การบริการ : กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สท.)

          กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นห้องสมุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศซึ่งประกอบด้วยหนังสือ วารสาร เอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการหลายรูปแบบรวมถึงเอกสารและการสืบค้นวารสาร การค้นหาสิทธิบัตรและการบริการยืมระหว่างห้องสมุด ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001: 2015 จากสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอเอสโอ QMS 04020/879 เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าห้องสมุดให้ความสำคัญกับคุณภาพเป็นอันดับหนึ่ง ประกอบด้วยบริการห้องสมุดดังนี้


1. บริการสารสนเทศเบ็ดเสร็จด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Science & Technology Information: One Stop Services)
          เป็นการจัดบริการสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อขอรับบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (จุดเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1) โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพได้ข้อมูลครอบคลุมภายในจุดบริการที่สะดวกรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนด (30 นาที) ประกอบด้วย 7 บริการ ดังนี้

          1) บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database Searching Services) เป็นบริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำนักหอสมุดฯ บอกรับ
          2) บริการสารสนเทศเพื่อการสร้างอาชีพ (Information for Professional Development Services) เป็นบริการข้อมูลผลิตภัณฑ์ OTOP สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มแม่บ้าน/ชุมชน เกษตรกร ที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร การแปรรูปผักผลไม้ หัตถกรรมพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
          3) บริการข้อมูลสารเคมี (Chemical Information Services) เป็นบริการข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี เช่น คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีสูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้าง วิธีวิเคราะห์ การผลิต ความเป็นพิษ อันตราย และการนำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ
          4) บริการตรวจสอบและค้นหาเอกสาร (Document Searching Services) เป็นบริการตรวจสอบรายชื่อเอกสารต่างๆ ที่มีในหอสมุดฯ
          5) บริการจัดหาเอกสารฉบับเต็ม (Document Delivery Services) เป็นบริการจัดหาเอกสารฉบับเต็ม (Full text) ตามความต้องการของผู้ขอรับบริการ จากสิ่งพิมพ์ทุกประเภททั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น
บทความจากวารสาร หนังสือ เอกสารสิทธิบัตร ฯลฯ
          6) บริการสารสนเทศมาตรฐาน (Standard Information Services) เป็นบริการสืบค้นสารนิเทศมาตรฐานจากแหล่งสารสนเทศมาตรฐานทั้งในรูปสิ่งพิมพ์และออนไลน์ ได้แก่ มาตรฐาน มอก. ASTM, ISO, DIN, JIS, ANSI
          7) บริการสารสนเทศสิทธิบัตร (Patent Information Services) เป็นบริการสืบค้นสารนิเทศสิทธิบัตรจากแหล่งสารสนเทศสิทธิบัตรต่างๆ ทั่วโลก ได้แก่ ฐานข้อมูล WIPO ฐานข้อมูลสิทธิบัตรของสำนักงานสิทธิบัตรอเมริกัน (USPTO) สำนักงานสิทธิบัตรแห่งยุโรปในระบบอินเตอร์เน็ต (ESPACE)

2. บริการค้นเรื่องทางวิชาการ (Reference Services)
          เป็นบริการค้นเรื่องตามขอบข่ายและความต้องการที่ผู้ขอรับบริการระบุ โดยสืบค้นจากสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ภายในสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ หนังสือ วารสาร วารสารสาระสังเขป มาตรฐาน สิทธิบัตรและจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบอินเทอร์เน็ต ขอบข่ายของข้อมูลที่ให้บริการ อาทิ ข้อมูลสารเคมี วิธีวิเคราะห์ สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ ฯลฯ

3. บริการติดตามสารสนเทศทันสมัยเฉพาะเรื่องเฉพาะราย (Selective Dissemination of Information Service / SDI)
          เป็นบริการติดตามสารนิเทศทันสมัยจากแหล่งสารสนเทศฉบับใหม่ล่าสุด ได้แก่ วารสารวิชาการ วารสารสาระสังเขป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ขอรับบริการในการติดตามสารนิเทศทันสมัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้หัวเรื่องที่คัดเลือก ติดตาม ความรู้ในเรื่องและขอบเขตที่ผู้ขอรับบริการกำหนดไว้

4. บริการแนะนำให้ความรู้เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Assistance and Advice in Searching Science & Technology Information)
          เป็นการอบรม/บรรยายพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการแสวงหาสารนิเทศทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการวิจัยและพัฒนา การประดิษฐ์คิดค้น การศึกษาค้นคว้า และการประกอบอุตสาหกรรม หัวข้อที่ฝึกอบรม ได้แก่ เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศสิทธิบัตรเพื่อการต่อยอดเทคโนโลยี

5. บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ (Circulation Services)
          เป็นบริการ ยืม-คืน เอกสารออกนอกห้องสมุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุดเฉพาะผู้ที่มีที่อยู่/ ที่ทำงาน/ สถานศึกษา เฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล ผู้มีสิทธิ์ยืมเอกสาร ได้แก่
          1) ข้าราชการกรมวิทยาศาสตร์บริการ
          2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ขอมีสิทธิ์ยืมเอกสาร
               2.1) ข้าราชการทุกหน่วยงานราชการ
               2.2) อาจารย์/ นักศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันอุดมศึกษา
               2.3) บริษัทเอกชน/ ห้างร้าน

6. บริการสารสนเทศออนไลน์ e-book, e-journal และ e-content รวมถึงข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ภาษาต่างประเทศ และจัดทำฐานข้อมูลเฉพาะเรื่องด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้บริการบนเว็บไซต์ http://siweb.dss.go.th อย่างต่อเนื่อง

7. บริการในระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library) ผ่าน application ที่ชื่อว่า Science eBook Library ซึ่งดาวน์โหลด application ได้บน mobile devices (Smartphone, Tablet) ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS, Android และ Windows สามารถสืบค้นหนังสือ วารสาร หรือข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบดิจิทัลที่ให้บริการในสำนักสมุดฯ หากผู้ใช้บริการสนใจเรื่องใดสามารถเรียกดูบทคัดย่อหรือสารบัญของเอกสารฉบับนั้นๆ ได้ รวมไปถึงการยืมเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถอ่านออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่าน mobile devices

8. บริการทำบัตรห้องสมุด / บัตรยืมเอกสาร (Member cards)
     บัตรห้องสมุด : เป็นบัตรประจำตัวผู้รับบริการ ที่มีเลขที่บัตร เพื่อรับบริการต่าง ๆ ภายในห้องสมุด
     บัตรยืมเอกสาร : เป็นบัตรประจำตัวผู้รับบริการ ที่ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิยืมเอกสารออกนอห้องสมุด
ตามระเบียบบริการยืม-คืน

9. บริการอื่นๆ
     - บริการห้องอ่าน (Reader Services)
     - บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Services)
     - บริการสื่อวิดิทัศน์ (Audiovisual Services)
     - บริการข้อมูลข่าวสารของราชการกรมวิทยาศาสตร์บริการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของราชการ พ.ศ. 2540

กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สท.)

หน่วยงานในสังกัด