ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 362/2566) วศ.อว.ร่วมกับ สนง.พาณิชย์ฯ และอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น หนุน ผปก. จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เสริมแกร่งธุรกิจอาหารโปรตีนสูงจากแมลง

F273 2 F273 1

F273 3 F273 4

 

           วันที่ 21 ธันวาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.จิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร เป็นประธานเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การพัฒนานวัตกรรมอาหารอันชาญฉลาด ครั้งที่ 1/2567” (Smart food development) เพื่อพัฒนาบุคลากรหน่วยงานภาคเอกชนภาครัฐ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในการพัฒนายกระดับนวัตกรรมอาหารโปรตีนสูงจากแมลง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค โดยมีกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 30 คน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น
ภายในงาน มีการบรรยาย หัวข้อ "นวัตกรรมอาหารอันชาญฉลาด" โดย ดร.จิราภรณ์ บุราคร , หัวข้อ "ตลาดอาหารแปรรูปจากแมลง" โดยนายนิยุทธ์ สืบสาย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น , หัวข้อ "ทำอย่างไรผลิตภัณฑ์อาหารจึงจะได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)" โดย นางสาวเจษฎาภรณ์ รินไธสง นักวิชาการอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ต่อด้วยภาคบ่ายมีบรรยาย หัวข้อ "การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีด" พร้อมวีดิโอสาธิตขั้นตอนการแปรรูปฯ โดย นายปรานต์ ปิ่นทอง
          นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ วศ. ซึ่งแต่ละหัวข้อเป็นที่สนใจของกลุ่มเป้าหมายอย่างมาก เนื่องจากสามารถสนับสนุนให้ผู้ประกอบมีโอกาสพัฒนานวัตกรรมอาหารในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างตรงความต้องการของตลาด และสามารถสร้างความได้เปรียบในตลาดภายในประเทศและตลาดโลก โดยเน้นตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์โดดเด่น แตกต่างจากทั่วไป ตลอดจนมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพ รสชาติอร่อย ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ได้การรับรองตามมาตรฐานต่างๆ อาทิ มาตรฐาน สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รวมถึงศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญอีกด้วย
           การสัมมนาครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับ วศ. มากกว่า 59 % ของผู้เข้าอบรม โดย วศ. จะนำข้อมูลความต้องการไปวางแผนดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเห็นผลเป็นรูปธรรมต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 361/2566) วศ.อว. จัดเวทีเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยี Connected and Autonomous Vehicle (CAV) รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

F272 2 F272 3

F272 4 F272 1

 

          วันที่ 20 ธันวาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรมสนทนาประสา วศ. เรื่อง วศ. กับการยกระดับมาตรฐานยานยนต์แห่งอนาคต : CAV Proving ground โดย นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดกิจกรรม โดย ดร.ปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กองวัสดุวิศวกรรม เป็นวิทยากร ซึ่งมีผู้บริหารและบุคลากร วศ. ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ และผ่านระบบออนไลน์ (ZOOM) กว่า 50 คน
          นางสาวภัทริยาฯ รองอธิบดี วศ. กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ มองเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคต (Future Mobility) โดยเฉพาะโครงสร้างการคมนาคมที่จะเปลี่ยนจากเดิมไปสู่ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ด้วยระบบไฟฟ้า หรือการขับขี่อัตโนมัติ จึงร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยจัด “โครงการสร้างสนามทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (CAV Proving Ground)” วัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสนามทดสอบ Connected and Autonomous Vehicle (CAV) Proving Ground ในพื้นที่ EECi ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ (NQI) โดยมีกำหนดเวลาดำเนินงาน 4 ปี (ปี 2565-2568) คาดว่าประมาณปี 2568 จะสามารถให้บริการทดสอบยานยนต์อัตโนมัติ ต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 360/2566) วศ.อว. หนุนพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการรับรองระบบงาน ขับเคลื่อนระบบ NQI ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

 F271 4 F271 3 F271 1 

F271 2 F271 5 F271

 

          วันที่ 18 ธันวาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และ นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ พร้อมด้วย นางสาวภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กล่าวรายงานวัตุประสงค์ ของโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “Assessor Training Course for Laboratories“ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 23 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมแคนทารี เบย์ ระยอง จังหวัดระยอง เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความพร้อมให้กับบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาการที่พร้อมจะเป็นผู้ประเมินฯ ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและแนวทางการตรวจประเมินได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติครบถ้วน และครอบคลุมความต้องการทางวิชาการที่มีความหลากหลายของประเทศ ตลอดจนนำมาปรับใช้กับการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเต็มความสามารถ
          นางสาวภัทริยาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วศ. มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 หน่วยรับรองระบบงานของประเทศและดำเนินงานในรูปแบบ Single platform โดยให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ในปัจจุบันกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ วศ. ได้ให้การรับรองห้องปฏิบัติการมาแล้วกว่า 280 แห่ง
          การจัดอบรมในครั้งนี้เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (บร.) และ กองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการทางด้านห้องปฏิบัติการทดสอบจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก วศ. จำนวน 20 ราย ให้มีความพร้อมรองรับการให้บริการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศให้เข้มแข็งต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 359/2566) วศ.อว. ร่วมประชุมวิชาการวิชาการระดับนานาชาติ “The International Conference on Applied Physics and Materials Applications (ICAPMA2023)”

F270 1 F270 4

F270 3 F270 2

 

          เมื่อวันที่ 6-9 ธันวาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ จิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.เอกรัฐ มีชูวาศ และ ดร.สุรีรัตน์ ยอดเถื่อน จากกองวัสดุวิศวกรรม กลุ่มวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการวิชาการระดับนานาชาติ “The International Conference on Applied Physics and Materials Applications (ICAPMA2023)” ณ โรงแรมการ์เด้น คลิฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จัดโดยสมาคมเซรามิกอเมริกันประเทศไทย (The American Ceramic Society-Thailand Chapter) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และสมาคม IEEE ประเทศไทย (Institute of Electrical and Electronics Engineers) และได้นำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า (Oral Presentation) จำนวน 2 เรื่อง คือ 1) Tungsten doped borosilicate glasses for radiation shielding ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันรังสีของแก้วบอโรซิลิเกตด้วยการเติมทังสเตน (WO3) และ 2) Influence of Pr6O11 doping on crystal structure and electrical properties of BNT-BT hard piezoelectric ceramics for high-power applications ซึ่งเป็นการศึกษาผลของการเติม Pr6O12 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างผลึกและสมบัติทางไฟฟ้าของเซรามิกปราศจากตะกั่ว BNT-BT สำหรับการประยุกต์ใช้งานในเครื่องใช้ที่มีกำลังสูง ในการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมการประชุมและนำเสนอผลงานวิจัยทั้งสินเป็นจำนวน 200 คน ประกอบไปด้วยบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิจัย วิศวกร และ ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ โดยวัตถุประสงค์การเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ คือการสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็งและแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ของนักวิจัยทั่วโลก พร้อมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้จากผลงานวิจัยของนักวิจัยไปสู่สาธารณชน
          สำหรับงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ICAPMA 2023 เป็นงานประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านวัสดุศาสตร์ที่มีหัวข้อการนำเสนอผลงานครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นหัวข้อหลักได้ 10 หัวข้อ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจเช่น Advanced functional materials, Ceramics science and engineering, Nanomaterials and catalysts, Radiation physics and advanced materials characterization, Applied polymer materials, advanced composites, biomaterials, and environmental materials, Special session: IEEE MagSoc Thailand, Special session: Glass and optical materials division meeting, Special session: Advancing sustainability through innovative materials and Critical minerals and rare-earth elements, metals and alloys, construction materials, materials design, and materials in emerging industries นอกจากนี้ภายในงานยังมีการประชุมความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ รวมถึงแนวทางการพัฒนางานวิจัยและนักวิจัยรุ่นใหม่ ตัวอย่างงานวิจัยที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยงานวิจัย เรื่อง 1) Fabrication of 3D printed hydroxyapatite/polymeric bone scaffold นำเสนอโดย รศ.ดร.อรทัย จงประทีป จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาการประดิษฐ์โครงเลี้ยงเซลล์ (Scaffold) ไฮดรอกซีอะพาไทต์/โพโตพอลิเมอร์ ที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ สำหรับใช้ทดแทนกระดูกพรุนหรือประสบอุบัติเหตุ 2) Enhancing energy harvesting efficiency: surface chemical modification for triboelectric nanogenerators นำเสนอโดย รศ.ดร. สมพิศ วันวงษ์ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็กไทรโบอิเล็กทริก (Triboelectric nanogenerators: TENGs) โดยการดัดแปลงเคมีพื้นผิวให้สามารถเพิ่มการถ่ายโอนประจุ เพิ่มพื้นที่การเสียดสี และเพิ่มความทนทาน ส่งผลให้กำลังขับสูงขึ้น 3) Modification of metal-oxide based photocatalysis for better performance นำเสนอโดย ศ.ดร.วิษณุ เพชรภา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นการศึกษาการเติม Co, V, Mn, Zn, N Fe, Yb และ Er เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาวัสดุ photocatalysis สำหรับการย่อยสลายสารมลพิษอินทรีย์ประเภทต่างๆ และ 4) Structural, dielectric, and energy storage properties of Ba2+ doped lead free NaNbO3-based ceramics นำเสนอโดย ผศ.ดร. ศศิพร ประเสริฐปาลิฉัตร จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพและความหนาแน่นในการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าของเซรามิกไร้สารตะกั่ว NaNO3-SrBiTiO3 ด้วยการเติม Ba2+ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาดและและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
          นอกจากนี้ ในการประชุม วศ. ได้ร่วมหารือกับ รศ.ดร.จักรพงษ์ แก้วขาว ประธานสมาคม The American Ceramic Society Thailand chapter เกี่ยวกับการวิจัยและกิจกรรมวิชาการของ วศ. ที่จะจัดขึ้นในปี 2567 เพื่อนำเสนอผ่านทางเครือข่ายความร่วมมือในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการอีกด้วย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 358/2566) วศ.อว. ร่วมรับรางวัล ภายใต้โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มภาครัฐ “GPPC” เพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

F269 4 F269 1

F269 3 F269 2

 

          เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมรับรางวัลชมเชย หน่วยงานเป้าหมายที่มีความพยายามในการปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้โครงการแพลตฟอร์มภาครัฐ เพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Government Platform for PDPA Compliance: GPPC) ซึ่งจัดโดย สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) โดยมี นายประเสริฐ จันทรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกล่าวปาฐกถาแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 2 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ
          ทั้งนี้ แพลตฟอร์มภาครัฐฯ GPPC เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) และสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานการขับเคลื่อนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้เกิดความยั่งยืนและขยายผลการใช้งานให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน โดย วศ. พร้อมนำประสบการณ์และคำแนะนำของหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จ มาพัฒนาสู่รางวัล Compliance Award และ Best Practice และเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างสูงสุดต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 357/2566) วศ.อว. ต้อนรับทีมวิจัย สวทช. ทบทวนแผนงาน นโยบาย และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพด้าน วทน. ของประเทศ
  2. (ข่าวที่ 356/2566) บุคลากร วศ.อว. เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และ 2566
  3. (ข่าวที่ 355/2566) วศ.อว. ร่วมงานแถลงข่าว “ของขวัญปีใหม่ อว. 2567 เพื่อประชาชน”
  4. (ข่าวที่ 354/2566) วศ.อว. ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการ “On the edge of Extinction : สู่สูญพันธุ์” ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จ.ปทุมธานี
  5. (ข่าวที่ 353/2566) วศ.อว. ร่วมงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก โชว์ผลงานยกระดับงานวิจัยข้าว จ.ร้อยเอ็ด
  6. (ข่าวที่ 352/2566) วศ.อว. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัล การพัฒนาระบบ Front End ด้วย Angular Framework เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มกลางเชื่อมโยงบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
  7. (ข่าวที่ 351/2566) วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาสิ่งแวดล้อม: การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ รายการ pH - value in water
  8. (ข่าวที่ 350/2566) ดนตรีในสวน :H.M. Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ" เทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9
  9. (ข่าวที่ 349/2566) วศ.อว. หารือกรมศิลป์ บูรณาการวิทยาศาสตร์กับการบูรณะโบราณสถาน
  10. (ข่าวที่ 348/2566) ดนตรีในสวน :H.M. Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ" (วันที่สอง) เทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9