ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 80/2567) รมว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. นำวิทยาศาสตร์ขับเคลื่อนงานเซรามิก “กระเบื้องศิลปะโบราณ“ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท

F467 1 F467 3 F467 2 F467 4

 

          เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและกระจายรายได้ สร้างโอกาสและลดความเลื่อมล้ำทางสังคมด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ซึ่งตนได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) วิจัยและพัฒนา ฟื้นฟูกระบวนการผลิตกระเบื้องโบราณเพื่อการบูรณะงานและอุตสาหกรรมระดับชุมชน เช่น ประติมากรรมมังกรจีนศาลเจ้า "เกียนอันเกง" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานส่วนองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนในย่านชุมชนกุฎีจีน อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมความศรัทธาไทย-จีน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อายุกว่า 200 ปี และขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศและลงสู่ภาคอุตสาหกรรมชุมชนให้คงอัตลักษณ์ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมระดับชุมชน ด้วยการเพิ่มมูลค่าอัตลักษณ์วัฒนธรรมจากผลการดำเนินงาน คาดว่าจะสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยปี 2567 กว่า 1 หมื่นล้านบาท
          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า วศ.อว. ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายท่านรัฐมนตรี.อว. ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชุมชนด้วยการพัฒนาและฟื้นฟูวิธีการผลิตกระเบื้องประดับตัวมังกรจีนและในรูปแบบอื่น ๆ ตามวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่โดยระบุการใช้อุณหภูมิการเผาเคลือบและเวลาการเผาที่เหมาะสมกับสูตรเคลือบเซรามิก เพื่อให้ได้กระเบื้องใหม่ที่มีความเหมือนกับโบราณวัตถุดั้งเดิมมากที่สุด นับเป็นการปูทางสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่ผสานระหว่างความงามแบบศิลปะดั้งเดิมและการผลิตกระเบื้องแบบสมัยใหม่ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับกรมศิลปากร และพันธมิตรเอกชนทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ
          ทั้งนี้ วศ.อว. เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเซรามิกครบวงจรมากว่า 40 ปี ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกให้มีคุณภาพและมาตรฐานสากล และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกและคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน โดย วศ.อว. ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิต การพัฒนาฝีมือแรงงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สวยงามและมีคุณสมบัติพิเศษตามวัตถุดิบที่ใช้ รวมไปถึงส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อให้ผู้ประกอบการในชุมชนสามารถพัฒนาต่อยอดส่งออกสู่ตลาดโลก
           ทั้งนี้ นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า ในอนาคต วศ.อว. จะขยายความร่วมมือกับกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เชิงอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุทั่วประเทศไทยเนื่องจากเป็นมรดกของประเทศและโลกอันทรงคุณค่าและมีมูลค่าในตัวเอง ดังนั้นการบูรณะให้คงอยู่ในสภาพเดิมได้ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จะมีผลต่อความภาคภูมิใจของคนไทยและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 79/2567) รมว.ศุภมาส ชื่นชม นักวิทย์ฯ วศ.อว. สร้างชื่อรับรางวัลระดับนานาชาติ “ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมฆ่าเชื้อในรถพยาบาลฉุกเฉิน” เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าว

F464 2 F464 1

 

          เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่ากระทรวง อว. มีนโยบายสำคัญในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน โดยเน้นให้เกิดการพัฒนาที่รองรับทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน มีความสอดคล้องกับบริบทสังคมไทยให้ผลงาน มีมาตรฐานอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
          โดยผลงานล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. ได้ส่งนางสาวพรรัตน์ ไชยมงคล นักวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมประกวดผลงานนวัตกรรมในงาน International Exhibition of Inventions in the Middle East ณ ประเทศคูเวต ซึ่งจัดโดย Kuwait Science Club ในพระอุปถัมภ์ของเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต โดยนำผลงาน “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน“ โดยการใช้กระบวนการ Advanced Oxidation Process ในการฆ่าเชื้อโรคทั้งในพื้นผิวและอากาศภายในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน” เป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวแทนจากประเทศไทยเข้าประกวดและได้รับรางวัลระดับนานาชาติในครั้งนี้ นับเป็นที่น่ายินดีและนำมาซึ่งความภาคภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรกระทรวง อว. ที่เรามีนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ทั้งเก่งและมีความรู้ความสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติได้ ภายในงานฯ ดังกล่าว ได้รับเกียรติจากเอกอัครราชทูตฯ ณ คูเวต ร่วมแสดงความยินดีและพูดคุยกับทีมนวัตกรเกี่ยวกับโอกาสทำความร่วมมือด้านนวัตกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องระหว่างไทยกับคูเวต พร้อมทั้งเชิญชวนทีมวิจัย วศ.อว.เข้าร่วมโครงการฯ ของสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขยายเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า วศ.อว. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเป็นภารกิจสำคัญลำดับแรก ทั้งการดูแลสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาและการทำงาน นอกจากนี้ได้ส่งเสริมให้บุคลากรของ วศ.อว. แสวงหาพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ยกระดับขีดความสามารถประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน
           สำหรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินฯ ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 Model ได้แก่ Model สำหรับติดตั้งในสถานีรถพยาบาล จะใช้งานเมื่อรถพยาบาลออกไปให้บริการผู้ป่วยและกลับมาทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่ Station และ Portable Model สำหรับติดตั้งในรถพยาบาลกรณีที่ไม่สามารถกลับเข้าทำความสะอาดที่สถานีได้ และมีประโยชน์อย่างยิ่งในสถานการณ์โรคระบาดรุนแรงและสถานการณ์ปกติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่บุคลากรและผู้ป่วย ที่อาจสัมผัสเชื้อโรคได้ สำหรับตัวเครื่องใช้แบตเตอรี่และสามารถชาร์จไฟจากรถพยาบาลได้ โดยทั้ง 2 model ทำการฆ่าเชื้อแบบอัตโนมัติ สามารถสั่งงานผ่าน Remote หรือ Applications โดยไม่ต้องใช้คนเข้าไปทำความสะอาดฆ่าเชื้อ
             ทั้งนี้ ผลงานฯ ดังกล่าว ได้ส่งมอบเพื่อนำร่องใช้งานจริงในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ปทุมธานี แหลมฉบัง ชลบุรี สมุทรปราการ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วย และเป็นการร่วมผลักดันบูรณาการระหว่างองค์กรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดระบบฆ่าเชื้อที่สามารถติดตั้งในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินและสามารถขยายการใช้งานนวัตกรรมทั่วประเทศต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 78/2567) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2567 (NSTDA Annual Conference: NAC2024) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สานพลัง สร้างงานวิจัย พลิกโฉมเ

F463 2 F463 1

F463 3 F463 4

 

          วันที่ 29 มีนาคม 2567 ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2567 (NSTDA Annual Conference: NAC2024) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สานพลัง สร้างงานวิจัย พลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วย BCG Implementation” เพื่อตอบเป้าหมายหลักของแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ได้กำหนดไว้ใน 4 มิติ ได้แก่ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มการพึ่งพาตนเอง และสร้างความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตคนไทยสู่ความยั่งยืน โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายไชยรัตน์ บุตรเทพ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี พล.ต.ยอดอาวุธ พึ่งพักตร์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 พล.ต.ต. ยุทธนา จอนขุน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. และนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงานกระทรวง อว. ร่วมรับเสด็จฯ
           จากนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2567 และทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และนิทรรศการความก้าวหน้าด้วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สวทช.
           สำหรับงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 19 จัดระหว่างวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2567 นี้ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ภายในงานประกอบด้วย การสัมมนาและกิจกรรมเยาวชน 48 หัวข้อ นิทรรศการผลงานวิจัยนวัตกรรมของนักวิจัย สวทช. และพันธมิตรกว่า 57 ผลงาน กิจกรรม Open house เปิดบ้านต้อนรับนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม และนักลงทุน ได้เข้าชมโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ และ NAC Market 2023 ตลาดนัดจำหน่ายสินค้านวัตกรรมจากงานวิจัย สินค้าชุมชนในราคาพิเศษจากเครือข่าย สวทช. ผู้สนใจลงทะเบียนร่วมงานได้ฟรีที่ https://www.nstda.or.th/nac สอบถามเพิ่มเติมโทรศัพท์ 0 2564 8000

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 77/2567) นักวิทย์ฯ กรมวิทย์บริการ อว. สร้างชื่อรับรางวัลระดับนานาชาติ นวัตกรรมฆ่าเชื้อในรถพยาบาลฉุกเฉิน

F462 1 F462 3 F462 2

F462 6 F462 5 F462 4

 

           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงนโยบายสำคัญด้านการพัฒนากำลังคนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. นางสาวศุภมาศ อิสระภักดี เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนตามแนวทางที่กำหนดในยุทธศาสตร์ชาติ โดย วศ.อว. มุ่งมั่นส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานแสวงหาพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยียกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมของประเทศ
          ล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. ได้ส่ง นางสาวพรรัตน์ ไชยมงคล นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กองเทคโนโลยีชุมชน เข้าร่วมงาน International Exhibition of Inventions in the Middle East ณ ประเทศคูเวต จัดโดย Kuwait Science Club ในพระอุปถัมภ์ของเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต โดยนำผลงาน “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน“ โดยการใช้กระบวนการ Advanced Oxidation Process ในการฆ่าเชื้อโรคทั้งในพื้นผิวและอากาศภายในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน” ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ตัวแทนจากประเทศไทยเข้าประกวดและได้รับรางวัลระดับนานาชาติ นับเป็นที่น่ายินดีและนำมาซึ่งความภาคภูมิใจอย่างยิ่งแก่นักวิทยาศาสตร์และชาว วศ.อว. ที่เรามีนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ทั้งเก่งและมีความรู้ความสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติได้
           นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานฯ ดังกล่าว ได้รับเกียรติจากเอกอัครราชทูตฯ ณ คูเวต ร่วมแสดงความยินดีและพูดคุยกับทีมนวัตกรเกี่ยวกับโอกาสทำความร่วมมือด้านนวัตกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องระหว่างไทยกับคูเวต พร้อมทั้งเชิญชวนทีมนวัตกรเข้าร่วมโครงการ Soft Power ของสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขยายเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต
          สำหรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินฯ ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 Model ได้แก่ Model สำหรับติดตั้งในสถานีรถพยาบาล จะใช้งานเมื่อรถพยาบาลออกไปให้บริการผู้ป่วยและกลับมาทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่ Station และ Portable Model สำหรับติดตั้งในรถพยาบาล กรณีที่ไม่สามารถกลับเข้าทำความสะอาดที่สถานีได้ ตัวเครื่องใช้แบตเตอรี่และสามารถชาร์จไฟจากรถพยาบาลได้ โดยทั้ง 2 model ทำการฆ่าเชื้อแบบอัตโนมัติ สามารถสั่งงานผ่าน Remote หรือ Applications โดยไม่ต้องใช้คนเข้าไปทำความสะอาดฆ่าเชื้อ
           ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวฯ ได้ส่งมอบเพื่อนำร่องใช้งานจริงในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ปทุมธานี แหลมฉบัง ชลบุรี สมุทรปราการ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วย และเป็นการร่วมผลักดันบูรณาการระหว่างองค์กรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดระบบฆ่าเชื้อที่สามารถติดตั้งในรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินและสามารถขยายการใช้งานนวัตกรรมทั่วประเทศต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

(ข่าวที่ 76/2567) วศ.อว. เร่งพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์ยางไทยสู่มาตรฐานสากล

F461 6 F461 3 F461 5

F461 1 F461 2 F461 4

 

          เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบให้ ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบและการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบผลิตภัณฑ์ยาง” กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) มีภารกิจในการพัฒนาหลักสูตร และจัดการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมยางในประเทศไทยสู่มาตรฐานระดับสากล ตามแผนงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) เพื่อส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานด้านยาง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในทฤษฏีและหลักการผลิตภัณฑ์ยางตามมาตรฐานสากล
          โดยการฝึกอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 -22 มีนาคม 2567 ณ ห้อง 519 ชั้น 5 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิของกรมวิทยาศาสตร์บริการ นำโดย อาจารย์จันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ ดร.อรวรรณ ปิ่นประยูร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง พร้อมคณะวิทยากรจากกองวัสดุวิศวกรรม และกองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมจาก 17 หน่วยงาน รวม 41 ท่าน โดยเป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์ยาง จากภาครัฐ 25 ท่าน และภาคเอกชน 16 ท่าน
          วศ.อว. มุ่งหวังให้ผู้ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้ด้านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบและการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบผลิตภัณฑ์ยางไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวิธีทดสอบในหน่วยงานของตนเอง เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลการวิเคราะห์ทดสอบให้ความถูกต้อง และแม่นยำ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการยางในประเทศไทยให้ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางของประเทศ เพิ่มศักยภาพในการส่งออก และโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลก ภายใต้ภารกิจ กรมวิทยาศาสตร์บริการ “นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน”

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 75/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป
  2. (ข่าวที่ 74/2567) รมว. “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. พัฒนาอาหารชุมชนสู่อาหารแห่งอนาคต ล่าสุดพัฒนาอาหารจากเศษดักแด้หนอนไหมอีรี่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนสูง ปลอดภัย รสชาติอร่อย
  3. (ข่าวที่ 73/2567) วศ.อว. เสริมองค์ความรู้บรรจุภัณฑ์ เพื่อการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ มุ่งเพิ่มรายได้ชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
  4. (ข่าวที่ 72/2567) ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ
  5. (ข่าวที่ 71/2567) วศ.อว. หนุนการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ มุ่งรับใช้ประชาชน
  6. (ข่าวที่ 70/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวสู่ประเทศไทยยั่งยืน เพิ่มรายได้ชุมชน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้ วศ.อว. เร่งรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์วัสดุจากธรรมชาติ ล่าสุด…ผ่านรับรองแล้ว 70 โมเดล
  7. (ข่าวที่ 69/2567) วศ.อว. แสดงความยินดีกับ 2 ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2566 เตรียมรับมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ จากผู้บริหารระดับสูงกระทรวง อว. ในวันข้าราชการพลเรือน
  8. (ข่าวที่ 68/2567) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระเนตรศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียมแห่งชาติและความพร้อมของดาวเทียมธีออสสองเอ ก่อนนำส่งขึ้นสู่อวกาศในช่วงกลางปี 2567
  9. (ข่าวที่ 67/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ให้ วศ.อว. ผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ล่าสุด “เฝือกขาจากยางพารา (Bio-Slab)” ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยสำเร็จแล้ว
  10. (ข่าวที่ 66/2567) ด่วน ! รมว. “ศุภมาส” ส่ง “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่ระยอง ตรวจพิสูจน์น้ำเปลี่ยนสี หวั่นกระทบคุณภาพชีวิตประชาชนและระบบนิเวศทะเลไทย

Page 5 of 414