ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่ 60/2566) วศ.อว. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเพื่อพัฒนาการจัดทำมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์นวัตกรรม

E41 1 E41 2 E41 3

 

            วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยดร.เอกรัฐ มีชูวาศ หัวหน้ากลุ่มวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมทีมนักวิจัย โครงการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อผลักดันเข้าสู่เชิงพาณิชย์ เข้าประชุมและหารือความร่วมมือร่วมกับ รศ. นพ. อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พร้อมด้วย ผศ. ดร. อุราภรณ์ ภูมิศานติพงศ์ อาจารย์ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ปฏิบัติหน้าที่กรรมการผู้จัดการบริษัท วชิรแล็บเพื่อสังคม จำกัด และคณะทีมงาน

           โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ หารือถึงความร่วมมือในการจัดทำข้อกําหนดคุณลักษณะ (Specification) ของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในอุตสาหกรรมเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตสินค้านวัตกรรมที่ได้มาตรฐานเข้าสู่เชิงพาณิชย์ และการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบให้ได้มาตรฐานสากล พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการบริษัท วชิรแล็บเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนระหว่าง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับการให้บริการ วิเคราะห์ สุ่มตรวจ และรับรองอุปกรณ์ทางการแพทย์ในรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเข้ามา เสริมความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการของประเทศไทย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่59/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ ผู้ผลิตภัณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี

E40 3 E40 4

E40 1 E40 2

 

            เมื่อวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กองตรวจและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ (รผ.) โดย นางพนิดา อ่อนมั่น นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ (นว.ปก.) พร้อมคณะได้ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อประชาสัมพันธ์และหารือเกี่ยวกับคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และกระบวนการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่58/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกและตรวจติดตามผลการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ จังหวัดชุมพร และสุราษฏร์ธานี

E39 2 E39 4

E39 3 E39 1

           วันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน และนางสาวขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนาอาหารแปรรูป ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มผู้ประกอบการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ร้านกอบกุล ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ 2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแปรรูป ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง 3. ร้านกล้วยบ้านก้อง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร ตำบลท่ายาง อำเภอเมือง
4. กลุ่มกล้วยเล็บมือนางแปรรูปบ้านหนองบัว ตำบลนาสัก อำเภอสวี
          การดำเนินงานโครงการดังกล่าวมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วศ. สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในด้านการพัฒนากระบวนการผลิต คุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการ OTOP SME วิสาหกิจรายย่อย วิสาหกิจชุมชน และชุมชน มีทักษะกระบวนการผลิตที่ดี ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่57/2566) วศ.อว. ให้บริการสอบเทียบเครื่องทดสอบแรงดึง-แรงกด (Universal Testing Machine) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

E37 4 E37 3 E37 1 E37 2

          

          เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 กองสอบเทียบเครื่องมือวัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยนายวิชัย กาญจนพัฒน์ นายช่างเครื่องกลชำนาญงาน นายไกรศักดิ์ ยืนยั่ง นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ และนายวริษฐ์ เจริญพชรวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ เข้าให้บริการสอบเทียบเครื่องทดสอบแรงดึง-แรงกด (Universal Testing Machine) ขนาด 500 ตัน ณ หน่วยทดสอบวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสอบเทียบเป็นขอบข่ายที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 ซึ่งทางห้องปฏิบัติการสอบเทียบกรมวิทยาศาสตร์บริการถือเป็นหน่วยงานชั้นนำของประเทศในการสอบเทียบเครื่องทดสอบประเภทดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีขอบข่ายการให้บริการในอีกหลายสาขาเช่น การสอบเทียบความแข็ง การสอบเทียบมวลการสอบเทียบความยาวและมิติ การสอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น เป็นต้น
         ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นมายาวนานกว่า100 ปี เป็นแหล่งความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธาในระดับนานาชาติ ทั้งในด้านการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมโยธาที่มีความรู้ ความสามารถ ผลิตผลงานวิจัย และการบริการวิชาการที่มีคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและสังคม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่56/2566) วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาเคมี รายการ SiO2, Al2O3, Fe2O3, CaO, MgO and SO3 in Portland cement

E36 2  E36 3

 

E36 4  E36 1

   

           วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กรมวิทยาศาตร์บริการ โดย กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing: PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 14 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบ ในรายการ SiO2, Al2O3, Fe2O3, CaO, MgO และ SO3 โดยมีกำหนดส่งผลการทดสอบกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 3 มีนาคม 2566 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นใจในคุณภาพทางเคมีของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ให้แก่ห้องปฏิบัติการทดสอบในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
          ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) คือ ปูนซีเมนต์ประเภทหนึ่งที่นิยมใช้แพร่หลายทั่วโลกในงานก่อสร้าง นับเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตคอนกรีต การผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์มีส่วนผสมหลัก คือ หินปูน หินดินดาน ดินลูกรัง และทราย รวมถึงการเพิ่มสารอื่นๆ เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของปูนซีเมนต์ เช่น ยิปซัม สารปอซโซลาน สารลดน้ำ เป็นต้น การผลิตเริ่มต้นด้วยการบดวัตถุดิบให้เป็นผงละเอียด และนำไปเผาที่อุณหภูมิสูงจนได้เม็ดปูนซีเมนต์ซึ่งจะถูกนำไปบดเป็นปูนซีเมนต์ผงที่มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีเทา ทั้งนี้มาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ของไทย คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือ มอก.15 เล่ม 1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ ซึ่งได้แบ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ ประเภท 1: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ประเภท 2: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง ประเภท 3: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูงเร็ว ประเภท 4: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ และ ประเภท 5: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนซัลเฟตสูง วิธีการตรวจวิเคราะห์หาชนิด และปริมาณของธาตุในปูนซีเมนต์ เช่น Chemical Analysis จะใช้วิธีการทางเคมีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณธาตุต่างๆ ในตัวอย่างปูนซีเมนต์โดยจะมีการวิเคราะห์ที่สำคัญ 8 พารามิเตอร์ ได้แก่ silicon dioxide (SiO2), aluminium oxide (Al2O3), ferric oxide (Fe2O3), calcium oxide (CaO), magnesium oxide (MgO), sulfur trioxide (SO3), Loss on ignition (LOI) และ Insoluble residue (IR) โดยในการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุชนิดต่างๆ ของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตมากมาย เช่น อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ อุตสาหกรรมด้านเคมี และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ฯลฯ

ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ

- ทำให้ห้องปฏิบัติการมั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง
- เพื่อยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการ และยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่55/2566) วศ.อว. ร่วมกับ MRB ประเทศมาเลเซีย ศึกษาวิธีทดสอบปริมาณไนโตรซามีนในถุงยางอนามัย เพื่อจัดทำมาตรฐาน ISO
  2. (ข่าวที่54/2566) นักวิทย์ วศ.อว. ไขประเด็น “น้ำกรด : พิษร้ายอันตรายถึงชีวิต?” ในรายการวันใหม่ วาไรตี้ Thai PBS
  3. (ข่าวที่53/2566) วศ.อว. จัดเวทีสนทนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การป้องกันภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยี
  4. (ข่าวที่52/2566) วศ.อว. จัดอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้ศาสตร์การปรุงอาหารแนวใหม่ : Molecular Gastronomy เพิ่มรายได้ให้ชุมชน
  5. (ข่าวที่51/2566) วศ.อว. เปิดตัวละครสั้น "มาตรฐานรัก" มิติใหม่ของการนำเสนอบทบาทภารกิจกรม
  6. (ข่าวที่50/2566) วศ. พัฒนาความรู้ด้านข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ให้แก่นักศึกษา บุคลากรของ ม.บูรพา
  7. (ข่าวที่49/2566) วศ.อว. ปลื้ม!! บุคลากรได้รับรางวัลศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรประเทศไทยดีเด่น ประจำปี 2566
  8. (ข่าวที่48/2566) วศ.อว. ประดิษฐ์แจกันเซรามิกสานลายกระต่ายพร้อมขึ้นรูปดอกม่วงเทพรัตน์ ทูลเกล้าฯ ถวายกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566
  9. (ข่าวที่47/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ซอสพริกไทยสุไหงอุเป ณ จังหวัดสตูล
  10. (ข่าวที่46/2566) วศ.อว. ประกาศนโยบายคุณภาพ เน้นการให้บริการด้าน วทน. ที่มีคุณภาพ