ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 79/2566) วศ.อว. Open House เยี่ยมชมภารกิจ "กองวัสดุวิศวกรรม"

 

F05 3 F05 2

F05 1 F05 4

 

            เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้รับมอบหมายจาก ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานและเยี่ยมชมภารกิจของกองวัสดุวิศวกรรม (วว.) พร้อมคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากส่วนงานต่างๆ ของ วศ. เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารตั้ว ลพานุกรม และอาคาร 9 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานประมาณ 120 คน ทั้งนี้กิจกรรม Open House ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจสำคัญในแต่ละด้านของ วศ. ในการให้บริการภาคประชาชน ผู้ประกอบการและการวิจัยพัฒนา
            สำหรับกองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้
1. วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทางด้านเคมี ด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม เพื่อหาองค์ประกอบของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สำหรับการพัฒนาและควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน
2. วิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบ การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ทางด้านเคมี ด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม เพื่อการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
3. สอบเทียบความถูกต้องเที่ยงตรงของเครื่องมือและอุปกรณ์วัด ตามมาตรฐานสากล ให้กับภาคอุตสาหกรรม
4. ให้การตรวจสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านเคมี ด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสนับสนุนการส่งออก

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 78/2566) วศ.อว.เสริมความเชื่อมั่นภาคเอกชน สนับสนุนการทดสอบยานยนต์อัตโนมัติไร้คนขับให้แก่บริษัท นากาเซ่ (ประเทศไทย) ด้วยเทคโนโลยีความแม่นยำสูงมาตรฐาน Euro NCAP ณ EECi

 

F04 1 F04 4

F04 3 F04 2

 

             เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์บริการ และบริษัท นากาเซ่ (ประเทศไทย) จำกัด แถลงผลการทดสอบการประยุกต์ใช้ยานยนต์อัตโนมัติไร้คนขับ Neolix X3 Plus ณ อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (IOC) วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง โดย ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)ในฐานะนะประธานคณะกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายสุรชัย เหล่าพูลสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ในฐานะเจ้าของศูนย์ IOC ผู้บริหารบริษัท นากาเซ่ (ประเทศไทย) จำกัด และแขกผู้ได้รับเชิญทั้งจากกรมการขนส่งทางบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และหน่วยงานในสังกัด อว. ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์กว่า 60 คน
             ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดี วศ. กล่าวว่า การทดสอบยานยนต์อัตโนมัติไร้คนขับในครั้งนี้ เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์บริการ กับบริษัทนากาเซ่ฯ ผู้ประยุกต์ใช้ยานยนต์อัตโนมัติ Neolix Level4 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของประเทศจีน โดยทางบริษัทฯ ได้ขอความร่วมมือให้ วศ. สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบยานยนต์ฯ พร้อมอุปกรณ์การทดสอบหรือเครื่องมือระบุตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูงสามารถอ้างอิงได้กับ Euro NCAP ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก วศ. จึงมอบหมาย ดร.ปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ พร้อมทีมนักวิจัยจากกลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กองวัสดุวิศวกรรม วศ. ดำเนินการสนับสนุนนภารกิจดังกล่าว โดยใช้พื้นที่ของศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (IOC) EECi วังจันทร์วัลเลย์ ของ ปตท. และยินดีให้ความร่วมมือในการใช้พื้นที่ทดสอบดังกล่าว
             นอกจากนี้ วศ.มุ่งมั่นดำเนินโครงการสร้างสนามทดสอบรถอัตโนมัติหรือ Connected and Autonomous Vehicle (CAV) Proving Ground ขึ้นที่ EECi ขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างเพื่อหวังยกระดับยานยนต์แห่งอนาคตที่พัฒนาและผลิตในประเทศให้ได้มาตรฐานยอมรับระดับสากล ล่าสุด วศ. ได้รับสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อเครื่องมือทดสอบในโครงการพัฒนาวิธีทดสอบฯ จาก บพค. ในการพัฒนาระบบการควบคุมความปลอดภัยในการขับขี่อัจฉริยะ ADAS จนถึงระบบ Driverless Car ซึ่งได้ทดลองจริงแล้ว ณ EECi จึงขอขอบคุณหน่วยสนับสนุนทุนที่เห็นความสำคัญโครงการวิจัยพัฒนาระบบยานยนต์อัจฉริยะที่ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้ทันต่อสถานการ์และความเปลี่ยนแปลง
ดร.ปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กองวัสดุวิศวกรรม วศ. กล่าวว่า การทดสอบยานยนต์อัตโนมัติ Neolix ร่วมกับบริษัทนากาเซ่ฯ ได้ทำการทดสอบ 3 วัน ภายใต้ 5 สถานการณ์ (Scenario) ได้แก่ Adaptive Cruise Control, Unprotected right turn, Unprotected left turn, Automatic Braking และ Obstacle Avoidance โดยมีรถที่เป็นเป้าล่อทั้งที่เป็นรถอัตโนมัติและรถทั่วไปมาร่วมทดสอบเพื่อให้ทราบถึงความเสถียรของยานยนต์อัตโนมัติ Neolix สำหรับผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจของบริษัท นากาเซ่ฯ และเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อแผนการทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการแบ่งปันข้อมูลหรือวิธีการทำงานที่เกิดจากเทคโนโลยีในต่างประเทศ พร้อมกับการได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากหน่วยงานภายในประเทศ ยิ่งจะทำให้แผนขับเคลื่อนการใช้ยานยนต์อัตโนมัติและระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ตามแผนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
            ด้านนายทาเคชิ วากิตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นากาเซ่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับผลตอบรับจากทางทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการทดสอบการประยุกต์ใช้ยานยนต์อัตโนมัติไร้คนขับ ในครั้งนี้ ซึ่งการทดสอบสามารถยืนยันได้ถึงนวัตกรรมอันล้ำสมัยและความปลอดภัยขั้นสูงสุดของยานยนต์อัตโนมัติไร้คนขับ Neolix ทางบริษัทฯ ยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับหลายๆ หน่วยงานมาร่วมชมสมรรถภาพของยานยนต์ดังกล่าว โดยเรามีความมั่นใจว่าการทดสอบในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับทุกๆ ส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันยานยนต์อัตโนมัติไร้คนขับ Level 4 เป็นอย่างมาก

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 77/2566) วศ.อว. ขับเคลื่อนสตูลโมเดลต่อเนื่อง พร้อมเก็บตัวอย่างขยะไมโครพลาสติกในพื้นที่บริเวณอุทยานธรณีโลกสตูล

F03 7 F03 8

F03 6 F03 5

 

            วันที่ 27 กุมภาพันธ์ -3 มีนาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.สมจิตต์ ตั้งชัยวัฒนา นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ดร.โอบเอื้อ อิ่มวิทยา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กองวัสดุวิศวกรรมและทีมนักวิจัย เดินทางลงพื้นที่ จ.สตูล ปฏิบัติภารกิจการสำรวจการจัดการขยะ และเก็บตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม สนับสนุนข้อมูลโครงการสำรวจปริมาณไมโครพลาสติกในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล
            ทีมนักวิจัย วศ. ได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพแวดล้อมทางทะเลพร้อมเก็บตัวอย่างขยะไมโครพลาสติกโดยรอบบริเวณเกาะหลีเป๊ะเพื่อนำไปวิเคราะห์ ทดสอบในห้องปฏิบัติการ และนำข้อมูลมาวางแผนเกี่ยวกับการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อม บริเวณรอบอุทยานฯ บนเกาะสาหร่าย เกาะหลีเป๊ะ และศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทีมสี่เสือ อว. และหน่วยงานอื่นๆ ของ อว. และที่เกี่ยวข้องต้องรวมพลังขับเคลื่อนนำองค์ความรู้พร้อมเทคโนโลยีไปบริหารจัดการให้สภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้มีความสวยงามและพัฒนาส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 76/2566) ขอแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่นของ วศ. ประจำปี 2565

           F04

             เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2565 ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้มีการประชุมเพื่อคัดเลือกข้าราชการของ วศ. ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2565 ได้แก่ การครองตน การครองคน การครองงาน การปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมและผลงานดีเด่น ซึ่งผลการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญดีเด่นของ วศ. ได้แก่

            1. นางสาวจิรสา กรงกรด นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค เริ่มรับราชการตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2537 โดยมีผลงานดีเด่น คือ ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์บริการ กับ การประปาส่วนภูมิภาค และ อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำยาฆ่าเชื้อในสถานการณ์โควิด-19
            2. นางสาววราภรณ์ ศรีชาย นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สำนักงานเลขานุการกรม เริ่มรับราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 โดยมีผลงานดีเด่น คือ ดำเนินการเรื่องการสรรหาและเลือกสรร ข้าราชการและพนักงานราชการทั่วไป ในช่วงเตรียมปรับเปลี่ยนสถานะจากส่วนราชการเป็นองค์กรมหาชน และทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการ การเลื่อนเงินเดือน ขั้นค่าจ้าง ค่าตอบแทน และดูแลระบบจ่ายตรงของส่วนราชการทั้งระบบ
           วศ. ขอแสดงความยินดี ชื่นชม กับข้าราชการดีเด่น ที่ได้ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ จนมีผลการปฏิบัติงานดีเด่น สมควรยกย่อง เชิดชูเกียรติ และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่และกระทำความดีตลอดไป
           ทั้งนี้ ข้าราชการ วศ. อว. ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นข้าราชการดีเด่นประจำปี 2565 จะเข้ารับมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ จากหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงในโอกาสต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 75/2566) วศ.อว. มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการแก่ภาครัฐและเอกชน รวม 53 หน่วยงาน ภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17025, ISO/IEC 17043 และ ISO 17034 สร้างความเชื่อมั่นการทดสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล

F03 4 F03 2

F03 3 F03 1

 

            วันที่ 1 มีนาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นประธานในพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทดสอบ , ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง รวม 53 หน่วยงาน ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
            ดร.นพ.ปฐมฯ อธิบดี วศ. เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้กับสินค้าและบริการต่างๆ ของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure, NQI) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนากิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานระดับประเทศหลายองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องอาศัยการวิเคราะห์ ทดสอบ การกำหนดมาตรฐาน และการพัฒนามาตรฐานในด้านต่างๆ หน่วยรับรองระบบงานจึงถือเป็นหนึ่งหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน เพื่อให้สอดรับกับสภาพการณ์ข้างต้น ซึ่งระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ประกอบด้วยมาตรวิทยา (Metrology) การมาตรฐาน (Standardization) การรับรองระบบงาน (Accreditation) การตรวจสอบและรับรอง (Conformity assessment) และการกำกับดูแลตลาด (market surveillance) ดังนั้น NQI จึงเป็นระบบที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการให้การรับรองระบบงานฯ เป็นส่วนสำคัญของระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ การได้รับการรับรองระบบงานฯ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 มาตรฐาน ISO/IEC 17043 และมาตรฐาน ISO 17034 ถือเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพและความสามารถของหน่วยงานด้านห้องปฏิบัติการให้เป็นที่รู้จัก และเป็นภาพลักษณ์ที่ดี ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในผลการทดสอบที่เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล เพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับสินค้าต่างๆ เพื่อสร้างความพร้อมในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลก และการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
            ด้านนางพจมาน ท่าจีน ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ วศ. ได้เพิ่มเติมข้อมูลหน่วยงานที่เข้ารับใบรับรองระบบงานฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทดสอบ(Testing Lab) จำนวน 50 ห้องปฏิบัติการ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ (PTP) จำนวน 2 หน่วยงาน และผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง (RMP) จำนวน 1 หน่วยงาน ดังนี้
1. ผู้ผลิตวัสดุอ้างอิงเมล็ดธัญพืช บริษัท ไทยคาลิเบรชั่นเซอร์วิส จำกัด
2. ศูนย์ทดสอบความชำนาญ แนส แล็ป สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
3. ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สายงานบริการ 3 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
4. ศูนย์อ้างอิงทางห้องปฏิบัติการและพิษวิทยา กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
5. บริษัท เอ็นไวร์โปร จำกัด
6. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
7. ห้องปฏิบัติการ บริษัท เอเซีย แปซิฟิค ปิโตรเคมิคอล จำกัด (T86)
8. ห้องปฏิบัติการ โรงงานอาหารสัตว์ บริษัท โกลเด้น ไลน์ บิสซิเนส จำกัด
9. ห้องปฏิบัติการ จุลชีววิทยา บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด
10. ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่
11. ห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ทางนิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
12. บริษัท อีเอ็กซ์ ซีด จำกัด
13. บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด
14. ห้องปฏิบัติการบริการวิเคราะห์ดินและปุ๋ย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด
15. ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
16. ศูนย์ทดสอบทางวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
วิทยาเขตสุรินทร์
17. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
18. ห้องปฏิบัติการ บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด
19. ห้องปฏิบัติการแพลงก์ตอนพืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลชุมพร กรมประมง
20. ห้องปฏิบัติการ บริษัท ทีเอชซี อะโกรไซแอนส์ จำกัด
21. หน่วยบริการทดสอบทางสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา
22. บริษัท ซีด เทสท์ แล็บส์ เอเชีย จำกัด
23. หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ กําแพงแสน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
24. ห้องปฏิบัติการกบินทร์บุรี บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
25. ห้องปฏิบัติการ บริษัท เอ็ล.เอ็น.อาร์ เอสโซซิเอทส์ จำกัด
26. ห้องปฏิบัติการทดสอบศูนย์เทคโนโลยีและวิศวกรรม (T-TEC) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด"
27. เอไอที เทสติ้ง แลบบอราทอรี (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย)
28. LAO-UAE Laboratory and Environmental Services Co., Ltd.
29. ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30. บริษัท เอ็กซ์เพอริเม้นทัล นูทริชั่น เซ็นเตอร์ ออฟ อนาไลติคอล โปรไฟล์ จำกัด
31. ศูนย์บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์และตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์
มหาวิทยาลัยพะเยา
32. ห้องปฏิบัติการ บริษัท พนัส ฟีดมิลค์ จำกัด
33. ห้องปฏิบัติการนารายณ์อาหารสัตว์ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด (โรงงานนารายณ์อาหารสัตว์)
34. ห้องปฏิบัติการทดสอบ กองควบคุมคุณภาพ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานกำแพงเพชร
35. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท แอนิมัลซัพพลีเมนท์ แอนด์ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
36. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท คอนซัลแตนท์ เซ็นเตอร์ แอนด์ แล็บ จำกัด
37. ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
38. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานอยุธยา
39. ห้องปฏิบัติการ เซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป แลบอราทอรี่
40. ห้องปฏิบัติการทดสอบฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด (โรงงานอาหารสัตว์พัฒนานิคม)
41. ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร
42. ห้องปฏิบัติการ บริษัท คิง สเปรย์ ดรายอิ้ง เทคโนโลยี จำกัด
43. ห้องปฏิบัติการทดสอบ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
44. ห้องปฏิบัติการ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด สาขาห้วยนาง
45. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขาเลย
46. ห้องปฏิบัติการยางแท่งเอสทีอาร์ บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด สาขาบึงกาฬ
47. ห้องปฏิบัติการ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี
48. ห้องปฏิบัติการ บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด สาขาบุรีรัมย์
49. ห้องปฏิบัติการ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขาพิษณุโลก
50. ห้องปฏิบัติการยางแท่งเอสทีอาร์ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขาสระแก้ว
51. ห้องปฏิบัติการยางแท่งเอสทีอาร์ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขาอุดรธานี
52. ห้องปฏิบัติการ บริษัท หน่ำฮั่วรับเบอร์ จำกัด
53. ห้องปฏิบัติการ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขากาฬสินธุ์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 74/2566) วศ.อว. ลงพื้นจัดอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร จ.น่าน ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
  2. (ข่าวที่ 73/2566) กองหอสมุดฯ จับมือ สำนักงาน ก.พ.ร. และ สพร. ขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการประชาชนด้านสารสนเทศ ในรูปแบบดิจิทัลบน Citizen Portal ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ"
  3. (ข่าวที่ 72/2566) วศ.อว. สร้างความร่วมมือแนวทางจัดทำฐานข้อมูลด้านมาตรฐานและวิธีการทดสอบสารสำคัญเชิงหน้าที่
  4. (ข่าวที่ 71/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่นครนายก ต่อยอดองค์ความรู้ วทน. ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน
  5. (ข่าวที่ 70/2566) วศ.อว. จัดอบรมข้าราช พนักงานใหม่ พัฒนาแนวคิด เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
  6. (ข่าวที่ 69/2566) วศ.อว. เสริมองค์ความรู้ Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions สนับสนุนเจตนารมย์ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ
  7. (ข่าวที่ 68/2566) วศ. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณค่าทางโภชนาของอาหาร รายการ Aerobic Plate Count in Starch
  8. (ข่าวที่ 67/2566) วศ.อว.บริหารงานระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 พัฒนาบริการ มุ่งสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน
  9. (ข่าวที่ 66/2566) วศ.อว.ให้คำปรึกษาเชิงลึกภาคเอกชนเพื่อยกระดับมาตรฐานเครื่องมือทดสอบด้านเยื่อและกระดาษ
  10. (ข่าวที่ 65/2566) วศ.อว. Open House เยี่ยมชมภารกิจ "กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ"