ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่121/2564)วศ. จัดอบรมออนไลน์ข้าราช พนักงานใหม่ ผ่าน ZOOM เสริมแนวคิดบุคลากรที่ดี ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

B1 4 B1 1

B1 3 B1 2

       30 ก.ค. 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรม เรื่อง “พัฒนาข้าราชการใหม่ พนักงานราชการใหม่ เพื่อเป็นบุคลากรที่ดี ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ” โดยมีวัตถุประสงค์ ปลูกฝังปรัชญาการเป็นบุคลากรที่ดี ของ วศ. ให้ข้าราชการ พนักงานราชการใหม่ทราบถึงภารกิจ ความรับผิดชอบของหน่วยงาน วิสัยทัศน์พันธกิจ ตลอดจนความคาดหวังของหน่วยงานที่มีต่อข้าราชการ และพนักงานราชการใหม่ อีกทั้งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต พัฒนาหน่วยงาน วศ. ให้เป็นหน่วยงานคุณธรรม โปร่งใส ตลอดจนทราบถึงระเบียบในการทํางานราชการและโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพและปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสู่องค์กรยุคใหม่


   โครงการฝึกอบรมพัฒนาข้าราชการใหม่พนักงานราชการใหม่ฯ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2654 มีผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ จํานวนทั้งสิ้น 42 คน ซึ่งจัดอบรมออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น ZOOM เพื่อเข้าถึงผู้อบรมได้อย่างทั่วถึง และสอดคล้องกับนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

 

(ข่าวที่120/2564)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการ ขานรับมาตรการ ศบค. ให้บุคลากร WfH 100% ควบคุมการระบาดโควิด

 

 

B1

        เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้ประชุมทีมผู้บริหาร วศ. ผ่านระบบ ZOOM เพื่อบริหารจัดการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้สอดคล้องตามมาตรการล็อกดาวน์ขั้นสูงสุดของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ลดความแออันในสถานที่ปฏิบัติงานภายใน วศ. และยังคงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยให้บุคลากร วศ. ทุกคนทุกระดับปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) 100% ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 และจะประเมินสถานการณ์ที่เหมาะสมในห้วงเวลาถัดไปโดยยึดแนวทาง ศบค.เป็นสำคัญ
        ทั้งนี้ นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ เน้นย้ำให้ทุกส่วนงานใช้ระบบสารสนเทศหรือระบบออนไลน์เป็นหลักในการปฏิบัติงานและการประชุมต่างๆ ในช่วงนี้ สำหรับงานที่ต้องบริการประชาชนและหน่วยงานภายนอกให้ดำเนินการอย่างเหมาะสมมีการชี้แจงให้ข้อมูลที่ชัดเจนโดยไม่กระทบกับผู้รับบริการ ซึ่งประชาชนสามารถติดตามข้อมูลประกาศบนเว็บไซต์กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ (www.dss.go.th) นอกจากนี้ กรณีที่บุคลากรมีความจำเป็นต้องเข้ามาปฏิบัติงานภายในสถานที่ทำงาน วศ. (กรณีจำเป็นเท่านั้น) โดยให้ดำเนินการกรอกแบบฟอร์มผ่านระบบออนไลน์ เพื่อขออนุญาตผู้บังคับบัญชาล่วงหน้า และอธิบดีฯ จะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่119/2564)วศ. พัฒนาเครื่องมือทดสอบชุด PAPRพร้อมให้บริการทดสอบประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตไทยพัฒนาชุด PAPRคุณภาพสูง เพิ่มความปลอดภัยให้บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติงานท่ามกลางวิกฤตการระบาดโควิด 19

 

A 10 A 10 3

A 10 3 A 10 5 1

        นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ในปัจจุบันทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้ออย่างอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจจ่ายอากาศบริสุทธิ์ หรือ ชุด PAPR ที่ใช้ในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรทาง การแพทย์ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ จึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนหนึ่งได้พัฒนาชุด PAPR ขึ้นเองในประเทศ ซึ่ง วศ. มีความห่วงใยจึงได้พัฒนาเครื่องมือและงานบริการทดสอบชุด PAPR ทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตไทยที่พัฒนาและผลิตชุด PAPR เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งานบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยจากการระบาดของโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น

       ดร.กรธรรม สถิรกุล หัวหน้ากลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กองวัสดุวิศวกรรม ให้ข้อมูลว่าที่ผ่านมา วศ. ได้จัดทำประกาศ เรื่อง "ข้อกำหนดคุณลักษณะอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจจ่ายอากาศบริสุทธิ์แบบหมวกคลุมครอบศีรษะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์" หรือ PAPR ลงวันที่ 16 ธ.ค 2563 และได้เร่งพัฒนาสร้างเครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุด PAPRจนสามารถให้บริการทดสอบได้เป็นอย่างดี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตร อาทิ วชิรพยาบาล สจล. และภาคเอกชนต่างๆ ปัจจุบัน วศ.ได้ให้บริการทดสอบประสิทธิภาพชุด PAPRให้แก่ผู้ผลิตไทยจำนวนหนึ่งเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์นี้ที่ผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ

       สำหรับชุดPAPR หรือ Powered air purifying respirator with a helmet or a hood for medical and health care personnel เป็นอุปกรณ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ในขณะดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการรั่วซึมเข้า (total inward leakage) ความสามารถในการจ่ายอากาศ (air supply) และ การต้านการหายใจ (breathing resistance) ในปัจจุบันมี วศ.หน่วยงานเดียวที่สามารถให้บริการทดสอบรายการดังกล่าว หากมีผู้ผลิตรายใดมีความประสงค์ที่จะรับบริการทดสอบชุด PAPR และผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ โทร 02 201 7130 ได้ในวันและเวลาราชการ หรือ ทางอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

     

(ข่าวท่ี118/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า รายการ Steel bar: Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area

 

IMG 6944 a9

IMG 6951 IMG 6945 1

        กรมวิทยศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ (ชน.สผ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ดำเนินกิจกรรมทดสอบความชำนาญ (proficiency testing, PT) ห้องปฏิบัติการ ทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า ประจำปี 2564 รายการ Steel bar: Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ได้เริ่มจัดส่งตัวอย่างวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ให้แก่ ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 ห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการต้องทดสอบคุณสมบัติการทนต่อแรงที่กระทำต่อตัวอย่างเหล็กเส้นและหาค่า Diameter, Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ของตัวอย่างโลหะที่ทางผู้จัดเตรียมสำหรับการทดสอบ และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ

       คุณสมบัติในการรับแรงดึงของเหล็กเส้นที่ใช้ในคอนกรีตเสริมเหล็ก จัดเป็นคุณสมบัติทางกลที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าเหล็กเส้นที่ใช้ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการทนแรงทั้งแรงดึงและแรงกดจึงจำเป็นต้องรู้คุณสมบัติในการทนแรงของวัสดุ การตรวจวัดหาคุณสมบัติการทนแรงดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง หรือ เครื่องทดสอบแรงดึงวัสดุแบบเอนกประสงค์ (Tensile testing machine หรือ Universal testing machine) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ดึงวัสดุต่างๆเพื่อทดสอบแรงที่กระทำต่อวัตถุจนทำให้วัตถุที่นำมาทดสอบเกิดการเปลี่ยนรูป และขาดในที่สุด เพื่อนำแรงที่ได้จากการวัดมาคำนวณหาค่า Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ในการทดสอบหาคุณสมบัติการทนแรงดึง มีประโยชน์มากมายในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆมากมาย เช่น อุตสาหรรมด้านการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และงานด้านวิศวกรรมในสาขาต่างๆ ฯลฯ

       การจัดกิจกรรมนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นใจในด้านการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของเหล็กเส้นด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญ ให้แก่ห้องปฏิบัติการทดสอบในอุตสาหรรมเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งมีประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้แก่

- ทำให้มั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง

- ยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

- ชี้บ่งปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้น

- เป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ

- ใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่117/2564)วศ. การพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบ คุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การวัดค่า Moisture, Protein, Fat, Ash and Vitamin B2 in Milk powder

 

A9 2 A9 1

A9 3 A9 4

       วันที่ 28 มิถุนายน 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing: PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างนมผง ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 24 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Moisture, Protein, Fat, Ash and Vitamin B2 in Milk powder และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
            นม เป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยแร่ธาตุอาหารครบทุกหมู่ คือ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลนมหรือแล็กโทส (lactose) และโปรตีนที่เรียกว่า เคซีน (casein) จะพบในธรรมชาติคือในนมหรือน้ำนมเท่านั้น นมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาร่างกายและสมองของเด็กและเยาวชน นมเป็นอาหารที่ยอมรับกันว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ครบถ้วนด้วยสารอาหารหลัก 5 หมู่ นมมีโปรตีนที่ประกอบด้วยกรด
อมิโนครบถ้วนทุกชนิด โดยเฉพาะชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น ทริปโตเฟน (Tryptophan) อาร์จินีน (Arginine) ไลซีน (Lysine) วาลีน (Valine) ลิวซีน (leucine) เป็นต้น มีไขมันที่เรียกว่า มันเนย ให้พลังงานสูง คาร์โบไฮเดรตในนม คือ น้ำตาลแล็กโทสเป็นน้ำตาลชนิดเดียวที่มีในนม นมอุดมด้วยเกลือแร่หลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน ทั้งยังมีวิตามินต่าง ๆ ครบถ้วน เช่น วิตามินเอ บี 1 บี 2 ไนอะซิน (Niacin) หรือ วิตามินบี 3 มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ไบโอทิน (Biotin) คือ วิตามินเอช (Vitamin H) หรือวิตามินบี 7 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้ มีความสำคัญอย่างมากในการเจริญเติบโตของเซลล์และระบบเผาผลาญอาหาร กรดโฟลิก (Folic acid) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ จะช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี รวมทั้งยังมี วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค อีกด้วย
              นมผง (milk powder) เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำนม (dairy product) ที่ได้จากน้ำนมดิบ (raw milk) ที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ และระเหยน้ำออกด้วยกรรมวิธีการทำแห้ง (dehydration) เช่น การทำแห้งแบบพ่นฝอย (spray drier) จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นผง มีลักษณะเป็นผงแห้ง เนื้อละเอียด นำมาบริโภคโดยผสมกับน้ำอุ่น แล้วคนให้เข้ากัน เพื่อให้ทารกรับประทานแทนนมแม่ ผู้ใหญ่ก็สามารถรับประทานได้เช่นเดียวกัน มีความสะดวกในการเตรียม การเก็บรักษา นมผงเด็กควรเลือกที่มีสารบำรุงพัฒนาการของเด็ก ปัจจุบันได้เพิ่มสารปรุงแต่งเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับนมผง เช่น สารสกัดจากพืชผักผลไม้ รวมไปถึง DHA ซึ่ง DHA (Docosahexaenoic Acid : DHA) คือ กรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 (Omega-3) ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้จากการทานอาหารจำพวกปลาทะเลน้ำลึกในเขตหนาว เช่น ปลาทูน่า DHA เป็นสารอาหารบำรุงสมองที่พบในนมแม่ ซึ่ง DHA ในนมแม่ได้มาจากอาหารที่แม่รับประทาน เช่น ปลาที่มี DHA สูง ส่วนนมอัดเม็ดนั้นก็ผลิตจากนมผง ซึ่งนำมาอัดขึ้นรูปเป็นเม็ด การบรรจุนมผงแตกต่างกันตามวัสดุที่ใช้และขนาดของภาชนะ วัสดุที่นิยมใช้คือ ถุงที่เคลือบกันน้ำและมีพลาสติกอยู่ข้างในอีกชั้นหนึ่ง ภาชนะที่ทำจากพอลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) จะมีความแข็งแรงเท่าๆ กับภาชนะที่เป็นโลหะ นมผงอาจบรรจุในกระป๋องเคลือบด้วยดีบุก การยืดอายุการเก็บรักษาอาจทำได้โดยการเติมสารป้องกันการหืนหรือการบรรจุโดยการใช้ก๊าซเฉื่อย เช่น ไนโตรเจน หรือคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปแทนที่ออกซิเจน เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (lipid oxidation) อย่างไรก็ตาม หากเก็บนมผงไว้นานเกินไป จะมีผลทำให้การละลายน้ำลดลง การเก็บนมผงให้ถูกต้อง คือ ควรเก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง ซึ่งจะมีผลช่วยให้คุณค่าทางอาหารเสื่อมคุณภาพไปอย่างช้าๆ
           วิตามินบี 2 หรือ ไรโบเฟลวิน (Riboflavin) คือวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ร่างกายต้องการวิตามินบี 2 เพื่อทำงานร่วมกับเอนไซม์ ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ให้ได้พลังงาน วิตามินบี 2 ถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสงแดด จึงทำให้เกิดการขาดวิตามินบี 2 ได้บ่อยครั้ง หน้าที่ของวิตามินบี 2 ได้แก่ เร่งกระบวนการเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงาน บำรุงผิว ผมและเล็บ ช่วยในการมองเห็น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน อาการที่ขาดวิตามินบี 2 ได้แก่ ระคายเคืองตาและตาไม่สู้แสง, ผิวหนังอักเสบ, แผลร้อนใน, ปากนกกระจอก, เวียนศีรษะ, ผมร่วง แหล่งที่พบวิตามินบี 2 ได้ในธรรมชาติ เช่น ไข่ นม ถั่ว ผักใบเขียว เป็นต้น
        กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Fat, Ash and Vitamin B2 in Milk powder เป็นการประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ในการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการและติดตามความต่อเนื่องของความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ หรือความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น โดยเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบในการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่116/2564)วศ. อว. เเนะความสำคัญของการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการกับอุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดจากสารเคมี
  2. (ข่าวที่115/2564)วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า
  3. (ข่าวที่114/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. MOU สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ยกระดับ SMEs ของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  4. (ข่าวที่113/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบสาขาฟิสิกส์: รายการ Dimensions (Thickness, Width and Length)
  5. (ข่าวที่112/2564)DSSPO Talk Series 2 : วศ. เปิดเวทีแลกเปลี่ยน การทำงานในองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพลวัตรสูง
  6. (ข่าวที่111/2564)DSSPO Talk Series 1 : วศ. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจ การดำเนินงานจัดตั้งองค์การมหาชน
  7. (ข่าวที่110/2564)วศ.อว. ลงนามสัญญาร่วมกับเอกชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร มุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์
  8. (ข่าวที่109/2564)วศ.จัดเวทีสนทนา เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ “องค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization)”
  9. (ข่าวที่108/2564)วศ. ทดสอบชิมเครื่องดื่มเพื่อการผ่อนคลาย และทดลองใช้สเปร์ยแป้งเย็น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
  10. (ข่าวที่107/2564)วศ. พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การวัดค่า Moisture, Protein and Ash in Rice powder