ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่63/2564)วศ. ลงพื้นที่ภาคเหนือยกระดับ SME กระดาษสา ปรับปรุงกระบวนการผลิตตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

A6 4 A6 2

A6 1 A6 3

 

         วันที่ 16-18 มีนาคม 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นายก่อพงศ์ หงษ์ศรี หัวหน้ากลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม พร้อม ทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่นำเทคโนโลยีช่วยแก้ไขปัญหาผู้ประกอบการ SME ด้านการผลิตเยื่อปอสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา เน้นช่วยพัฒนากระบวนการผลิตให้มีคุณภาพมีการควบคุมคุณภาพเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานและตรงตามความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ณ จังหวัดเชียงใหม่ และสุโขทัย
     การดำเนินการดังกล่าวฯ วศ. ให้ความสำคัญถึงการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยผู้ประกอบการให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งผู้ประกอบการ SME ด้านการผลิตเยื่อปอสาและกระดาษสาหลายโรงงานพบปัญหาไม่สามารถผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานและความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและส่งออกต่างประเทศ ส่งผลกระทบให้เกิดการคืนสินค้า หรือสินค้ากระดาษสาที่ผลิตมีคุณภาพด้อยลงต้องจำหน่ายราคาต่ำและจำหน่ายได้เฉพาะในประเทศเท่านั้น อีกทั้งผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ไม่สามารถลงทุนในการวิจัยเพื่อหาทางแก้ไขในกระบวนการผลิต และไม่สามารถลงทุนในส่วนของห้องปฏิบัติการในการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ ดังนั้น วศ. จึงได้ลงพื้นที่นำเทคโนโลยีการปรับปรุงคุณภาพ สีสัน และรูปแบบของกระดาษสาให้มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วยเทคนิคด้านการทดสอบและสอบเทียบเครื่องทดสอบกระดาษสนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการ
       ทั้งนี้ โรงงานกระดาษ จำนวน 4 โรงงาน ที่ได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยี ประกอบด้วย(1) บริษัท ซี.เอส.พี. เชียงใหม่ กระดาษสา จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ (2) บริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ (3) ห้างหุ้นส่วนสามัญ ศิริพร กระดาษสา จังหวัดเชียงใหม่ (4) บริษัท ก้วงไถ่สเปเชียลเปเปอร์ จำกัด จังหวัดสุโขทัย โดยทั้ง 4 บริษัท วศ. ช่วยแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิต ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งปรับตั้งและสอบเทียบเครื่องทดสอบกระดาษในห้องปฏิบัติการทดสอบของโรงงานให้เป็นไปตามสามารฐานสากล นอกจากนี้ยังรับโจทย์ความต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตมาทำการทดลองเพื่อหาสูตรการผลิตที่เหมาะสมด้วย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่62/2564)วศ.แนะประโยชน์ "ไข่แดง" ตัวประสานน้ำกับน้ำมันในอาหารบริโภค

 

A5

          “ไข่แดง” อาจเป็นอาหารที่หลายคนต้องพึงระวังและควบคุมการบริโภค เนื่องจากปริมาณของโคเลสเตอรอล แต่ไข่แดงก็มีองค์ประกอบและสารอาหารสำคัญเช่นกัน “ไขมันในไข่แดง” ประกอบด้วยฟอสโฟไลพิด (Phospholipids) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล (Glycerol) กรดไขมัน (Fatty acid) และกรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) เกิดเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วย 2 ขั้ว คือ ขั้วที่ชอบน้ำ (Hydrophilic) และขั้วที่ไม่ชอบน้ำ (Hydrophobic) ฟอสโฟไลพิดที่พบมากในไข่แดง คือ เลซิทิน (Lecithin) จึงทำให้ไข่แดงกลายเป็นอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) ที่ได้จากธรรมชาติ
อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) คือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ มีบทบาทสำคัญในอาหารที่เป็นอิมัลชัน(Emulsion) คือ ของเหลวตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ที่ไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยของเหลวชนิดนึงกระจายตัวเป็นหยดเล็กๆในของเหลวอีกชนิดนึง ง่ายๆ คือ ไข่แดง มีคุณสมบัติทำให้น้ำรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับของเหลวอื่นได้นั่นเอง จึงประยุกต์ใช้คุณสมบัติของไข่แดงดังกล่าวในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น น้ำสลัด มายองเนสครีมพัฟฟ์ น้ำนม ซึ่งถือเป็นอิมัลชันแบบน้ำมันในน้ำ (Oil in water) คือมีน้ำมันกระจายอยู่ในส่วนที่เป็นน้ำ
       ปัจจุบันมีการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลาย เช่น สลัดรายการต่างๆ กระบวนการทำของน้ำสลัดหากไม่เติมไข่แดงแต่ใช้วิธีการตีผสมให้เข้ากันด้วยเครื่องผสม เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งจะเกิดการแยกชั้นของน้ำสลัด ดังนั้นการเติมไข่แดงที่ทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) ลงไปทำให้น้ำมันกับไขมันรวมตัวกับของเหลวอื่นๆ เช่น น้ำ น้ำมะนาว น้ำส้มสายชูในน้ำสลัดได้ น้ำสลัดจึงคงตัวไม่เกิดการแยกชั้นเนื้อเนียนสวยน่ารับประทาน อีกคุณสมบัติหนึ่งไข่แดงยังช่วยให้สีเนื่องจากไข่แดงมีเม็ดสีที่ทำให้เกิดสีเหลืองจนถึงสีส้มแดง ประกอบด้วย ไฮดรอกซีแคโรทีนอยด์(Hydroxycarotenoids) ลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และคริพโทแซนทิน (Cryptoxanthin) จึงช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีสีตามธรรมชาติน้ำสลัดชนิดข้นจึงมีสีเหลืองนวล
        ทั้งนี้ วศ. มีข้อแนะนำในการบริโภคไข่เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี คือ เฉลี่ยไม่เกิน 1 ฟองต่อวัน ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดควรบริโภคในความดูแลของแพทย์และไม่ควรบริโภคเกิน 1 ฟองต่อวัน ควบคู่กับรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้คุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการจากหอสมุดวิทยาศาสตร์ ดร.ตั้วฯสามารถสืบค้นได้ที่ https://bit.ly/3scnrZk

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่61/2564)วศ. ยกระดับผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติสร้างเอกลักษณ์ประจำถิ่น ตอบโจทย์ " กระบี่โมเดล"

 

A5 4 A5 1

A5 3 A5 2

         วันที่ 18 มีนาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะ ลงพื้นทีติดตาม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและบรรเทาผลกระทบจากโควิด -19 ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ (กระบี่โมเดล) โดยการพัฒนากรรมวิธีการย้อมสีธรรมชาติเพื่อให้เกิดมาตรฐานกระบวนการผลิตและการกำหนดคุณสมบัติของวัตถุดิบในการย้อมธรรมชาติสำหรับผ้าบาติก มีผู้ประกอบการผ้าในพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 60 คน ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 ณ กลุ่มต้นทังบาติก อ.เกาะลันตา จ.กระบี่
       การฝึกอบรมในครั้งนี้ วศ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ วศ. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึก ด้านเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติจากพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ลูกเหล ลูกราม ลูกเลือด ฯลฯ เป็นแม่สีในการย้อมและใช้สารจากธรรมชาติเป็นฟิกสี ซึ่งการมัดย้อมผ้าเหล่านี้จะทำให้เกิดลวดลายบนผืนผ้าที่ไม่ซ้ำกัน จากนั้นนำผ้าไปเขียนลวดลายบาติกที่มีเอกลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อให้เกิดงานตามอัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่โดดเด่นของพื้นถิ่น ให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ มาตรฐาน เพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ ชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่60/2564)อธิบดี วศ. นำทีมนักวิทย์เยี่ยมชม Lab คณะสัตวแพทย์ มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ หวังร่วมมือพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการและบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ สร้างความเชื่อมั่นในภูมิภาค

 

A4 3 A4 1

A4 4 A4 2


          วันที่ 17 มีนาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ เดินทางเยี่ยมชมภารกิจห้องปฏิบัติการและงานวิจัยพัฒนาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.) วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ โดยมี ผศ.น.สพ.สิริศักดิ์ ชีช้าง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ และ ผศ.น.สพ.ธีระวิทย์ จันทร์ทิพย์ อธิการบดีมหา'ลัยแพะนานาชาติ กระบี่
          โดย นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ เปิดเผยวัตถุประสงค์เยี่ยมชมแลป ครั้งนี้ เนื่องจาก วศ.มีภารกิจให้บริการทางวิทยาศาสตร์ และเป็นสถานปฏิบัติการกลางทาง ว และ ท ของประเทศ ดังนั้น การส่งเสริมและสร้างความร่วมมือระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามแนวคิดขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกันกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร. ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ จึงเป็นอีกหน่วยงานที่ วศ.หวังสร้างความร่วมมือ ซึ่งเป็นสถานศึกษาผลิตบุคลากรด้านสัตวแพทย์ เป็นทั้งสถานวิจัย และโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนและบริการชุมชน
ในโอกาสดังกล่าว คณะนักวิทยาศาสตร์ วศ. ได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่างๆ ของ มทร.ฯ เช่น ห้องปฎิบัติการกายวิภาควิทยาการสัตวแพทย์ ไวรัสวิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันสัตวแพทย์ โภชนศาสตร์คลินิก จุลกายวิภาค พยาธิวิทยา ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการสืบพันธ์ุ และโรงพยาบาลสัตว์ เป็นต้น
     ทั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะได้เตรียมความพร้อมลงนามความร่วมมือในภารกิจการพัฒนาห้องปฏิบัติการและการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร และกิจกรรมอื่นๆที่เหมาะสม ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่59/2564)วศ. ประชุมความร่วมมือ สดช. และ สวทช.เดินหน้าเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคตในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (EECi)

 

A3 3 A3 4

A3 1 A3 2


          15 มีนาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัย วศ. เข้าร่วมประชุม Autonomous Vehicle Living Lab at EECI ร่วมกับ นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สดช. และดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำกับและดูแลเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) พร้อมด้วยทีมนักวิจัย สวทช. ประชุมหารือความร่วมมือและโอกาสในการทำงานเพื่อสนับสนุนภารกิจของ สดช. และร่วมรับชมการสาธิตการทำงานของรถกอล์ฟขับขี่อัตโนมัติ ณ ลานพระรูป ร.4 หน้าอาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ซอยโยธี กรุงเทพมหานคร
          นพ.ปฐมฯ อธิบดี วศ. กล่าวว่า วศ. มีพันธกิจวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม พัฒนาระบบการวัด และระบบมาตรฐานเพื่อขับเคลื่อนสู่เชิงพาณิชย์ มีภารกิจโดยตรงทางด้านการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ ซึ่งหน่วยงานพันธมิตรให้ความสำคัญในการริเริ่มให้เกิดการศึกษา พัฒนาและผลักดันให้ประเทศไทยเกิดการปรับตัวให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคต จึงเกิดโครงการเชิงบูรณาการร่วมกัน วศ.จึงได้วิจัยและพัฒนารถกอล์ฟอัตโนมัติขึ้น (Autonomous Golf Cart) โดยให้นายปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นอ.) และทีมงานวิจัยพัฒนาในด้านระบบ DRIVE BY WIRE สำหรับควบคุมพวงมาลัย เบรกและคันเร่งด้วยสัญญาณไฟฟ้าควบคุมด้วยสมองกลฝังตัว ระบบควบคุมระยะไกลแบบบังคับมือด้วยสัญญาณวิทยุ และการพัฒนาวิธีทดสอบยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้เพื่อวัดสมรรถนะและความปลอดภัยในการใช้งาน
       สำหรับการประชุมร่วมกันครั้งนี้ทั้งสามฝ่ายเห็นตรงกันว่าจะร่วมมือผลักดันนโยบายขับเคลื่อนเทคโนโลยี CAV อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง สดช.ให้ความสนใจในด้านการจัดตั้ง Living Lab หรือพื้นที่ลองผิดลองถูก แบบ SANDBOX ที่ สวทช. และ EECi กำลังดำเนินการอยู่เป็นอย่างมาก และเห็นพ้องว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีพื้นที่ทดลองแบบเสมือนการใช้งานจริงเช่นที่ EECi โดยจะให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เทคโนโลยีสามารถใช้งานได้จริงและใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทต่างชาติในด้านที่เกี่ยวข้องเข้ามาลงทุนและสร้างระบบนิเวศน์ทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นตัวผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆในประเทศไทย เช่น อุตสาหกรรมด้านหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (Robotics and Ai) ให้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่58/2564)ออท.สวิส เข้าพบ รมว.อว. หารือความร่วมมือด้าน อววน.
  2. (ข่าวที่57/2564)วศ.ลงพื้นที่ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติ
  3. (ข่าวที่56/2564)วศ. จัดอบรมขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 :2017 "หลักสูตร การสอบกลับได้และการทวนสอบผลการสอบเทียบ"
  4. (ข่าวที่55/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ด้วยวิธีตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของแข็งแขวนลอย (Total Suspended Solids : TSS)
  5. (ข่าวที่54/2564)วศ. ชวนทุกคน “บอกลาส้นเท้าแตก” พร้อมวิธีดูแลสุขภาพเท้าด้วยตนเอง
  6. (ข่าวที่53/2564)วศ.โชว์ผลงานชุด PPE ฝีมือคนไทยมาตรฐานสากล ในงาน Thailand International Health Expo 2021
  7. (ข่าวที่52/2564)วศ.เปิดบ้านต้อนรับผู้บริหาร ก.อุตสาหกรรม สถาบันอาหาร และผู้ประกอบการ หารืองานวิจัยเครื่องดื่มสารสกัด CBD ตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมและผู้บริโภค
  8. (ข่าวที่51/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. MOU มูลนิธิ ณภาฯ ต่อยอดการพัฒนาสารสกัดสมุนไพรและหัตถกรรมท้องถิ่นสู่ระดับสากล
  9. (ข่าวที่50/2564)วศ. โชว์ผลงาน Eco Friendly Products จาก กัญชง พืชเศรษฐกิจใหม่ ด้วย วทน.
  10. (ข่าวที่49/2564)อว.แถลงข่าวรับกฎกระทรวงใหม่โดย วศ. เป็นห้องปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เร่งปรับบทบาทรองรับภารกิจบริการทางวิทยาศาสตร์ให้รวดเร็วและมีคุณภาพ