ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 48/2559) บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัดเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ วศ.

บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ วศ.

 

 

          เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยนางอุมาพร สุขม่วง รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้การต้อนรับ Mr. Lionel Buratti, Regional Manager-Asia Oceania and sub-saharan Africa, Nestle ตัวแทนจากบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และคณะ เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ASEAN Food Reference Laboratory ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์วัสดุสัมผัสอาหารและมาตราต่างๆ

 

(ข่าวที่47/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ4หน่วยงานจัดงานวันรับรองระบบงานโลก

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ4หน่วยงานจัดงานวันรับรองระบบงานโลก

 

  

          ในโอกาสสำคัญวันรับรองระบบงานโลก ที่กำหนดให้เป็นวันที่ 9 มิถุนายน ของทุกปี ในปี 2559 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สำนักงามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม,สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข 4 หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการรับรองระบบงานของไทย และ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ที่ดำเนินงานการมาตรวิทยา ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเชิงวิชาการและนิทรรศการ โดยกำหนดหัวข้อในการรณรงค์และส่งเสริมคือ “Accreditation : A Global Tool to Support Public  Policy” เพื่อเน้นถึงบทบาทและความสำคัญของการรับรองระบบงานเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนนโยบายสาธารณะ โดยมี นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2559

            นายสุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การรับรองระบบงานทำให้เกิดการยอมรับขีดความสามารถของกิจกรรมด้านการตรวจสอบและรับรองของหน่วยงานที่ให้การรับรอง คุณภาพสินค้า บริการ ความสามารถบุคลากร การทดสอบ ทำให้หน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมเป็นที่เชื่อถือและได้การยอมรับจาก ประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบการตรวจสอบและรับรองของประเทศไทยโดยรวม และเป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่าง ประเทศ เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการตรวจสอบและรับรองรวมทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของสินค้าและบริการของไทยในตลาดโลก

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของหน่วยรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ ผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ และผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการของ วศ. ช่วยสนับสนุนนโยบายสาธารณะ เช่น หน่วยกำกับดูแลตามกฎหมาย (Regulatory Body : RB) อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการควบคุมมลพิษ ทางสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของอาหารและคุณภาพอาหารสัตว์ 

            ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “นโยบายการรับรองระบบงานเพื่อสนับสนุนนโยบายสาธารณะ” โดย นายสุทธิเวช   ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นายธวัช ผลความดี เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และนาย  ประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ต่อด้วยการเสวนา เรื่อง “การใช้ผลการรับรองระบบงานกับนโยบายสาธารณะ” โดย พล.ต.ต.ปรีดี พงศ์เศรษฐสันต์ รองผู้บัญชาการกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายกิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ ผู้ตรวจราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางสาวอุบลรัตน์ สุนทรรัตน์ นักวิชาการประมงชำนาญการ กรมประมง       นางผานิต รัตสุข ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจและบังคับการกรมควบคุมมลพิษ และนางสาวชมเดือน ศตวุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เอ็น ดี ที จำกัด (มหาชน)  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประมาณ 1000 คน

            ภาคบ่ายเป็นการบรรยายพิเศษ 4 เรื่องโดยแบ่งเป็น 4 ห้องย่อย ได้แก่ ห้องที่ 1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ทิศทางการรับรองระบบงาน สินค้าเกษตรและอาหาร ห้องที่ 2 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง “การเลือก PT provider ให้เหมาะสมกับงาน (How to  select PT provider to suit your purpose)” ห้องที่3 กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การตรวจสถานที่เกิดเหตุ อาวุธปืน ลายนิ้วมือ แฝงตามหลักมาตรฐานสากล ISO/IEC 17020 และห้องที่4 สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง “การรับรองระบบจัดการด้าน ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

 

  ---------------------------------------------

 

ข่าว : จิตลดา คณีกุล    / ภาพข่าว  :  คุณวุฒิ ลี่แตง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทร 0 2201 7470  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE 

 

 

                                                      

ข่าว : จิตลดา คณีกุล    / ภาพข่าว  :  คุณวุฒิ ลี่แตง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทร 0 2201 7098  โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ,  www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE 

(ข่าวที่46/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัยและงานบริการด้านเซรามิกและแก้ว ณ Korea Institute of Ceramic Technology and Engineering (KICET) ปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัยและงานบริการด้านเซรามิกและแก้ว ณ Korea Institute of Ceramic Technology and Engineering (KICET) ปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี

          วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัยและงานบริการด้านเซรามิกและแก้ว ณ Korea Institute of Ceramic Technology and Engineering (KICET) ปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี

          ดร.สุทธิเวช ต. แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ Dr. Kang Seok-joong ผู้ว่าการ KICET Dr. Hyung Tae Kim ผู้อำนวยการ  KICET สาขา Icheon และคณะผู้แทนจากทั้งสองหน่วยงาน ประชุมวางแผนอนาคตของการทำงานภายใต้ความร่วมมือ พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานวิจัยและงานบริการด้านเซรามิกและแก้ว ระหว่าง KICET สาธารณรัฐเกาหลีใต้ และกรมวิทยาศาสตร์บริการ ประเทศไทย โดยมุ่งหวังว่าความร่วมมือฉบับนี้จะนำมาสู่การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ในการวิจัยด้านเซรามิกและแก้วที่มีสมบัติพิเศษ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสำหรับการใช้งานใหม่

(ข่าวที่45/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)

 

  

          เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) กับบริษัทเอกชนชั้นนำของเมืองไทยจำนวน 13 บริษัท หน่วยงานภาครัฐ 9 แห่ง มหาวิทยาลัย 12 แห่ง และอีก 1 สมาคม เพื่อขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรมอาหารให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุดภายในการปีนี้ โดยการลงนามครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธิ โดยมี ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์     รันตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการอาหารของบริษัทเอกชน มหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ณ สำนักงานประสานงานเมืองนวัตกรรมอาหาร อาคารอุทยานนวัตกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า Food Innopolis วางเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมด้านอาหารที่สอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของตลาดอุตสหกรรมอาหารโลกที่เกี่ยวข้องกับอุตสหกรรมอาหาร เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ การออกแบบและการพิมพ์ การบริการที่ปรึกษานวัตกรรม ฯลฯ ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่าง 3 ภาคส่วนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของการทำงานในรูปแบบที่อาศัยไกประชารัฐ ตามแนวทางของรัฐบาล ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการจับมือกันระหว่างภายเอกชนรัฐบาล และสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
          กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำโดย ดร. ณัชนพงศ์ วชิรวงศ์บุรี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมืองนวัตกรรมอาหาร พร้อมทั้งให้การต้อนรับ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและนำเสนอผลงาน ผลิตหมูยอไขมันต่ำ โดยการนำเอนไซม์ทรานส์กลูทามิเนสมาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัส โดยสูตรที่ผลิตได้ไม่มีการใส่ไขมันจากสัตว์ เช่น ไขมันหมู หรือมันไก่ และปราศจากแป้งในส่วนผสม โดยหมูยอมีลักษณะเนื้อสัมผัสเรียบเนียน แน่นเนื้อ ฉ่ำน้ำ มีค่าโปรตีนมากกว่า  แต่มีค่าพลังงานทั้งหมด พลังงานจากไขมัน ไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว โคเลสเตอรอล และคาร์โบไฮเดรต มีค่าน้อยกว่าหมูยอในท้องตลาด โดยสามารถลดไขมันทั้งหมดลงได้ถึงร้อยละ 64 จึงได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก

-----------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว ภาพข่าว : นางสาวทิพาพร  ภูมิปกรณ์

ฝ่ายประชาสัมพันธ์   กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทร 0 2201 7095 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

(ข่าวที่44/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคนิคการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับ”

กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

หลักสูตร “เทคนิคการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับ”

 

 

          24 พฤษภาคม 2559 ห้องปฏิบัติการเชี่ยวชาญด้านแก้ว โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคนิคการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับ” วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับ เพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่และสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ด้านแก้วนำความรู้ที่ได้มาประกอบเป็นอาชีพ โดยมีผู้ประกอบการที่มีความสนใจทางด้านแก้วเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม ชั้น7 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

  1. (ข่าว 43/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมจัดนิทรรศการ NQI/MSTQ Press Tour “พัฒนาเศรษฐกิจไทย NQI/MSTQ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย”
  2. (ข่าวที่ 42/2559) Swedish Chemicals Agency (KEMI) and Participants of the ITP299 2015 Asia เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ
  3. (ข่าวที่ 41/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการลดพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก”
  4. (ข่าวที่40/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายวิเทศสัมพันธ์ วท.
  5. (ข่าวที่ 39/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ
  6. (ข่าวที่38/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมงาน “Startup Thailand 2016”
  7. (ข่าวที่37/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรสู่เป้าหมายระดับองค์กร
  8. (ข่าวที่ 36/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้การต้อนรับนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน
  9. (ข่าวที่ 35/2559)กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมงานแถลงข่าว “Startup Thailand 2016”
  10. (ข่าวที่ 34/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดโครงการขยายฐานการเรียนรู้เพื่อการวิจัยและพัฒนา กิจกรรมการสืบค้นสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี