ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่200/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ เดินหน้าร่าง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สารสกัดใบกระท่อม

 

B5 3 B5 2

B5 1 B5 4

      พืชกระท่อม เป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวถึงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศในขณะนี้ เนื่องจากพืชกระท่อมได้ถูกปลดออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ภายใต้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยอนุญาตให้สามารถครอบครองและซื้อขายได้อย่างเสรีอย่างไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป พืชกระท่อมมีประวัติการนำมาใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน ชาวบ้านทั่วไปจะทราบกันดีว่าเมื่อเคี้ยวใบสดของกระท่อมจะช่วยให้ไม่เหนื่อยง่าย และทนแดดได้นาน โดยเฉพาะในแถบภาคใต้ซึ่งนิยมใช้ในกลุ่มอาชีพผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร แต่ในความเป็นจริงแล้วใบกระท่อมยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ดังเช่นในตำรายาไทยและการใช้ของหมอพื้นบ้านพบว่าใบกระท่อมมีสรรพคุณใช้ระงับอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง บิด ท้องร่วง ฯลฯ ระงับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ระงับประสาท รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคผิวหนัง เป็นต้น โดยสารสำคัญกลุ่มใหญ่ที่พบ คือ สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) ซึ่งสารสำคัญหลักที่พบมากที่สุดคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) นอกจากนี้ยังพบอัลคาลอยด์ตัวอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น สเปซิโอไจนีน (Speciogynine) เพแนนเทอีน (Paynantheine) สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) และ 7-ไฮดรอกซีไมทราไจนีน (7-hydroxy-mitragynine) เป็นต้น
       พืชกระท่อมที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายสายพันธุ์ แบ่งตามลักษณะภายนอก ได้แก่ ก้านใบสีแดง ก้านใบสีเขียว (อาจเรียกแตงกวา) และยักษ์ใหญ่ (มีรอยหยักบริเวณปลายใบคล้ายเขี้ยว) โดยชาวบ้านเชื่อว่ากระท่อมทั้ง 3 สายพันธุ์ออกฤทธิ์ได้ต่างกัน กล่าวคือลักษณะใบแบบหางกั้งจะมีประสิทธิภาพออกฤทธิ์ต่อร่างกายมากกว่าสายพันธุ์อื่น กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นหน่วยงานที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐาน (Standards Developing Organizations, SDOs) ประเภทขั้นสูง จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการควบคุมคุณภาพสารสำคัญในพืชกระท่อม โดยเฉพาะสารสกัดกระท่อมที่จะถูกนำไปใช้ทางการแพทย์ในอนาคต โดยได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างใบกระท่อมในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี และปทุมธานี พื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร เพื่อนำมาศึกษาปริมาณสารสำคัญในตัวอย่างพืชกระท่อม รวมถึงพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ โดยทำความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ และการพัฒนามาตรฐานวัตถุดิบและสารสกัดจากพืชกระท่อม
      ซึ่งขณะนี้ วศ. อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (มอก.) สารสกัดใบกระท่อม เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สารสกัดใบกระท่อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่199/2565)วศ.อว. โชว์ผลงาน “เทคนิคการประเมินความไม่แน่นอนในการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ขั้นสูง” ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)

 

B4 4 B4 2

B4 3 B4 1

       กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำผลงาน “เทคนิคการประเมินความไม่แน่นอนในการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ขั้นสูง (The Measurement Uncertainty Evaluation Technique for Advanced Calibration of Laser Distance Meter)” เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ซึ่งจัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 1 - 5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ


      ผลงาน “เทคนิคการประเมินความไม่แน่นอนในการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ขั้นสูง” เป็นงานวิจัยและพัฒนาของนักวิทยาศาสตร์ วศ. เนื่องด้วยเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ (Laser distance meter) ที่ใช้ในงานโยธาจำเป็นต้องได้รับการสอบเทียบและประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดเพื่อให้สามารถสอบกลับไปยังระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศได้ งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการลดค่าความไม่แน่นอนในการวัดโดยใช้กระบวนการทำงานของ Smart Measuring Probe วศ. พัฒนาการสอบเทียบ Laser distance meter โดยใช้หลักการ Interferometry บนระบบรางสอบเทียบเทปมาตรฐาน 50 m ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2560 ตามแนวทางข้อกำหนดทั่วไปของมาตรฐานระหว่างประเทศ ISO 16331-1/2012 (Part- 1) Performance of handheld laser distance meters และประมาณค่าความไม่แน่นอนในการวัด ตามเอกสารแนวทางปฏิบัติของ GUM และ M3003 แต่ค่าความไม่แน่นอนในการวัดของการสอบเทียบ Laser distance meter นั้นอยู่ในช่วง ±1.0 mm หรือมากกว่า ซึ่งเกิดจากปัญหาจากกระบวนการทำงานบางประการที่ทำให้เกิดความผิดพลาดของผลการวัด ซึ่งมีผลจากการปรับตั้งการสอบเทียบด้วยมือผู้ปฏิบัติงาน


     การดำเนินงานที่สำคัญ วศ. ได้พัฒนา Smart Measuring Probe ซึ่งทำงานร่วมกับ ระบบ Interferometry สำหรับสอบเทียบ Laser distance meter ขึ้นมาเพื่อลดความผิดพลาดของผลการวัด จึงจำเป็นต้องมีความชัดเจนมากขึ้นในการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการประเมินเทคนิคการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัดให้สมบูรณ์ ที่ระดับความชื่อมั่น 95% และการเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนในการที่วัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างวิธีการสอบเทียบ Laser Distance meter ด้วยมือผู้ปฏิบัติงานกับวิธีที่พัฒนาใหม่ การนำไปใช้ประโยชน์จากการที่ วศ. นำ Smart Measuring Probe ใช้งานร่วมกับ ระบบรางสอบเทียบเทปมาตรฐาน 50 m เพื่อสอบเทียบ Laser Distance Meter ซึ่งได้ผลการสอบเทียบที่แม่นยำ และค่าความไม่แน่นอนในการวัดที่ลดลงจากวิธีสอบเทียบเดิม และได้ทำการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีตามข้อกำหนดด้านคุณภาพ ISO/IEC 17025 : 2017 เพิ่มประสิทธิภาพ งานบริการสอบเทียบทำให้ผู้ใช้ Laser Distance Meter ในงานวัดระยะต่าง ๆ มีผลการวัดที่มีความน่าเชื่อถือถูกต้องแม่นยำ ซึ่งเหมาะสำหรับ งานด้านโยธา งานตรวจพิสูจน์หลักฐาน ทางนิติวิทยาศาสตร์ งานติดตั้งเครื่องมือ และเครื่องจักรกล เป็นต้น


  ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ในรูปแบบ Onsite และ Online สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานและเดินทางไปชมงานทั้ง Onlineได้ที่ https://researchexporegis.com และOnsite จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-17.00 น.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

 

(ข่าวที่198/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565

 

B4 1 B4 2

B4 4 B4 3

       วันที่ 1 สิงหาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในพิธีเปิดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2565 (Thailand Research Expo 2022) จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์
        โอกาสนี้ นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะ ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ พร้อมถวาย “ผ้าขาวม้าไหมทอมือย้อมสีดอกดาวเรือง” จากการสักการะพ่อปู่ศรีสุทโธ วังนาคิน อ.คำชะโนด จ.อุดรธานี ซึ่งผ้าดังกล่าวมีองค์ประกอบของสีธรรมชาติประกอบด้วย สีเหลืองเข้มย้อมจากดอกดาวเรืองสด สีเหลืองอ่อนย้อมจากใบยูคาลิปตัส สีเขียวจากดอกดาวเรืองหมักโคลน สีน้ำตาลจากเปลือกเงาะหมักโคลน และสีขาวเป็นเส้นไหมไม่ย้อมสี โดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคนิคการย้อมสีให้แก่กลุ่มวิสาหกิจในพื้นที่
     นอกจากนี้ วศ. ทำหน้าที่ผู้แทน อว. ถวายรายงานภายในบูธนิทรรศการผลงาน “พระมหากรุณาธิคุณกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 67 พรรษา และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย อว. ได้คัดเลือก 10 พระมหากรุณาธิคุณที่เป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อันทันสมัย ด้านการศึกษา ดนตรี การแพทย์และสาธารณสุข ดาราศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ การประชุมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับสากล การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เทคโนโลยีฟิวชันของไทย ความร่วมมือไทย – เซิร์น และด้านนาฬิกาอะตอมเชิงแสงแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ได้จัดแบ่งพื้นที่แสดงผลงานเป็น 3 ส่วน


• ส่วนที่ 1 : จุดเทิดพระเกียรติ (Royal Pavilion) มีจอ LED นำเสนอ “บทอาศิรวาท” ซึ่งประพันธ์โดย รศ.ดร. ปรมินท์ จารุวร อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ส่วนที่ 2 : นำเสนอผลงานนิทรรศการในรูปแบบภาพและข้อมูล มีตัวอย่างชิ้นงานหรือโมเดลประกอบ โดยมีกิจกรรมพิเศษ เช่น ภาพ 3 มิติ multimedia Interactive หรือ Virtual Reality (VR) Virtual Media ผ่านทางจอ LED ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากนักวิชาการและเจ้าของชิ้นงานหรือโมเดลที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอ 10 เรื่อง
• ส่วนที่ 3: นำเสนอผลงานนิทรรศการทั้งหมดในรูปแบบ Virtual Media ผ่านทางจอ LED


     นอกจากนี้ผู้สนใจสามารถติดตามชมนิทรรศการได้ทาง https://virtualexhibitionthailandresearchexpo2022.v-tropo...
งานดังกล่าวจะจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่197/2565)วศ. เปิด lab ต้อนรับ คณะอาจารย์และนักเรียน รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.บุรีรัมย์ ศึกษาดูงาน

 

B3 1

B3 2 B3 5

B3 3 B3 4

     วันที่ 1 สิงหาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางวรรณี อู่ไพบูรณ์ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร เป็นประธานกล่าวต้อนรับ คณะอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.บุรีรัมย์ ในโอกาสศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการ กว่า 144 คน ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
     การศึกษาดูงานครั้งนี้ คณะอาจารย์และนักเรียน ได้ศึกษาเข้าดูงาน 7 ห้องปฏิบัติการได้แก่ ห้องปฏิบัติการกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค ห้องปฏิบัติการกลุ่มวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร ห้องปฏิบัติการกลุ่มวัสดุขั้นสูง และกลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กองวัสดุวิศวกรรม ห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยและพัฒนาเซรามิกและแก้ว กลุ่มวิจัยและพัฒนาสมุนไพร และกลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นถิ่น กองเทคโนโลยีชุมชน และกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมพัฒนาความรู้ประสบการณ์ให้นักเรียน และเป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของโรงเรียน และสามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดในการศึกษาในอนาคตได้ต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่196/2565)วศ.เข้าร่วมถวายพานพุ่มและลงนามฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2565

B2 7

B2 6 B2 8

B2_9.jpg B2 1 

      28 กรกฎาคม 2565  ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมพิธีถวายพานพุ่ม และลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงความจงรักภักดีเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแสดงความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติ โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และคณะผู้บริหาร อว. เป็นประธานและเข้าร่วมในพิธี ณ ศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

  1. (ข่าวที่195/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
  2. (ข่าวที่194/2565)วศ.อว. ร่วมกับ กวก. ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้คำปรึกษาแนะนำพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการในการทดสอบคุณภาพยางแท่งเอสทีอาร์ (STR) ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  3. (ข่าวที่193/2565)วศ.อว. ผ่านการคงสถานะการยอมรับร่วม 3 ขอบข่ายจาก APAC
  4. (ข่าวที่192/2565)วศ.อว. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจสถานการณ์หลังการระบาดใหญ่โควิด-19 และแผนบริหารความต่อเนื่องในอนาคต
  5. (ข่าวที่191/2565)วศ.อว. เสริมองค์ความรู้ด้านการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
  6. (ข่าวที่190/2565)วศ.อว. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ มจพ. พัฒนาการจัดทำมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
  7. (ข่าวที่189/2565)ผู้บริหาร วศ.อว. ร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
  8. (ข่าวที่188/2565)วศ.อว. เสริมศักยภาพผู้ประกอบการอาหาร ด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการยืดอายุและเก็บรักษา ณ จังหวัดนครนายก
  9. (ข่าวที่187/2565)วศ.อว. จัดฝึกอบรม พัฒนาผู้ตรวจประเมินหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practices หรือ GMP) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
  10. (ข่าวที่186/2565)วศ.รับการตรวจประเมิน ห้องปฏิบัติการกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร ด้านการบริหารจัดการคุณภาพและด้านวิชาการ