ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 34/2567) วศ.อว. ต้อนรับ "หมอรุ่งเรือง" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ถือฤกษ์ดีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในหน่วยงาน พร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ

F318 1 F318 4

F318 2 F318 3

 

          2 กุมภาพันธ์ 2567 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567
โดยช่วงเช้าวันนี้ นายแพทย์รุ่งเรืองฯ ได้เข้าสักการะศาลพระภูมิเจ้าที่ประจำ วศ. สักการะองค์พระนารายณ์ และรูปปั้น ดร.ตั้ว ลพานุกรม อธิบดี วศ.คนแรก จากนั้นสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย โดยมีคณะผู้บริหาร และบุคลากร วศ.ร่วมในพิธีและต้อนรับอย่างอบอุ่นนอกจากนี้ อธิบดีฯ รุ่งเรือง ได้ถือโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะผู้บริหาร และบุคลากร วศ. เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี เป็นการส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมและสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 33/2567) วศ. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์ รายการ Minerals (Ca, Cu, Fe, Mg, Mn, K, Na, Zn and P) in feeding stuffs

F317 4 F317 2

F317 1 F317 3

 

          วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างอาหารสัตว์ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 63 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัดรายการ Minerals (Ca, Cu, Fe, Mg, Mn, K, Na, Zn and P) in feeding stuffs และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อประเมินผลทางสถิติด้วยวิธีการเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
          ในธรรมชาติเนื้อเยื่อของสัตว์และอาหารสัตว์จะประกอบด้วยสารอนินทรีย์ หรือแร่ธาตุต่างๆ ในปริมาณที่แตกต่างกันไป ความต้องการแร่ธาตุของสัตว์จะผันแปรไป ขึ้นกับชนิดพันธุ์ อายุ และสภาพของการให้ผลผลิต เป็นต้น โดยปกติความต้องการแร่ธาตุมีส่วนโดยตรงกับการให้ผลผลิตของสัตว์ การผสมแร่ธาตุสำหรับสัตว์นั้นต้องคำนึงถึงความต้องการของแร่ธาตุที่จำเป็นแต่ละชนิด ระดับความเป็นประโยชน์ของแร่ธาตุในแหล่งแร่ธาตุที่นำมาใช้ ระดับการกินต่อตัวต่อวัน และความเข้มข้นของระดับแร่ธาตุที่จำเป็นในสูตรอาหารนั้น เมื่อแบ่งกลุ่มของแร่ธาตุออกตามความจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย สามารถแบ่งกลุ่มของแร่ธาตุออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ
         1. กลุ่มแร่ธาตุที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการสร้างโครงร่างของร่างกาย (structural elements) เช่น แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P) เป็นต้น
         2. กลุ่มแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของของเหลวในร่างกายและเนื้อเยื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความสมดุลของกรดและด่าง การรักษาแรงดันออสโมติก (Osmotic pressure) ในร่างกาย เช่น โซเดียม (Na) โพแตสเซียม (K) และคลอไรด์ (Cl) เป็นต้น
         3. กลุ่มแร่ธาตุที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และฮอร์โมน เช่น ธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) แมงกานีส (Mn) แมกนีเซียม (Mg) และสังกะสี (Zn) เป็นต้น
         ปริมาณแร่ธาตุในอาหารสัตว์จะต้องได้รับการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามโภชนาในอาหารสัตว์ที่กำหนด ดังนั้น ผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญ เนื่องจากใช้บ่งชี้และตรวจสอบปริมาณแร่ธาตุที่มีในอาหารสัตว์ การที่จะให้ผลการทดสอบถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเลือกใช้วิธีทดสอบ ซึ่งแต่ละห้องปฏิบัติการอาจใช้วิธีวิเคราะห์ทดสอบที่เป็นมาตรฐานหรือวิธีทดสอบที่ห้องปฏิบัติการดัดแปลงขึ้น ประสบการณ์และความชำนาญของผู้วิเคราะห์ทดสอบ นอกจากนี้การควบคุมคุณภาพผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการถือเป็นปัจจัยหลักที่ห้องปฏิบัติการจะต้องตระหนัก และดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งการควบคุมคุณภาพภายในและภายนอก

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 32/2567) วศ.อว. ลงพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และห้องปฏิบัติการทดสอบให้ได้มาตรฐาน

F316 2 F316 4

F316 1 F316 3

 

          วันที่ 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นายก่อพงศ์ หงษ์ศรี หัวหน้ากลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม พร้อม ทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ ณ บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) จังหวัดอ่างทอง บริษัทซี.เอ.เอส.เปเปอร์ จังหวัดสิงห์บุรี บริษัทฟางไทยแฟคเทอรี่ จำกัด จังหวัดลำปาง และบริษัทสยามพรหมระทาน จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกในด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเยื่อและกระดาษตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 พร้อมทั้งให้คำแนะนำการปรับตั้งและสอบเทียบเครื่องมือทดสอบด้านเยื่อและกระดาษให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
​          นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความร่วมมือในการพัฒนาต่อยอดด้านงานวิจัยและการวิเคราะห์ทดสอบที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมเส้นใย เยื่อและกระดาษ โดยมีปัจจัยมาจากการขยายตัวของบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ด้านกระดาษในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค อาทิ บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแช่แข็งและอาหารแปรรูปเพื่อการส่งออก บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภค บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าเพื่อสุขอนามัย รวมถึงการเติบโตของภาคการส่งออกจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อภาพรวมการใช้กระดาษและบรรจุภัณฑ์

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 31/2567) “ศุภมาส” เปิดตัวรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ ต้นแบบเทคโนโลยี 5G คันแรกของไทย หนุนระบบอัตโนมัติช่วยลดอุบัติเหตุ พร้อมขยายผลสู่พื้นที่อื่นของประเทศ

F315 4 F315 1

F315 3 F315 2

 

          เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสาธิตการใช้งานรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับต้นแบบร่วมกับการสื่อสารด้วยโมบายแอปพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยี 5G คันแรกของไทย โดยมี นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายประพันธ์ ตรีบุบผา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ว่าที่ร้อยตรีสมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีนครพระนครศรีอยุธยา นายสยาม เตียวตรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน และหัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มจธ. เข้าร่วม ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          นางสาวศุภมาส กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าไร้คนขับต้นแบบฯ ดำเนินการโดย มจธ. และ บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) โดยมี วศ. ร่วมในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ด้านรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ และเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G รวมทั้งดำเนินการทดสอบและสาธิตการใช้งานรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับในเขตโบราณสถานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และขยายผลไปยังพื้นที่อื่นในอนาคต ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายจะได้แบ่งปันองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนบุคลากร ในการดำเนินโครงการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติร่วมกัน เพื่อพัฒนางานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริงและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
          “นี่ถือเป็นโครงการแรกๆ ของประเทศในการพัฒนารถไร้คนขับ ซี่งจะนำมาสู่การพัฒนาและต่อยอดได้ในอนาคต โดยมีเป้าหมายสร้างรถที่ช่วยลดอุบัติเหตุ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อเทคโนโลยี C-V2X (Cellular Vehicle-to-Everything) แพร่หลายมากขึ้น ยานยนต์ไฟฟ้ามีการนำไปเชื่อมต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ในเส้นทางสัญจร จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชนที่ใช้เส้นทางร่วมกัน เพราะระบบอัตโนมัติจะมาช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ และจะเป็นการนำเครือข่าย 5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคด้วย” และเป็นหน่วยบริการสำคัญให้กับทุกภาคส่วนต่อไป” รมว.อว.กล่าว
           ด้านนายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวถึงบทบาทความร่วมมือสำคัญของ วศ. ในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ว่า โครงการดังกล่าว วศ. ได้ร่วมพัฒนาและทดสอบระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ หรือ Advanced Driver-Assistance System: ADAS ไปจนถึงระบบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (Connected and Autonomous Vehicle: CAV) พร้อมทั้งศึกษาและพัฒนาวิธีทดสอบสมรรถนะ และระบบความปลอดภัยของยานยนต์สมัยใหม่ ที่จะมีบทบาทสำคัญสำหรับอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ฯลฯ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมระดับ Mega Trend ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ อีกทั้ง วศ. ได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAV) ที่ EECi วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง เพื่อจัดทำเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์แห่งอนาคตของประเทศ นอกจากนี้ วศ. ตั้งเป้าใช้ประโยชน์จากศูนย์ T-CAV เป็นแหล่งให้บริการศึกษาวิจัยด้านความปลอดภัยในการขับขี่และผู้ใช้ถนน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 30/2567) ยาวนานที่ยั่งยืน ครบรอบ 133 ปี กรมวิทยาศาสตร์บริการ “หน่วยงานหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมไทย

F314 1 F314 3

F314 4 F314 2


          กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หน่วยงานที่เติบโตมาจากสถานปฏิบัติการวิเคราะห์แร่ กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อปี พ.ศ.2434 ทำหน้าที่วิเคราะห์แร่ที่ใช้ในการทำเหรียญกษาปณ์ ก่อนจะปรับเป็น “ศาลาแยกธาตุ” เปลี่ยนผ่านหน่วยงานต้นสังกัดหลายครั้งจนยกฐานะเป็น “กรมวิทยาศาสตร์” สังกัดกระทรวงเศรษฐการ และเป็นหน่วยงานตั้งต้นให้กับหลายๆ หน่วยงาน โดยวันที่ 30 มกราคม 2476 ให้ใช้พระราชกฤษฎีการจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงและได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “กรมวิทยาศาสตร์บริการ” ในปี พ.ศ.2522 ปัจจุบันสังกัดกระทรวง อว.
          และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 นับเป็นปีที่ 133 ของการก่อตั้งกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยคณะผู้บริหาร ข้าราชการและบุคลากร วศ. ได้จัดพิธีทำบุญครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา ฯ และนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มาทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์พร้อมถวายภัตตาหารเพล นำโดย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยข้าราชการเกษียณ และบุคลากร วศ. ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีและร่วมแสดงความยินดีอย่างอบอุ่น ณ ห้องประชุมวิทยวิถี อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กล่าวว่า ตนเองรู้สึกภูมิใจที่ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารงานในกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ที่มีประวัติการพัฒนาการอย่างยาวนานถึง 133 ปี และนับต่อไปจากนี้เราจะยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนภารกิจงานบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การพัฒนาโดยยึดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ เราพร้อมสนับสนุนภาคการผลิตและบริการให้สามารถยกระดับมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ทัดเทียบนานาประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างมั่นคงยั่งยืน ตลอดไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 29/2567) วศ. มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เสริมสร้างความเชื่อมั่นผลการทดสอบคุณภาพสินค้า ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
  2. (ข่าวที่ 28/2567) วศ. ส่งเสริมการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรม PT รายการ Mercury (Hg) in water
  3. (ข่าวที่ 27/2567) วศ.อว. จัด "DSS Sport Day" สร้างทีม เชื่อมความสามัคคี ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีแก่องค์กร
  4. (ข่าวที่ 26/2567) วศ.อว. ส่งเสริมและพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Ash and pH – value in Flour
  5. (ข่าวที่ 25/2567) วศ. เข้าร่วมประชุมหารือกับสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านฝึกอบรมเรื่องระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 17025 แก่นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมการเลี้ยงสัตว์และประมง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลา
  6. (ข่าวที่ 24/2567) วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาเคมี รายการ Standard solution: Hydrochloric acid (HCl) and Ethylenediaminetetraacetic acid (EDTA)
  7. (ข่าวที่ 23/2567) วศ.อว. จัดประชุมคณะอนุกรรมการการรับรองความสามารถบุคลากรสาขา การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม ตามระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 ครั้งที่1/25667 ประจำปีงบประมาณ 2567
  8. (ข่าวที่ 22/2567) วศ.อว. ยึด ITA ขับเคลื่อนองค์กร มุ่งพัฒนาระบบงานอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพทั้งการปฏิบัติงานและการให้บริการ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
  9. (ข่าวที่ 21/2567) กรมวิทย์ฯบริการ ร่วม ครม.สัญจรฝั่งอันดามัน นำเทคโนโลยีตอบโจทย์ชุมชนจังหวัดระนอง พร้อมโชว์ผลงานเด่นต้อนรับ รมว.อว.ศุภมาสฯ
  10. (ข่าวที่ 20/2567) โปรดเกล้าฯ "หมอรุ่งเรือง" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. คนใหม่