(ข่าวที่ 141/2566) วศ. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหารรายการ Heavy metals (Ba, Co, Cu, Fe, Ge, Li, Mn, Sb, Zn) in Food Simulant (ASEAN PROGRAM)

F63 3 F63 2

F63 1 F63 4

 

            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (บท.) จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 ได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมฯ ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 21 ห้องปฏิบัติการ และเป็นห้องปฏิบัติการต่างประเทศ จำนวน 8 ห้องปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการทดสอบในรายการ Heavy metals (Ba, Co, Cu, Fe, Ge, Li, Mn, Sb, Zn) in Food Simulant (ASEAN PROGRAM) และกำหนดให้ส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ภายในวันที่ 9 มิถุนายน 2566 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
            รายการ Heavy metals in Food Simulant เป็นการทดสอบเพื่อหาการปนเปื้อนของสารพิษหลายชนิดในอาหาร โดยเฉพาะโลหะหนักในอาหารต่างๆ สัตว์ทะเลหลายชนิดมีความสามารถในการสะสมโลหะหนักที่เป็นพิษโดยเฉพาะปรอทที่มักพบในหอย กุ้ง และปลา นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของเชื้อโรคชนิดต่างๆ เช่น เชื้อโรควัวบ้า เชื้อรา และแบคทีเรีย เป็นต้น ดังนั้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจึงมีมาตรการกําหนดปริมาณสารปนเปื้อนและโลหะหนักในอาหาร (เช่น Sn 250 mg/kg, Zn 100 mg/kg, Cu 20 mg/kg, Pb 1 mg/kg, Cd 2 mg/kg, และ Hg 0.02 mg/kg) ซึ่งจะทําให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย อย่างไรก็ตามคนหรือสัตว์เลี้ยงที่บริโภคอาหารและน้ำที่มีโลหะหนักปนเปื้อนเป็นเวลานาน ก็จะทำให้เกิดการสะสมและอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น หากเกิดการปนเปื้อน Cu ในอาหารสูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่อนุญาตจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า และเบื่ออาหาร เป็นต้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor