ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่119/2563)วศ.อว. จัดประชุมชี้แจงการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์ฯรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจนวัตกรรมที่ยั่งยืน

A6 4 A6 1

A6 3 A6 2

          12 มิถุนายน 2563 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานประชุมชี้แจงการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ (องค์การมหาชน) โดยมีบุคคลากรของกรมวิทยาศาสตร์บริการร่วมประชุมกว่า 300 คน ซึ่งประชุมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อรักษาระยะห่างตามมาตรการป้องกัน Covid-19 และเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
          นางสาวนิสากรฯ เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ (องค์การมหาชน) ว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดทำแผนและขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนหน่วยงานตามกฎหมายหลักที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้งหมดแล้ว ซึ่งภารกิจของสถาบันวิทยาศาสตร์ฯ จะมุ่งเน้น 3 ภารกิจหลัก ได้แก่ ด้านการเชื่อมโยงและบูรณาการระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้านส่งเสริมและพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองของประเทศให้มีคุณภาพและเพียงพอ และด้านการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์โดยการพัฒนาเกณฑ์การยอมรับและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ตลอดจนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจนวัตกรรมที่ยั่งยืน และนำข้อคิดเห็นที่ได้ในวันนี้มาจัดทำเป็นแผนกลยุทธ์ และแผนธุรกิจให้กับสถาบันวิทยาศาสตร์ฯ ที่จะจัดตั้งในอนาคตต่อไป/////

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE  , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่118/2563)วศ.อว.ร่วมมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เร่งพัฒนาสมรรถนะ การประเมินผลคุณภาพการทดสอบด้วยวิธีทางสถิติ สำหรับบุคลากรห้องปฏิบัติการไทย

A5 2 A5 3 

 A5 4 A5 1 

       

          8 มิถุนายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(วศ.อว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง การประเมินผลคุณภาพการทดสอบด้วยวิธีการทางสถิติ เป้าหมายเพิ่มพูนความรู้ด้านสถิติและนามาประยุกต์ใช้ในงานวิธีวิเคราะห์ทดสอบ ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้ด้านสถิติและนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิเคราะห์ทดสอบให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยมี ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ และโฆษกกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวเปิดการฝึกอบรม มีทีมนักวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นวิทยากรได้แก่ นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ นายวรัฐ เทศพิทักษ์ นางสาวนพเก้า เอกอุ่น และนายปัญญา คำพยา มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 40 คน จัดฝึกอบรมออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 8 -10 มิถุนายน 2563

         ทั้งนี้ ความร่วมมือจัดอบรมครั้งนี้ มุ่งเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ เพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพภาคใต้ด้วยวิทยาการข้อมูล ซึ่งวิธีทางสถิติเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ โดยเฉพาะในกระบวนการการทำงานวิเคราะห์ทดสอบที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก เทคนิคทางสถิติทำให้เข้าใจข้อมูลได้ดี มีการแปลผลที่ถูกต้อง มีความสำคัญยิ่งในการตรวจหา การแยกแยะ การลดความผิดพลาดของกระบวนการทำงาน ทำให้ผลวิเคราะห์ทดสอบเชื่อถือได้ มีความถูกต้อง และมีความเที่ยงซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการวิเคราะห์ทดสอบ รวมทั้งเทคนิคทางสถิตินี้ยังช่วยให้ผู้บริหารห้องปฏิบัติการสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหารบุคลากร การเลือกเครื่องมือ เลือกการปฏิบัติการวิธีวิเคราะห์ และการแปลผลของข้อมูลด้วย

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE  , www.facebook.com/ScienceDoctorD/

(ข่าวที่117/2563)วศ.อว. ร่วมมือเครือข่ายจัดทำ “ข้อแนะนำคุณลักษณะของหน้ากากอนามัยแบบผ้า”เพื่อความเหมาะสมด้านการใช้งานของประชาชน

A4 2

          กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ออกประกาศ “ข้อแนะนำคุณลักษณะหน้ากากอนามัยแบบผ้า”เพื่อความเหมาะสมด้านการใช้งานแก่ประชาชน ลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภาวะมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง และลดขยะอันเนื่องมาจากการใช้หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง โดยจัดทำร่วมกับ10หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทย สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา



A4 3  A4 4


         นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า คุณสมบัติสำคัญที่จะต้องพิจารณาการเลือกหน้ากากอนามัยแบบผ้า ทั้งหมด 4 ข้อ ประกอบด้วยข้อที่ 1 “ประสิทธิภาพการกรองอนุภาค (Particle Filtration Efficiency: PFE)” คือความสามารถในการดักกรองฝุ่นที่มีขนาดเล็กของหน้ากากอนามัยแบบผ้า ว่ามีประสิทธิภาพดีแค่ไหน จะเป็นตัวบอกถึงคุณภาพที่มีผลต่อการป้องกันมลพิษทางอากาศจากฝุ่นซึ่งจะต้องทำการทดสอบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 3 ไมครอนทั้งก่อนซักและหลักซัก 20 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

         1. ป้องกันฝุ่นได้พอใช้ คือ มีประสิทธิภาพการปรองอนภาคขนาด 3 ไมครอน ก่อนซัก มากกว่าเท่ากับ 70% และหลังซัก 20 ครั้ง มากกว่าเท่ากับ 60%
         2. ป้องกันฝุ่นได้ดี คือ มีประสิทธิภาพการปรองอนภาคขนาด 3 ไมครอน ก่อนซัก มากกว่าเท่ากับ 80% และหลังซัก 20 ครั้ง มากกว่าเท่ากับ 70%
         3. ป้องกันฝุ่นได้ดีมาก คือ มีประสิทธิภาพการปรองอนภาคขนาด 3 ไมครอน ก่อนซัก มากกว่าเท่ากับ 90% และหลังซัก 20 ครั้ง มากกว่าเท่ากับ 80%


         ข้อที่ 2 “การสะท้อนน้ำ (water repellency)” คือ สมบัติของผ้าที่สามารถผลักดันน้ำไม่ให้เกาะติดที่ผิวได้ เมื่อหยดน้ำลงบนผ้า น้ำจะกระจายตัวเป็นหยดไม่ซึมลงบนผ้า คล้ายน้ำกลิ้งบนใบบัว (lotus effect) โดยหน้ากากอนามัยแบบผ้านั้น ต้องมีคุณสมบัตินี้เป็นสำคัญเพราะการแพร่เชื้อโรคโควิด-19 นั้นจะมาละอองฝอยของน้ำหรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ดังนั้นหน้ากากชั้นนอกต้องมีสมบัติสะท้อนน้ำที่ดีป้องกันละอองฝอยดังกล่าว สมบัติการสะท้อนน้ำแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

          1. ไม่ป้องกันละอองฝอย คือก่อนซักและหลังซัก 20 ครั้ง ต้องมีการสะท้อนน้ำไม่น้อยกว่าระดับ ISO 1
          2. ป้องกันละอองฝอย คือก่อนซักและหลังซัก 20 ครั้ง ต้องมีการสะท้อนน้ำไม่น้อยกว่าระดับ ISO 3


          ข้อที่ 3 “การผ่านได้ของอากาศ” คือการวัดปริมาณของอากาศที่ไหลผ่านหน้ากากอนามัยแบบผ้าในช่วงเวลาที่กำหนด คุณสมบัตินี้จะเกี่ยวกับการหายใจเมื่อเราสวมใส่หน้ากากอนามัยและมีโอกาสที่ผู้สวมใส่จะใช้มือมาขยับหน้ากาก ทำให้เกิดการสัมผัสโดยไม่จำเป็น ถ้าอากาศผ่านได้น้อยเกินไปก็จะทำให้หายใจลำบาก แต่ถ้าอากาศผ่านได้ง่ายเกินไป ประสิทธิภาพในการป้องกันก็จะน้อยตามไปด้วย การผ่านได้ของอากาศ จะทำการทดสอบความแตกต่างของความดัน ก่อนซักและหลังซัก 20 ครั้ง จะต้องมีค่า น้อยกว่า 5.0 mmH2O/cm2

          ข้อที่ 4 คุณสมบัติด้านความปลอดภัยของหน้ากาก ต้องทำการตรวจสอบปริมาณสาร 2 ชนิด คือ “ปริมาณสีเอโซ (Azo dyes) และปริมาณฟอร์แมลดีไฮด์ (Formaldehyde)” ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ สีเอโซมาจากผ้าสีหรือสีที่ใช้ย้อมเส้นใย ส่วนฟอร์แมลดีไฮด์มาจากกระบวนการผลิตเส้นใยที่ทำผ้า ถ้ามีการใช้สารทั้ง 2 ชนิดในกระบวนการผลิต ก็จะทำให้เกิดการตกค้างบนเนื้อผ้าได้ เมื่อนำผ้ามาทำเป็นหน้ากากอนามัย สารพิษก็อาจเข้าสู่ร่างกายผู้สวมใส่ได้ ในการตรวจสอบจะต้องใช้เครื่องมือและมีขั้นตอน วิธีการที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล โดยในหน้ากากอนามัยแบบผ้า จะต้องพบสีเอโซ ไม่เกิน 30 mg/kg และสารฟอร์แมลดีไฮด์ไม่เกิน 75 mg/kg

A4 5 A4 6


            ​ทั้งนี้ข้อแนะนำคุณลักษณะหน้ากากอนามัยแบบผ้านี้ แบ่ง ออกเป็น 6 ระดับ ตามประสิทธิภาพการกรองอนุภาค และสมบัติการสะท้อนน้ำ ดังนี้​

​     ระดับที่ 1 ป้องกันฝุ่นได้พอใช้ ไม่ป้องกันละอองฝอย
     ​ระดับที่ 1 ⭐️ป้องกันฝุ่นได้พอใช้ ไม่ป้องกันละอองฝอย​
     ระดับที่ 2 ป้องกันฝุ่นได้พอใช้ ไม่ป้องกันละอองฝอย
     ​ระดับที่ 2 ⭐️ป้องกันฝุ่นได้พอใช้ ไม่ป้องกันละอองฝอย
     ​ระดับที่ 3 ป้องกันฝุ่นได้พอใช้ ไม่ป้องกันละอองฝอย
     ​ระดับที่ 3 ⭐️ป้องกันฝุ่นได้พอใช้ ไม่ป้องกันละอองฝอย

A4 9 A4 1

           ส่วนรายการทดสอบที่มีในประกาศข้อแนะนำฯ สามารถส่งหน้ากากอนามัยแบบผ้าทอสอบได้ที่หน่วยงานต่อไปนี้
- การทดสอบประสิทธิภาพการกรองฝุ่นอนุภาคขนาด 3 ไมครอน และความแตกต่างของความดัน ทดสอบได้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โทร. 082-7828088
- การสะท้อนน้ำ และปริมาณฟอร์แมลดีไฮด์ ทดสอบได้ที่ กรมวิทยาศาตร์บริการ โทร. 02-2017162 หรือสถาบันสิ่งทอ โทร. 02-7135492-9 ต่อ 541
-ปริมาณสีเอโซ ทดสอบได้ที่ สถาบันสิ่งทอ โทร. 02-7135492-9 ต่อ 541

          ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์บริการให้การรับรองผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยแบบผ้าตามประกาศข้อแนะนำฉบับนี้ ผู้ที่สนใจขอการรับรองผลิตภัณฑ์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call center 02-2017000 และ 02-2017341

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE  , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่116/2563)วศ.อว.จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทินดาฯ

 

 A3 5 A3 3

A3 2 A3 1

          2 มิถุนายน 2563 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร วศ. ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2563 ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรุงเทพฯ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE  , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่115/2563)วศ.อว. ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หารือแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับ Disruptive Technology หลังยุคโควิด-19

A2 4 A2 1

A2 2 A2 3

          29 พฤษภาคม 2563 นางสาวปวีณา เครือนิล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วยนายสมบัติ คงวิทยา นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมประชุมหารือร่วมกับ พล.ต.ต.เสนิต สำราญสำรวจกิจ ผู้บังคับการกองวิจัย และคณะ ประเด็นการประชุมเป็นการหารือการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กับ กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องแผนงานความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่การกำหนดกรอบและแนวทางการปฏิบัติอันนำไปสู่ความร่วมมืออย่างบูรณาการในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีความรู้ ทักษะและสมรรถนะที่พร้อมรองรับ Disruptive Technology หลังยุคโควิค-19 ณ กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE  , www.facebook.com/ScienceDoctorD

  1. (ข่าวที่114/2563)วศ.อว. จัดอบรมหลักสูตร “การจัดการเครื่องมือวัดให้สอดคล้องตามระบบคุณภาพ”
  2. (ข่าวที่113/2563)วศ.อว. ขอแนะนำสารสนเทศสำหรับประชาชน เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเองในช่วงวิกฤต COVID-19
  3. (ข่าว112/2563)วศ.อว.ประชุมออนไลน์ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคการศึกษา เพื่อหารือแนวทางการพัฒนา NQI for Healthcare
  4. (ข่าวที่111/2563)วศ.อว. อบรมออนไลน์เสริมสร้างศักยภาพหน่วยตรวจสอบรับรองตามมาตรฐานสากล รองรับมหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคใต้
  5. (ข่าวที่110/2563)วศ.อว.หารือร่วมกับราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์ เพื่อร่วมเป็นภาคีเครือข่าย สถาบันวิจัยยาธรรมชาติ ไทย-จีน
  6. (ข่าวที่109/2563)วศ.อว. ขอแนะนำสารสนเทศเพื่อผู้ประกอบการและ SMEs เพื่อบริหารจัดการกิจการในช่วงวิกฤต COVID-19
  7. (ข่าวที่108/2563)วศ.อว.หารือและเยียมชม บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)
  8. (ข่าวที่107/2563)วศ.อว. พร้อมผนึกกำลัง ม.พะเยา พัฒนา online educaton สร้างนักศึกษาและห้องปฏิบัติการมาตรฐานของมหาวิทยาลัย
  9. (ข่าวที่106/2563)วศ.อว. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบคุณค่าทางโภชนะอาหารสัตว์ ให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล
  10. (ข่าวที่105/2563)วศ.อว. เดินหน้าพัฒนาบุคลากรตามมาตรฐานสากล จัด online training รูปแบบใหม่เน้นฝึกปฏิบัติเสริมทักษะบุคลากรมหาวิทยาลัยเครือข่ายในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ