ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่250/2565)วศ.อว. เยี่ยมชมหอจดหมายเหตุต่างประเทศฯ วช. เตรียมความพร้อมพัฒนาคลังสารสนเทศตามมาตรฐานสากล

305940739 447319490757043 8358066052329322777 n   306219487 447319657423693 3777704307392314322 n

                                      306184587 447319504090375 3025841416466128103 n   305968653 447319627423696 7505900737962185201 n

 

          เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วย นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการ กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบุคลากร วศ. เข้าเยี่ยมชมหอจดหมายเหตุต่างประเทศ ทูลกระหม่อมอาจารย์ และอบรมเตรียมความพร้อมการพัฒนาคลังสารสนเทศตามมาตรฐานสากล โดย นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและผู้แทนคณะทำงานศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
          การเยี่ยมชมหอจดหมายเหตุต่างประเทศ ทูลกระหม่อมอาจารย์ และอบรมการเตรียมความพร้อมการพัฒนาคลังสารสนเทศตามมาตรฐานสากลในครั้งนี้ นอกจากเพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมการจัดเก็บเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยจากหอจดหมายเหตุต่างประเทศ และการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศตามมาตรฐาน Core Trust Seal แล้ว ยังก่อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิก ศปว. กว่า 40 หน่วยงานจากสังกัดกระทรวงต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ในอนาคตต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

 

(ข่าวที่249/2565)วศ.อว. เข้าเยี่ยมชมหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม (RUEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา และหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ (TNRAO) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

306227935 447285690760423 8617687327941687779 n   306129064 447286080760384 2191478470919049811 n

                                    305958076 447285974093728 2459937076086594702 n   305927419 447285947427064 1126413361266292642 n

 

         วันที่ 8 กันยายน 2565 ดร.นพ. ปฐม สวรรค์ปัญญาเลศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะ เข้าเยี่ยมชมหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม (RUEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา และหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ (TNRAO) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ณ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
         ในการนี้ รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มทร.ล้านนา ดร.นพดล มณีเฑียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการและ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัย RUEE ร่วมให้การต้อนรับและนำชมนวัตกรรม RUEE Automated Filter Tester เครื่องมือสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคของหน้ากากอนามัยและหน้ากาก N95 ซึ่งได้ร่วมมือกับกองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ในการจัดทำข้อกำหนดคุณลักษณะ (Specification) เพื่อผลักดันผลงานนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์
         ดร.วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ นำชมกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุ และยีออเดซี่ ซึ่งติดตั้งภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
         เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและเทคโนโลยีวิศวกรรมขั้นสูง ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานดาราศาสตร์สำคัญของประเทศ และในระดับนานาชาติ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่248/2565)วศ.อว. จัดแสดงผลงาน “Waste management of satun UNESCO Global Geopark” ในงาน APGN 2022 จ.สตูล

305968326 446615930827399 349838316597405869 n    305959843 446615957494063 1817853817126357301 n

                                     306038834 446615897494069 6441209587257743522 n    305962590 446615840827408 5041596564798875179 n

 

         วันที่ 7 กันยายน 2565 นางสาวโอบเอื้อ อิ่มวิทยา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กองวัสดุวิศวกรรม และคณะ เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 7 (The 7th Asia Pacific Geoparks Network Symposium) โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานผ่านระบบออนไลน์ฯ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล จังหวัดสตูล
         ทั้งนี้ วศ. ได้นำนิทรรศการเรื่อง “Waste management of satun UNESCO Global Geopark” มาจัดแสดงพร้อมให้ข้อมูลด้านการสำรวจปริมาณไมโครพลาสติกและโลหะหนักในพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อขยะนำไปตรวจหาไมโครพลาสติก ภายใต้โครงการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกและการจัดการขยะในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลอย่างยั่งยืน
         งานประชุมเครือข่าย APGN 2022 เป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยประเทศเครือข่ายสมาชิกเวียนกันเป็นเจ้าภาพ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านอุทยานธรณีทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก ผ่านการประชุม สัมมนาวิซาการ และการศึกษาดูงาน ซึ่งการประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 7 จัดภายใต้ธีมงาน Global Geoparks Building Sustainable Communities สื่อถึงความยั่งยืนของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่อุทยานธรณีโลกของเอเชียแปซิฟิก โดยมีหัวข้อการประชุม อาทิ การประชุมสภาอุทยานธรณีโลก การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาเครือข่าย APGN และคณะกรรมการผู้ประสานงานเครือข่าย APGN การจัดนิทรรศการทางวิชาการ การทัศนศึกษาในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลรวม 3 เส้นทาง ฯลฯ งานประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกจากเครือข่ายอุทยานธรณีโลก สมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย ชุมชนการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานธรณี หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานประชุมประมาณ 500 คน รวมไปถึงการรับทราบการจัดการประชุมทางเว็บไซต์และสื่อเผยแพร่ทั่วโลก

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

 

(ข่าวที่247/2565)วศ.อว. จัดฝึกอบรม หลักสูตรการเป็นผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal audit)

305886777 446597250829267 3161044126449049021 n    305913741 446596994162626 5344551912278163274 n

                                     305898522 446597210829271 5920047946971236225 n    306100577 446597204162605 8339606226610237427 n

 

         เมื่อเร็วๆนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จัดอบรมหลักสูตร การเป็นผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal audit) เพื่อให้บุคลากรของ วศ. ได้รับความรู้ ความเข้าใจการตรวจติดตามคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.พิมพ์ชนก เต็งเจริญ ที่ปรึกษาและหัวหน้าผู้ตรวจประเมิน บ.พอลโมนาส์ (ประเทศไทย) จำกัด มาเป็นวิทยากร
         ทั้งนี้ วศ. เป็นองค์กรนำระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 มาใช้ การตรวจติดตามคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 จึงจำเป็นที่บุคลากรของ วศ. จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจการตรวจติดตามคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 สามารถปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นผู้ตรวจติดตามหรือผู้ตรวจติดตามฝึกหัด ในระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความมั่นใจว่า วศ. มีการรักษาระบบบริหารงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่246/2565)วศ.อว. ร่วมเอกชนพัฒนานวัตกรรมการพ่นเคลือบสารต้านจุลชีพในรถพยาบาล พร้อมโชว์ในงานเทคโนมาร์ท 2022

305808155 446082910880701 1958697818993711559 n   305917490 446083037547355 7465114702824581236 n

                                      305699932 446082947547364 2488610684269141292 n   305800199 446082927547366 5059826210386799611 n 

 

          ทีมวิจัย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พัฒนาสารต้านจุลชีพจากนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ พร้อมจับมือภาคเอกชนต่อยอดเป็น “รถพยาบาลเคลือบสารต้านจุลชีพ” ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับผู้ป่วย    เจ้าหน้าที่และพนักงานขับรถ   ชี้ผ่านการทดสอบยึดติดวัสดุแล้วคงทนต่อการทำความสะอาดตามปกติกว่า  100   ครั้ง
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ มีภารกิจสำคัญในการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งนอกจากการบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ รับรองบริการและผลิตภัณฑ์ รวมถึงเป็นสถานปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อเสริมสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศแล้ว ยังมีบทบาทในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสาขาที่มีความจำเป็นและพัฒนาระบบมาตรฐานให้พร้อมขับเคลื่อนสู่เชิงพาณิชย์ อย่างเช่น นวัตกรรมการพ่นเคลือบสารต้านจุลชีพในรถพยาบาล ซึ่งทีมวิจัยจาก วศ. ซึ่งประกอบด้วย ดร.จริยาวดี ศิริจันทรา ดร.ธนิษฐา ภูลวรรณ และนายวรพงษ์ เจนธนกิจ ร่วมกับบริษัท ที เค ดี ไฟเบอร์ จำกัด พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับทั้งผู้ป่วย พนักงานขับรถยนต์ และบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจุบันได้มีการผลักดันให้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยเรียบร้อยแล้ว
           ดร.จริยาวดี ศิริจันทรา ผู้อำนวยการกองพัฒนาธุรกิจวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ หัวหน้าโครงการวิจัย ฯ เปิดเผยว่า ทีมวิจัย วศ. ซึ่งมีแนวคิดที่จะพัฒนาวัสดุที่เป็น Smart Material จึงริเริ่มพัฒนาวัสดุเคลือบผิวอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือสารต้านจุลชีพที่มีส่วนประกอบของนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ขึ้นตั้งแต่ปี 2560 และประสบความสำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งปัจจุบันสารต้านจุลชีพดังกล่าวได้ผ่านการรับรองมาตรฐานประสิทธิภาพจาก NanoQ หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคมากถึง 99.95% ในแบคทีเรียชนิด Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ซึ่งแบคทีเรียทั้งสองเป็นแบคทีเรียมาตรฐานที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของสารต้านจุลชีพ
         จากความสำเร็จดังกล่าว ได้มีการต่อยอดงานวิจัยตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชน โดย วศ.ได้มีความร่วมมือกับบริษัทที เค ดี ไฟเบอร์ จำกัด (แครี่บอย) ในการพัฒนากระบวนการฉีดเคลือบสารต้านจุลชีพบนพื้นผิวภายในรถพยาบาล รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพในการยึดเกาะบนพื้นผิววัสดุต่างๆ ในรถพยาบาล เนื่องจากรถพยาบาลมักจะถูกใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น หากห้องโดยสารรถพยาบาลไม่ได้รับการทำความสะอาดหรือการฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม จะทำให้ กลายเป็นแหล่งสะสมของจุลชีพ แต่หากพื้นผิวภายในห้องโดยสารมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพ ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และแพร่เชื้อได้
          ดร.จริยาวดี กล่าวว่า นวัตกรรมการพ่นเคลือบสารต้านจุลชีพที่พัฒนาขึ้น สามารถพ่นเคลือบได้สม่ำเสมอบนพ้ืนผิวแต่ละชนิดในทุกชิ้นส่วนภายในห้องโดยสารของรถพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นเบาะหนัง พื้นยาง พื้นโลหะ รวมถึงผนังไฟเบอร์กลาส นอกจากนี้เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพในการยึดเกาะบนพื้นผิวของสารต้านจุลชีพ ทีมวิจัยได้พัฒนาวิธีการทดสอบการยึดเกาะบนพื้นผิวต่าง ๆ พบว่า แม้ว่าจะผ่านการทำความสะอาดด้วยวิธีปกติแล้วถึง 100 ครั้ง สารเคลือบเหล่านี้ก็ยังยึดติดบนพื้นผิวชนิดต่าง ๆ ได้
ประโยชน์ของนวัตกรรมนี้นอกจากจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรค ช่วยลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระบบส่งต่อผู้ป่วยในรถพยาบาลแล้ว ยังลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องโดยสาร และพนักงานขับรถยนต์
          ปัจจุบันรถพยาบาลเคลือบสารต้านจุลชีพ จากบริษัท ที เค ดี ไฟเบอร์ จำกัด ได้รับการขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 – พ.ศ. 2571 นอกจากนี้ บริษัท ที เค ดี ไฟเบอร์ จำกัด ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก วศ. ยังเปิดให้บริการเคลือบสารต้านจุลชีพสำหรับรถประเภทต่าง ๆ อีกด้วย
สำหรับรถพยาบาลเคลือบสารต้านจุลชีพ กรมวิทยาศาสตร์บริการจะมีการนำไปจัดแสดงในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2565 หรือ TechnoMart 2022 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ที่ชั้น G บริเวณทางเชื่อมระหว่างสยามดิสคัพเวอรี่และสยามเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

  1. (ข่าวที่245/2565)วศ.อว.ร่วมกิจกรรม “สื่อสารงานรัฐ ชัดด้วย ID IA IR” พัฒนาข่าวสารภาครัฐสู่ประชาชนอย่างถูกต้อง
  2. (ข่าวที่244/2565)วศ.อว. รับการตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน
  3. (ข่าวที่243/2565)อธิบดีกรมวิทย์ฯบริการนำทีมเยี่ยมชมศูนย์บริการจีโนมิกส์ ม.บูรพา หวังเป็นแนวทางร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านการแพทย์จีโนมิกส์ในอนาคต
  4. (ข่าวที่242/2565)วศ.อว. จัดอบรมออนไลน์ “หลักสูตร การปฏิบัติสุขลักษณะที่ดี Good Hygiene Practices หรือ GHPs
  5. (ข่าวที่241/2565)วศ.อว.ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี เพื่อกำหนดทิศทางเป็นองค์กรนำด้าน วทน.
  6. (ข่าวที่240/2565)วศ.อว. ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ ผู้ผลิตภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติกาบหมาก ณ จังหวัดเชียงใหม่และลำปาง
  7. (ข่าวที่239/2565)วศ.อว. ชวนผู้แทน สศก. และ สงป. ติดตามความสำเร็จการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนภายใต้ แผนบูรณาการฯ เพื่อต่อยอดงานวิจัยส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดราชบุรี
  8. (ข่าวที่238/2565) วศ.อว.เสริมองค์ความรู้บุคลากรภายในเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมภายใน
  9. (ข่าวที่237/2565)วศ.อว จัดฝึกอบรม "การพัฒนาเนื้อดินแดงนครปฐม และการเผาผลิตภัณฑ์เชรามิกเนื้อดินแดงด้วยเตาเผาแก๊ส" ณ จังหวัดนครปฐม
  10. (ข่าวที่236/2565)วศ.อว.จัดประชุมคณะผู้จัดทำร่างมาตรฐานฯ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสารสกัดใบกระท่อม ครั้งที่ 2/2565