ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 306/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ประชุมร่วมกับศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. เพื่อปรึกษาหารือแนวทางงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโอมิกส์ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของประเทศ

5609745

 

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการสถาบันห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติ (สอช.) และคณะนักวิจัยของสถาบันฯ ร่วมประชุมกับผู้บริหารและทีมนักวิจัย ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. (National Omics Center: NOC) นำโดย ดร.วิรัลดา ภูตะคาม ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ ดร.ชุติกานต์ บุตรกินรี หัวหน้าทีมวิจัยโปรติโอมิกส์ ดร.อัจฉรา แพมณี หัวหน้าทีมวิจัยเมตาโบโลมิกส์ และทีมวิจัยของศูนย์ฯ เพื่อขอคำปรึกษาและหารือเกี่ยวกับ แนวทางการดำเนินงานด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโอมิกส์ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของประเทศ พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของศูนย์ฯในด้าน จีโนมิกส์,ทรานสคริปโตมิกส์ ,โปรติโอมิกส์ และ เมตาโบโลมิกส์ เพื่อศึกษาเป็นแนวทางในการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาด้านจุลชีววิทยาโมเลกุลและเทคโนโลยีชีวภาพของกรมวิทย์ฯ บริการ ในอนาคต

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 305/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมกำลัง ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม “อว. เพื่อประชาชน” นำทัพผู้พันวิทย์ จับมือ สนับสนุน สสน. เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังและรับมืออุทกภัย เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภาคใต้

302510

026438

 

            วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหาร อว. แถลงข่าวจัดตั้ง “อว. เตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัย สนับสนุนศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้” และเป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถ Mobile War Room พร้อมทีมปฏิบัติการ สสน. และทีมผู้พันวิทย์ อว. ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง และสนับสนุนการรับมืออุทกภัยร่วมกับศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.อว. ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) พร้อมด้วย นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และผู้บริหารกระทรวง อว. เข้าร่วม ณ ห้องแถลงข่าว อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
            นางสาวศุภมาสฯ กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดของคณะทำงานติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ โดย สสน. คาดว่าจะมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม มีความเสี่ยงที่จะเกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้ จึงได้สั่งการให้ อว. ดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชน โดยจัดส่งหน่วยวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำเคลื่อนที่ หรือ Mobile War Room ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมทีมปฏิบัติการจาก สสน. และทีมผู้พันวิทย์ อว. ซึ่งเป็นทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วที่มีภารกิจสำคัญในการแจ้งเตือนและให้คำแนะนำประชาชน พร้อมประสานงานและร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานราชการและภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อให้การทำงานในภาคใต้สามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
            ทั้งนี้ ประชาชนหรือหน่วยงานสามารถแจ้งปัญหาผ่านสายด่วน 1313 ผ่าน Facebook ผู้พันวิทย์ อว. และ Line OA ผู้พันวิทย์ อว. โดยจะมีทีมงานส่วนกลางเป็นผู้รับเรื่องและประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมปฏิบัติการและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง สอดรับกับความคาดหวังและความต้องการของประชาชน และในอนาคตจะขยายขอบข่ายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึงถือเป็นการทำงานเชิงรุกก่อให้เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 304/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2567 กระทรวง อว. ณ วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

466010322 974139591408361 5576873334857283420 n

465561157 974139824741671 2395106131122494418 n

 

             วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นำไปถวายพระภิกษุสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส โดยมีนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานในพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทาน ประจำปี 2567 อว. ณ พระอุโบสถ วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และประชาชนเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งเป็นการสนองสถาบันพระมหากษัตริย์ในการทำนุบำรุงและส่งเสริมพระพุทธศาสนา
             วัดเสนาสนารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดเสื่อ" ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับพระราชทานนามใหม่เป็น "วัดเสนาสนาราม" ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังเป็นไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจกรูปช้างเอราวัณ ขนาบด้วยฉัตร เหนือเศียรช้างเอราวัณมีพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นรูปพระมหามงกุฏ ภายในพระอุโบสถมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเป็นภาพวาดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระสัมพุทธมุนี เป็นพระประธานดั้งเดิมประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดพระมหามงกุฎ มีอักษรขอมจารึกไว้ และมีจิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุมโดยรอบพระอุโบสถ
             ในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานครั้งนี้ ได้ร่วมทำบุญถวายปัจจัยเพื่อบำรุงพระอารามและถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งมอบเงินและสิ่งของเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ โดยยอดเงินที่ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,030,520.35 บาท นับเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของไทยในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับชุมชนในท้องถิ่นอีกด้วย

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 303/2567) อธิบดีกรมวิทย์ ฯ บริการ กระทรวง อว. ได้รับการคัดเลือก “พ่อตัวอย่างแห่งชาติ” เนื่องในงานวันพ่อแห่งชาติ ประจำปี 2567

465888289 973139904841663 5470770472590011552 n

465979487 973139941508326 6113469438386514323 n

 

            ตามหนังสือสมาคมผู้อาสาสมัคร ช่วยการศึกษาและคัดเลือก “พ่อตัวอย่างแห่งชาติ” เรียนว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์มอบเกียรติบัตรพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2567 ในงานวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 โดยนายแพทย์ รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ารับรางวัลเกียรติบัตร “พ่อตัวอย่างแห่งชาติ” ประจำปี 2567 ดังกล่าว ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้อาสาสมัคร ช่วยการศึกษาและคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร เพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และยกย่องสรรเสริญบุคคลซึ่งเป็นพ่อที่ดีสมควรได้รับเกียรติเป็นพ่อตัวอย่างแห่งชาติ รวมถึงบุคคลและบิดาผู้มีชื่อเสียงร่วมรับเกียรติบัตรในครั้งนี้ด้วย
            นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ เป็นบุตรนายวิญญูและนางอุไรวรรณ กิจผาติ สมรสกับ ผศ.ดร.ภญ.วรวรรณ กิจผาติ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีบุตรสาว 1 คน ได้แก่ แพทย์หญิงศศิชา กิจผาติ แพทย์ประจำบ้าน สาขาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
            นายแพทย์รุ่งเรือง ฯ เข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างเป็นนักศึกษาแพทย์ได้รับรางวัลนักศึกษาแพทย์ดีเด่น และรางวัลนักศึกษาตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาปี พ.ศ. 2537 ได้เข้ารับราชการตำรวจที่งานพิสูจน์หลักฐานฯ สถาบันนิติเวชวิทยา กรมตํารวจ ในตำแหน่ง นพ.โท (ยศ ร้อยตำรวจเอก นพ.โท สารวัตร พิสูจน์หลักฐานฯ)
            -ในปี พ.ศ. 2537 - 2540 ได้ปฏิบัติราชการตำรวจด้วยความอุทิศตน ทุ่มเท คุณหมอได้ทำคดีสำคัญระดับชาติและนานาชาติ สามารถพิสูจน์หลักฐานทางการแพทย์ ส่งผลให้ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีและได้รับการลงโทษประหารชีวิต เช่น คดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงอายุ 5 ขวบ คดีฆาตกรต่อเนื่องในหลายประเทศ แต่การรวบรวมพยานหลักฐานในประเทศไทยส่งผลให้ศาลอาญาประเทศสิงคโปร์ตัดสินประหารชีวิตฆาตกร ได้รับรางวัลตำรวจดีเด่นในการปฏิบัติราชการ จากสถานทูตแคนาดา จากกรมตํารวจ ประเทศสิงคโปร์ และตำแหน่งพยานแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฯ ศาลอาญา ประเทศสิงคโปร์ ปี พ.ศ 2540 เข้ารับราชการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้านด้านระบาดวิทยาภาคสนาม (FETP) คุณหมอได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นจากการปฏิบัติราชการ รางวัล “คนดีศรีกรม” จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีผลงานสำคัญการสอบสวนโรค และผ่าพิสูจน์เก็บหลักฐานศพผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกที่เป็นการติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นรายแรกของโลก ข้อมูลการพิสูจน์ส่งผลให้ รัฐบาลในขณะนั้นปรับเปลี่ยนนโยบายและมาตรการในการควบคุมไข้หวัดนกอย่างเข้มข้นเพื่อควบคุมการระบาดใหญ่ จนประสบความสําเร็จ
             -ได้รับรางวัลพัฒนาระบบราชการและคุณภาพการให้บริการประชาชนระดับชาติ ในเรื่องการพัฒนาระบบประสานงานการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และโรคติดต่ออุบัติใหม่ทางห้องปฏิบัติการ จาก สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งผลงานเป็นส่วนสําคัญส่งผลให้เกิดความสําเร็จในการ ควบคุมการระะบาดของโรคไข้หวัดนกขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2546 ถึง 2552) และพัฒนาระบบจนเป็นต้นแบบระบบห้องปฏิบัติการในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในปัจจุบัน ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
             ปี พ.ศ. 2552-2561 ได้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารระดับผู้อํานวยการในหน่วยงาน สําคัญของกรมควบคุมโรค อาทิ ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ผู้อำนวยการสํานักโรคติดต่อทั่วไป ผู้อำนวยการกองป้องกันควบคุมโรคด้วยวัคซีน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
             ปี พ.ศ. 2562-2566 ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่สำคัญ ได้แก่ (1) โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (2) หัวหน้าสำนักวิชาการสาธารณสุข (3) ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข และ (4) รองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข
              - ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
             *ผลงานโดดเด่นสําคัญ เช่น
                  - การจัดทําและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ซึ่งเป็นการวางรากฐานการรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ โรคเมอร์ส โรคโควิด 19 ในปัจจุบัน
                 - การจัดทําและขับเคลื่อน แผนยุทธศาสตร์ ทศวรรษกําจัดพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดี ส่งผลให้การแก้ไขและลดปัญหาโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างเป็นรูปธรรม
                 - การพัฒนาระบบด่านควบคุมโรคติดต่อ 68 แห่งทั่วประเทศ
                 - การพัฒนาและขับเคลื่อนในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2559 ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการยอมรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การบรรจุวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและโรต้าไวรัสในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
                 - เป็นผู้รับผิดชอบ “โครงการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ 22 ล้านเข็มเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ส่งผลให้สามารถควบคุมโรคคอตีบประสพความสำเร็จ ไม่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
                 - ได้ปฏิบัติราชการเพื่อสนับสนุนโครงการพระราชดําริฯ การควบคุมโรคในถิ่นทุรกันดาร
                 - ปี พ.ศ. 2562 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ระดับ 10) ที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุข เป็นและปฎิบัติหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบหน่วยงานสำคัญ เช่น สํานักวิชาการสาธารณสุข ศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต IHPP, HITAP
                 - ดำรงตำแหน่งโฆษกกระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้รับการยอมรับจากสื่อมวลชนและประชาชน โดยเฉพาะการออกมาชี้แจงตอบโต้สถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นโฆษกกระทรวงสาธารณสุขที่ดีสุดท่านหนึ่ง
                - รับผิดชอบศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการพัฒนาระบบในการดูแลประชาชน และทำหน้าที่เจรจา ควบคุมสถานการณ์การประท้วง การรับเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งจากผู้มาร้องทุกข์และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข
                - ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ MIU : MOPH Intelligence Unit กระทรวงสาธารณสุข ในจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายยุทธศาสตร์และมาตรการ ต่อผู้บริหารระดับสูง มีผลงานสําคัญในการรับมือสถานการณ์ และควบคุมโรคโควิด 19 เช่น
                - การปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ พัฒนาต้นแบบหน่วยปฏิบัติการเชิงรุก CCRT (Covid 19 Comprehensive Response Team) ทั้งการดูแลผู้ป่วยและส่งต่อ การให้วัคซีนโควิดเชิงรุกในพื้นที่เป็นครั้งแรกของประเทศ
                - การสร้างการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนในระดับพื้นที่ต้นแบบ ส่งผลให้เกิด ความสําเร็จในการควบคุมสถานการณ์ เริ่มจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขยายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
              -ปี พ.ศ. 2567 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้บริหาร ที่มีภาวะผู้นำและทักษะการบริหารที่สูงมาก ใช้เวลาเพียง 8 เดือน ได้พัฒนาปฏิรูปองค์กร กรมวิทยาศาสตร์บริการ จนมีผลงานโดดเด่นของกระทรวง อว. เช่น การขยายขยายการบริการสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเป็น “ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม” สร้างความร่วมมือกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และสามารถ เปิด ศูนย์ให้คำปรึกษาและบริการร่วมอย. & อว. ประชาชนสามารถรับบริการได้ที่กระทรวง อว. เช่นเดียวกับการไปรับบริการที่ อย. จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ DSS เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ และลงปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในการนำวิทยาศาสตร์เพื่อมาค้นหาคำตอบจากปัญหาต่าง ๆ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายหรือมาตรการเพื่อป้องกันแก้ไขต่อไป
              นอกจากนี้ ยังมีผลงานโดดเด่นในการนำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชน เช่น ขับเคลื่อนโครงการน้ำดื่มน้ำใช้ปลอดภัยทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล การปฏิรูประบบราชการให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ มีประสิทธิภาพ ทันสมัย เช่น การจัดตั้งสถาบันระดับชาติ 6 สถาบัน การเปิดสำนักวิทยวิทยาศาสตร์บริการเขต และศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วมครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการไทยให้อยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงเน้นการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน นำปัญหากลับมาวิเคราะห์แก้ไขด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
               นพ.รุ่งเรืองฯ เป็นผู้มีจิตใจเมตตา เป็นผู้นำที่ดูแลบุคลากรทุกระดับ จนได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เป็นผู้บริหาร

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 302/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ยกระดับขีดความสามารถห้องปฏิบัติการไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่อนาคตที่ยั่งยืนให้ “กรมวิทย์ฯ บริการ” สร้างความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศร่วมตรวจประเมินห้องปฏิบัติการไทยให้ได้มาตรฐานติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

67486

6181056

 

             วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายตามนโยบายนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่มุ่งเป้ายกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรม High Technology ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของชาติในการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการของประเทศไทย ทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริมคุณภาพและความสามารถของหน่วยตรวจสอบและรับรอง พร้อมยกระดับมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation และให้ดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
             นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 - 26 ตุลาคม 2567 ตนได้มอบหมายให้ ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินระดับนานาชาติ ในรูปแบบ Peer Evaluation ให้กับหน่วยรับรองระบบงาน (AB) ณ สหพันธรัฐรัสเซีย โดยการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ดังกล่าวเป็นการยอมรับร่วมกันระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement: MRA) ขององค์กร ILAC (International Laboratory Accreditation Cooperation) และ IAF (International Accreditation Forum) รวมถึง APAC (Asia Pacific Accreditation Cooperation) ซึ่งทำให้ผลการทดสอบที่ผ่านการรับรองนี้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล กระบวนการตรวจประเมินฯ นี้เรียกว่า Peer Evaluation เป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ให้การรับรองอื่น ๆ มาตรวจสอบและประเมินกระบวนการทำงานของหน่วยรับรอง หรือ Accreditation Body (AB) ว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดย Peer Evaluation จะช่วยยกระดับความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ และการยอมรับในกระบวนการรับรองในระดับสากล ถือเป็นกลไกสำคัญที่เสริมความเชื่อมั่นให้กับระบบการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้การรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการเป็นไปตามมาตรฐานสากลและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ รวมถึงเดินหน้าสร้างความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศให้มาร่วมตรวจประเมินห้องปฏิบัติการไทย ตามนโยบายของท่านรัฐมนตรีศุภมาส และเป้าหมายของกรมวิทย์ฯบริการ เพื่อให้ "ประเทศไทยมีความสามารถในการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ภายในปี 2572 และการนำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชน” ได้เร่งขับเคลื่อนนโยบายท่านรัฐมนตรีสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีการบูรณาการสร้างความร่วมมือห้องปฏิบัติการภายในประเทศ เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการทดสอบและเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและผู้ประกอบการ แต่ยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่มีความเฉพาะและเพียงพอในแต่ละพื้นที่ ทั้งยังมีการสนับสนุนในการพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการและห้องปฏิบัติการกับหน่วยงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการในด้านต่าง ๆ และเป็นส่วนสำคัญใน “การนำวิทยาศาสตร์สู่การดูและประชาชนได้อย่างยั่งยืน”

ดูรูปภาพเพิ่มเติมคลิก>>

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 301/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ครบรอบ 24 ปี
  2. (ข่าวที่ 300/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมความรู้บุคลากรการประยุกต์ใช้ AI และ Image Processing ในห้องปฏิบัติการ ขับเคลื่อนนโยบาย “อว. for AI”
  3. (ข่าวที่ 299/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” นำวิทยาศาสตร์ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ให้กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมมือทุกภาคส่วนทำให้ทุกพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารทั่วประเทศ “มีน้ำดื่มสะอาดปลอดภัย”
  4. (ข่าวที่ 298/2567) บุคลากรกรมวิทย์ฯ บริการ เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2567 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ฯ กระทรวง อว.
  5. (ข่าวที่ 297/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” มอบกรมวิทย์ฯ บริการ ในฐานะห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารแห่งชาติและอาเซียน สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการนานาชาติ
  6. (ข่าวที่ 296/2567) อธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ เข้าเฝ้าฯ ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม
  7. (ข่าวที่ 295/2567) อธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ เข้าเฝ้าฯ ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2567
  8. (ข่าวที่ 294/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ครบรอบ 65 ปี
  9. (ข่าวที่ 293/2567) “กรมวิทย์ฯบริการ เปิดตัวสำนักวิทยาศาสตร์บริการ 12 เขต เป็นครั้งแรกในรอบ 133 ปี ที่นำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชนเชิงรุกทุกพื้นที่ทั่วประเทศ”
  10. (ข่าวที่ 292/2567) กรมวิทย์ฯ บริการ จัดทีมอาสาสมัคร “พลังใจ” ดูแลบุคลากรฯ และครอบครัว พร้อมเป็นกำลังใจและร่วมแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก