9.สิ่งแวดล้อม

1.ภาชนะที่ใช้บรรจุตัวอย่างน้ำเสีย/น้ำทิ้ง

สามารถใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติก (polyethylene ) ปากกว้าง ขนาด 1ลิตร กรณีรายการทดสอบ Oil & Grease ปากกว้าง ขนาด 1ลิตร

2.มาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง หาได้จากที่ไหน

มาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง สามารถหาได้ที่ เว็บไซต์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม http:/www.diw.go.th/hawk/law/water/law6.asp กรมควบคุมมลพิษ http:/www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_water.html

3.วันที่รับตัวอย่างน้ำเสีย/น้ำทิ้ง

รายงานทดสอบ BOD รับตัวอย่างเฉพาะวันอังคารถึงวันพฤหัสบดี ส่วนรายการอื่นๆรับตัวอย่างจันทร์ถึงศุกร์เวลาราชการ

4.ปริมาณน้ำเสีย/น้ำทิ้ง ที่ใช้ในการทดสอบและเก็บรักษาตัวอย่างก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการ

รายงานการทดสอบ

จำนวน (ขวด 1ลิตร)

การเก็บรักษา

BOD , SS , DS . pH

3

แช่เย็น

COD , TKN , Org-N , NH3

2

เติม H2SO4 จน pH <2 แช่เย็น

Oil & Grease

2

เติม H2SO4 หรือ HCL จน pH <2 แช่เย็น

Cyanide

1

เติม NaOH จน pH >12

Formaldehyde

1

แช่เย็น

Phenol

1

เติม H2SO4 จน pH <2 แช่เย็น

Heavy Metals

1

เติม HNO3 จน pH <2 แช่เย็น

 

 

5.ค่าธรรมเนียมการทดสอบน้ำเสีย/น้ำทิ้ง

สามารถค้นหาได้ที่ http:/www.dss.go.th/feeweb/

6.ปริมาณตัวอย่างในการทดสอบโลหะหนัก

กากอุตสากรรม ปริมาณตัวอย่างที่ใช้ 500 กรัมต่อตัวอย่าง

7.ต้องการทดสอบโลหะหนักในกากอุตสาหกรรม ตามประกาศ อก.

ต้องการทดสอบโลหะหนักในกากอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548

แยกวิธีทดสอบออกเป็น 2 วิธี คือ

1)  หารปริมาณความเข้มข้นทั้งหมด (Total Concentration)

2)  หาปริมาณความเข้มข้นในน้ำสกัด (Extractable Concentration)

กรณีที่ตัวอย่างบดให้มีขนาดเล็กยาก ผู้ใช้บริการต้องบดและร่อนตัวอย่างผ่านตะแกรง ขนาด 2 มิลลิเมตร (เบอร์ 10)