โครงสร้างสถาบัน

  • ศูนย์บริหารกลางกลาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
    1. จัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลของกรม ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัล
    2. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความรู้ทางวิชาการด้านดิจิท้ลให้กับบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
    3. จัดทำแผนปฏิบัติการของสถาบัน รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
    4. ส่งเสริม การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสมุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน
    5. ปฏิบัติงานธุรการด้านสารบรรณ บุคลากร พัสดุ การเงิน งบประมาณ ภายในสถาบันและประสานงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
  • หอสมุดวิทยาศาสตร์ ดร.ตั้ว ลพานุกรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
    1. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ประกอบด้วย การศึกษาผู้ใช้ การจัดทำนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การคัดเลือก การจัดหา การประเมินและคัดทรัพยากรสารสนเทศออกหรือจำหน่ายออก
    2. วิเคราะห์ จัดหมวดหมู่และจัดการทรัพยากรสารสนเทศตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานสากล พร้อมทั้งจัดทำดรรชนีและสาระสังเขปวิชาการ
    3. บริหารจัดการและให้บริการหอสมุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า อ้างอิง สนับสนุนการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และสนับสนุนภารกิจของกรม
    4. ติดตามความก้าวหน้าและจัดทำสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
    5. บริหารจัดการการจัดทำวารสารวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์บริการสู่วารสารวิชาการระดับสากล
    6. บูรณาการเครือข่ายภายใต้ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ จัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศและเครือข่าย เพื่อการร่วมใช้ทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    7. อนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  • ศูนย์บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
    1. ออกแบบ วางแผน จัดหา ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสาร และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    2. พัฒนา กำกับดูแล และบริหารจัดการการให้บริการระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และศูนย์ข้อมูลกลาง ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
    3. กำหนดนโยบาย ระเบียบ แนวปฏิบัติด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้สอดคล้องตามกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
    4. บริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตรวจสอบติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์ความผิดปกติทางด้านระบบความมั่นคงปลอดภัย ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย แจ้งเตือนและดำเนินการแก้ไขปัญหา
  • ศูนย์พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
    1. ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ วิจัย พัฒนา และบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ ระบบฐานข้อมูลในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน
    2. ศึกษา วิเคราะห์และวิจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการบริการ (Service Platform) รองรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นหรือการบริการรูปแบบใหม่
    3. จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) โดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงาน
    4. ส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ตามภารกิจอย่างเหมาะสม
    5. พัฒนา ปรับปรุง และเชื่อมโยงเว็บไซต์ของกรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ศูนย์บริหารจัดการข้อมูลวิทยาศาสตร์บริการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
    1. กำหนดมาตรฐานข้อมูลกลาง (Meta Data) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของกรมให้สามารถนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ
    2. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา รูปแบบจำลอง (Model) ที่เหมาะสมในการประเมิน คาดการณ์ และพยากรณ์ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ และนำไปใช้ประโยชน์
    3. บริหารจัดการข้อมูลวิทยาศาสตร์บริการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจกรม
    4. จัดวางระบบหรือรูปแบบการนำเสนอและการให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน (Open data) เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการตรวจสอบและรับรองของประเทศ
    5. บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
Scroll to Top