(ข่าวที่193/2564)วศ.ร่วมเสวนาวิชาการธัชชาเรื่อง “ BCG กับประเพณีลอยกระทง” ส่งเสริมการสืบสานประเพณีไทยพร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อม

 

D6 2 D6 3

D6 1 D6 4

      18 พฤศจิกายน 2564 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดเสวนาวิชาการธัชชา เรื่อง “BCG กับประเพณีลอยกระทง” วัตถุประสงค์เพื่อถอดรหัสประเพณีลอยกระทงผ่านการเรียนรู้อดีตสู่ปัจจุบัน และประยุกต์ไปสู่ภาพอนาคต สอดคล้องภารกิจของกระทรวง อว. ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นหน่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG ในทุกๆ ด้าน โดยมีผู้บริหาร อว. เข้าร่วมกิจกรรม และจัดผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาประกอบด้วย


   รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี จากคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาแลกเปลี่ยนมุมมองอดีตของประเพณี ซึ่งจากข้อมูประวัติศาสตร์จะเห็นว่าประเพณีลอยกระทงมีมายาวนาน เป็นวิถีชีวิตคนไทยที่อยู่ใกล้ลุ่มน้ำ ถือเป็นการบูชาแม่น้ำที่มอบความอุดมสมบูรณ์ในการทำมมาหาเลี้ยงชีพ ผูกพันกับการดำรงชีวิต จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่มีการสืบสานเปลี่ยนแปลง ประยุต์ให้เข้ากับยุคสมัย ดังนั้นแก่นของประเพณีลอยกระทง คือการแสดงความกตัญญูต่อแม่น้ำ ธรรมชาติ และควรมีการปรับตัวทางวัฒนธรรม การส่งเสริมคนรุ่นใหม่อนุรักษ์ประเพณีไทย


     ด้าน ผศ.ดร.สมบัติ มั่งมีสุขศิริ จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันสุวรรณภูมิศึกษาและสถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ ได้สะท้อนมุมมองประเพณีลอยกระทงผ่านวัฒนธรรมร่วมแห่งสุวรรณภูมิ จากการเรียนรู้จากอิทธิพลของประเทศอินเดีย ผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่มีความยั่งยืนและเพิ่มมูลค่าได้ โดยประเทศอินเดียมีประเพณีที่คล้ายกัน แต่จัดก่อนประเพณีลอยกระทงของไทยประมาณ 15 วัน เรียกว่า "วันดีปาวลี" happy deepavali ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเทศกาลที่เน้นความรื่นเริงสนุกสนานจัดขึ้นเพียงปีละครั้ง


       นอกจากนี้ ในมุมของนักวิจัยและพัฒนาโดย ดร.อมรพล ช่างสุพรรณ หัวหน้ากลุ่มนวัตกรรมสีเขียว กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า เมื่อถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ประเพณีดั้งเดิมควรได้รับการสืบสานจากคนรุ่นใหม่บนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจในเชิงการอนุรักษ์ การนำแนวคิดและแนวทางจัดประเพณีลอยกระทงที่ลดภาระด้านสิ่งเเวดล้อม ในรูปแบบ BCG นั่นคือส่งเสริมการใช้ซ้ำและการร่วมแบ่งปัน ลดการใช้และไม่ใช้ของที่ทำลายและสร้างมลพิษให้เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ควรให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภคด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และเลือกใช้การออกแบบและสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติและกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด และประเพณียังควรอยู่คู่กับคนไทยในทุกยุคทุกสมัยได้อย่างยาวนานสืบไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว/ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2210 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD