ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่29/2564)อว.วศ. ห่วงใยคนกรุงฯ เก็บน้ำประปาตรวจพิสูจน์พบเกินมาตรฐานแนะวิธีกำจัดความเค็มเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

C2 2

 

 

         นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เปิดเผยว่า ช่วงเดือนมกราคม 2564 ถึงปัจจุบัน พบว่า คนกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลประสบภาวะน้ำประปาเค็ม สร้างความกังวลให้กับพี่น้องประชาชนที่ต้องบริโภคน้ำประปาโดยไม่ผ่านเครื่องกรองน้ำ ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นสาเหตุของน้ำประปาเค็มเกิดจากสภาวะภัยแล้งและมวลน้ำทะเลหนุนสูงกว่าปกติทำให้น้ำเค็มขึ้นมาถึงจุดรับน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาส่งผลให้แหล่งน้ำผลิตประปามีความเค็มเกินมาตรฐาน

C2 3 C2 4


          โดย วศ. ได้ทดลองเก็บตัวอย่างน้ำประปาภายในกรมฯ มาตรวจหาปริมาณคลอไรด์ เมื่อวันที่ 3 และ 8 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่ามีค่าคลอไรด์เท่ากับ 345 และ 271 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งค่ามาตรฐานที่กำหนดของน้ำบริโภคจะต้องมีค่าคลอไรด์สูงสุดไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งโทษของการบริโภคน้ำเค็มนั้นไม่มีอันตรายต่อคนทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ เนื่องจากในชีวิตประจำวันเราได้รับคลอไรด์จากการรับประทานอาหารมากกว่าในน้ำดื่มแต่จะมีผลกระทบเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคทางสมอง
           พร้อมกันนี้ วศ. ได้แนะนำวิธีกำจัดความเค็มจากน้ำประปา ซึ่งประกอบด้วย 3 วิธี คือ
1. การกลั่น (Distillation) สามารถกำจัดทั้งคลอไรด์และของแข็งที่ละลายน้ำได้
2. การกรองด้วยระบบ RO (Reverse Osmosis) สามารถกำจัดคลอไรด์โดยการใช้แรงดันน้ำผ่าน membrane ระบบ RO นี้ เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสารต่าง ๆ ออกจากน้ำโดยเฉพาะสารที่มีขนาดเล็กมาก เช่น โซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออน
3. Deionization หรือขบวนการขจัดไอออน สามารถกำจัดคลอไรด์โดยการดูดซับด้วย anion-exchange resin ซึ่งสามารถดูดซับแอนไอออนตัวอื่นได้ด้วย เช่น ซัลเฟต ถ้ามีซัลเฟตในน้ำตัวดูดซับจะจับกับซัลเฟตได้ดีกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซับคลอไรด์ลดลง การต้ม (Boiling) การดูดซับด้วยคาร์บอน (Carbon Adsorption Filters) และ Water Softener ไม่สามารถกำจัดคลอไรด์ได้
         ทั้งนี้ผู้ประกอบการ และประชาชนสามารถติดตามรายงานคุณภาพน้ำประปารายวันในพื้นที่ กทม. นนทบุรีและสมุทรปราการ ผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ของการประปานครหลวงได้เพื่อเตรียมสำรองน้ำสำหรับดื่มไว้ล่วงหน้า เพราะในช่วงเวลาของแต่ละวันความเค็มของน้ำจะแตกต่างกัน หรือส่งมาทดสอบได้ที่ วศ. เพื่อทดสอบหาปริมาณคลอไรด์ในน้ำ นอกจากนี้ยังให้บริการทดสอบน้ำอุปโภคบริโภคตามมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐานน้ำบริโภค (มอก.257) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท (สธ.ฉบับที่ 61 และ 135) เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ เป็นต้น

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่28/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพแลปทดสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์ ตามมาตรฐานสากล รวม 55 ห้องปฏิบัติกา

C1 4 C1 1

C1 2 C1 3

         วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างอาหารสัตว์ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่ร่วมกิจกรรม เป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 55 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Minerals (Ca, Cu, Fe, Mg, Mn, K, Na, Zn and P) in feeding stuffs และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ วศ. ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
       การดำเนินงานที่สำคัญ การทดสอบคุณภาพของแร่ธาตุในอาหารสัตว์ จะต้องได้รับการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญ ซึ่งแต่ละห้องปฏิบัติอาจใช้วิธีวิเคราะห์ทดสอบที่เป็นมาตรฐาน โดยในธรรมชาติทุกเนื้อเยื่อของสัตว์และอาหารสัตว์จะประกอบด้วยสารอนินทรีย์ หรือแร่ธาตุต่างๆ ในปริมาณที่แตกต่างกัน กลุ่มของแร่ธาตุตามความจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย สามารถแบ่งกลุ่มของแร่ธาตุออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่มแร่ธาตุที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการสร้างโครงร่างของร่างกาย (structural elements) เช่น แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P) เป็นต้น
2. กลุ่มแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของของเหลวในร่างกายและเนื้อเยื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย รักษาความดันออสโมติก (Osmotic pressure) ของส่วน ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โซเดียม (Na) โพแตสเซียม (K) และคลอไรด์ (Cl) เป็นต้น
3. กลุ่มแร่ธาตุที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และฮอร์โมน เช่น ธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) แมงกานีส (Mn) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) เป็นต้น
      ทั้งนี้ วศ. สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการข้างต้น เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง รวมถึงเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานรัฐบาล และเอกชน ที่ส่งตัวอย่างมาทดสอบได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่27/2564)วศ.​ จับมือ สทน.​ ขยายขอบข่ายความมือด้านการวิจัยและพัฒนาตอบโจทย์ความต้องการขอประเทศ

 B10 3

      5 กุมภาพันธ์​ 2564 ณ ห้องอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม คณะผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) นำโดย นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ประชุมหารือร่วมกับ รศ. ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ​ องค์การมหาชน ​(สทน.)​ และคณะ เพื่อขยายกรอบความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาให้คลอบคลุมความต้องการของประเทศ

B10 1 B10 4

B10 5 B10 2


       ทั้งนี้ นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดี วศ. เปิดเผยว่า ประเด็นสำคัญที่จะอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว จะครอบคลุมงานวิจัยและพัฒนา ด้านการพัฒนาวัสดุอวกาศ การพัฒนาวัสดุกำบังรังสี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง การตรวจเพื่อรับรองเกษตรอินทรีย์ การจัดทำมาตรฐาน ​การถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีอาหารสู่ชุมชน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพ​บุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี​มาร่วมประยุกต์ใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่​ ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่26/2564)วศ.เปิดแลปทดสอบการระบายอากาศของพัดลม ต้อนรับการดูงานของผู้แทน บ.ฮาตาริ

 

B9 4 B9 3

B9 1 B9 2

         5 กุมภาพันธ์ 2564 นายพงษ์พิพัฒน์ สลางสิงห์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ให้การต้อนรับคณะวิศวกรจาก บริษัทวนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (ฮาตาริ) เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของ วศ. ด้านการทดสอบอัตราการระบายอากาศสำหรับพัดลมระบายอากาศ ณ กลุ่มงานวัสดุก่อสร้าง ชั้น 3 อาคารอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง (SAL) กรมวิทยาศาสตร์บริการ
       ทั้งนี้ การเข้าดูห้องปฏิบัติการดังกล่าวเพื่อศึกษาวิธีการทดสอบ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงพิจารณาค่าอัตราการระบายอากาศที่เกิดจากรูปแบบการดีไซน์พัดลมระบายอากาศรุ่นใหม่ของบริษัท ให้ตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์และประหยัดไฟยิ่งขึ้น ภายหลังการดูงานบริษัทจะส่งผลิตภัณฑ์เข้าทดสอบคุณภาพและมาตรฐานกับ วศ. เพื่อจะใช้ผลการทดสอบขอการรับรองฉลากไฟเบอร์5 กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝผ.) ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่25/2564)วศ.ร่วมส่งมอบนวัตกรรม PAPR ฝีมือคนไทย แก่กระทรวงสาธารณสุขก่อนกระจายสู่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ

B8 4 B8 3

B8 1 B8 2

 


       วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม เป็นผู้แทนร่วมพิธี “ส่งมอบนวัตกรรมหน้ากากแรงดันลบและบวก ออกแบบและผลิตโดยทีมวิศวกรฮอนด้า พร้อมด้วยเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อ” ของกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย รวมมูลค่ากว่า 40 ล้านบาท โดยมี นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย นายวรพจน์ พรประภา กรรมการกองทุนฯ และ ผศ.นพ.อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เข้าร่วมส่งมอบฯ โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหาร เป็นผู้รับมอบ ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
     ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ มีบทบาทภารกิจด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ และอยู่ในช่วงดำเนินการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบ PAPR ตามมาตรฐานระดับสากล ได้ทำการทดสอบการรั่วซึมเข้า (Inverse Leakage) ของอุปกรณ์ดังกล่าว ด้วยวิธีเทียบเคียงมาตรฐานสากลเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งผลอยู่ในระดับที่ดี หน้ากากแรงดันลบและบวกดังกล่าวฯ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ได้ โดยทางฮอนด้าจะจัดส่งผ่านเครือข่ายทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่24/2564)วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Electronic Balance (Round 1)
  2. (ข่าวที่23/2564)วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบรายการ Calibration of Gauge Block
  3. (ข่าวที่22/2564)วศ.เตรียมขับเคลื่อนองค์กร สู่ทศวรรษที่ 14 เล็งปรับแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile Team เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  4. (ข่าวที่21/2564)อว. โดย วศ. ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้กับสำนักงานเขตพระนคร บริการประชาชาชนในพื้นที่
  5. (ข่าวที่20/2564)วศ.จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดออกแบบโลโก้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 130 ปี
  6. (ข่าวที่19/2564)คณะผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์บริการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 130 ปี วศ.
  7. (ข่าวที่18/2564)อว. โดย วศ. พร้อมส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ให้กับสำนักงานเขตพระนคร และพื้นที่ควบคุม 5 จังหวัด บริการบุคลากรทางการแพทย์และประชาชาชน
  8. (ข่าวที่17/2564)อว. โดย วศ. พัฒนาชุดสมาร์ทคิทเพิ่มความถูกต้องให้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดพร้อมจัดทำต้นแบบนำร่องให้ผู้ประกอบการ
  9. (ข่าวที่16/2564)วศ. ห่วงใยสุขภาพบุคลากร เชิญแพทย์รามาสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัส Covid -19 จากน้ำลายด้วยวิธี RT-PCR
  10. (ข่าวที่15/2564)วศ.พัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง เสริมห้องปฏิบัติการตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025