Skip to content

โครงสร้างสถาบัน
- ศูนย์บริหารกลาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- 1) ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำระบบคุณภาพภายในสถาบันให้ได้มาตรฐาน
- 2) ประสานงานและบริหารจัดการตัวอย่างเพื่อการทดสอบในห้องปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขการตรวจและการรับรองผลิตภัณฑ์
- 3) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนการพัฒนาและยกระดับความสามารถของสถาบัน
- 4) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
- 5) งานธุรการ งานด้านสารบรรณ บุคลากร พัสดุ การเงินงบประมาณ ภายในสถาบันและประสานงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
- 6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
- ศูนย์พัฒนามาตรฐาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- 1) จัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์นวัตกรรม มาตรฐานวิธีทดสอบ เพื่อใช้ในการรับรองและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานวิธีทดสอบ เพื่อใช้ในการรับรองและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
- 2) ดำเนินงานเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ เพื่อผลักดันมาตรฐานระดับประเทศไปสู่มาตรฐานระดับสากล
- 3) แต่งตั้งคณะผู้จัดทำร่างมาตรฐาน เพื่อพิจารณาและให้ข้อคิดเห็นทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานที่พัฒนา
- 4) สำรอง รวบรวม และประสานงานกับนักวิจัยหรือหน่วยให้ทุนวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลความต้องการมาตรฐานและดำเนินงานร่วมกันในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และรวบรวมข้อมูลความต้องการมาตรฐานของผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรม
- 5) ปฏิบัติงานร่วมกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดทำมาตรฐาน
- 6) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ มาตรฐานวิธีทดสอบแก่นักวิจัย ผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรม รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และบุคคลที่สนใจ
- 7) ติดตาม เฝ้าระวังการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานสากล ตลอดจนร่วมมือและประสานงานกับองค์กรมาตรฐานระดับสากลในการพัฒนามาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและเทคโนโลยีใหม่ๆ
- 8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
- ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- 1) วางแผนพัฒนาและขับเคลื่อนการให้บริการการทดสอบความชำนาญด้านทดสอบและสอบเทียบตามมาตรฐานสากล และด้านวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุมตามมาตรฐานสากล
- 2) บริการทดสอบความชำนาญให้แก่ห้องปฏิบัติการในประเทศและต่างประเทศ ด้านทดสอบและสอบเทียบตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17043
- 3) ผลิตวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุมที่ใช้ในการทดสอบและวิเคราะห์ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการสามารใช้ในการควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานสากล ISO 17034
- 4) ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทดสอบความชำนาญ ด้านวัสดุอ้างอิงและการควบคุมคุณภาพ (Quality assurance) ให้กับภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกสาร
- 5) ศึกษาวิจัยและพัฒนางานบริการด้านทดสอบความชำนาญ ตลอดจนส่งเสริมให้หน่วยงานพัฒนากิจกรรมให้บริการที่ครอบคลุมความต้องการ และทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ
- 6) ศึกษาวิจัยและพัฒนาวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุม ตลอดจนส่งเสริมและขยายผลงานวิจัยจากหน่วยงานภายใน เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุอ้างอิงที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- 7) จัดทำฐานข้อมูลความสามารถห้องปฏิบัติการ และฐานข้อมูลวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุม เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของประเทศ
- 8) จัดทำและรักษาระบบคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17043 และ ISO 17034
- 9) เผยแพร่ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และประสานงานความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการทดสอบความชำนาญและการผลิตวัสดุกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและนานาชาติ
- 10) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
-
- ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- 1. กลุ่มทดสอบความชำนาญ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- วางแผนพัฒนาและขับเคลื่อนการให้บริการการทดสอบความชำนาญด้านทดสอบและสอบเทียบตามมาตรฐานสากล
- บริการทดสอบความชำนาญให้แก่ห้องปฏิบัติการในประเทศและต่างประเทศ ด้านทดสอบและสอบเทียบตามมาตรฐานสากล
- ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทดสอบความชำนาญตามมาตรฐานสากลให้แก่ห้องปฏิบัติการ ภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน
- ศึกษาวิจัยและพัฒนางานบริการด้านทดสอบความชำนาญ ตลอดจนส่งเสริมให้หน่วยงานพัฒนากิจกรรมให้บริการที่ครอบคลุมความต้องการ และทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ของประเทศ
- จัดทำฐานข้อมูลความสามารถห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของประเทศ
- พัฒนาและรักษาระบบคุณภาพการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- เผยแพร่ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และประสานงานความร่วมมือด้านการทดสอบความชำนาญและด้านวิชาการกับหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
- 2. กลุ่มพัฒนาวัสดุอ้างอิง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- วางแผนพัฒนาและขับเคลื่อนการให้บริการด้านวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุมตามมาตรฐานสากล
- ผลิตวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุมที่ใช้ในการทดสอบและวิเคราะห์ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการสามารถใช้ในการควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการ
- ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุมให้แก่ห้องปฏิบัติการ ภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน
- ศึกษาวิจัยและพัฒนาวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุม ตลอดจนส่งเสริมและขยายผลงานวิจัยจากหน่วยงานภายใน เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุอ้างอิงที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- พัฒนาและรักษาระบบคุณภาพการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- จัดทำฐานข้อมูลวัสดุอ้างอิงและวัสดุควบคุม เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของประเทศ
- ศูนย์ตรวจและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- 1) วางแผน ดำเนินงาน พัฒนา และปรับปรุงการบริหารจัดการระบบคุณภาพ ISO/IEC 17065 และ ISO/IEC 17020
- 2) ดำเนินการตรวจ/รับรองผลิตภัณฑ์ ระบบจัดการ กระบวนการ และบริการ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
- 3) ศึกษา พัฒนาและจัดทำข้อกำหนด/แนวปฏิบัติ รูปแบบเพื่อการรับรองผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล
- 4) ศึกษา พัฒนากระบวนการตรวจ และจัดทำคู่มือการตรวจให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล
- 5) สรรหาและขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ หน่วยตรวจและหน่วยรับรองระบบการจัดการ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์
- 6) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับคุณภาพผลิตภัณฑ์และการรับรองผลิตภัณฑ์
- 7) ประสานความร่วมมือกับหน่วยตรวจสอบและรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- 8) เผยแพร่ให้ความรู้และข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง การรับรองผลิตภัณฑ์ และการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
- 9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย