ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 32/2567) วศ.อว. ลงพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และห้องปฏิบัติการทดสอบให้ได้มาตรฐาน

F316 2 F316 4

F316 1 F316 3

 

          วันที่ 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นายก่อพงศ์ หงษ์ศรี หัวหน้ากลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม พร้อม ทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ ณ บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) จังหวัดอ่างทอง บริษัทซี.เอ.เอส.เปเปอร์ จังหวัดสิงห์บุรี บริษัทฟางไทยแฟคเทอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง และบริษัทสยามพรหมระทาน จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกในด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเยื่อและกระดาษตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 พร้อมทั้งให้คำแนะนำการปรับตั้งและสอบเทียบเครื่องมือทดสอบด้านเยื่อและกระดาษให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
​          นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความร่วมมือในการพัฒนาต่อยอดด้านงานวิจัยและการวิเคราะห์ทดสอบที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมเส้นใย เยื่อและกระดาษ โดยมีปัจจัยมาจากการขยายตัวของบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ด้านกระดาษในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค อาทิ บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแช่แข็งและอาหารแปรรูปเพื่อการส่งออก บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภค บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าเพื่อสุขอนามัย รวมถึงการเติบโตของภาคการส่งออกจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อภาพรวมการใช้กระดาษและบรรจุภัณฑ์

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 31/2567) “ศุภมาส” เปิดตัวรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ ต้นแบบเทคโนโลยี 5G คันแรกของไทย หนุนระบบอัตโนมัติช่วยลดอุบัติเหตุ พร้อมขยายผลสู่พื้นที่อื่นของประเทศ

F315 4 F315 1

F315 3 F315 2

 

          เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสาธิตการใช้งานรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับต้นแบบร่วมกับการสื่อสารด้วยโมบายแอปพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยี 5G คันแรกของไทย โดยมี นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายประพันธ์ ตรีบุบผา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ว่าที่ร้อยตรีสมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีนครพระนครศรีอยุธยา นายสยาม เตียวตรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน และหัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มจธ. เข้าร่วม ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          นางสาวศุภมาส กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าไร้คนขับต้นแบบฯ ดำเนินการโดย มจธ. และ บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) โดยมี วศ. ร่วมในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ด้านรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ และเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G รวมทั้งดำเนินการทดสอบและสาธิตการใช้งานรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับในเขตโบราณสถานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และขยายผลไปยังพื้นที่อื่นในอนาคต ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายจะได้แบ่งปันองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนบุคลากร ในการดำเนินโครงการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติร่วมกัน เพื่อพัฒนางานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริงและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
          “นี่ถือเป็นโครงการแรกๆ ของประเทศในการพัฒนารถไร้คนขับ ซี่งจะนำมาสู่การพัฒนาและต่อยอดได้ในอนาคต โดยมีเป้าหมายสร้างรถที่ช่วยลดอุบัติเหตุ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อเทคโนโลยี C-V2X (Cellular Vehicle-to-Everything) แพร่หลายมากขึ้น ยานยนต์ไฟฟ้ามีการนำไปเชื่อมต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ในเส้นทางสัญจร จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชนที่ใช้เส้นทางร่วมกัน เพราะระบบอัตโนมัติจะมาช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ และจะเป็นการนำเครือข่าย 5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคด้วย” และเป็นหน่วยบริการสำคัญให้กับทุกภาคส่วนต่อไป” รมว.อว.กล่าว
           ด้านนายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวถึงบทบาทความร่วมมือสำคัญของ วศ. ในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ว่า โครงการดังกล่าว วศ. ได้ร่วมพัฒนาและทดสอบระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ หรือ Advanced Driver-Assistance System: ADAS ไปจนถึงระบบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (Connected and Autonomous Vehicle: CAV) พร้อมทั้งศึกษาและพัฒนาวิธีทดสอบสมรรถนะ และระบบความปลอดภัยของยานยนต์สมัยใหม่ ที่จะมีบทบาทสำคัญสำหรับอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ฯลฯ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมระดับ Mega Trend ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ อีกทั้ง วศ. ได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAV) ที่ EECi วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง เพื่อจัดทำเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์แห่งอนาคตของประเทศ นอกจากนี้ วศ. ตั้งเป้าใช้ประโยชน์จากศูนย์ T-CAV เป็นแหล่งให้บริการศึกษาวิจัยด้านความปลอดภัยในการขับขี่และผู้ใช้ถนน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 30/2567) ยาวนานที่ยั่งยืน ครบรอบ 133 ปี กรมวิทยาศาสตร์บริการ “หน่วยงานหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมไทย

F314 1 F314 3

F314 4 F314 2


          กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หน่วยงานที่เติบโตมาจากสถานปฏิบัติการวิเคราะห์แร่ กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อปี พ.ศ.2434 ทำหน้าที่วิเคราะห์แร่ที่ใช้ในการทำเหรียญกษาปณ์ ก่อนจะปรับเป็น “ศาลาแยกธาตุ” เปลี่ยนผ่านหน่วยงานต้นสังกัดหลายครั้งจนยกฐานะเป็น “กรมวิทยาศาสตร์” สังกัดกระทรวงเศรษฐการ และเป็นหน่วยงานตั้งต้นให้กับหลายๆ หน่วยงาน โดยวันที่ 30 มกราคม 2476 ให้ใช้พระราชกฤษฎีการจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงและได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “กรมวิทยาศาสตร์บริการ” ในปี พ.ศ.2522 ปัจจุบันสังกัดกระทรวง อว.
          และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 นับเป็นปีที่ 133 ของการก่อตั้งกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยคณะผู้บริหาร ข้าราชการและบุคลากร วศ. ได้จัดพิธีทำบุญครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา ฯ และนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มาทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์พร้อมถวายภัตตาหารเพล นำโดย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยข้าราชการเกษียณ และบุคลากร วศ. ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีและร่วมแสดงความยินดีอย่างอบอุ่น ณ ห้องประชุมวิทยวิถี อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า ตนเองรู้สึกภูมิใจที่ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารงานในกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ที่มีประวัติการพัฒนาการอย่างยาวนานถึง 133 ปี และนับต่อไปจากนี้เราจะยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนภารกิจงานบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การพัฒนาโดยยึดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ เราพร้อมสนับสนุนภาคการผลิตและบริการให้สามารถยกระดับมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ทัดเทียบนานาประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างมั่นคงยั่งยืน ตลอดไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 29/2567) วศ. มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เสริมสร้างความเชื่อมั่นผลการทดสอบคุณภาพสินค้า ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

F313 1 F313 3

F313 4 F313 2

 

          วันที่ 30 มกราคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นประธานในพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ รวม 15 หน่วยงาน ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้กับสินค้าและบริการต่างๆ ของประเทศ ด้วยเหตุนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure, NQI) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนากิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานระดับประเทศหลายองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องอาศัยการวิเคราะห์ทดสอบ การกำหนดมาตรฐาน และการพัฒนามาตรฐานในด้านต่างๆ หน่วยรับรองระบบงานจึงถือเป็นหนึ่งหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน เพื่อให้สอดรับกับสภาพการณ์ข้างต้น ซึ่งประเทศไทยยังมีความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพตามการปรับเปลี่ยนของความก้าวหน้าของเทคโนโลยี พฤติกรรมของผู้บริโภค กฎระเบียบ สภาพแวดล้อม กลไกและรูปแบบของธุรกิจ เพื่อเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการเชิงคุณภาพโดยมีเป้าหมายการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก การได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ถือเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพและความสามารถของหน่วยงานด้านห้องปฏิบัติการให้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ผู้บริโภคและประชาชนมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผลิตโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
           นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ วศ. ได้กล่าวรายงานหน่วยงานที่เข้ารับใบรับรองระบบงานฯ ในครั้งนี้ ได้แก่
1. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
2. ห้องปฏิบัติการ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) วังสมบูรณ์
3. ห้องปฏิบัติการ บริษัท แสงทอง อาหารสัตว์ จำกัด
4. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขาทุ่งสง
5. ห้องปฏิบัติการทดสอบเอทานอล บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน)
6. ศูนย์วิทยาการวินิจฉัยโรคสัตว์ บริษัท ไทยฟู้ดส์ รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ จำกัด สาขาปราจีนบุรี
7. หน่วยตรวจวิเคราะห์ทางสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงลกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
8. ห้องปฏิบัติการ บริษัท มิตรสมบูรณ์ จำกัด
9. ห้องปฏิบัติการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (สาขาปทุมธานี)
10. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท แอ็กโฟรีแพ็กซ์ อินดัสตรีส์ จำกัด
11. สถานพัฒนามาตรฐานและเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารตกค้างทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร
12. Agricultural Products Analytical Laboratory (APAL)
13. OMIC Inspection & Surveying Co., Ltd. (Myanmar)
14. ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
15 ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
          กรมวิทยาศาสตร์บริการพร้อมผลักดันและส่งเสริมให้หน่วยตรวจสอบและรับรองทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 28/2567) วศ. ส่งเสริมการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรม PT รายการ Mercury (Hg) in water

F312 2 F312 4

F312 1 F312 3

 

           ปรอท (Mercury) เป็นธาตุลำดับที่ 80 ในตารางธาตุ และมีสัญลักษณ์ คือ “Hg” เป็นโลหะชนิดเดียวที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง มีสีเงินวาว สามารถกลิ้งไหลได้ เป็นโลหะหนักที่สามารถพบได้ทั่วไปจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมและน้ำเสีย อาทิ โรงงานผลิตก๊าซคลอรีน โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ โรงงานผลิตสี และโรงงานหลอมโลหะฯ หากมีการจัดการที่ไม่ดีอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน และแพร่เข้าสู่แหล่งน้ำรวมถึงห่วงโซ่อาหาร เมื่อเข้าสู่ร่างกายสามารถทำให้เกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน และสร้างผลกระทบต่อระบบร่างกายอย่างถาวร เป็นอันตรายสูงมากต่อสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันหน่วยงานกำกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสินค้าอุปโภคและบริโภค ให้ความสำคัญในการตรวจสอบ และกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ รวมถึงปริมาณต่ำสุดที่สามารถพบในน้ำดื่มและน้ำเสียภายในประเทศ ดังนั้น ความสามารถของห้องปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบปริมาณของปรอทในผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบจึงสำคัญอย่างมาก ซึ่งการทดสอบความสามารถของห้องปฏิบัติการเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในด้านการประกันคุณภาพผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการ
           กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฎิบัติการ (บท.) ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 29 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 92 ห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการต่างประเทศ จำนวน 2 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทดสอบผลการวัด รายการ Mercury (Hg) in water และกำหนดให้ส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ
          ทั้งนี้ ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการถือเป็นการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการเน้นสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งสามารถบ่งชี้ปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข และก่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 27/2567) วศ.อว. จัด "DSS Sport Day" สร้างทีม เชื่อมความสามัคคี ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีแก่องค์กร
  2. (ข่าวที่ 26/2567) วศ.อว. ส่งเสริมและพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Ash and pH – value in Flour
  3. (ข่าวที่ 25/2567) วศ. เข้าร่วมประชุมหารือกับสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านฝึกอบรมเรื่องระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 17025 แก่นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมการเลี้ยงสัตว์และประมง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลา
  4. (ข่าวที่ 24/2567) วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาเคมี รายการ Standard solution: Hydrochloric acid (HCl) and Ethylenediaminetetraacetic acid (EDTA)
  5. (ข่าวที่ 23/2567) วศ.อว. จัดประชุมคณะอนุกรรมการการรับรองความสามารถบุคลากรสาขา การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม ตามระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 ครั้งที่1/25667 ประจำปีงบประมาณ 2567
  6. (ข่าวที่ 22/2567) วศ.อว. ยึด ITA ขับเคลื่อนองค์กร มุ่งพัฒนาระบบงานอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพทั้งการปฏิบัติงานและการให้บริการ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
  7. (ข่าวที่ 21/2567) กรมวิทย์ฯบริการ ร่วม ครม.สัญจรฝั่งอันดามัน นำเทคโนโลยีตอบโจทย์ชุมชนจังหวัดระนอง พร้อมโชว์ผลงานเด่นต้อนรับ รมว.อว.ศุภมาสฯ
  8. (ข่าวที่ 20/2567) โปรดเกล้าฯ "หมอรุ่งเรือง" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. คนใหม่
  9. (ข่าวที่ 19/2567) วศ.อว. เปิดแลป ต้อนรับนักเรียนโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชศรีมา เสริมสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับวิศวกรไทยในอนาคต
  10. (ข่าวที่ 18/2567) วศ.อว. จับมือ SMEs จ.เลย มุ่งยกระดับคุณภาพกาแฟสู่มาตรฐานระดับอุตสาหกรรม