ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่63/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดบ้านบันทึกเทปรายการเดินหน้าประเทศไทย โชว์ห้องปฏิบัติการวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน

วศ./ก.วิทย์  เปิดบ้านบันทึกเทปรายการเดินหน้าประเทศไทย

โชว์ห้องปฏิบัติการวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน

  

 

          13 กรกฎาคม 2559 ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ บันทึกเทปรายการเดินหน้าประเทศไทย เรื่องศูนย์วัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน ซึ่งดำเนินงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการทดสอบความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหารของห้องปฏิบัติการประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีมาตรฐานการทดสอบเดียวกันและยอมรับผลการทดสอบของประเทศ ซึ่งมีทีมข่าวจากช่อง 7สี เข้าร่วมสัมภาษณ์และบันทึกเทป ณ ศูนย์วัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน กรมวิทยาศาสตร์บริการ

          ดร.สุทธิเวช กล่าวว่า ศูนย์ทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารของเซียน เป็นหน่วยงานในการบริหารราชการภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ  ศูนย์นี้เดิมเป็นกลุ่มงานภาชนะบรรจุอาหารของโครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  การแยกตัวออกมาเพื่อให้การดำเนินงานราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  เกิดความคล่องตัว  และมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามภารกิจการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านวัสดุสัมผัสอาหาร (ASEAN Food Reference Laboratory for Food Contact Materials) ซึ่ง กรมวิทยาศาสตร์บริการได้รับการรับรองให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงนี้จากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐาน และคุณภาพของอาเซียน (ASEAN Consultative Committee on Standard and Quality : ACCSQ)  เมื่อเดือน กันยายน  พ.ศ. 2557  โดยมีวาระ 5  ปี เพื่อดำเนินงานในด้านการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพด้านการทดสอบความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหารของห้องปฏิบัติการประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีมาตรฐานการทดสอบเดียวกันและยอมรับผลการทดสอบของประเทศสมาชิก  เป็นการอำนวยความสะดวกในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าในอาเซียน  ซึ่งห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านวัสดุสัมผัสอาหารนี้ได้รับการรับรอง  6  ขอบข่าย คือ พลาสติก   โลหะและโลหะผสม เซรามิก แก้ว วาร์นิชและสารเคลือบ และซิลิโคน และในอนาคตจะขยายขอบข่ายวัสดุสัมผัสอาหารประเภทที่นิยมใช้ในเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารต่อไป  เช่น กระดาษ  เป็นต้น 

          ดร.สุทธิเวช กล่าวเพิ่มเติมว่า วัสดุสัมผัสอาหารเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคน ไม่ว่าจะเป็น จาน ช้อน มีด ฯลฯ ทุกอย่างที่มีการสัมผัสกับอาหารจะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งสิ้น ปัจจุบันทุกประเทศให้ความสำคัญกับวัสดุสัมผัสอาหารอย่างมาก ยอมรับว่าในประเทศไทยตระหนักเรื่องผลิตภัณฑ์วัสดุสัมผัสอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ พลาสติก เซรามิก แก้ว และสแตนเลส ทางหน่วยงานที่กำกับและดูแลกฎหมายได้แก่ อย. สมอ. เริ่มกำหนดมาตรฐานในประเทศ ซึ่งจะทำให้คนไทยได้ใช้สินค้าที่มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะดูแลและกำกับสินค้าไม่ให้อันตรายและเกิดปัญหากับสุขภาพของประชาชน ตอนนี้มีสินค้าวัสดุสัมผัสอาหารจากต่างประเทศที่มีการขายอยู่บริเวณชายแดนถือเป็นความเสี่ยงที่ต้องระวัง ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการก็เป็นส่วนหนึ่งที่เฝ้าระวังเก็บตัวอย่างจากบริเวณพื้นที่ชายแดน เช่น หม้อก๋วยเตี๋ยว เขียง หม้ออลูมิเนียม ฯลฯ มาตรวจสอบดูว่าสินค้าเหล่านี้มีการควบคุมตามมาตรฐานหรือไม่ การพัฒนาสินค้ามีหลายรูปแบบทางผู้ประกอบการต้องตระหนักดูแลและควบคุมสินค้าให้มีมาตรฐานปลอดภัยต่อพี่น้องประชาชน ถึงบางรายการจะยังไม่มีมาตรฐานในประเทศไทยก็ควรนำมาตรฐานจากต่างประเทศมาเป็นตัวนำในการควบคุมสินค้า ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถนำสินค้ามาทดสอบมาตรฐานที่ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการได้

          สำหรับรายการเดินหน้าประเทศไทย ตอน โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพกับการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมไทย ซึ่งมี ดร. ณรงค์  ศิริเลิศวรกุล โฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึง โครงสร้างพื้นฐาน MSTQ และ ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ถ่ายทำสกู๊ป เรื่องศูนย์วัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน มีกำหนดออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2559

 

 

-----------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 โทร 02 201 7000  โทรสาร 0 2201 7470 

เว็บไซต์ www.dss.go.th Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE  

(ข่าวที่62/2559) วศ. จัดสัมมนา “การเสริมสร้างศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025” ยกระดับการส่งออกไทย

วศ. จัดสัมมนา “การเสริมสร้างศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025” ยกระดับการส่งออกไทย

 

 

วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ดร.ณัชนพงศ์ วชิรวงศ์บุรี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ครั้งที่ ๑” ซึ่งจัดโดยสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2559  เพื่อเสริมสร้างศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป้าหมายเพื่อให้ห้องปฏิบัติการทดสอบที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปูและบริเวณใกล้เคียงได้รับความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดและการริเริ่มการจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพตาม ISO/IEC 17025  แนวทางการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธีทดสอบและการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด แนวทางการประกันคุณภาพผลการทดสอบ เพื่อนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐาน รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดทำระบบการบริหารงานคุณภาพ เพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ณ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ  ทั้งนี้ สำนักฯ ได้บูรณาการกับหน่วยงานภายใน วศ.ได้แก่  สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ และศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการและหน่วยงานภายนอก วศ. คือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยร่วมเป็นวิทยากรและจัดนิทรรศการ 

 

 

(ข่าวที่61/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ สนองนโยบายนายกฯ เข้าร่วมจัดนิทรรศการในงานแสดงผลงาน วท. และหน่วยงานเครือข่าย ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

กรมวิทยาศาสตร์บริการ  สนองนโยบายนายกฯ เข้าร่วมจัดนิทรรศการในงานแสดงผลงาน วท. และหน่วยงานเครือข่าย ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

 

 

          6 กรกฎาคม 2559 ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมงานแสดงผลงาน วท. และหน่วยงานเครือข่าย ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เรื่อง เทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียของครัวเรือนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียของแหล่งน้ำในชุมชน โดย มี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธาน ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

       กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้นำเสนอเทคโนโลยีที่สามารถใช้หรือประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน ซึ่งเป็นผลงานที่ทำร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เป็นเครื่อง Solar Pump Inverter ร่วมกับปั๊มไดโว่ ซึ่งเป็นระบบปั๊มน้ำ โดยใช้อุปกรณ์แปลงพลังงานหรืออินเวอเตอร์ ร่วมกับแผงโซล่าในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนมอเตอร์ปั๊มน้ำรูปแบบต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่หรือน้ำมันเชื้อเพลิงใดๆ และใช้ปั๊มไดโว่เป็นตัวเติมออกซิเจนในน้ำเพื่อให้น้ำใสขึ้น ซึ่งผลงานได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

 

 -------------------------------------------------------------

ข่าว / ภาพ: จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 โทร 02 201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  เว็บไซต์ www.dss.go.th

 

Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE 

(ข่าวที่60/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพร แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2559

กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

12 สิงหาคม 2559

          5 กรกฎาคม 2559 ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพร แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2559เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี (ช่อง 9) ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

 

-----------------------------------------------------

ข่าว / ภาพ: จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 โทร 02 201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  เว็บไซต์ www.dss.go.th

Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE  

(ข่าวที่59/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ 37 หน่วยงานรัฐ-เอกชน เดินหน้า “ประชารัฐร่วมใจยกระดับ โอทอป ด้วย วทน.”

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ 37 หน่วยงานรัฐ-เอกชน

เดินหน้า “ประชารัฐร่วมใจยกระดับ โอทอป ด้วย วทน.”

  

 

          5 กรกฎาคม 2559 ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ โครงการ “ประชารัฐร่วมใจยกระดับโอ-ทอป ด้วย วทน.” โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน  ดึงรัฐ-เอกชน ร่วมยกระดับ OTOP แบบครบวงจร อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อย. สมอ. สยามพิวรรธน์ ไทยเบฟ  SCG Chemical ปตท. ททท.  หลังพบมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเกินความคาดหวังกว่า 1,000 ราย ณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)           

          ตามที่รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) โดยการมอบ “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” ที่เป็นการให้บริการ 6 เรื่อง คือ พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบกระบวนการผลิต ออกแบบเครื่องจักร และพัฒนาระบบมาตรฐาน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการโอทอปเริ่มต้น   (OTOP Start Up) เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนโอทอป ผู้ประกอบการโอทอปที่ขึ้นทะเบียนแล้วและต้องการยกระดับดาว และผู้ประกอบการโอทอปที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน และต้องการเพิ่มศักยภาพในการส่งออกนั้น 

          ก้าวต่อไปของการทำงานนี้ คือ การดำเนินงานเชิงระบบในการยกระดับโอทอป โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันทางการเงิน และสถาบันทางการศึกษารวม 35 หน่วยงาน ตามแนวทางประชารัฐที่เกิดจากความตั้งใจของทุกฝ่าย และมีแนวทางการจัดทัพในเวลาอันสั้นเพื่อดำเนินงานร่วมกันในปี 2560 ได้แก่ 

          ด้านการส่งเสริม พัฒนา และสนับสุนนชุมชน มีหน่วยงาน 3 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มหัตถอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ SCG Chemical ร่วมกันดำเนินงานการคัดกรองกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นทำผลิตภัณฑ์ โอทอป กลุ่มผู้ประกอบการปัจจุบันที่ต้องการยกระดับดาว กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออก ที่มีศักยภาพเพื่อยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 

          ด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยหน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ (วว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)(สนช.) และสถาบันการศึกษาเครือข่ายพันธมิตร 7 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกันดำเนินงานนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากการวิจัยและพัฒนา ที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ นวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการโอทอป 

          ด้านการเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน มีหน่วยงาน 3 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกันดำเนินงานการสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่าย มีหน่วยงาน 10 แห่ง ประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลจำกัด บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด บริษัทสยามพิวรรธน์จำกัด มูลนิธิสำนักงานพัฒนาตลาดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันดำเนินงานการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และหน่วยงานสนับสนุนด้านการเงินและการธนาคาร มีหน่วยงาน 6 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ร่วมกันดำเนินงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการโอทอป 

          ดร.พิเชฐฯ กล่าวว่า จากการเดินทางไปพบผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลก สิ่งหนึ่งสำคัญคือการเชื่อมโยงการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในประเทศอาเซียน  ซึ่งประเทศจีนมีการพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันขึ้นอย่างรวดเร็วในเกือบทุกมิติ รวมทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างชัดเจน และ ในวันนี้ประเทศไทยมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นผู้นำของอาเซียนด้านเทคโนโลยี ในการเป็นประตูเชื่อมพลังการขับเคลื่อนให้แก่ทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนานาประเทศกล้าร่วมลงทุนกับไทย 

          ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มบริษัทข้ามชาติ ที่เข้ามาร่วมลงทุนในงานวิจัยและนวัตกรรม โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  ทำหน้าที่รวมพลังเชิญชวน 2.กลุ่มบริษัทไทยขนาดใหญ่ที่ร่วมสนับสนุนประชารัฐในมิติต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคม ซึ่งสถิติของการลงทุนการวิจัยของประเทศไทยวันนี้มีมากกว่า 0.6% ต่อ GDP ซึ่งจากเดิมเพียง 0.25 % ต่อ GDP ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลนำโดยภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุน โดยรัฐบาลทำหน้าที่สนับสนุนการใช้มาตรการต่างๆ เช่น มาตรการทางภาษี มาตรการทางการผลิตกำลังคน 3.กลุ่มสตาร์ทอัพ เป็นกลุ่มที่สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศไทยในอนาคตและในช่วงต้นปี พ.ศ.2560 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ตั้งเป้าผนึกกำลังร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 50 แห่ง เพื่อสร้าง อีโคซิสเต็ม สำหรับสตาร์ทอัพให้แก่อาจารย์และนักศึกษา นอกจากนี้ ในปลาย พ.ศ. 2559  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีแผนทีจะพัฒนาชุมชนสตาร์ทอัพ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของสยามสแควร์ และกระจายสู่ภูมิภาคต่างๆ เช่น ถนนนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนไอเดียธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้วยกัน โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะทำหน้าที่สนับสนุนอย่างเต็มขีดความสามรถเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้า โอทอป ให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

          ซึ่งผลแห่งความสำเร็จนี้ จะทำให้ผู้ประกอบโอทอปและเศรษฐกิจฐานรากไทย ก้าวสู่ความมั่งคั่งและมั่นคงอย่างยั่งยืน มีรายได้ เกิดการสร้างงาน และเกิดนวัตกรรมจนเป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากประมาณ 2,700 ล้านบาทต่อปีต่อไป

 

-----------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 โทร 02 201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  เว็บไซต์ www.dss.go.th

Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE  

  1. (ข่าวที่ 58/2559) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ
  2. (ข่าวที่57/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ เนคเทค ยกระดับห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมระบบการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์
  3. (ข่าวที่56/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการผลิต OTOP ไทยให้ได้มาตรฐาน
  4. (ข่าวที่55/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น สนับสนุนผู้ประกอบการภูมิภาค
  5. (ข่าวที่ 54/2559) วศ. จัดอบรมหลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานด้านการรับรองระบบงานและการมาตรฐาน” พัฒนาฝีมือบุคลากร สปป. ลาว
  6. (ข่าวที่ 53/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
  7. (ข่าวที่ 52/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ FCM Training 2016 : Migration of Melamine from Melamine Wares
  8. (ข่าวที่ 51/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดห้องปฏิบัติการ ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ
  9. (ข่าวที่50/2559 กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมงาน “ท่องโลกเทคโนโลยีชีวภาพ” ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า)
  10. (ข่าวที่ 49/2559) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัว “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” (STI coupon for OTOP Upgrade)