ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่61/2564)วศ. ยกระดับผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติสร้างเอกลักษณ์ประจำถิ่น ตอบโจทย์ " กระบี่โมเดล"

 

A5 4 A5 1

A5 3 A5 2

         วันที่ 18 มีนาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะ ลงพื้นทีติดตาม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและบรรเทาผลกระทบจากโควิด -19 ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ (กระบี่โมเดล) โดยการพัฒนากรรมวิธีการย้อมสีธรรมชาติเพื่อให้เกิดมาตรฐานกระบวนการผลิตและการกำหนดคุณสมบัติของวัตถุดิบในการย้อมธรรมชาติสำหรับผ้าบาติก มีผู้ประกอบการผ้าในพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 60 คน ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 ณ กลุ่มต้นทังบาติก อ.เกาะลันตา จ.กระบี่
       การฝึกอบรมในครั้งนี้ วศ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ วศ. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึก ด้านเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติจากพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ลูกเหล ลูกราม ลูกเลือด ฯลฯ เป็นแม่สีในการย้อมและใช้สารจากธรรมชาติเป็นฟิกสี ซึ่งการมัดย้อมผ้าเหล่านี้จะทำให้เกิดลวดลายบนผืนผ้าที่ไม่ซ้ำกัน จากนั้นนำผ้าไปเขียนลวดลายบาติกที่มีเอกลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อให้เกิดงานตามอัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่โดดเด่นของพื้นถิ่น ให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ มาตรฐาน เพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ ชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่60/2564)อธิบดี วศ. นำทีมนักวิทย์เยี่ยมชม Lab คณะสัตวแพทย์ มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ หวังร่วมมือพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการและบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ สร้างความเชื่อมั่นในภูมิภาค

 

A4 3 A4 1

A4 4 A4 2


          วันที่ 17 มีนาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ เดินทางเยี่ยมชมภารกิจห้องปฏิบัติการและงานวิจัยพัฒนาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.) วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ โดยมี ผศ.น.สพ.สิริศักดิ์ ชีช้าง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ และ ผศ.น.สพ.ธีระวิทย์ จันทร์ทิพย์ อธิการบดีมหา'ลัยแพะนานาชาติ กระบี่
          โดย นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ เปิดเผยวัตถุประสงค์เยี่ยมชมแลป ครั้งนี้ เนื่องจาก วศ.มีภารกิจให้บริการทางวิทยาศาสตร์ และเป็นสถานปฏิบัติการกลางทาง ว และ ท ของประเทศ ดังนั้น การส่งเสริมและสร้างความร่วมมือระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามแนวคิดขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกันกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร. ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ จึงเป็นอีกหน่วยงานที่ วศ.หวังสร้างความร่วมมือ ซึ่งเป็นสถานศึกษาผลิตบุคลากรด้านสัตวแพทย์ เป็นทั้งสถานวิจัย และโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนและบริการชุมชน
ในโอกาสดังกล่าว คณะนักวิทยาศาสตร์ วศ. ได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่างๆ ของ มทร.ฯ เช่น ห้องปฎิบัติการกายวิภาควิทยาการสัตวแพทย์ ไวรัสวิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันสัตวแพทย์ โภชนศาสตร์คลินิก จุลกายวิภาค พยาธิวิทยา ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการสืบพันธ์ุ และโรงพยาบาลสัตว์ เป็นต้น
     ทั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะได้เตรียมความพร้อมลงนามความร่วมมือในภารกิจการพัฒนาห้องปฏิบัติการและการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร และกิจกรรมอื่นๆที่เหมาะสม ต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่59/2564)วศ. ประชุมความร่วมมือ สดช. และ สวทช.เดินหน้าเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคตในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (EECi)

 

A3 3 A3 4

A3 1 A3 2


          15 มีนาคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัย วศ. เข้าร่วมประชุม Autonomous Vehicle Living Lab at EECI ร่วมกับ นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สดช. และดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำกับและดูแลเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) พร้อมด้วยทีมนักวิจัย สวทช. ประชุมหารือความร่วมมือและโอกาสในการทำงานเพื่อสนับสนุนภารกิจของ สดช. และร่วมรับชมการสาธิตการทำงานของรถกอล์ฟขับขี่อัตโนมัติ ณ ลานพระรูป ร.4 หน้าอาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ซอยโยธี กรุงเทพมหานคร
          นพ.ปฐมฯ อธิบดี วศ. กล่าวว่า วศ. มีพันธกิจวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม พัฒนาระบบการวัด และระบบมาตรฐานเพื่อขับเคลื่อนสู่เชิงพาณิชย์ มีภารกิจโดยตรงทางด้านการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ ซึ่งหน่วยงานพันธมิตรให้ความสำคัญในการริเริ่มให้เกิดการศึกษา พัฒนาและผลักดันให้ประเทศไทยเกิดการปรับตัวให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายแห่งอนาคต จึงเกิดโครงการเชิงบูรณาการร่วมกัน วศ.จึงได้วิจัยและพัฒนารถกอล์ฟอัตโนมัติขึ้น (Autonomous Golf Cart) โดยให้นายปาษาณ กุลวานิช นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นอ.) และทีมงานวิจัยพัฒนาในด้านระบบ DRIVE BY WIRE สำหรับควบคุมพวงมาลัย เบรกและคันเร่งด้วยสัญญาณไฟฟ้าควบคุมด้วยสมองกลฝังตัว ระบบควบคุมระยะไกลแบบบังคับมือด้วยสัญญาณวิทยุ และการพัฒนาวิธีทดสอบยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้เพื่อวัดสมรรถนะและความปลอดภัยในการใช้งาน
       สำหรับการประชุมร่วมกันครั้งนี้ทั้งสามฝ่ายเห็นตรงกันว่าจะร่วมมือผลักดันนโยบายขับเคลื่อนเทคโนโลยี CAV อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง สดช.ให้ความสนใจในด้านการจัดตั้ง Living Lab หรือพื้นที่ลองผิดลองถูก แบบ SANDBOX ที่ สวทช. และ EECi กำลังดำเนินการอยู่เป็นอย่างมาก และเห็นพ้องว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีพื้นที่ทดลองแบบเสมือนการใช้งานจริงเช่นที่ EECi โดยจะให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เทคโนโลยีสามารถใช้งานได้จริงและใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทต่างชาติในด้านที่เกี่ยวข้องเข้ามาลงทุนและสร้างระบบนิเวศน์ทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นตัวผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆในประเทศไทย เช่น อุตสาหกรรมด้านหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (Robotics and Ai) ให้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่58/2564)ออท.สวิส เข้าพบ รมว.อว. หารือความร่วมมือด้าน อววน.

A2 2 A2 1

A2 3 A2 4

 

          15 มีนาคม 2564 นางเฮเล บุดลีเกอร์ อาร์ทิเอดา (H.E. Mrs. Helene Budliger Artieda) เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิส ประจำประเทศไทย เข้าพบ ศ.(พิเศษ) ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงฯ หารือความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)โดยมี ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ วศ. เข้าร่วมหารือดังกล่าวด้วย ณ ห้องพระจอมเกล้าชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
        โอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างสองประเทศ ในประเด็นการเชิญชวนให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงของสมาพันธรัฐสวิส เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทยดังเช่น สถาบันการโรงแรม Les Roches ได้เข้ามาจัดตั้งในประเทศไทยก่อนหน้านี้แล้ว โดยอาจจะเข้ามาดำเนินการในรูปแบบสถาบันร่วม หรือการจัดทำหลักสูตรร่วม เพื่อยกระดับการศึกษาไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมสากล
      นอกจากนี้ได้หารือถึงประเด็นความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือ (1) การส่งเสริมความร่วมมือกับเครือข่ายของ ALICE Experiment (ALICE) การผลักดันความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆ ในเครือข่ายของ ALICE เช่น เกี่ยวกับการทำ Microfabrication ซึ่งมี application ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อไทย เช่น สาขาการแพทย์ เป็นต้น (2) การส่งเสริมความร่วมมือในสาขาวัสดุศาสตร์อาหาร การพัฒนาความร่วมมือกับ ETH Zurich รวมถึงแนวทางในการขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และ (3) ความปลอดภัยวัสดุสัมผัสอาหาร การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรโดยแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ทดสอบด้วยเทคนิคต่างๆ เปรียบเทียบผลทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านกฎระเบียบและเทคนิคการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงการติดตามความเคลื่อนไหวของกฎระเบียบให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังคุณภาพสินค้า สำหรับคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศและส่งเสริมการส่งออก

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่57/2564)วศ.ลงพื้นที่ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติ

A1 3 A1 1

A1 4 A1 2

        เมื่อวันที่ 9-11 มีนาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ลงพื้นที่พบกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าดีหมี ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และผู้ประกอบการ บริษัท ภิญโญวานิช จำกัด ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา มุ่งส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติ สนองนโยบายรัฐบาล เรื่องการลด เลิกใช้ พลาสติกเป้าหมาย ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการประชาสัมพันธ์และสำรวจความต้องการเรื่องการรับรองผลิตภัณฑ์ รวมทั้งประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมให้ใช้และผลิตผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติให้มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับการใช้งาน ตลอดจนสามารถแข่งขันและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

  1. (ข่าวที่56/2564)วศ. จัดอบรมขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 :2017 "หลักสูตร การสอบกลับได้และการทวนสอบผลการสอบเทียบ"
  2. (ข่าวที่55/2564)วศ.พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ ด้วยวิธีตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของแข็งแขวนลอย (Total Suspended Solids : TSS)
  3. (ข่าวที่54/2564)วศ. ชวนทุกคน “บอกลาส้นเท้าแตก” พร้อมวิธีดูแลสุขภาพเท้าด้วยตนเอง
  4. (ข่าวที่53/2564)วศ.โชว์ผลงานชุด PPE ฝีมือคนไทยมาตรฐานสากล ในงาน Thailand International Health Expo 2021
  5. (ข่าวที่52/2564)วศ.เปิดบ้านต้อนรับผู้บริหาร ก.อุตสาหกรรม สถาบันอาหาร และผู้ประกอบการ หารืองานวิจัยเครื่องดื่มสารสกัด CBD ตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมและผู้บริโภค
  6. (ข่าวที่51/2564)กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. MOU มูลนิธิ ณภาฯ ต่อยอดการพัฒนาสารสกัดสมุนไพรและหัตถกรรมท้องถิ่นสู่ระดับสากล
  7. (ข่าวที่50/2564)วศ. โชว์ผลงาน Eco Friendly Products จาก กัญชง พืชเศรษฐกิจใหม่ ด้วย วทน.
  8. (ข่าวที่49/2564)อว.แถลงข่าวรับกฎกระทรวงใหม่โดย วศ. เป็นห้องปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เร่งปรับบทบาทรองรับภารกิจบริการทางวิทยาศาสตร์ให้รวดเร็วและมีคุณภาพ
  9. (ข่าวที่48/2564)วศ.ร่วมพิธีน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช
  10. (ข่าวที่47/2564)ราชกิจจานุเบกษาคลอดกฎกระทรวง อว.ให้ วศ. เป็นห้องปฏิบัติการกลางทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ