โครงสร้างกอง : กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร (อว.)

แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม

1. กลุ่มอำนวยการผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร (อก.อว.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ศึกษาวิเคราะห์และและจัดการระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการภายในกองให้ได้มาตรฐาน
  • ประสานงานและบริหารจัดการตัวอย่างเพื่อการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ตามความต้องการของผู้รับบริการ
  • ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนการพัฒนาและยกระดับความสามารถของห้องปฏิบัติการภายในกอง
  • ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
  • งานธุรการ งานด้านสารบรรณ บุคลากร พัสดุ การเงินงบประมาณ ภายในกองและ ประสานงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกโครงการ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. กลุ่มวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน (วอ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านอาหารของอาเซียนสาขาวัสดุสัมผัสอาหาร
  • ทดสอบสมบัติและความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหาร และสารปนเปื้อนในอาหารอันเนื่องมาจากวัสดุสัมผัสอาหาร ตามข้อกำหนด กฎระเบียบของประเทศ และประเทศคู่ค้าเพื่อควบคุมคุณภาพการผลิต
  • ออกใบรับรองสินค้า (Certificate of Analysis, COA) ประเภทวัสดุสัมผัสอาหารให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อการส่งออก
  • ศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหาร เพื่อแก้ไขปัญหากระบวนการผลิต เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และใช้ในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์
  • พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร ขยายขอบข่ายการรับรองความสามารถ ห้องปฏิบัติการ และรักษาระบบประกันคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผลการทดสอบมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ
  • ติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรฐาน ข้อกำหนด กฎระเบียบในด้านวัสดุสัมผัสอาหาร เพื่อเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการในการรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ หรือปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุสัมผัสอาหารแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

3. กลุ่มอาหารสุขภาพ (อภ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ทดสอบสารสำคัญในอาหารฟังก์ชันเพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารมูลค่าสูงและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพของประเทศ
  • ทดสอบคุณค่าทางโภชนาการและองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนขอการรับรองตามกฎหมายควบคุมอาหารและมาตรฐานสินค้าภายในประเทศ
  • วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารให้ทันตามกฎระเบียบและเพื่อการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
  • สร้างเครือข่ายหรือปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดกฎระเบียบ และมาตรฐานด้านอาหารทั้งในและต่างประเทศ
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านคุณค่าทางโภชนาการและองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์อาหาร
  • พัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

4. กลุ่มความปลอดภัยในอาหาร (ปภ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิเคราะห์ทดสอบความปลอดภัยในอาหารด้านสารปนเปื้อนและวัตถุเจือปนในผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนหรือขอการรับรองตามกฎหมายควบคุมอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • วิจัย และพัฒนา เทคโนโลยี นวัตกรรมของวิธีทดสอบความปลอดภัยในอาหารด้านสารปนเปื้อนและวัตถุเจือปนในอาหารให้ทันตามกฎระเบียบและตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ และใช้ในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร
  • พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยในอาหาร ขยายขอบข่ายการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ และรักษาระบบประกันคุณภาพตามมาตรฐานสากล
  • ติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรฐาน ข้อกำหนด กฎระเบียบในด้านความปลอดภัยในอาหาร เพื่อเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการในการรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ
  • สร้างเครือข่ายหรือปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดกฎระเบียบ และมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีความปลอดภัยในอาหาร ด้านสารปนเปื้อนและวัตถุเจือปนในอาหาร รวมทั้งการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

5. กลุ่มคุณภาพทางจุลชีววิทยาในอาหาร (จว.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ทดสอบตัวอย่างอาหาร น้ำ และวัสดุสัมผัสอาหารเพื่อความปลอดภัยและคุณภาพทางจุลชีววิทยา
  • วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านจุลินทรีย์ในอาหาร เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการทดสอบ ในการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
  • สร้างเครือข่ายหรือปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดกฎระเบียบ และมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ อบรม และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านจุลชีววิทยาในอาหาร
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

6. กลุ่มน้ำอุปโภคและบริโภค (นบ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ทดสอบ ตรวจสอบ ตรวจวัด ตรวจพิสูจน์ วินิจฉัยทางวิทยาศาสตร์ของตัวอย่างน้ำอุปโภคบริโภคที่เกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนหรือขอการรับรองตามกฎหมายควบคุมภายในประเทศตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมถึงมาตรฐานต่างประเทศ
  • วิจัย พัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบ การพัฒนาวิธีทดสอบใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมของน้ำอุปโภคบริโภค ให้ทันตามกฎระเบียบและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมและใช้ในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์
  • พัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  • สร้างเครือข่ายหรือปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดกฎระเบียบ และมาตรฐานน้ำอุปโภคบริโภคทั้งในและต่างประเทศ
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับน้ำอุปโภคบริโภค
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

7. กลุ่มคุณภาพทางประสาทสัมผัสในอาหาร (ปอ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารทางประสาทสัมผัส เพื่อหาองค์ประกอบของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประโยชน์สำหรับการพัฒนาและควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  • วิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบทางประสาทสัมผัส การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร เพื่อการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
  • สร้างเครือข่ายหรือปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดกฎระเบียบ และมาตรฐานด้านประสาทสัมผัสในอาหารทั้งในและต่างประเทศ
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับด้านประสาทสัมผัสในอาหาร
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดีมอบหมาย

กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร (อว.)

หน่วยงานในสังกัด