ข่าวประชาสัมพันธ์

(ข่าวที่57/2566) วศ.อว. ให้บริการสอบเทียบเครื่องทดสอบแรงดึง-แรงกด (Universal Testing Machine) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

E37 4 E37 3 E37 1 E37 2

          

          เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 กองสอบเทียบเครื่องมือวัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยนายวิชัย กาญจนพัฒน์ นายช่างเครื่องกลชำนาญงาน นายไกรศักดิ์ ยืนยั่ง นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ และนายวริษฐ์ เจริญพชรวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ เข้าให้บริการสอบเทียบเครื่องทดสอบแรงดึง-แรงกด (Universal Testing Machine) ขนาด 500 ตัน ณ หน่วยทดสอบวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสอบเทียบเป็นขอบข่ายที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 ซึ่งทางห้องปฏิบัติการสอบเทียบกรมวิทยาศาสตร์บริการถือเป็นหน่วยงานชั้นนำของประเทศในการสอบเทียบเครื่องทดสอบประเภทดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีขอบข่ายการให้บริการในอีกหลายสาขาเช่น การสอบเทียบความแข็ง การสอบเทียบมวลการสอบเทียบความยาวและมิติ การสอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น เป็นต้น
         ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นมายาวนานกว่า100 ปี เป็นแหล่งความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธาในระดับนานาชาติ ทั้งในด้านการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมโยธาที่มีความรู้ ความสามารถ ผลิตผลงานวิจัย และการบริการวิชาการที่มีคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและสังคม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่56/2566) วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาเคมี รายการ SiO2, Al2O3, Fe2O3, CaO, MgO and SO3 in Portland cement

E36 2  E36 3

 

E36 4  E36 1

   

           วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กรมวิทยาศาตร์บริการ โดย กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองบริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing: PT) โดยดำเนินการจัดส่งตัวอย่างปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 14 ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบ ในรายการ SiO2, Al2O3, Fe2O3, CaO, MgO และ SO3 โดยมีกำหนดส่งผลการทดสอบกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 3 มีนาคม 2566 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นใจในคุณภาพทางเคมีของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ให้แก่ห้องปฏิบัติการทดสอบในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
          ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) คือ ปูนซีเมนต์ประเภทหนึ่งที่นิยมใช้แพร่หลายทั่วโลกในงานก่อสร้าง นับเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตคอนกรีต การผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์มีส่วนผสมหลัก คือ หินปูน หินดินดาน ดินลูกรัง และทราย รวมถึงการเพิ่มสารอื่นๆ เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของปูนซีเมนต์ เช่น ยิปซัม สารปอซโซลาน สารลดน้ำ เป็นต้น การผลิตเริ่มต้นด้วยการบดวัตถุดิบให้เป็นผงละเอียด และนำไปเผาที่อุณหภูมิสูงจนได้เม็ดปูนซีเมนต์ซึ่งจะถูกนำไปบดเป็นปูนซีเมนต์ผงที่มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีเทา ทั้งนี้มาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ของไทย คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือ มอก.15 เล่ม 1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ ซึ่งได้แบ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ ประเภท 1: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ประเภท 2: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง ประเภท 3: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูงเร็ว ประเภท 4: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ และ ประเภท 5: ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนซัลเฟตสูง วิธีการตรวจวิเคราะห์หาชนิด และปริมาณของธาตุในปูนซีเมนต์ เช่น Chemical Analysis จะใช้วิธีการทางเคมีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณธาตุต่างๆ ในตัวอย่างปูนซีเมนต์โดยจะมีการวิเคราะห์ที่สำคัญ 8 พารามิเตอร์ ได้แก่ silicon dioxide (SiO2), aluminium oxide (Al2O3), ferric oxide (Fe2O3), calcium oxide (CaO), magnesium oxide (MgO), sulfur trioxide (SO3), Loss on ignition (LOI) และ Insoluble residue (IR) โดยในการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุชนิดต่างๆ ของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตมากมาย เช่น อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ อุตสาหกรรมด้านเคมี และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ฯลฯ

ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ

- ทำให้ห้องปฏิบัติการมั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง
- เพื่อยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการ และยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่55/2566) วศ.อว. ร่วมกับ MRB ประเทศมาเลเซีย ศึกษาวิธีทดสอบปริมาณไนโตรซามีนในถุงยางอนามัย เพื่อจัดทำมาตรฐาน ISO

E34 1 E34 2

E34 4 E34 3

 

          13-17 กุมภาพันธ์ 2566 ดร. อรสา อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค ในฐานะ Head of H delegate ของประเทศไทยสําหรับการประชุม Technical Committees ISO/TC 157 Non-systemic contraceptives and STI barrier prophylactics (TC 157) เป็นประธาน พร้อมด้วย ดร. อรวรรณ ปิ่นประยูร หัวหน้ากลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ทดสอบกลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในการต้อนรับ Dr. Fauzi Mohd Som และ Miss Nurul Nadiah, Ahmad Mohsin ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ ไนโตรซามีนจากห้องปฏิบัติการ Malaysian Rubber Board (MRB) ประเทศมาเลเซีย เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิเคราะห์ปริมาณไนโตรซามีนในผลิตภัณฑ์ยาง กับห้องปฏิบัติการกลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง กองวัสดุวิศวกรรม รวมทั้งได้ร่วมปรึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์ในโตรซามีน เพื่อหาแนวทางในการ วิเคราะห์ทดสอบร่วมกัน สำหรับการจัดทำมาตรฐาน ISO วิธีการวิเคราะห์ปริมาณไนโตรซามีนในถุงยางอนามัยต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่54/2566) นักวิทย์ วศ.อว. ไขประเด็น “น้ำกรด : พิษร้ายอันตรายถึงชีวิต?” ในรายการวันใหม่ วาไรตี้ Thai PBS

E33 2 E33 3

E33 4 E33 1

          วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยนางสาว จิรสา กรงกรด นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค ได้ไขประเด็นข้อสงสัยที่เป็นประโยชน์กับประชาชน เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำกรดสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายและควรนำไปใช้อย่างถูกต้องระมัดระวัง ทั้งนี้นางสาวจิรสา กรงกรด เป็นนักวิทยาศาสตร์โครงการเคมีที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ได้ไขข้อสงสัยผ่านรายการวันใหม่วาไรตี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมีคุณอธิวัฒน์ ธีรนิธิศนันท์ และคุณชไมพร เห็นประเสริฐ พิธีกรร่วมพูดคุยในรายการดังกล่าว
ติดตามชมรายการย้อนหลังได้ในลิงก์นี้>> https://www.youtube.com/watch?v=3T2igPL2KPc

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

(ข่าวที่53/2566) วศ.อว. จัดเวทีสนทนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การป้องกันภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยี

E30 4 E30 3

E30 1 E30 2

 

          วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เป็นประธานเปิดเวทีสนทนาประสา วศ. เรื่อง Lunch with CISO #1 โดย นายเดช บัวคลี่ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ (CISO วศ.) เป็นวิทยากร ซึ่งมีบุคลากร วศ. ให้ความสนใจร่วมรับประทานอาหารกลางวันและแลกเปลี่ยนในกิจกรรม ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ และผ่านระบบออนไลน์ (ZOOM) กว่า 60 คน

          ในปัจจุบัน วศ. เป็นหน่วยงานราชการที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การบริหารและการตัดสินใจในการดำเนินภารกิจภาครัฐและธุรกิจภาคเอกชน รวมถึงการนำสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดนโยบายและการพัฒนาประเทศ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ต้องระวังภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและอันตรายจากการโจรกรรมข้อมูล ซึ่งเป็นภัยอันตรายในรูปแบบใหม่ ๆ ที่จำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันภัยคุกคามดังกล่าวและสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ๆ ในอนาคตได้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เลขที่ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวีกรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2201 7095-8 โทรสาร 0 2201 7470 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE , www.facebook.com/ScienceDoctor

  1. (ข่าวที่52/2566) วศ.อว. จัดอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้ศาสตร์การปรุงอาหารแนวใหม่ : Molecular Gastronomy เพิ่มรายได้ให้ชุมชน
  2. (ข่าวที่51/2566) วศ.อว. เปิดตัวละครสั้น "มาตรฐานรัก" มิติใหม่ของการนำเสนอบทบาทภารกิจกรม
  3. (ข่าวที่50/2566) วศ. พัฒนาความรู้ด้านข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ให้แก่นักศึกษา บุคลากรของ ม.บูรพา
  4. (ข่าวที่49/2566) วศ.อว. ปลื้ม!! บุคลากรได้รับรางวัลศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรประเทศไทยดีเด่น ประจำปี 2566
  5. (ข่าวที่48/2566) วศ.อว. ประดิษฐ์แจกันเซรามิกสานลายกระต่ายพร้อมขึ้นรูปดอกม่วงเทพรัตน์ ทูลเกล้าฯ ถวายกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566
  6. (ข่าวที่47/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ซอสพริกไทยสุไหงอุเป ณ จังหวัดสตูล
  7. (ข่าวที่46/2566) วศ.อว. ประกาศนโยบายคุณภาพ เน้นการให้บริการด้าน วทน. ที่มีคุณภาพ
  8. (ข่าวที่45/2566) วศ.อว. ร่วมคาราวานวิทย์ฯ อพวช. เสริมทักษะการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชน จ.ชลบุรี
  9. (ข่าวที่44/2566) วศ.อว. ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ ผู้ผลิตภัณฑ์ภาชนะสัมผัสอาหารจากวัสดุธรรมชาติ ณ จังหวัดสุพรรณบุรี
  10. (ข่าวที่43/2566) วศ.อว. ทูลเกล้าฯ ถวายผลิตภัณฑ์เซรามิกแจกันสานรูปกระต่ายประดับขึ้นรูปด้วย “ดอกม่วงเทพรัตน์” แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ใน “งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566”