ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่60/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพร แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2559

กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

12 สิงหาคม 2559

          5 กรกฎาคม 2559 ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพร แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2559เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี (ช่อง 9) ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

 

-----------------------------------------------------

ข่าว / ภาพ: จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 โทร 02 201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  เว็บไซต์ www.dss.go.th

Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE  

(ข่าวที่59/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ 37 หน่วยงานรัฐ-เอกชน เดินหน้า “ประชารัฐร่วมใจยกระดับ โอทอป ด้วย วทน.”

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ 37 หน่วยงานรัฐ-เอกชน

เดินหน้า “ประชารัฐร่วมใจยกระดับ โอทอป ด้วย วทน.”

  

 

          5 กรกฎาคม 2559 ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ โครงการ “ประชารัฐร่วมใจยกระดับโอ-ทอป ด้วย วทน.” โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน  ดึงรัฐ-เอกชน ร่วมยกระดับ OTOP แบบครบวงจร อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อย. สมอ. สยามพิวรรธน์ ไทยเบฟ  SCG Chemical ปตท. ททท.  หลังพบมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเกินความคาดหวังกว่า 1,000 ราย ณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)           

          ตามที่รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) โดยการมอบ “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” ที่เป็นการให้บริการ 6 เรื่อง คือ พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบกระบวนการผลิต ออกแบบเครื่องจักร และพัฒนาระบบมาตรฐาน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการโอทอปเริ่มต้น   (OTOP Start Up) เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนโอทอป ผู้ประกอบการโอทอปที่ขึ้นทะเบียนแล้วและต้องการยกระดับดาว และผู้ประกอบการโอทอปที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน และต้องการเพิ่มศักยภาพในการส่งออกนั้น 

          ก้าวต่อไปของการทำงานนี้ คือ การดำเนินงานเชิงระบบในการยกระดับโอทอป โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันทางการเงิน และสถาบันทางการศึกษารวม 35 หน่วยงาน ตามแนวทางประชารัฐที่เกิดจากความตั้งใจของทุกฝ่าย และมีแนวทางการจัดทัพในเวลาอันสั้นเพื่อดำเนินงานร่วมกันในปี 2560 ได้แก่ 

          ด้านการส่งเสริม พัฒนา และสนับสุนนชุมชน มีหน่วยงาน 3 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มหัตถอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ SCG Chemical ร่วมกันดำเนินงานการคัดกรองกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นทำผลิตภัณฑ์ โอทอป กลุ่มผู้ประกอบการปัจจุบันที่ต้องการยกระดับดาว กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออก ที่มีศักยภาพเพื่อยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 

          ด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยหน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ (วว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)(สนช.) และสถาบันการศึกษาเครือข่ายพันธมิตร 7 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกันดำเนินงานนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากการวิจัยและพัฒนา ที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ นวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการโอทอป 

          ด้านการเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน มีหน่วยงาน 3 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกันดำเนินงานการสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่าย มีหน่วยงาน 10 แห่ง ประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลจำกัด บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด บริษัทสยามพิวรรธน์จำกัด มูลนิธิสำนักงานพัฒนาตลาดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันดำเนินงานการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และหน่วยงานสนับสนุนด้านการเงินและการธนาคาร มีหน่วยงาน 6 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ร่วมกันดำเนินงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการโอทอป 

          ดร.พิเชฐฯ กล่าวว่า จากการเดินทางไปพบผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลก สิ่งหนึ่งสำคัญคือการเชื่อมโยงการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในประเทศอาเซียน  ซึ่งประเทศจีนมีการพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันขึ้นอย่างรวดเร็วในเกือบทุกมิติ รวมทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างชัดเจน และ ในวันนี้ประเทศไทยมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นผู้นำของอาเซียนด้านเทคโนโลยี ในการเป็นประตูเชื่อมพลังการขับเคลื่อนให้แก่ทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนานาประเทศกล้าร่วมลงทุนกับไทย 

          ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มบริษัทข้ามชาติ ที่เข้ามาร่วมลงทุนในงานวิจัยและนวัตกรรม โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  ทำหน้าที่รวมพลังเชิญชวน 2.กลุ่มบริษัทไทยขนาดใหญ่ที่ร่วมสนับสนุนประชารัฐในมิติต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคม ซึ่งสถิติของการลงทุนการวิจัยของประเทศไทยวันนี้มีมากกว่า 0.6% ต่อ GDP ซึ่งจากเดิมเพียง 0.25 % ต่อ GDP ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลนำโดยภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุน โดยรัฐบาลทำหน้าที่สนับสนุนการใช้มาตรการต่างๆ เช่น มาตรการทางภาษี มาตรการทางการผลิตกำลังคน 3.กลุ่มสตาร์ทอัพ เป็นกลุ่มที่สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศไทยในอนาคตและในช่วงต้นปี พ.ศ.2560 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ตั้งเป้าผนึกกำลังร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 50 แห่ง เพื่อสร้าง อีโคซิสเต็ม สำหรับสตาร์ทอัพให้แก่อาจารย์และนักศึกษา นอกจากนี้ ในปลาย พ.ศ. 2559  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีแผนทีจะพัฒนาชุมชนสตาร์ทอัพ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของสยามสแควร์ และกระจายสู่ภูมิภาคต่างๆ เช่น ถนนนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนไอเดียธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้วยกัน โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะทำหน้าที่สนับสนุนอย่างเต็มขีดความสามรถเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้า โอทอป ให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

          ซึ่งผลแห่งความสำเร็จนี้ จะทำให้ผู้ประกอบโอทอปและเศรษฐกิจฐานรากไทย ก้าวสู่ความมั่งคั่งและมั่นคงอย่างยั่งยืน มีรายได้ เกิดการสร้างงาน และเกิดนวัตกรรมจนเป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากประมาณ 2,700 ล้านบาทต่อปีต่อไป

 

-----------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 โทร 02 201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  เว็บไซต์ www.dss.go.th

Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE  

(ข่าวที่ 58/2559) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

 

          เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้การต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าเยี่ยมชมโครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม ห้องปฏิบัติการทดสอบฉนวนกันความร้อน เพื่อนำองค์ความรู้ไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในการเรียน ตลอดจนการวิจัยของศึกษา

(ข่าวที่57/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ เนคเทค ยกระดับห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมระบบการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ เนคเทค ยกระดับห้องปฏิบัติการ

ส่งเสริมระบบการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์

 

 

          4 กรกฎาคม 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.)  กับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)  ลงนามความร่วมมือด้านการส่งเสริมระบบการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์  โดยมี นางอุมาพร สุขม่วง  รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  และนายศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการเนคเทค เป็นผู้แทนลงนาม  พร้อมประชุมนโยบายการดำเนินงานในการพัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนด ISO/IEC 17065  ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

         นางอุมาพร สุขม่วง รองอธิบดีฯ กล่าวว่า ความร่วมมือ วศ. กับ เนคเทค ครั้งนี้มุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยมีความเข้มแข็ง สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพสามารถแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้  รวมทั้งยังช่วยส่งผลต่อเนื่องให้ประชาชนได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย  โดยการบูรณาการร่วมกันจัดทำระบบการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการ วศ. ให้เป็นหน่วยรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานข้อกำหนด มอก. 17065  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับรองคุณภาพสินค้าในประเทศไทยให้ได้หลากหลายมากขึ้น นับเป็นการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันเพื่อสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้สินค้าไม่มีคุณภาพ  สำหรับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการเดินหน้านำระบบคุณภาพที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการรับรองคุณภาพสินค้าสำหรับผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น  

          นายศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า นับเป็นโอกาสสำคัญที่ 2 หน่วยงาน คือ  เนคเทค ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และการรับรองผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กับ วศ. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จะได้ผลักดัน ให้เกิดผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยอย่างเป็นรูปธรรม  และส่งผลให้ประชาชนได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและมีความต่อเนื่องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน จำเป็นต้องมีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน  โดยเนคเทคมีความพร้อมให้ความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

          ทั้งนี้ การลงนามความร่วมมือด้านการส่งเสริมระบบการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ถือว่าเป็นการนำความรู้  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งร่วมผลักดันให้มีหน่วยรับรอง  คุณภาพสินค้าเป็นไปตามข้อกำหนด ISO/IEC 17065 เพื่อให้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศมีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 

------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 โทร 02 201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  เว็บไซต์ www.dss.go.th

Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE  

 

(ข่าวที่56/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการผลิต OTOP ไทยให้ได้มาตรฐาน

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สนับสนุนการผลิต OTOP ไทยให้ได้มาตรฐาน

 

 

          28 มิถุนายน  2559   ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์   อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สร้างคุณภาพสินค้า OTOP เพื่อรายได้ที่ยั่งยืน” กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี    ดร. ณัชนพงศ์  วชิรวงศ์บุรี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  กล่าวรายงานการจัดงาน และ นายสุรชัย วัฒนอุดมชัย ปลัดจังหวัดขอนแก่น ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ  โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้แก่ ผู้ประกอบการ OTOP จากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ประมาณ 300 คน ณ โรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

          ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการมุ่งเน้นขับเคลื่อนโดยนำผลงานวิจัยของกรมมาถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ต่อเนื่อง มีแนวทางการดำเนินงาน โดยบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ  การแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพการผลิต สินค้า OTOP ทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม  กลุ่มของใช้ของตกแต่งของที่ระลึก กลุ่มสมุนไพรไม่ใช่อาหาร  กลุ่มผ้าและสิ่งทอ   เน้นการถ่ายทอด เทคโนโลยี เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คาดหวังให้เกิดการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการจะได้รับการติดตามการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง จนถึงการส่งเสริมให้เข้าสู่กระบวนการส่งสินค้าเพื่อขอการรับรองให้ได้คุณภาพ

          สินค้า OTOP ในแต่ละภาคจะมีความหลากหลาย มีเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่โดดเด่นแตกต่างกันไป การลงพื้นที่เพื่อนำ เทคโนโลยีลงไปสนับสนุนการแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน  กรมวิทยาศาสตร์บริการให้ ความสำคัญร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องตามยุทธศาสตร์เป้าหมายของจังหวัด โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  สินค้า OTOP กลุ่มผ้าและสิ่งทอ หนึ่งในหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ส่วนใหญ่จะใช้ทั้งสีสังเคราะห์และสีธรรมชาติ  ซึ่งมีผู้ผลิตผ้าทอชุมชนหลายรายที่ยังไม่สามารถขอการรับรองตามมาตรฐาน  มผช. จึงเร่งนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ มาช่วยแก้ปัญหากระบวนการผลิตสินค้าผ้าทอชุมชน  มีการส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการชุมชนในเรื่องความคงทนของสี ต่อการซัก การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทำให้แห้ง  การเลือกใช้สีย้อมที่ได้มาตรฐาน การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการย้อมเส้นด้ายที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนทางวิชาการในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ความรู้เทคโนโลยีการยืดอายุการเก็บรักษา การดูแลอุปกรณ์การผลิต  

          ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่เข้าร่วมการจัดสัมมนาครั้งนี้ จะได้นำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์พร้อมเข้าสู่กระบวนการขอรับการรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. นอกจากนี้ภายในงานสัมมนาฯ ยังได้จัดนิทรรศการแสดงให้เห็นภาพรวมการสนับสนุนการพัฒนาสินค้า OTOP ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ด้วย เพื่อให้เป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการ OTOP จะได้มีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงการให้บริการได้ตรงตามความต้องการ อีกทั้งยังเปิด โอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการนำสินค้าร่วมจัดจำหน่ายภายในงานด้วย

 

------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ: คุณวุฒิ ลี่แตง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 โทร 02 201 7000  โทรสาร 0 2201 7470  เว็บไซต์ www.dss.go.th

Facebook  : www. Facebook.com /DSSTHAISCIENCE  

  1. (ข่าวที่55/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น สนับสนุนผู้ประกอบการภูมิภาค
  2. (ข่าวที่ 54/2559) วศ. จัดอบรมหลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานด้านการรับรองระบบงานและการมาตรฐาน” พัฒนาฝีมือบุคลากร สปป. ลาว
  3. (ข่าวที่ 53/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
  4. (ข่าวที่ 52/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ FCM Training 2016 : Migration of Melamine from Melamine Wares
  5. (ข่าวที่ 51/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดห้องปฏิบัติการ ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ฝึกปฏิบัติเสริมทักษะ
  6. (ข่าวที่50/2559 กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมงาน “ท่องโลกเทคโนโลยีชีวภาพ” ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า)
  7. (ข่าวที่ 49/2559) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัว “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” (STI coupon for OTOP Upgrade)
  8. (ข่าวที่ 48/2559) บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัดเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ วศ.
  9. (ข่าวที่47/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือ4หน่วยงานจัดงานวันรับรองระบบงานโลก
  10. (ข่าวที่46/2559) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัยและงานบริการด้านเซรามิกและแก้ว ณ Korea Institute of Ceramic Technology and Engineering (KICET) ปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี