ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 44/2567) “ศุภมาส” สั่งการ “ทีม DSS” ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำสีชมพู คลองบางแพรก นนทบุรี หวั่นกระทบคุณภาพชีวิตประชาชน

F328 1 F328 3

F328 4 F328 2

 

           วันนี้ 14 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สั่งการให้ทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) นำโดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาคุณภาพน้ำสีชมพูในคลองบางแพรกบริเวณหลัง big c สาขาติวานนท์ โดยร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนนทบุรี ,สำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี ,ผู้นำชุมชนซอยพิชยนันท์,สมาชิกสภาเทศบาลในพื้นที่
           นายแพทย์รุ่งเรืองฯ อธิบดี วศ. กล่าวว่า ตามนโยบายท่านศุภมาสฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่เน้นย้ำด้านการยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการดูแลพี่น้องประชาชนในด้านคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี ทีมเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) จึงได้ลงพื้นที่เร่งด่วนตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว จากการตรวจสอบพบว่า น้ำภายในคลองมีสีชมพู วศ. จึงทดสอบเบื้องต้นด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ จากการเก็บตัวอย่าง 4 จุด เบื้องต้นสภาพน้ำเป็นน้ำเสีย ค่าออกซิเจนน้อยมาก (0.3 mg/L) สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
อย่างไรก็ตาม กรมวิทยาศาสตร์บริการได้เก็บตัวอย่างไปตรวจในรายละเอียดเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกในด้านโลหะหนัก วิเคราะห์ตะกอน และเชื้อก่อโรค ฯลฯ เบื้องต้นคาดว่ามีการปล่อยของเสียที่มีการปนเปื้อนสี สำหรับการสืบหาแหล่งการปล่อย ทางสำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนนทบุรี จะร่วมกันตรวจสอบ โดยใช้หลักฐานผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นหลักฐานการเอาผิด รวมถึงแก้ไขปัญหาและป้องกันการเกิดซ้ำต่อไป
           กรณีประชาชนมีข้อสงสัยด้านคุณภาพน้ำ สามารถติดต่อ วศ. เพื่อดำเนินการทดสอบคุณภาพฯ เนื่องจาก วศ. เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำอ้างอิงที่ได้มาตรฐานของประเทศ ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-201-7000 หรือ www.dss.go.th

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 43/2567) “วศ.อว. พัฒนาเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการกระทรวง อว. สร้างความเข้มแข็งห้องปฏิบัติการ พร้อมยกระดับการบริการภาครัฐสู่ดิจิทัล”

F327 4 F327 1

F327 2 F327 3

 

           ​วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดี และโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการของหน่วยตรวจสอบและรับรอง ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ครั้งที่ 6 โดยมี นายเดช บัวคลี่ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร หัวหน้าโครงการวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำทีมคณะวิจัยโครงการ วศ.อว. ให้ข้อมูลภารกิจของกรมในด้านการส่งเสริมหน่วยตรวจสอบและรับรอง แนวทางการพัฒนาต้นแบบระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการ และมีการหารือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในการพัฒนาห้องปฏิบัติการให้ได้การรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 แนวการพัฒนาต้นแบบระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานเอกชน เข้าร่วมงานรวมทั้งสิ้น 51 คน จัดขึ้น ณ โรงแรมวิศมา ราชบุรี จังหวัดราชบุรี และผ่านระบบออนไลน์
           ทั้งนี้ ดร.พจมาน ท่าจีน กล่าวว่า การพัฒนาระบบดังกล่าวจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้บริการตรวจวิเคราะห์สินค้าผลิตภัณฑ์ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งตรวจวิเคราะห์ได้ง่าย ไม่ต้องเข้าถึงจากหลายแหล่งข้อมูล อีกทั้งยังสามารถต่อยอดให้การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์มีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือ ยังผลให้ไปสู่มาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ไทยที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
          การดำเนินงานในลักษณะบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน วศ.อว. กับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวง อว. จะยกระดับการบริการภาครัฐสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดย วศ. จะพัฒนาระบบดิจิทัลที่เชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการของประเทศ เป็นศูนย์กลางบริการทางห้องปฏิบัติการ และพัฒนาภาคีเครือข่ายห้องปฏิบัติการในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา อว. ให้มีความเข้มแข็ง และให้ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ทั้งนี้ วศ.อว. มุ่งการสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วมในทุกภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยผ่านกลไกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วประเทศ สร้างความมั่นใจในคุณภาพความปลอดภัยของสินค้าผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานทัดเทียมนานาประเทศ ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างมั่นคงยั่งยืน ตลอดไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 42/2567) รมว.อว. “ศุภมาส” ให้ขยายการบริการห้องปฏิบัติการสู่ภูมิภาคและชุมชนทั่วประเทศ เตรียมเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม “นครปฐม” และ ”ราชบุรี” อำนวยความสะดวกประชาชนในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ส่งมอบบริการตรวจวิเคราะห์สินค้าแก่ประชาชนและผู้ประก

F326 3 F326 1

F326 2 F326 1

 

          เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ได้ให้นโยบายแก่กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ให้ความสำคัญกับการการขับเคลื่อนและยกระดับการดูแลประชาชน โดยเน้นย้ำให้ขยายภารกิจสู่ชุมชนและภูมิภาค เพื่อพัฒนาฐานรากเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน การขยายภารกิจให้มุ่งเน้นการทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานให้ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาประเทศระยะยาว และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ให้ขยายการบริการห้องปฏิบัติการสู่ภูมิภาคและชุมชนทั่วประเทศ โดยการเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม วศ. อว. กับหน่วยงานมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ส่งมอบบริการตรวจวิเคราะห์สินค้าและผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ได้มาตรฐานแข่งขันได้ในระดับสากล และให้ดูแลประชาชนด้วยระบบห้องปฏิบัติการในมิติเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานราชการอื่นๆ ในระดับพื้นที่ด้วย
          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. กล่าวว่า วศ. ได้จัดทำแผนการขยายภารกิจสู่ภูมิภาคและระดับชุมชน โดยจะมีการขยาย ”ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม วศ.อว.” กับหน่วยงาน อว.ในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในพื้นที่ต่างๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเน้นความต้องการและความจำเป็นของแต่ละพื้นที่
           ในวันนี้ได้มีการประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (มก.วิทยาเขตกำแพงแสน) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) (มจธ.ราชบุรี) ในการเปิด “ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม วศ.อว. กำแพงแสน นครปฐม” และ “ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการร่วม วศ.อว. มจธ.ราชบุรี” โดยเน้นภารกิจสร้างความร่วมมือทางห้องปฏิบัติการ ให้บริการตรวจวิเคราะห์สินค้าผลิตภัณฑ์ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพความปลอดภัยของสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในภูมิภาค ให้ได้มาตรฐานทัดเทียมนานาประเทศ
           โดยเห็นพ้องในการที่ วศ. รับหน้าที่ห้องปฏิบัติการอ้างอิง พัฒนาระบบเชื่อมโยงบริการทางห้องปฏิบัติการของประเทศ ดูแลการเข้าถึงข้อมูลบริการของภาคีเครือข่ายให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งส่งเสริมห้องปฏิบัติการให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากล สำหรับ มก.วิทยาเขตกำแพงแสน และ มจธ.ราชบุรี จะทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการเครือข่ายในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากล
           การดำเนินงานในลักษณะความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวง อว. จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยผ่านกลไกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างมั่นคงยั่งยืน ตลอดไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 41/2567) รัฐมนตรี “ศุภมาส” ย้ำ วศ. เดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAV) ยกระดับความปลอดภัยยานยนต์ไทย ปูทางสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่เข้มแข็ง

F325 1 F325 4

F325 3 F325 2

 

           เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้เป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ เป็นที่พึ่งของประชาชน และแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ ของประเทศ โดยล่าสุดมอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เร่งเดินหน้าผลักดันโครงการสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAV) ณ EECi วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง เพื่อพร้อมให้บริการอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งเป้ายกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล หวังดึงดูดการลงทุนของบริษัทชั้นนำระดับโลกทางด้าน Future mobility และเป็นตัวเร่งให้เกิดระบบนิเวศน์ของบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
           นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2565 – 2568) ครอบคลุมการก่อสร้างสนามทดสอบ CAV สำหรับใช้ทดสอบระบบนำทางของรถอัตโนมัติ จำลองลักษณะของถนนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในเขตเมือง สัญญาณจราจร ป้ายจราจร อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย เช่น รั้วกันชน พื้นที่อับสัญญาณ เช่น อุโมงค์หรือหลังคา พื้นที่รบกวนสัญญาณภาพ เช่น พื้นที่มีเงารบกวนจากต้นไม้ พร้อมทั้งทดสอบระบบขับเคลื่อนของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV รวมไปถึงระบบสื่อสารและโทรคมนาคมแบบ WiFi, 4G LTE, 5G 2600MHz เพื่อตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของโปรแกรมการนำทางและโปรแกรมเสริมความปลอดภัยในการขับขี่ รวมทั้งทดสอบการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างศูนย์ควบคุมกับรถอัตโนมัติหรือระหว่างรถอัตโนมัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมาตรฐานของสนามได้รับการรับรองจาก IDIADA ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรรมชั้นนำระดับโลกที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานทางด้านการทดสอบยานยนต์มากกว่า 25 ปี
           ในปี 2566 วศ.อว. ได้ให้บริการทดสอบเพื่อยืนยันสมรรถนะระบบ Automatic Emergency Braking (AEB) ให้กับผู้ประกอบการ 3 ราย ได้แก่ BMW (Thailand) (BMW 530e) GPSC (Chery EQ5) และ Horizon Plus (MG ZS EV 2022) โดยบริษัท Horizon Plus จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Foxconn และ บริษัท ปตท. จำกัด มีเป้าหมายในการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ราคาประหยัดในประเทศไทยเพื่อใช้ในประเทศรวมทั้งเพื่อส่งออกไปยังประเทศ อื่นๆ เช่น อินเดีย โดยบริษัท Horizon Plus ได้ร่วมมือกับ วศ. ในการเตรียมขั้นตอนการทดสอบระบบ advance driver assistance system (ADAS) และระบบ autonomous driving (AD) โดยการผลิตดังกล่าวจะอยู่ที่โรงงานผลิตยานยนต์ของ Horizon Plus ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะนอกจากนี้ วศ.อว. ยังได้ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ มุ่งเน้นที่
            การทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยของระบบ assisted/automated driving (ระบบช่วยขับขี่และระบบ ขับขี่อัตโนมัติ level 3-4) จำนวน 4 นวัตกรรม ได้แก่ รถไฟฟ้าอัตโนมัติ (BYD e6) ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) รถกอล์ฟไฟฟ้าอัตโนมัติของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบบเก็บข้อมูลการเคลื่อนที่แบบใช้ GNSS แม่นยำสูง และหุ่นยนต์ส่งของระดับความอัตโนมัติ Level 4 ยี่ห้อ NEOLIX
           ดังนั้น เมื่อโครงการนี้เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ วศ.อว. มั่นใจว่าจะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และหุ่นยนต์ของประเทศให้ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ EEC และในประเทศโดยคาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ถึง 200,000 ล้านบาทภายในปี พ.ศ. 2573 โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของไทยให้สามารถสร้างนวัตกรรมที่ขายได้ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มีผู้ประกอบการทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในไทยเพิ่มขึ้น และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์รถอัตโนมัติ ยานยนต์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยในการขับขี่ (ADAS) ของไทยได้เอง

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 40/2567) “ศุภมาศ” รมว. อว. สั่งการ “ทีม DSS” ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญเพื่อสร้างมาตรการความปลอดภัยแก่ประชาชน

 

F324 4 F324 3

F324 1 F324 2

 

           เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สั่งการให้ทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) นำโดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ ในเขต กทม. ตามที่เป็นข่าวจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญกว่า 90% ใน ‘กทม.’ อันตราย! ‘ไร้ใบอนุญาต-พบสารปนเปื้อน’ นั้น
ทีม DSS เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติเช่น ความกระด้าง สี กลิ่น จุลินทรีย์ และปริมาณสารปนเปื้อน รวมถึงความเหมาะสมของสถานที่ติดตั้งตู้น้ำดื่ม ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องน้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนในการเลือกซื้อน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
           นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวว่า ตามนโยบายท่านศุภมาสฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่เน้นย้ำให้ดูแลพี่น้องประชาชนในด้านคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี วศ. ได้จัดตั้งทีมนักวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) ลงพื้นที่ในเขต กทม. พิกัดบ้านพักสวัสดิการกองทัพบก , ซอยมั่นสิน , ฝั่งสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งจราจร ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ , ชุมชนสระแก้ว ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ และซอยบุญอยู่ เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ พบว่าน้ำดื่มบางตู้นั้นไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนและเชื้อจุลินทรีย์เกินข้อกำหนด มีสิ่งปนเปื้อนอันตรายจากเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำดื่มอาจก่อให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น อี.โคไล สแตปฟิโลคอคคัส หากบริโภคน้ำดื่มปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย ฯลฯ ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค
ทั้งนี้ วศ. ขอแนะนำให้ประชาชนที่ใช้บริการตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ตั้งข้อสังเกตตรวจสอบสติ๊กเกอร์ตู้น้ำดื่มปลอดภัยของสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กทม. รวมถึงเลือกตู้ที่มีที่ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่มีฝุ่นละออง แหล่งระบายน้ำเสียและขยะมูลฝอยไม่น้อยกว่า 30 เมตร เป็นบริเวณที่ไม่เฉอะแฉะสกปรก ตู้ต้องมีฝาเปิดปิดช่องรับน้ำ และสภาพตู้น้ำต้องไม่เป็นสนิม สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้น้ำที่มีความสะอาดปลอดภัย เสริมสร้างสุขภาพอนามัย ตามเกณฑ์น้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก
           กรณีประชาชนมีข้อสงสัยด้านคุณภาพน้ำ สามารถติดต่อ วศ. เพื่อดำเนินการทดสอบคุณภาพน้ำ เนื่องจาก วศ. เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำอ้างอิงที่ได้มาตรฐานของประเทศ ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-201-7000 หรือ www.dss.go.th

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 39/2567) วศ.อว. เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยการขยายขอบข่ายด้านการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
  2. (ข่าวที่ 38/2567) “วศ.อว. ร่วมมือ อย. เตรียมเปิดศูนย์ One Stop Service และร่วมตรวจสอบ ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ร่วมดูแลมาตรฐานความปลอดภัยประชาชน”
  3. (ข่าวที่ 37/2567) วศ.อว. เข้าร่วมรับเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในโอกาสเสด็จเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ PACCON 2024
  4. (ข่าวที่ 36/2567) อธิบดี วศ. "หมอรุ่งเรือง” สนับสนุนประชาชนรักสุขภาพ เป็นประธานเปิดกิจกรรม "วิ่งให้โอกาส 2024" เครือข่ายร้านยากรุงเทพ มอบเงิน 1 ล้านบาทให้มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม รักษาเด็กปากแหว่ง เพดานโหว่
  5. (ข่าวที่ 35/2567) กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 วศ.อว.ร่วมเฝ้ารับเสด็จ
  6. (ข่าวที่ 34/2567) วศ.อว. ต้อนรับ "หมอรุ่งเรือง" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ถือฤกษ์ดีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในหน่วยงาน พร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ
  7. (ข่าวที่ 33/2567) วศ. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์ รายการ Minerals (Ca, Cu, Fe, Mg, Mn, K, Na, Zn and P) in feeding stuffs
  8. (ข่าวที่ 32/2567) วศ.อว. ลงพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และห้องปฏิบัติการทดสอบให้ได้มาตรฐาน
  9. (ข่าวที่ 31/2567) “ศุภมาส” เปิดตัวรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ ต้นแบบเทคโนโลยี 5G คันแรกของไทย หนุนระบบอัตโนมัติช่วยลดอุบัติเหตุ พร้อมขยายผลสู่พื้นที่อื่นของประเทศ
  10. (ข่าวที่ 30/2567) ยาวนานที่ยั่งยืน ครบรอบ 133 ปี กรมวิทยาศาสตร์บริการ “หน่วยงานหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมไทย