ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่45/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)

 

  

          เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) กับบริษัทเอกชนชั้นนำของเมืองไทยจำนวน 13 บริษัท หน่วยงานภาครัฐ 9 แห่ง มหาวิทยาลัย 12 แห่ง และอีก 1 สมาคม เพื่อขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรมอาหารให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุดภายในการปีนี้ โดยการลงนามครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธิ โดยมี ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์     รันตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการอาหารของบริษัทเอกชน มหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ณ สำนักงานประสานงานเมืองนวัตกรรมอาหาร อาคารอุทยานนวัตกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า Food Innopolis วางเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมด้านอาหารที่สอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของตลาดอุตสหกรรมอาหารโลกที่เกี่ยวข้องกับอุตสหกรรมอาหาร เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ การออกแบบและการพิมพ์ การบริการที่ปรึกษานวัตกรรม ฯลฯ ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่าง 3 ภาคส่วนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของการทำงานในรูปแบบที่อาศัยไกประชารัฐ ตามแนวทางของรัฐบาล ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการจับมือกันระหว่างภายเอกชนรัฐบาล และสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
          กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำโดย ดร. ณัชนพงศ์ วชิรวงศ์บุรี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมืองนวัตกรรมอาหาร พร้อมทั้งให้การต้อนรับ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและนำเสนอผลงาน ผลิตหมูยอไขมันต่ำ โดยการนำเอนไซม์ทรานส์กลูทามิเนสมาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัส โดยสูตรที่ผลิตได้ไม่มีการใส่ไขมันจากสัตว์ เช่น ไขมันหมู หรือมันไก่ และปราศจากแป้งในส่วนผสม โดยหมูยอมีลักษณะเนื้อสัมผัสเรียบเนียน แน่นเนื้อ ฉ่ำน้ำ มีค่าโปรตีนมากกว่า  แต่มีค่าพลังงานทั้งหมด พลังงานจากไขมัน ไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว โคเลสเตอรอล และคาร์โบไฮเดรต มีค่าน้อยกว่าหมูยอในท้องตลาด โดยสามารถลดไขมันทั้งหมดลงได้ถึงร้อยละ 64 จึงได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก

-----------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว ภาพข่าว : นางสาวทิพาพร  ภูมิปกรณ์

ฝ่ายประชาสัมพันธ์   กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทร 0 2201 7095 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

(ข่าวที่44/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคนิคการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับ”

กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

หลักสูตร “เทคนิคการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับ”

 

 

          24 พฤษภาคม 2559 ห้องปฏิบัติการเชี่ยวชาญด้านแก้ว โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคนิคการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับ” วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับ เพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่และสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ด้านแก้วนำความรู้ที่ได้มาประกอบเป็นอาชีพ โดยมีผู้ประกอบการที่มีความสนใจทางด้านแก้วเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม ชั้น7 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

(ข่าว 43/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมจัดนิทรรศการ NQI/MSTQ Press Tour “พัฒนาเศรษฐกิจไทย NQI/MSTQ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย”

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมจัดนิทรรศการ NQI/MSTQ Press Tour 

“พัฒนาเศรษฐกิจไทย NQI/MSTQ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย”

     

     

          เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้ให้หน่วยงานในสังกัด วท. ได้แก่ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สำนักงานปรมณูเพื่อสันติ (ปส.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ องค์การมหาชน (สทน.) ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาเศรษฐกิจไทย NQI/MSTQ เพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัย” ณ เทคโนธานี รังสิต คลองห้า จ.ปทุมธานี ซึ่งภายในงานมีการจัดแสดงผลงานวิจัยนิทรรศการที่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญของการทำงานภายใต้โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศที่มีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของชาติ โดยยกประเด็นของคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติงาน เพื่อดูขั้นตอนการทำงานภายใต้กิจกรรม MSTQ ของอุตสาหกรรมด้านอาหาร อาทิ การผลิตวัสดุอ้างอิงรับรอง สำหรับตรวจวัดสารปนเปื้อนในอาหารทะเลเพื่อการส่งออกตรวจเชื้อและการฉายรังสีเพื่อการปลอดเชื้อในสินค้าเพื่อการส่งออก และ บริการด้านวิจัย และ ทดสอบ ด้วย MSTQ เพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรด้านการมาตรวิทยา (M:Metrology) ด้านการมาตรฐาน  (S:Standardization ) ด้านการทดสอบ (T:Testing )  และด้านการบริหารคุณภาพ (Q:Quality Management โดยจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร NQI/MSTQ Press Tour ในครั้งนี้จะเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยที่มีประโยชน์สู่สังคม และได้รับทราบถึงบทบาท หน้าที่ ไปจนถึงกระบวนการทำงานที่ชัดเจนขององค์กรที่ทำหน้าที่ในกระบวนการ MSTQท ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ และสามารถนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้อย่างถูกต้อง จนนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ให้มีขีดความสามารถทัดเทียมกับนานาชาติ และได้รับการยอมรับในระดับโลกอันเป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาสังคมไทยให้มีเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

          ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาเศรษฐกิจไทย NQI/MSTQ เพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัย” ในเรื่องการให้บริการด้านวัสดุสัมผัสอาหารของ วศ. โดยได้รับมาตรภายในประเทศ ได้แก่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข มาตรผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และตามกฏระเบียบที่เป็นคู่ค้าของประเทศไทย เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 จึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการให้บริการด้านวัสดุสัมผัสอาหาร

          ในโอกาสนี้ ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้การต้อนรับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ และสื่อมวลชน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ“บทบาทและทิศทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI)”

(ข่าวที่ 42/2559) Swedish Chemicals Agency (KEMI) and Participants of the ITP299 2015 Asia เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

 

Swedish Chemicals Agency (KEMI)and Participants of the

ITP299 2015 Asia เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ

   

 

                17 พฤษภาคม 2559 ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้การต้อนรับผู้แทนจาก Swedish Chemicals Agency (KEMI) และคณะผู้เข้ารับการอบรมนานาชาติหลักสูตร ITP299 “Strategies for Chemicals Management” ที่เป็นผู้แทนจากราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และประเทศไทย โดยการสนับสนุนของ The Swedish International Development Cooperation Agency (SIDA) ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

                ในโอกาสนี้ ได้บรรยายเกี่ยวกับภาพรวมแนวทางปฏิบัติในการควบคุมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการดำเนินงานด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของ กรมฯ ทั้งนี้ได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ด้านเคมีและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

 

(ข่าวที่ 41/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการลดพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก”

กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง เทคโนโลยีการลดพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก

     

(12 พฤษภาคม 2559) ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการลดพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2559 โดยมี ดร.เทพีวรรณ  จิตรวัชรโกมล ผู้อำนวยการโครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกลุ่มแก้วและกระจก สภาอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี มีจำนวนบริษัทที่ส่งบุคลากรมาเข้าร่วมทั้งสิ้น 18 บริษัท และมีผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนามากมาย ณ ห้องประชุมวิทยวิถี อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

                ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  กล่าวว่า  กรมวิทยาศาสตร์บริการ เล็งเห็นความสำคัญของอุตสหกรรมแก้วและกระจก จึงได้จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญด้านแก้ว ภายใต้โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม ทำหน้าที่ให้บริการด้านวิชาการแก่ผู้ประกอบด้านแก้ว โดยให้บริการด้านวิเคราะห์ทดสอบการวิจัยพัฒนา การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาทางวิชาการโดยมีความร่วมมือ The INSTITUE OF MINERAL ENGINEERING RWTH AACHEN UNIVERSITY ในการเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรม

                อุตสาหกรรมแก้วและกระจกเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตจำนวนมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมประเภทอื่น เพราะต้องใช้อุณหภูมิสูงในการหลอมแก้วตลอด 24 ชั่วโมง โดยต้นทุนด้านพลังงานคิดเป็นร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด การลดต้นทุนด้านพลังงานจึงเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของอุตสาหกรรมแก้วและกระจก ที่ผ่านมาของศูนย์เชี่ยวชาญด้านแก้วให้ความสำคัญกับงานการลดพลังงานในกระบวนการหลอมแก้ว เนื่องจากพลังงานที่ใช้หลอมแก้วคิดเป็นร้อยละ 80 ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในกระบวนการการผลิต โดยทางกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ดำเนินการวิจัยพัฒนา และถ่ายทอดความรู้ด้านการคำนวณ ประสิทธิภาพพลังงานของเตาหลอมแก้วให้กับบุคคลในอุตสาหกรรมแก้วและกระจกมาอย่างต่อเนื่อง

                การจัดสัมมนาในครั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการได้เชิญ Dr. Oscar Verheilen ผู้เชี่ยวชาญด้านเตาหลอมแก้วและตรวจวัดพลังงานจากสถานบัน  Celsian Solar and Glass ประเทศเนเธอร์แลนด์ มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง “เทคโนโลยีการลดพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมแก้วและกระจก” ให้กับบุคคลในอุตสาหกรรมแก้วและกระจกของประเทศไทย โดยมีความประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบถึงแนวทางการลดพลังงานกระบวนการการผลิตแก้ว และมีโอกาสในการซักถามปัญหาด้านพลังงานของโรงงานในเชิงลึก ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับความรู้และข้อเสนอแนะนำไปปฏิบัติงานได้จริง ก่อให้เกิดการลดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมแก้วและกระจกของไทยต่อไป

 

 

  1. (ข่าวที่40/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายวิเทศสัมพันธ์ วท.
  2. (ข่าวที่ 39/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ
  3. (ข่าวที่38/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมงาน “Startup Thailand 2016”
  4. (ข่าวที่37/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรสู่เป้าหมายระดับองค์กร
  5. (ข่าวที่ 36/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้การต้อนรับนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน
  6. (ข่าวที่ 35/2559)กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมงานแถลงข่าว “Startup Thailand 2016”
  7. (ข่าวที่ 34/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดโครงการขยายฐานการเรียนรู้เพื่อการวิจัยและพัฒนา กิจกรรมการสืบค้นสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  8. (ข่าวที่33/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้การต้อนรับ นิสิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน
  9. (ข่าวที่32/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดงาน “วศ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย..สร้างสายใยผู้อาวุโส ปี 2559”
  10. (ข่าวที่31/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการ OTOP และโครงการศูนย์ศิลปาชีพฯ ณ จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม