ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่101/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯ สร้างความเข้าใจบุคลากรในสังกัดชี้แจงแนวทางปฏิบัติและการสื่อสารในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 สอดคล้องแผน BCP ผ่านระบบ Zoom และ Facebook live

 

D6 4 D6 1

D6 2 D6

        วันที่ 4 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม จัดกิจกรรม “สนทนาประสา วศ.” โดยได้รับเกียรติจาก นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นวิทยากรสนทานาในประเด็น “แนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กับบุคลากร วศ. ทุกคน ทุกระดับ รับรู้และเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติและการสื่อสารในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สอดคล้องกับแผน BCP หรือแผนกำหนดแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานอย่างต่อเนื่องเพื่อบริหารความพร้อมในสภาวะวิกฤติ ดังกล่าว


       นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและขยายวงเข้ามาถึงพื้นที่ วศ. และส่วนราชการใกล้เคียง ตลอดจนพบผู้ติดเชื้อในหน่วยงานพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ วศ.มีโอกาสติดเชื้อหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อสูงขึ้นได้ จนสร้างความหวาดกลัวและกังวลกับบุคลากรนำไปสู่การปฏิบัติตัวและการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ ดังนั้น วศ. จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตดังกล่าวที่ชัดเจนเป็นระบบเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถทำให้การดำเนินงานของส่วนราชการมีความต่อเนื่องและพร้อมรับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี


           โดย วศ. ได้กำหนดขั้นตอนการสื่อสารแจ้งเหตุใน 3 สถานการณ์ (Scenario) ประกอบด้วย ผู้ทราบเหตุ (เจ้าตัว/เพื่อนร่วมงาน) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง (ระดับกลุ่ม) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(ระดับกอง) ผู้ประสานงานหลักด้านปฏิบัติการ (เลขานุการกรม) หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่อง วศ.(อวศ.) ลงไปสู่ผู้ประสานงานด้านการสื่อสารภายใน (กลุ่มประชาสัมพันธ์) และผู้ประสานงานด้านการสื่อสารภายนอก (โฆษกกรม) โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติและแนวทางการสื่อสารในแต่ละสถานการณ์ ตามภาพที่ปรากฏด้านล่างนี้
-สถานการณ์ที่ 1 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ. อยู่ในวงผู้มีความเสี่ยงสูง/ต่ำ)
-สถานการณ์ที่ 2 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ. ติดเชื้อรายเดียว)
-สถานการณ์ที่ 3 (ผู้ปฏิบัติงาน วศ.ติดเชื้อในช่วงเวลาเดียวกันตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป


         **แนวทางปฏิบัติและแนวทางสื่อสารในสภาวะวิกฤตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ กำหนดขึ้นตามมติของคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการ ในสภาวะวิกฤต ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ**

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว /ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่100/2564)อธิบดี วศ. ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี

 

D5 2 D5 3

D5 1 D5 4

       วันที่ 2 มิถุนายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ณ ห้องรับรองพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
       ในโอกาสเดียวกัน อธิบดี วศ. ได้ลงนามถวายพระพรฯ หน้าพระฉายาลักษณ์ บริเวณห้องโถงชั้น 1 อาคารตั้ว ลพานุกรม วศ. และขอเชิญชวนประชาชนผู้มารับบริการ ตลอดจนบุคลากร วศ.ร่วมลงนามถวายพระพรฯ ได้ที่ อาคาร ดร.ตั้วฯ หรือผ่านระบบออนไลน์เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ https://www.royaloffice.th และ www.dss.go.th ระหว่างวันที่ 1 – 6 มิถุนายน 2564

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่99/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการต้อนรับรองนายกฯ “จุรินทร์” ตรวจเยี่ยม รพ.สนามบ้านวิทย์ฯเพื่อคนพิการ พร้อมสนับสนุนหุ่นยนต์ "ปิ่นโต2” ขนส่งอาหาร เวชภัณฑ์ ช่วยเพิ่มระยะห่างและป้องกันการติดเชื้อระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมเปิดบริการ 1มิ.ย.นี

 

D4 5 D4 1

D4 6 D4 4


        26 พฤษภาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมทีมผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ให้การต้อนรับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมจัดตั้งโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ ณ อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี


        โดย รพ.สนามฯ ดังกล่าว เป็นการบูรณาการของ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการบริหารจัดการเพื่อให้บริการผู้ป่วยพิการที่อายุระหว่าง 15 - 65 ปี ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 พร้อมเปิดบริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2564

         ทั้งนี้ วศ. ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนหุ่นยนต์ “ปิ่นโต 2” ให้กับ รพ.สนามบ้านวิทย์ฯ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ มีคุณสมบัติเด่นในด้านขนส่งอาหาร น้ำ ยา และเวชภัณฑ์ โดยใช้รถเข็นควบคุมทางไกลเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อ ใช้งานง่ายควบคุมผ่านทางรีโมทคอนโทรลระยะไกลและมีระบบแสดงผลการเคลื่อนที่ผ่านจอแสดงผล เพิ่มความแม่นยำและลดความเสียหายของอุปกรณ์ขณะใช้งาน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบจัดเก็บแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้สามารถใช้ได้ติดต่อกันนานถึง 8-9 ชั่วโมง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : คุณวุฒฺ ลี่แตง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่98/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร การวัดค่า Residue substances of PP Plastic film from evaporated in 4% (v/v) acetic acid (ASEAN PROGRAM) (pilot study)

 

D4 10 D4 9

D4 8 D4 1

         วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing: PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 11 ห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการภายในประเทศ 9 หน่วยงาน และต่างประเทศ 2 หน่วยงาน เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Residue substances of PP Plastic film from evaporated in 4% (v/v) acetic acid (ASEAN PROGRAM) (pilot study) และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป


        พลาสติก กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน พลาสติกเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้ดี จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะเห็นในรูปแบบของถุงพลาสติก แก้วน้ำ ขวดน้ำ หลอด รวมทั้งการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นต้น โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร มอก. เล่ม 1-2553 แบ่งภาชนะพลาสติกตามชนิดของพลาสติกที่ใช้ทำ (เฉพาะชั้นที่สัมผัสอาหาร) เป็น 6 ชนิด คือ พอลิเอทิลีน (polyethylene: PE) พอลิพรอพิลีน (polypropylene: PP) พอลิสไตรีน (polystyrene: PS) พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต (poly(ethylene terephthalate): PET) พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (poly(vinyl alcohol): PVAL) และ พอลิเมทิลเพนทีน (poly(methyl pentene): PMP) ทั้งนี้ พอลิพรอพิลีน (polypropylene: PP) หรือพลาสติกประเภท PP มักใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเพราะมีความหนาแน่นต่ำ แต่มีจุดหลอมเหลวสูง ทนต่อความร้อนและสารเคมีได้ดี ไม่ทนต่อความเย็น มีความเหนียว ทนต่อแรงกระแทกและรอยขีดข่วนได้ดี มีความคงตัวไม่เสียรูปง่าย มีความแข็งแรง มีน้ำหนักเบา มักใช้ในการผลิตถุงทนร้อน ใช้สำหรับการบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อการแปรรูปอาหารด้วยความร้อนเพราะทนความร้อนได้สูง และสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารขณะที่ร้อนได้ แต่ไม่เหมาะกับการบรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง อนึ่ง วัสดุสัมผัสอาหาร (Food Contact Materials: FCM) คือ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่นําไปใช้ในกระบวนการผลิตหรือสัมผัสกับอาหาร ตั้งแต่อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร จานกระบวนการผลิต ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ โดยจะครอบคลุมวัสดุต่างๆ ได้แก่ พลาสติก กระดาษ ยาง ซิลิโคน จุกคอร์ก หมึกพิมพ์ โลหะและ โลหะผสม สารเคลือบผิว สารเคลือบเงา ฯลฯ วัสดุเหล่านี้มักใช้รวมกันกลายเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องบรรจุน้ำผลไม้ จะประกอบด้วยพลาสติก กระดาษ อลูมิเนียม กาว สารเคลือบและหมึกพิมพ์ เนื่องจากวัตถุดิบดังกล่าวจะต้องสัมผัสกับอาหาร จึงเป็นแหล่งที่อาจมีการเคลื่อนย้ายของสารเข้าไปในอาหารได้ วัสดุสัมผัสอาหารจึงกลายเป็นแหล่งปนเปื้อนที่สําคัญของอาหารทุกชนิด และเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายกับอาหารและสุขภาพของผู้บริโภคได้


          การทดสอบวัสดุสำหรับบรรจุอาหารโดยทั่วไปทำได้ 2 วิธี คือ Material test หรือการทดสอบสารในเนื้อวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ และ Migration test หรือการทดสอบการแพร่กระจายหรือการเคลื่อนย้ายของสารจากบรรจุภัณฑ์สู่อาหาร วัตถุประสงค์ในการทำ Migration test คือการวัดปริมาณสารตกค้างในอาหารจากบรรจุภัณฑ์ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้หรือไม่ การทำ Migration test สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 รูปแบบ คือ การทดสอบด้วยสารที่ใช้เป็นตัวแทนของอาหาร และการตรวจสอบอาหารในบรรจุภัณฑ์โดยตรง ทั้งนี้สารที่ละลายออกมา (migrant) ตามมาตรฐาน มอก. 656-2556 วิธีวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้กับอาหาร หมายถึง สารที่เคลื่อนย้ายออกมาจากเนื้อพลาสติก จากการสกัดหรือละลายด้วยตัวทำละลายที่เป็นตัวแทนของอาหารแต่ละประเภท ตัวอย่างการทดสอบ Migration test เช่น หากบรรจุภัณฑ์นั้นทำจากไขมันก็จะใช้น้ำมันมะกอกเป็นตัวแทนอาหาร และในการทดสอบบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุที่มีค่าความเป็นกรดจะใช้ acetic acid เป็นตัวแทนอาหารในการทดสอบเป็นต้น และตามมาตรฐาน มอก. 655-2553 ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ได้กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการต่างๆ ไว้ รวมถึงคุณลักษณะด้านความปลอดภัย ได้แก่ สี สีผสมในพลาสติกที่ละลายออกมา โลหะและสารอินทรีย์ในพลาสติก และปริมาณสารที่ละลายออกมา (เฉพาะชั้นสัมผัสอาหาร) ซึ่งมีรายละเอียดระบุเกณฑ์มาตรฐานกำหนดของรายการสิ่งที่เหลือจากการระเหยของปริมาณสารที่ละลายออกมา ไว้ในมาตรฐานฉบับนี้ด้วย

         วศ. ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Residue substances of PP Plastic film from evaporated in 4% (v/v) acetic acid (ASEAN PROGRAM) (pilot study) เป็นการประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ในการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการและติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ หรือความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น โดยเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบในการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่97/2564)วศ. อว. ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์สนับสนุนการใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาลสนามของ อว.

D3 2

       วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมสนับสนุนนวัตกรรมวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสนามของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว.

D3 3 D3 4

D3 5 D3 1


       สำหรับนวัตกรรมฯ ทางการแพทย์ที่ วศ. สนับสนุนประกอบด้วย แอลกอฮอล์ล้างมือสูตร วศ. ขนาด 60 มล. จำนวน 500 ขวด ชุด PPE (Unisex’s Coverall nonwoven Disposable color White Type 5B/6B) จำนวน 1,000 ชุด และเสื้อกาวน์ (Unisex’s Isolation nonwoven Disposable Level 2) จำนวน 1,000 ชุด เพื่อบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) และสนับสนุนการดำเนินงานของยุคบากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสนามของหน่วยงานสถาบันในสังกัด อว. ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป

.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

 

  1. (ข่าวที่96/2564)วศ.อว.สนับสนุนหุ่นยนต์บังคับมือให้โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรฯพร้อมเร่งผลิตเพิ่มให้โรงพยาบาลสนามอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อโควิด-19
  2. (ข่าวที่95/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สาขาฟิสิกส์ : รายการ Rubber Hardness (Type A)
  3. (ข่าวที่94/2564)วศ.อว. หนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยฝ่าวิกฤติโควิด – 19 จับมือภาคเอกชนดันเทคโนโลยีพร้อมใช้ 3 ด้าน พร้อมเปิดให้สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ
  4. (ข่าวที่93/2564)วศ.พัฒนา Lab ทดสอบคุณภาพน้ำ ด้านการวัดค่า Biochemical Oxygen Demand (BOD5) in water
  5. (ข่าวที่92/2564)วศ.อว. ห่วงใยบุคลากรพร้อมทำประกันคุ้มครองภัย Covid-19 ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน
  6. (ข่าวที่91/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ยกระดับการวัดค่า Chemical Oxygen Demand (COD)
  7. (ข่าวที่90/2564)วศ. ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้กับสำนักงานเขตพระนคร บริการประชาชาชนในพื้นที่
  8. (ข่าวที่89/2564)วศ. ร่วมทีม อว. ตรวจเยี่ยม รพ.สนามพระนครศรีอยุธยา พร้อมมอบชุด Cooling Hygiene ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยสู้ภัย Covid-19
  9. (ข่าวที่88/2564)วศ. เสริมสร้างห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล
  10. (ข่าวที่87/2564)วศ.ร่วมตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามของ อว. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (ศูนย์บางคล้า) จ.ฉะเชิงเทรา