุค Thailand 4.0 เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลแห่งความสำเร็จนี้จะทำให้ผู้ประกอบการ OTOP และเศรษฐกิจ ฐานรากไทยก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

          ทั้งนี้ภายในงานสัมมนาฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันในหลายด้าน ระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ นักวิทยาศาสตร์ นักการตลาด และดีไซน์เนอร์จากภาคเอกชน อาทิ ด้านการพัฒนาผ้าฝ้ายย้อมครามสู่ผ้ายีนส์ไทย ด้านการพัฒนาแบรนด์ดิ้งและการสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ด้านแนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับการค้าในยุคดิจิตัลและระบบ customer/product matching เป็นต้น รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการนำผลงานผ้ามาจัดแสดงและจัดจำหน่าย พร้อมขอคำแนะนำเทคนิคการพัฒนารูปแบบในด้านต่างๆจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของผ้าทอไทยนำไปสู่การสนับสนุนเรื่องท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 

ภาพ : ธนากร ปัญญาฤดีพร /ข่าว :จิตลดา คณีกุล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

(ข่าวที่3/2561)ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการพัฒนางาน วศ. ด้านการใช้ วทน. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจฐานราก สู่ Thailand 4.0

 

 

rsz img 7418 rsz img 7899

rsz img 8071 rsz img 8014

วันที่ 5 มกราคม 2561 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการพัฒนางานโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของกรมวิทยาศาสตร์บริการเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจฐานราก สู่ Thailand 4.0 โดยมี นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ และ น.ส. อุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมทั้งผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการผลการดำเนินงานของ วศ. ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ ในการทดสอบสินค้า การวิจัยพัฒนา ตอบสนองความต้องการผู้ประกอบการไทยในด้านต่างๆ เช่น แก้วและกระจก กระดาษและเยื่อกระดาษ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง วัสดุทางการแพทย์ วัสดุก่อสร้าง วัสดุสัมผัสอาหาร และวัสดุวิศวกรรมสมัยใหม่ รวมทั้งการสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบสินค้า ด้วยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานจากการส่งเสริมโดยกรมในการพัฒนาบุคลากร การทดสอบความชำนาญ การใช้วัสดุอ้างอิง จนกระทั้งได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ตอบโจทย์ตรงตามความต้องการผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และแก้ปัญหากระบวนการผลิต นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมคณะ ยังได้เยี่ยมชมและทดลองบังคับเรืออัตโนมัติซึ่งเป็นเรือสำหรับสำรวจแหล่งน้ำชุมชนที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจ และยังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านความยาวและมิติ

ดร.สุวิทย์ฯ กล่าวหลังการเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานการดำเนินงานของกรมวิทยาศาสตร์บริการว่า วันนี้ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมและมีโอกาสหารือกับทีมผู้บริหารของ วศ. ซึ่งต้องถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีความเก่าแก่มากถึง 128 ปี แต่มีพัฒนาการจากอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างมากมาย สิ่งที่เห็นวันนี้ทำให้มีความมั่นใจว่าภารกิจของกรมนี้ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ แต่ยังมีโอกาสช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและเป็นการพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่ต้องมีความสามารถหรือทักษะเชิงเทคนิคเพื่อจะไปตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 ด้วย

สำหรับภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์บริการ มีอยู่ 3 ส่วนที่สำคัญ โดยส่วนแรกคือการให้บริการทดสอบและสอบเทียบ การสอบเทียบถือว่าเป็นส่วนกลางน้ำต่อจากสถาบันมาตรวิทยาที่เป็นต้นน้ำ ซึ่งส่วนนี้เป็นภารกิจสำคัญต่อการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ถ้าเราไม่มีการทดลอง ทดสอบ ไม่มีมาตรฐานเราก็ไม่สามารถสร้างหรือคิดค้นนวัตกรรมได้ ซึ่งกรมเองมีความพร้อมและได้เตรียมการเพื่อจะรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ต้องมีเครื่องมือทดสอบแบบใหม่ที่ต่างไปจากอุตสาหกรรมทั่วไป เช่นเรื่องการบิน หรือหุ่นยนต์ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 บทบาทในด้านการรับรองห้องปฏิบัติการที่ปัจจุบันก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญเพราะเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถทำงานด้วยห้องปฏิบัติการของตัวเองได้อย่างมั่นใจว่าเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน

ส่วนที่ 3 การวิจัยพัฒนา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการมีคนที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว และยังสามารถนำเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในหน่วยงานมาคิดอ่านและวิจัยพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และอนาคต พร้อมกันนั้น ยังเห็นถึงพัฒนาการของวิจัยพัฒนาที่ไปตอบโจทย์ SME OTOP และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งสามารถนำไปทดแทนการนำเข้า และบูรณาการกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์เข้ามาใช้  ช่วยเพิ่มรายได้และสีสันให้กับการท่องเที่ยวเชิงชุมชนซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล และนอกจากนี้แล้วยังได้เห็น Zero Waste ที่มาจากผลงานวิจัยพัฒนาของกรมนี้ในการนำวัตถุทิ้งเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่นการนำวัตถุรังไหมที่เหลือมาทักทอเป็นผ้าพันคอและอื่นๆ ซึ่งต้องขอชื่นชมว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ 1) ตอบโจทย์ในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เป็นนโยบายสำคัญของไทยแลนด์ 4.0 ในการสร้างการไหลเวียนของทรัพยากร 2) ตอบโจทย์ Distributive Economy สร้างการกระจายตัวไปยัง OTOP วิสาหกิจชุมชน และการเกษตร และ 3) ตอบโจทย์ Innovative Economy คือเศรษฐกิจที่รังสรรค์ด้วยนวัตกรรมได้

ซึ่งตรงนี้เองก็เชื่อว่าขีดความสามารถของนักวิทยาศาสตร์และข้าราชการของกรมนี้จะสามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อยู่แล้ว แต่ก็ได้มีการหารือร่วมกันว่า ในอนาคตนั้น เพื่อจะตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 กรมนี้จะต้องพัฒนาต่อไป ทั้งในแง่ของการเสริมสร้างขีดความของบุคลากร และการจัดทัพขององค์กรให้มีความคล่องตัวและตอบโจทย์มากขึ้น หลายภารกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถตอบโจทย์ได้อยู่แล้ว แต่บางเรื่องอาจจะต้องมีการเสริมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะไปตอบโจทย์อุตสาหกรรมใหม่ หรือการกระจายตัวความเจริญไปสู่ภูมิภาคให้รองรับเทคโนโลยีและเศรษฐกิจใหม่ๆ ให้ได้ นอกจากนี้แล้ววันนี้ก็ได้เห็นในเชิงประจักษ์ถึงมิติใหม่ในการทำงานที่ดีมากของกรมนี้ คือการทำงานร่วมกันทั้งภายในกรมเอง ทำงานร่วมกับหน่วยงานภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทำงานร่วมกับกระทรวงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคเอกชนด้วย ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานเชิงบูรณาการที่ท่านนายกรัฐมนตรีอยากให้ภาครัฐดำเนินการ

นางอุมาพร  สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกที่มีพลวัตสูง และตอบสนองนโยบายของรัฐบาล จึงเป็นความโชคดีที่ท่านรัฐมนตรีมาตรวจเยี่ยมหน่วยงานและให้ความสำคัญของการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจฐานราก สู่ Thailand 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล และยังเห็นถึงการทำงานของกรมที่ปรับตัว มุ่งตอบโจทย์รัฐบาลทั้งด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนาการทดสอบ วิจัยพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันและอุตสาหกรรมเป้าหมายรวมถึงตอบโจทย์ SME และOTOP เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรของกรมเป็นอย่างยิ่ง

นับจากนี้ไปกรมผู้บริหารของกรม จะเร่งปรับโครงสร้างการทำงานให้สอดคล้องกับการทำงานในบริบทปัจจุบัน ให้การทำงานเดิมที่ดีและตอบโจทย์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมตามที่ท่านรัฐมนตรีได้กล่าวไว้แล้วมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ในการบริหารงาน คน และงบประมาณ รวมถึงกรมต้องวางแผนการทำงานเชิงรุกในการมุ่งเป้าให้มีผลกระทบเชิงเศรษฐกิจให้มากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการสร้างมาตรฐานและตรวจสอบคุณภาพสินค้านวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนให้ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐาน สามารถยกระดับสู่ตลาดที่สูงขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

แนวการพัฒนางานของกรมให้มีผลกระทบมากขึ้นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพนั้น กรมเน้นการทำงานร่วมกับเครือข่ายทั้งภาคการศึกษาและภาคเอกชนให้มาก ในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME และ OTOP การทำงานร่วมกับเครือข่ายในภูมิภาค เช่นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาวิทยาลัยชุมชน กรมพัฒนาชุมชุน สภาอุตสาหกรรม หอการค้า และสำนักงานจังหวัด ทำให้เกิดผลผลิตมากขึ้นทั้งเชิงปริมาณและเชิงพื้นที่และตรงตามความต้องการของชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจสูงมากขึ้น สำหรับงานด้านการวิจัยเชิงนวัตกรรม หน่วยงานเครือข่ายภาคเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการทำให้ผลงานวิจัยประสบความสำเร็จและได้นำไปใช้งานได้จริง เพราะเป็นการวิจัยจากความต้องการของผู้ใช้งาน  และได้ทำสอบผลิตภัณฑ์กับเครื่องจักรของโรงงานที่ผลิตสินค้าโดยตรงทำให้วิจัยต้นแบบที่เสร็จแล้ว สามารถนำไปผลิตในโรงงานเชิงพาณิชย์ได้จริง

กรมวิทยาศาสตร์บริการมุ่งมั่นทำงานบริการด้านคุณภาพ ที่ตอบสนองความต้องการของภาคผลิต อุตสาหกรรม และชุมชน ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว /ภาพ : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE

  1. (ข่าวที่2/2561)วศ./ก.วิทย์ฯ ร่วมงานแถลงข่าวความพร้อมการจัดกิจกรรม งาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์” เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561
  2. (ข่าวที่1/2561)วศ. /ก.วิทยาศาสตร์ฯ เข้าร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561
  3. (ข่าวที่167/2560)กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำผลงานร่วมจัดแสดงต้อนรับ ต้อนรับ รวท. ตรวจราชการ จังหวัดพิษณุโลก
  4. (ข่าวที่ 166/2560)กรมวิทยาศาสตร์บริการลงพื้นที่ จ.พิษณุโลก ตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจรายย่อย เพื่อส่งเสริมขยายผล การใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาสินค้าชุมชน
  5. (ข่าวที่165/2560)วศ. / ก.วิทย์ ให้การต้อนรับ KAN หน่วยรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการประเทศอินโดนีเซีย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
  6. (ข่าวที่164/2560)วศ. / ก.วิทย์ นักเรียนโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จ.ลพบุรี เข้าศึกษาดูงานห้องปฎิบัติการ
  7. (ข่าวที่163/2560)วศ. / ก.วิทย์ เสริมองค์ความรู้เกษตรกร จากสำนักงานสหกรณ์ จ.สมุทรปราการ
  8. (ข่าวที่162/2560)กระทรวงวิทย์ฯ นำ วทน. ส่งเสริม OTOP และ SME จ.นครปฐม เชื่อมโยงนโยบายรัฐบาล
  9. (ข่าวที่161/2560)นักเรียน รร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.ลพบุรี เข้าศึกษาดูงานห้องปฎิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  10. (ข่าวที่160/2560)กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำหุ่นยนต์ร่วมจัดแสดงโชว์ในงาน Thailand Robotics Week 2017 และการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ RoboCup Asia-Pacific 2017 (RCAP 2017)