ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 60/2567) “ศุภมาส” มอบ วศ.อว. เสริมแกร่งหน่วยตรวจสอบและรับรองฯ เพิ่มความเชื่อมั่นห้องปฏิบัติการไทย หลังนำประเทศสู่อันดับ 5 ของโลกด้านการรับรองความชำนาญห้องปฏิบัติการ

F344 2 F344 1

F344 3 F344 4

 

           เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. ได้รับการรับรองและยอมรับจากองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองห้องปฏิบัติการ (International Laboratory Accreditation Cooperation Mutual Recognition Arrangement, ILAC MRA) ในด้านผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการเป็นอันดับที่ 5 ของโลกในปี 2567
          และตนได้ให้นโยบายมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อมาพัฒนาและปรับปรุงให้ตอบโจทย์ตรงตามความต้องการของประเทศและประชาชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) โดยเฉพาะในเรื่องการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก ทั้งนี้ต้องมุ่งพัฒนาความสามารถ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้วยคุณภาพมาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยเน้นย้ำความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ทดสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในภาคอุตสาหกรรมและระดับชุมชน ซึ่งจะเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงประชาชนว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ประเทศไทยผลิตนั้นมีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัย ดังนั้น ความสำคัญของการประกันคุณภาพผลทดสอบให้ถูกต้อง จะสร้างความเชื่อมั่นต่อผลการทดสอบว่า สินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยได้มาตรฐานมีคุณภาพดีตามที่กำหนด ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายให้ กรม วศ.อว. เร่งพัฒนาศักยภาพเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของหน่วยตรวจสอบและรับรองฯ และบุคลากรทั้งห้องปฏิบัติการภาครัฐและเอกชนเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยสามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้เป็นอย่างดี
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. มีภารกิจสำคัญในการรับรองระบบงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17011: 2017 Conformity assessment-Requirements for accreditation bodies accrediting conformity assessment bodies โดยให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งข้อกำหนดระบุถึงการสร้างความมั่นใจในความใช้ได้ของผลการทดสอบ (Ensuring the validity of results) ห้องปฏิบัติการต้องมีการดำเนินงานประกันคุณภาพฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลการทดสอบ ส่งผลให้การทดสอบน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล ในฐานะหน่วยรับรองฯของไทย วศ.อว. มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้มแข็งหน่วยตรวจสอบและรับรองฯ เพื่อการยอมรับในระดับสากล
           ในวันนี้ วศ.อว.ได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตร “สร้างความเข้มแข็งหน่วยตรวจสอบและรับรองด้านการประกันคุณภาพผลการทดสอบเพื่อการยอมรับในระดับสากล” ให้แก่ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบและรับรองจำนวนกว่า 300 ราย ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาและฝึกอบรม สำหรับบุคลากรและห้องปฏิบัติการของประเทศทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตามแผนการพัฒนาเสริมความแข็งแกร่งห้องปฏิบัติการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเดินหน้าผลักดันให้จำนวนห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมไทย นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืนตลอดไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 59/2567) วศ.อว.เตือนภัยนำถุงดำรีไซเคิลมาใส่อาหาร

F343 10 F343 9

 

           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ตามภาพที่ปรากฏในสื่อโซเชียลที่มีการแชร์เป็นวงกว้าง เป็นภาพถุงดำที่นำมาใส่อาหาร และมีการตั้งคำถามว่า “สามารถเอามาใส่ของที่เราทานได้ด้วยหรือ ถามทางร้านเขาบอกว่าเขาใส่ถุงแบบนี้กันหมดแล้วพบว่า เหม็นทั้งกลิ่นเหม็นทั้งสี นั้น
           ศูนย์ข้อมูลวิทยาศาสตร์ วศ.อว. ขอเตือนว่า ถุงดำส่วนมากทำจากพลาสติกรีไซเคิล มีการใส่สีดำหรือสีอื่นให้เข้มเพื่อปกปิดตำหนิ และสิ่งสกปรก ซึ่งไม่ได้เป็นชนิดสำหรับสัมผัสอาหาร ประชาชนจึงไม่ควรนำมาใส่อาหารซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเมื่อมาใส่อาหารร้อนหรืออาหารที่มีไขมัน เช่น กล้วยแขก ปาท่องโก๋ หากนำถุงพลาสติกมาใช้ ผิดวัตถุประสงค์ก็จะทำให้อาหารที่บรรจุนั้นไม่ปลอดภัย และอาจมีการปนเปื้อนของสารที่เป็นอันตราย จากพลาสติกสู่อาหารได้ เช่น โลหะหนัก สารปนเปื้อนที่หลงเหลือจากกระบวนการรีไซเคิล หรือสีที่มาผสมพลาสติก โดยสารเหล่านี้จะค่อยๆ สะสมในร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ อีกทั้งอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคและก่อให้เกิดโรคติดต่อรุนแรงได้
           ปัจจุบันข้อกฏหมายกำหนดให้ชนิดของพลาสติกรีไซเคิลที่สามารถนำกลับมาใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหารได้ ต้องเป็นพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) เท่านั้น แต่ถุงพลาสติกส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติกชนิด PE หรือ PP
           ทั้งนี้ บางประเทศมีการผลิตถุงใส่อาหารที่มีสีดำ แต่เป็นเกรดสำหรับอาหาร (food grade) ได้มาตรฐาน สำหรับภาพที่ปรากฏในสื่อน่าเชื่อว่าถุงดำที่นำมาใช้น่าจะเป็นถุงที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ใส่ขยะ จึงขอเตือนมายังผู้ใช้ว่าห้ามใช้ถุงดำดังกล่าวโดยเด็ดขาด เพราะก่ออันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 58/2567) "รมว. ศุภมาส" ห่วงใยเด็กนักเรียนเกิดอุบัติเหตุในสนามเด็กเล่น สั่งทีม “DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพเครื่องเล่นโรงเรียน หลังพบอุบัติเหตุกว่า 34,000 รายต่อปี เพื่อให้พร้อมใช้งาน ได้มาตรฐานปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุ

F342 3 F342 1

F342 4 F342 2

 

           เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ตนได้สั่งการให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. นำโดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาสภาพเครื่องเล่นสนามที่ตั้งอยู่ตามโรงเรียนต่างๆในเขตกรุงเทพฯ สืบเนื่องจากข้อมูลของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวรายงานว่าแต่ละปีมีเด็กได้รับบาดเจ็บจากสนามเด็กเล่นไม่ต่ำกว่า 34,000 คน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเล่นที่ผิดวิธี ประมาท ขาดการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเครื่องเล่นล้มทับ เพราะติดตั้งผิดวิธีไม่มีมาตรฐานความปลอดภัย
          นพ.รุ่งเรืองฯ กล่าวว่า ตามนโยบาย รมว. อว. ที่ให้ความสำคัญ ในการดูแลประชาชนในด้านคุณภาพชีวิตและความปลอดภัย และให้ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเข้าดูแลประชาชน ทีมเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) จึงได้ลงพื้นที่เร่งด่วนตรวจสอบคุณภาพเครื่องเล่นต่างๆ เนื่องจากมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของเด็กเล็กระดับชั้นอนุบาลหรือประถม ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ทำกิจกรรมอยู่ภายในโรงเรียน หากเครื่องเล่นสนามที่ติดตั้งภายในโรงเรียนมีความชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมโทรมตามกาลเวลา อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงไม่คาดคิดได้
           สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ DSS Team ได้แบ่งเป็น 2 ทีม เพื่อกระจายลงเก็บตัวอย่าง พร้อมสำรวจสภาพเบื้องต้นของเครื่องเล่นสนามในโรงเรียนกว่า 10 แห่งในพื้นที่ใน กทม. ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต และราชเทวี โดยตรวจสอบสภาพแวดล้อม การติดตั้งและความปลอดภัยของเครื่องเล่นสนาม รวมถึงสภาพเบื้องต้น เช่น ลักษณะทั่วไป อายุการใช้งาน การติดตั้งของเครื่องเล่นประเภท ชิงช้า ราวโหน โดมปีนป่าย กระดานลื่น ตามรายการเช็คลิสต์ของ วศ. ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐาน มอก.เครื่องเล่นสนาม ทั้งนี้ DSS Team จะนำข้อมูลสภาพปัญหาเบื้องต้นของเครื่องเล่นฯ ที่ตรวจพบประสานงานกับทางโรงเรียน พร้อมเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ ”สนามเด็กเล่นปลอดภัย” ภายใต้ “โครงการ QuickWin” ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการเร่งด่วน ดำเนินการโดยกองวัสดุวิศวกรรม (วว.) ของ วศ. ในการตรวจสอบสาเหตุเชิงลึก แก้ไขปัญหา รวมถึงให้คำแนะนำการบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุเครื่องเล่นให้พร้อมใช้งานอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงปลอดภัย ป้องกันการชำรุดเสียหายที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กต่อไป และจะขยายผลให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ทั่วประเทศร่วมตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องเล่นสนามในโรงเรียน รวมถึงจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายระดับประเทศให้เกิดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืนต่อไป
            กรณีประชาชนมีข้อสงสัยด้านคุณภาพเครื่องเล่นสนาม สามารถติดต่อ วศ. เพื่อดำเนินการทดสอบคุณภาพดังกล่าวได้ เนื่องจาก วศ. ได้รับการแต่งตั้งเป็นหน่วยตรวจสอบเครื่องเล่นสนามสาธารณะจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ให้บริการทดสอบมาตรฐานเครื่องเล่นสนามทั้งด้านกายภาพและด้านเคมีตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. 3000) ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-201-7358-61 , 02-201-7000 หรือ www.dss.go.th

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 57/2567) "ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอก ! วศ.อว. แนะประชาชน รับมือ สภาวะโลกเดือด"

F341 6 F341 3 F341 2

 F341 5 F341 1 F341 4

 

           “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยุคภาวะโลกร้อนสิ้นสุดลงแล้ว พวกเรากำลังอยู่ในยุคโลกเดือด (Global Boiling)” สหประชาชาติ (United Nations: UN) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยปัจจัยหลักที่ทำให้อุณหภูมิสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา คือ การปล่อยแก๊สเรือนกระจกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากมนุษย์และปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ที่รุนแรง ดังนั้นประชาชนควรตระหนักเห็นถึงความสำคัญ ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ลดการใช้พลาสติก ลดการเผาหรือปล่อยมลพิษทางอากาศ รวมถึงองค์กรภาครัฐต่างๆ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันนโยบาย และข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างให้ประชาชนนำไปปฏิบัติต่อไป
          ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ และโฆษกกรม เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. ตระหนักและเล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จึงขอแนะนำประชาชนเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ภัยแล้ง ไฟป่า หรือน้ำท่วมแบบฉับพลัน รวมถึงการปรับตัวและเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพ คือ ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมภายนอก หากจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี และติดตามสภาพอากาศอย่างเป็นประจำ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้ที่มีอาการป่วย ผู้สูงอายุ หรือหญิงตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ และมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเจ็บป่วย หรือพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้ตั้งสติและโทรแจ้งสายด่วนบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เบอร์โทรศัพท์ 1669
           ดร.ภูวดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วศ.อว. เป็นหน่วยงานที่มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ “วศ. Go Green รวมพลังลดโลกร้อน ใช้ถุงผ้า แทนถุงพลาสติก” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปนำถุงผ้าและภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนถุงพลาสติกในการใช้จ่ายสินค้า โดยขอความร่วมมือร้านค้าภายใน วศ. งดใช้ถุงพลาสติก และมีจุดบริการถุงผ้าให้ยืมสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้นำมีถุงผ้ามาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมี “นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ผ่านการสื่อสารแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กิจกรรมลดและคัดแยกขยะในอาคาร Big cleaning day สื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมี “นโยบายอนุรักษ์พลังงาน” โดยบุคลากรทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดการพลังงาน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประสิทธิผลในการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 56/2567) วศ.อว. แนะวิธีการเลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์ และการเก็บรักษา หลังพบระเบิดบนเครื่องบิน และส่งทีมร่วมสอบสวน

F340 2 F340 1

 

           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ช่อง 3 รายงานว่า เกิดเหตุพาวเวอร์แบงก์ ของผู้โดยสารระเบิดบนเครื่องบินโดยสาร ขณะที่กำลังบินจากสนามบินดอนเมืองมุ่งหน้านครศรีธรรมราช ของสายการบินไทยเเอร์เอเชีย เที่ยวบิน FD3188 ออกเดินทางจากดอนเมือง เวลา 07.20 น. โดยมีผู้โดยสารเต็มลำ 186 ชีวิต เมื่อเครื่องบินบินออกมาได้ประมาณ 30 นาที มีเหตุไฟลุกโชน ควันโขมง ขึ้นกลางลำแถวนั่งที่ 15 ซึ่งอยู่ด้านหน้าของผู้สื่อข่าวพอดี มองเห็นอย่างชัดเจน ผู้โดยสารตกใจอย่างมาก ลูกเรือบนเครื่องบินสามารถดับไฟได้สำเร็จอย่างชุลมุน ใช้เวลาประมาณ 2 นาที ท่ามกลางการลุ้นระทึกของผู้โดยสาร ไม่ส่งผลกระทบต่อการบิน บินลงสนามบินนานาชาตินครศรีธรรมราช ได้ตามปกติอย่างปลอดภัย หลังเกิดเหตุตรวจสอบ พบร่องรอยไฟไหม้สีดำเล็กน้อยตรงบริเวณเบาะที่เกิดเหตุ ก่อนเกิดเหตุผู้โดยสารได้ขึ้นนั่งบนเครื่องตามปกติ แล้วเอาพาวเวอร์แบงก์วางไว้ด้านหน้าตรงที่เก็บสัมภาระ ซึ่งอยู่เบาะด้านหลังของคนที่นั่งด้านหน้า จู่ๆก็เกิดลุกขึ้นมาตนเองตกใจมาก โชคดีไม่บาดเจ็บแต่อย่างใด
          นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้สั่งการให้ประสานการเข้าร่วมสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว และศูนย์ข้อมูลวิทยาศาสตร์ วศ. ขอให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ประชาชนว่า พาวเวอร์แบงค์ส่วนใหญ่สร้างด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เช่นเดียวกับถังน้ำมันเบนซินหรือกระสุนในปืน แบตเตอรี่มีพลังงานอยู่ในนั้นมาก หากพลังงานนั้นปล่อยออกมาในลักษณะที่เราไม่ต้องการให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิดได้นี่เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำความเข้าใจว่าทำไมพาวเวอร์แบงค์ถึงลุกไหม้และระเบิดมีชิ้นส่วนและกระบวนการมากมายที่ทำให้พาวเวอร์แบงค์ทำงานได้ หากกระบวนการใดผิดพลาด ก็มีโอกาสที่พลังงานจะถูกปล่อยออกมา ตัวทำละลายอิเล็กโทรไลต์ภายในแบตเตอรี่ติดไฟได้ ดังนั้นเมื่อแบตเตอรี่ไม่สามารถระบายและสร้างแรงกดดันในขณะที่อิเล็กโทรไลต์ไหม้ แบตเตอรี่ก็จะระเบิด
          จากข้อมูลการวิจัยพบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้พาวเวอร์แบงค์ระเบิดคือวงจรที่ไม่สมบูรณ์ อยู่ในการเชื่อมที่มีสารปนเปื้อน หรือไม่มีฉนวนวงจรที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการลัดวงจร มันทำให้เกิดความร้อนสูงเกินไป จากนั้นจึงเกิดไฟไหม้และระเบิด ซึ่งพบว่ามีโรงงานขนาดเล็กบางแห่งยอมสละคุณภาพแบตเตอรี่เพื่อให้ได้ราคาที่ต่ำ มันก็มีอันตรายเช่นกัน และในฐานะผู้ใช้จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้หากวางพาวเวอร์แบงค์ไว้ในสภาวะที่มีความเสี่ยง เช่น ทิ้งไว้ในอุณหภูมิหรือความชื้นสูง
          โอกาสเกิดการระเบิด ถ้าเป็น พาวเวอร์แบงค์ที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน หรือเสื่อมสภาพ โดยเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดการระเบิด หรือเกิดการติดไฟลุกไหม้ได้ ปกติ พาวเวอร์แบงค์ จะมีระบบการตัดวงจรควบคุมไฟฟ้า แต่หากระบบนี้เกิดการชำรุด หรือเสื่อมสภาพ ก็จะไม่ทำงานและเกิดการลัดวงจรขึ้นได้ เช่น โดนน้ำ หรือได้รับความร้อนที่สูงเกินไป เนื่องจากลิเธียมเป็นโลหะไวไฟต่อปฏิกิริยาเคมีเป็นอย่างมาก
          ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์บริการ วศ. กระทรวง อว. ให้ข้อแนะนำประชาชน
1. ควรเลือกใช้ พาวเวอร์แบงค์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดสอบความปลอดภัย หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกแต่มีความจุที่สูง ซึ่งมันมีโอกาสที่จะเกิดการระเบิดได้
2. เมื่อเสียบชาร์จไฟควรจะถอดสายออกทันที เมื่อชาร์จจนเต็มไม่ควรที่จะเสียบชาร์จทิ้งไว้
3. ห้ามเก็บหรือวางไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงหรือความชื้นสูง
4. พาวเวอร์แบงค์ทุกชิ้นต้องผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัย “มอก.” ซึ่งพาวเวอร์แบงค์ทุกยี่ห้อ หากจะวางจำหน่ายในประเทศไทยต้องมีเครื่องหมาย มอก.รับรอง และต้องขออนุญาตจาก สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.)ในการผลิตหรือนำเข้าด้วย
          สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จะประสานการเก็บตัวอย่างเพื่อมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติเพื่อหาสาเหตุและเสนอแนวทางการป้องกันต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 55/2567) วศ.อว. เดินหน้าพัฒนาศักยภาพบุคลากร เตรียมพร้อมสู่โลกยุคใหม่ สร้างโอกาสและความร่วมมือด้วยภาษาจีน
  2. (ข่าวที่ 54/2567) หมอรุ่งเรือง อธิบดีวศ.อว. ไขข้อสงสัย “กระดาษทิชชูก่อมะเร็งจริงหรือไม่” แนะหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษทิชชูที่มีส่วนผสมของเยื่อรีไซเคิลเพราะอาจได้รับอันตรายจากสารเรืองแสง
  3. (ข่าวที่ 53/2567) รมว.อว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. ยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาเป็นพื้นที่แห่งโอกาส สำหรับเยาวชนและประชาชนทุกคน
  4. (ข่าวที่ 52/2567) อธิบดี วศ. นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ขับเคลื่อนองค์กรด้วยค่านิยมซื่อสัตย์ สุจริต ชูเจตนารมณ์ “No Gift Policy” ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีแก่บุคลากรและสังคม
  5. (ข่าวที่ 51/2567) “รมว.อว. ศุภมาส” ให้ วศ.อว. ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยนวัตกรรมแก้จน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน แก่กลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
  6. (ข่าวที่ 50/2567) วศ.อว. เตือนภัย “ภาวะฝนกรด” กระทบสุขภาพ หลังโซเชียลแชร์ภาพถนนเป็นฟองสีขาวหลังฝนตก แนะหลีกเลี่ยงการตากฝนและไม่ควรรองรับน้ำฝนในช่วงแรก
  7. (ข่าวที่ 49/2567) "รมว.ศุภมาส แถลง วศ.อว. นำไทยสู่อันดับ 5 ของโลก ด้านการรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สร้างความเชื่อมั่นระบบประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ นำสินค้าไทยสู่สากล"
  8. (ข่าวที่ 48/2567) วศ.อว. แจงผลตรวจคลองบางแพรกน้ำสีชมพู พบเชื้อแบคทีเรียเจือปน
  9. (ข่าวที่ 47/2567) รมว.อว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. เสริมแกร่งอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างไทย สร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้ประชาชน
  10. (ข่าวที่ 46/2567) วศ.อว. หนุนเทคโนโลยีพัฒนาผู้ประกอบการด้านกระดาษและบรรจุภัณฑ์รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ