ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่94/2565)วศ. อว. ได้รับรางวัลระดับดี สาขาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ในการประกวดรางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูง ประจำปี 2565

 

D5 2

      วันที่ 4 เมษายน 2565 ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าร่วมเป็นเกียรติในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (TRIUP Fair 2022) ภายใต้แนวคิด ปลดล๊อคความเป็นเจ้าของงานวิจัย สร้างศักยภาพไทยไร้ขีดจำกัด ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-6 เมษายน 2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ณ Mitrtown Hall 1-2 สามย่านมิตรทาวน์

 

D5 5 D5 3

D5 1 D5 4

       ผลงาน “การพัฒนาพื้นลู่ลานกรีฑา สนามกีฬา และลานอเนกประสงค์จากยางธรรมชาติ” โดย ดร. อรสา อ่อนจันทร์ หัวหน้าโครงการ และทีมงานกลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง กองวัสดุวิศวกรรม ได้รับรางวัล ระดับดี สาขาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ในการประกวดรางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูง ประจำปี 2565 (Prime Minister’s TRIUP Award for Research Utilization with High Impact 2022)
       โดย วศ. ได้วิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นลู่ลานกรีฑา สนามกีฬา และลานอเนกประสงค์จากยางธรรมชาติ จากนั้นได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการจำนวน 280 คน จาก 96 บริษัท นำไปสู่การสร้างสนามทั่วประเทศกว่า 328 สนาม ใน 64 จังหวัด มูลค่าตลาด 916 ล้านบาท สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 8,856.6 ล้านบาท เป็นการเพิ่มการใช้ยางธรรมชาติในประเทศปริมาณ 2,568 ตัน นอกจากนี้ยังได้พัฒนามาตรฐานจำนวน 2 ฉบับ คือ มอก. 2682-2558 เม็ดยางสำหรับพื้นสังเคราะห์ และ มอก. 2683-2558 พื้นสังเคราะห์ เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้นวัตกรรมพื้นสนามกีฬาจากงานวิจัยทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท A พื้นลู่-ลานกรีฑา พื้นลู่ลานกรีฑาที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (IAAF) ประเภท B พื้นลู่ลานกรีฑาทั่วไป และประเภท C พื้นอเนกประสงค์ ได้ถูกบรรจุลงในบัญชีนวัตกรรมไทยแล้วรวม 34 รายการ (TR 9)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

 

(ข่าวที่93/2565)วศ.อว. ร่วมลงนาม การพัฒนาจังหวัดสตูลสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวทางการพัฒนา BCG

 

D4 3 D4 1

D4 2 D4 4

       วันที่ 1 เมษายน 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาจังหวัดสตูลสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวทางการพัฒนา BCG ระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และจังหวัดสตูล โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ปลัดกระทรวง อว. เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นางสุชิน อุดมสมพร รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นผู้ร่วมลงนาม ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล


      นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า ความร่วมมือของทั้ง 6 หน่วยงาน โดยการนำองค์ความรู้มาบูรณาการศาสตร์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ สู่การพัฒนา จ.สตูล อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวทางการพัฒนา BCG โดยร่วมกันใช้ทรัพยากรและบุคลากรที่มีความสามารถตามภารกิจหลักของหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว.พร้อมร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ทางวิชาการในการพัฒนาอุทยาธรณีโลกสตูลให้ได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโก (UNESCO) วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับสากล และสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากอุทยานธรณีโลก พร้อมทั้งผลักดันให้จังหวัดสตูลเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษทางมรดกวัฒนธรรม พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจ BCG ให้เกิดเศรษฐกิจมูลค่าสูง โดยใช้ Geopark เป็นตัวนำในการสร้าง Sustainable Development Economic Zone ให้เป็น World Destination ของประเทศไทย


    ทั้งนี้ วศ. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขัน นำความพร้อมของการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งศักยภาพของการวิเคราะห์ทดสอบที่มีมาตรฐานมาช่วยยกระดับจังหวัดสตูล โดยจัดแสดงผลงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย โครงการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติก ผลิตภัณฑ์เซรามิกดอกกล้วยไม้ขาวสตูลดอกไม้ประจำจังหวัด ที่ผลิตจากเนื้อดินขาวนราธิวาส และผลงานวิจัยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกและการจัดการขยะในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลอย่างยั่งยืนโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของจังหวัดสตูล รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยการจัดการขยะและไมโครพลาสติกในพื้นที่เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว :พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่92/2565)วศ.อว. หารือ มูลนิธิสันติภาพนานาชาติ เตรียมความพร้อม THAI-JAPAN-ASEAN BRIDGES Event Series

 D3 4 D3 2

D3 3 D3 1

    วันที่ 30 มีนาคม 2565 ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมด้วย รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะผู้บริหาร วศ. ให้การต้อนรับ Mr.Uwe Morawetz, Chairman of International Peace Foundation และ Mr.Jijang Wijaya, Assistance ในโอกาสเข้าหารือเตรียมความพร้อม เรื่อง THAI-JAPAN-ASEAN BRIDGES Event Series ซึ่งจะจัดระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง เดือนเมษายน 2567 ในหัวข้อประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นจะก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคตที่ดีขึ้นอย่างไรหลังจากสถานการณ์การระบาดของ Covid19 ทั่วโลก โดยจะจัดให้ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize Laureates) มาแสดงปาฐกถาพิเศษเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ซึ่งหน่วยงาน International Peace Foundation เป็นมูลนิธิที่ได้รับการอุปถัมภ์โดยผู้ได้รับรางวัลโนเบล โดยดำเนินการสนับสนุนสถาบันทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ ให้เกิดความร่วมมือและสามารถดำเนินงานร่วมกันได้อย่างสันติและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมนิธิปัญญา กรมวิทยาศาสตร์บริการ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : จิตลดา คณีกุล  ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่91/2565)วศ.อว. ลงพื้นที่ภาคใต้ถ่ายทอดเทคโนโลยีย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติจากวัตถุดิบในท้องถิ่น

 

D2 3 D2 1

D2 4 D2 2

      เมื่อเร็วๆนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางสาวโสรญา รอดประเสริฐ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ พร้อมทีมนักวิทยาศาสตร์ วศ. กองเทคโนโลยีชุมชน ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนากระบวนการย้อมสีธรรมชาติจากวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น (ผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติกศิริพรบาติกและผ้าเพ้นท์)” ณ ที่ทำการกลุ่มศิริพรบาติกและผ้าเพ้นท์ ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และเรื่อง “การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติจากวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น (การพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับผ้ามัดย้อมกลุ่มบ้านนากลางก้าวไกล)” ณ ที่ทำการกลุ่มบ้านนากลางก้าวไกล ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ภายใต้โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข่าว : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง  ภาพ : เอกพจน์ เกลี้ยงงาม

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctorD

(ข่าวที่90/2565)วศ. พัฒนาคุณภาพ Lab ทดสอบคุณภาพน้ำยกระดับตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของแข็งละลายน้ำ (Total Dissolved Solids : TDS)

D1 3 D1 1

D1 4 D1 2

 

        วันที่ 28 มีนาคม 2565 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างน้ำ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการภายในประเทศ จำนวน 349 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Total Dissolved Solids (TDS) in water และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการของ วศ. ภายในวันที่ 11 เมษายน 2565 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป


   ดัชนีคุณภาพน้ำหรือตามมาตรฐานคุณภาพน้ำนั้น รายการที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน คือ ของแข็งละลายน้ำ (Dissolved Solids; DS หรือ Total Dissolved Solids; TDS) หมายถึง ของแข็งที่ละลายน้ำได้ แสดงในหน่วยของมิลลิกรัมต่อหน่วยปริมาตรน้ำ (มิลลิกรัม/ลิตร) ของแข็งหรือโลหะที่ละลายอยู่ในน้ำ Dissolved Solids มาจากหลายแหล่ง เช่น แหล่งอินทรีย์ ได้แก่ ตะกอน กากอุตสาหกรรมและสิ่งปฏิกูล ที่มาจากการไหลจากพื้นที่เขตเมือง ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่ใช้ในสนามหญ้าและฟาร์ม ส่วนแหล่งอนินทรีย์ ได้แก่ หินและอากาศที่อาจมีไบคาร์บอเนต แคลเซียม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส เหล็ก กำมะถัน และแร่ธาตุอื่น ๆ นอกจากนั้น น้ำยังอาจรับโลหะ เช่น ตะกั่ว หรือ ทองแดง ที่ผ่านท่อที่ใช้ในการแจกจ่ายน้ำให้กับผู้บริโภค เป็นต้น


        ค่ามาตรฐาน ของ TDS ค่า TDS ไม่ควรเกิน 500 mg/L หรือ 500 ppm แต่หากค่า TDS เกิน 1000 mg/Lจะเป็นน้ำที่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะค่า TDS ที่สูง จะบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของสิ่งเจือปนที่อันตรายและต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่ ค่า TDS สูง จะเกิดจากน้ำมีส่วนผสมของ โปตัสเซียม, คลอไรด์ และโซเดียม ถ้ามีอยู่ไม่มากก็ไม่มีผลในระยะสั้น แต่ค่า TDS ที่สูงก็อาจมีสารพิษ เช่น ตะกั่ว ไนเตรท แคดเมียม ละลายอยู่ ซึ่งสารดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศได้ ในการทดสอบค่า TDS มีประโยชน์อื่นประกอบด้วย (1) ด้านรสชาติ/สุขภาพ น้ำที่มีรสชาติแปลก ๆ เช่น เค็ม, ขม หรือเหมือนมีโลหะผสมอยู่ เมื่อวัดหาค่า TDS มักจะได้ค่าที่สูง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้มการปนเปื้อนแร่ธาตุที่เป็นพิษ (2) ค่า TDS จะบอกค่าความกระด้างของน้ำได้ ซึ่งความกระด้างของน้ำเป็นสาเหตุของการก่อตัวของหินปูนในท่อ หรือตามวาล์ว (3) ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ ระดับของแร่ธาตุที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำควรจะมีค่าเท่ากับที่มีอยู่ตามธรรมชาติของสัตว์น้ำนั้น การตรวจระดับ TDS และ pH ในน้ำจะมีความสำคัญมาก (4) ตรวจวัดคุณภาพน้ำเสีย น้ำทิ้งจากบ่อบำบัดโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องได้คุณภาพตามมาตรฐานโรงงาน เป็นต้น


    ทั้งนี้ วศ. สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพน้ำ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาสิ่งแวดล้อม รายการ Total Dissolved Solids (TDS) in water เพื่อประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน การเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นประโยชน์ในการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการ และติดตามความต่อเนื่องความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งระบุปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ และความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

  1. (ข่าวที่89/2565)วศ.ร่วมประชุมอนุกรรมาธิการการลงทุนฯ วุฒิสภา นำเสอผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
  2. (ข่าวที่88/2565)วศ.ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป” พื้นที่ จังหวัดอุทัยธานี
  3. (ข่าวที่87/2565)วศ.อว. มอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต2” ให้ 3 รพ.สุรินทร์ ลดความเสี่ยงผู้ติดเชื้อโควิด-19 เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระพันปีหลวง
  4. (ข่าวที่86/2565)วศ. หารือ สกสว. ร่วมขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พร้อมชูความก้าวหน้าผลงานวิจัย นวัตกรรมและการให้บริการ
  5. (ข่าวที่85/2565)วศ.อว. ศึกษาดูงานศูนย์ KMITL Interactive Digital Center แหล่งวิจัยและการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเสมือนจริงแบบครบวงจ
  6. (ข่าวที่84/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
  7. (ข่าวที่83/2565)กรมวิทยาศาสตร์บริการ ประกาศเจตจำนงการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
  8. (ข่าวที่82/2565)วศ.อว.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า รายการ Steel plate: Maximum force, Yield force, Yield strength,Tensile strength and Elongation (PTPH - SP01 – 2201)
  9. (ข่าวที่81/2565)วศ.ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ ผู้ผลิตภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติกาบหมาก จ.สระบุรี
  10. (ข่าวที่80/2565)วศ. จัดอบรมหลักสูตร “ข้อกำหนดพื้นฐานด้าน GMP ของผู้ตรวจประเมินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ 420)