ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 29/2567) วศ. มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เสริมสร้างความเชื่อมั่นผลการทดสอบคุณภาพสินค้า ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

F313 1 F313 3

F313 4 F313 2

 

          วันที่ 30 มกราคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นประธานในพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ รวม 15 หน่วยงาน ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

          นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้กับสินค้าและบริการต่างๆ ของประเทศ ด้วยเหตุนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure, NQI) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนากิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานระดับประเทศหลายองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องอาศัยการวิเคราะห์ทดสอบ การกำหนดมาตรฐาน และการพัฒนามาตรฐานในด้านต่างๆ หน่วยรับรองระบบงานจึงถือเป็นหนึ่งหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน เพื่อให้สอดรับกับสภาพการณ์ข้างต้น ซึ่งประเทศไทยยังมีความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพตามการปรับเปลี่ยนของความก้าวหน้าของเทคโนโลยี พฤติกรรมของผู้บริโภค กฎระเบียบ สภาพแวดล้อม กลไกและรูปแบบของธุรกิจ เพื่อเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการเชิงคุณภาพโดยมีเป้าหมายการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก การได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ถือเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพและความสามารถของหน่วยงานด้านห้องปฏิบัติการให้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ผู้บริโภคและประชาชนมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผลิตโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
           นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ วศ. ได้กล่าวรายงานหน่วยงานที่เข้ารับใบรับรองระบบงานฯ ในครั้งนี้ ได้แก่
1. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
2. ห้องปฏิบัติการ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) วังสมบูรณ์
3. ห้องปฏิบัติการ บริษัท แสงทอง อาหารสัตว์ จำกัด
4. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขาทุ่งสง
5. ห้องปฏิบัติการทดสอบเอทานอล บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน)
6. ศูนย์วิทยาการวินิจฉัยโรคสัตว์ บริษัท ไทยฟู้ดส์ รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ จำกัด สาขาปราจีนบุรี
7. หน่วยตรวจวิเคราะห์ทางสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงลกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
8. ห้องปฏิบัติการ บริษัท มิตรสมบูรณ์ จำกัด
9. ห้องปฏิบัติการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (สาขาปทุมธานี)
10. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท แอ็กโฟรีแพ็กซ์ อินดัสตรีส์ จำกัด
11. สถานพัฒนามาตรฐานและเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารตกค้างทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร
12. Agricultural Products Analytical Laboratory (APAL)
13. OMIC Inspection & Surveying Co., Ltd. (Myanmar)
14. ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
15 ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
          กรมวิทยาศาสตร์บริการพร้อมผลักดันและส่งเสริมให้หน่วยตรวจสอบและรับรองทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 28/2567) วศ. ส่งเสริมการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรม PT รายการ Mercury (Hg) in water

F312 2 F312 4

F312 1 F312 3

 

           ปรอท (Mercury) เป็นธาตุลำดับที่ 80 ในตารางธาตุ และมีสัญลักษณ์ คือ “Hg” เป็นโลหะชนิดเดียวที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง มีสีเงินวาว สามารถกลิ้งไหลได้ เป็นโลหะหนักที่สามารถพบได้ทั่วไปจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมและน้ำเสีย อาทิ โรงงานผลิตก๊าซคลอรีน โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ โรงงานผลิตสี และโรงงานหลอมโลหะฯ หากมีการจัดการที่ไม่ดีอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน และแพร่เข้าสู่แหล่งน้ำรวมถึงห่วงโซ่อาหาร เมื่อเข้าสู่ร่างกายสามารถทำให้เกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน และสร้างผลกระทบต่อระบบร่างกายอย่างถาวร เป็นอันตรายสูงมากต่อสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันหน่วยงานกำกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสินค้าอุปโภคและบริโภค ให้ความสำคัญในการตรวจสอบ และกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ รวมถึงปริมาณต่ำสุดที่สามารถพบในน้ำดื่มและน้ำเสียภายในประเทศ ดังนั้น ความสามารถของห้องปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบปริมาณของปรอทในผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบจึงสำคัญอย่างมาก ซึ่งการทดสอบความสามารถของห้องปฏิบัติการเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในด้านการประกันคุณภาพผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการ
           กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฎิบัติการ (บท.) ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 29 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 92 ห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการต่างประเทศ จำนวน 2 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทดสอบผลการวัด รายการ Mercury (Hg) in water และกำหนดให้ส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ
          ทั้งนี้ ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการถือเป็นการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการเน้นสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งสามารถบ่งชี้ปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข และก่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 27/2567) วศ.อว. จัด "DSS Sport Day" สร้างทีม เชื่อมความสามัคคี ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีแก่องค์กร

F311 2 F311 4

F311 1 F311 3

 

          กิจกรรมกีฬาสี หรือ Sport Day นับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่หลายๆ องค์กรนิยมจัดให้กับบุคลากรในหน่วยงาน เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเสริมสร้างสุขภาวะ โดยจุดประสงหลักไม่ใช่ผลแพ้ชนะ แต่เพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันนอกเหนือจากภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ
          เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สร้างบรรยากาศดีๆ ให้แก่บุคลากรด้วยการจัดกิจกรรมกีฬาสี “DSS Sport Day” โดยมีผู้บริหารและบุคลากร วศ. ทุกระดับรวมกว่า 600 คนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียงกัน และในช่วงเช้าได้รับเกียรติจากนางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งชวนทีมผู้บริหาร วศ. เล่นกีฬามหาสนุก สร้างความสนุกสนานและขวัญกำลังใจแก่บุคลากร โดยนางสาวภัทริยาฯ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมกีฬาสี “DSS Sport Day” เป็นการเชื่อมความสามัคคีและสร้างวัฒนธรรมที่ดีขององค์กรซึ่งมีมาต่อเนื่องทุกๆ ปี นับเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาว วศ. ทั้งนี้ ผู้บริหารพร้อมส่งเสริมสนับสนุนทุกกิจกรรมดีๆ เพื่อสร้างสมดุลในการทำงานและคุณภาพชีวิตของทุกๆ คน ให้มีสภาพแวดล้อมและสุขภาวะที่เหมาะสม ต่อไป
          สำหรับข้อดีของการจัดกิจกรรมกีฬาสี Sport Day มีมากมายหลายประการ ได้แก่
               คลายเครียดจากการทำงาน ด้วยปัจจุบันผลกระทบจากการทำงานมีความตึงเครียดหลายด้าน ส่งผลต่อจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกที่อาจทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานน้อยลง กีฬาสีจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สมาชิกในองค์กรได้คุยกันมากขึ้น รู้สึกถึงการได้ผ่อนคลายตนเอง ผ่านการออกกำลังกายโดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมอารมณ์และจิตใจ
               กระชับมิตรระหว่างเพื่อนร่วมงานในองค์กร ยิ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ สมาชิกขององค์กรก็อาจจะไม่รู้จักกันทั้งหมด กีฬาสีจึงเป็นส่วนที่ช่วยให้สมาชิกได้ทำความรู้จักคนใหม่ๆ หลอมรวมให้ทุกคนมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในองค์กร
              ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม มีความสำคัญมาก เป็นแรงขับเคลื่อนองค์กรให้เข้มแข็งและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกในองค์กรรู้จักการเคารพและฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมถึงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในทีม
เคารพกติกาของกีฬา เป็นส่วนที่จะช่วยฝึกการเคารพระเบียบข้อปฏิบัติขององค์กร เพื่อความเรียบร้อย
               ร่างกายแข็งแรงพร้อมรับแรงใจจากเสียงเชียร์ข้างสนาม ช่วยสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นกับทุกคน เมื่อสมาชิกขององค์กรรู้สึกสนุกสนานก็จะมีแรงขับเคลื่อน มีกำลังใจในการร่วมกันพัฒนาองค์กรในทางที่ดีขึ้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่ 26/2567) วศ.อว. ส่งเสริมและพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหาร รายการ Moisture, Protein, Ash and pH – value in Flour

F310 1 F310 2

F310 3 F310 4

 

          “แป้ง” ทำมาจากส่วนของพืชที่มีการสะสมอาหาร เช่น เมล็ดของข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง หรือส่วนหัว ได้แก่ มันสำปะหลัง มันฝรั่ง มันเทศ และเผือก ผ่านกระบวนการทำให้ละเอียดด้วยวิธีการบดหรือโม่ แป้งที่ผลิตได้โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นผงแห้ง มีองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต
          “Flour” คือ ผงแป้งที่ได้จากการนำส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เมล็ด ราก หัว มาบดละเอียด โดยเมล็ดมีองค์ประกอบ เช่น โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร ความชื้น และอื่นๆ ที่รวมอยู่ด้วยกันในจำนวนมาก สำหรับที่จำหน่ายใช้ในการผลิตอาหาร ได้แก่ แป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด และแป้งถั่วเขียว เป็นต้น เนื่องจากแป้งแต่ละประเภทมีลักษณะและสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกแป้งสำหรับการผลิตอาหารนั้น ผู้ประกอบการต้องเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพและรสชาติที่เหมาะสมที่สุด
          กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 โดยจัดส่งตัวอย่างผงแป้ง (Flour) ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 22 มกราคม 2567 จำนวน 134 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้นำไปทดสอบผลการวัด รายการ Moisture, Protein, Ash and pH – value in Flour จากนั้นส่งผลกลับมายัง วศ.ภายในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง ตลอดจนบ่งชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานรัฐบาล และเอกชน สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

 

(ข่าวที่ 25/2567) วศ. เข้าร่วมประชุมหารือกับสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านฝึกอบรมเรื่องระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 17025 แก่นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมการเลี้ยงสัตว์และประมง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลา

F309 1 F309 4

F309 3 F309 2

 

          วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ อาคารห้องปฏิบัติการอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ.ปทุมธานี ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.วศ.) และ นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (บร.วศ.) และทีมงาน ได้เข้าพบ นายอุดร ศรีแสง นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ รักษาการหัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาการวิเคราะห์อาหารสัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ นางสาวณุทนาถ โคตรพรหม นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ และ ดร.เอกชา ตนานนท์ชัย นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์ เพื่อจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมด้านระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 17025 ให้แก่บุคลากรห้องปฏิบัติการของกรมการเลี้ยงสัตว์และประมง กระทรวงเกษตรและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในการเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการ เพื่อขอการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการให้ได้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศในครั้งนี้ จะส่งผลให้สินค้าส่งออกประเภทอาหารสัตว์ที่ผลิตใน สปป.ลาว ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือของตลาดโลก ยกระดับความเข้มแข็งด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) สปป.ลาว ส่งผลให้เกิดกลไกเศรษฐกิจหมุนเวียน ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมความเข้มแข็งทางสังคม เศรษฐกิจและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในประเทศ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่ 24/2567) วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาเคมี รายการ Standard solution: Hydrochloric acid (HCl) and Ethylenediaminetetraacetic acid (EDTA)
  2. (ข่าวที่ 23/2567) วศ.อว. จัดประชุมคณะอนุกรรมการการรับรองความสามารถบุคลากรสาขา การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม ตามระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 ครั้งที่1/25667 ประจำปีงบประมาณ 2567
  3. (ข่าวที่ 22/2567) วศ.อว. ยึด ITA ขับเคลื่อนองค์กร มุ่งพัฒนาระบบงานอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพทั้งการปฏิบัติงานและการให้บริการ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
  4. (ข่าวที่ 21/2567) กรมวิทย์ฯบริการ ร่วม ครม.สัญจรฝั่งอันดามัน นำเทคโนโลยีตอบโจทย์ชุมชนจังหวัดระนอง พร้อมโชว์ผลงานเด่นต้อนรับ รมว.อว.ศุภมาสฯ
  5. (ข่าวที่ 20/2567) โปรดเกล้าฯ "หมอรุ่งเรือง" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. คนใหม่
  6. (ข่าวที่ 19/2567) วศ.อว. เปิดแลป ต้อนรับนักเรียนโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชศรีมา เสริมสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับวิศวกรไทยในอนาคต
  7. (ข่าวที่ 18/2567) วศ.อว. จับมือ SMEs จ.เลย มุ่งยกระดับคุณภาพกาแฟสู่มาตรฐานระดับอุตสาหกรรม
  8. (ข่าวที่ 16/2567) วศ.อว. ส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านความยาวและมิติด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ
  9. (ข่าวที่ 15/2567) วศ.อว. ต้อนรับคณะผู้บริหารและบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหาสารคาม หารือแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
  10. (ข่าวที่ 14/2567) วศ.อว. ร่วมกิจกรรมอบรมธรรมะ การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา