หลักสูตร : การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคยั่งยืน

เข้าชมแล้ว 116 ครั้ง

ปีงบประมาณ : 2568

ประเภทของหลักสูตร : ปรับปรุงคุณภาพน้ำ

หลักการและเหตุผล : น้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากน้ำมีบทบาทสำคัญทั้งในด้าน การบริโภค อุปโภค รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน จากยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ประเด็นที่ ๕ การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญา และสังคม แสดงให้เห็นว่าน้ำไม่เพียงแต่เป็นดัชนีชี้วัดสุขภาพ ของประชาชนในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นตัวชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศอีกด้วย รัฐบาลจึงได้ดำเนินการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อบริการประชาชนเสมอมาและสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ไว้ว่า “ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล โดยการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน” ในปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดและปลอดภัยยังคงเป็นความท้าทาย สำหรับหลายพื้นที่ ทั้งประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เขตเมืองและในเขตพื้นที่ชนบท ที่ยังมีใช้น้ำที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เช่น น้ำที่พบที่ผิวดิน ตามบ่อ หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ซึ่งน้ำ ในธรรมชาติเหล่านี้อาจมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียสารเคมีและโลหะหนักเจือปนอยู่ที่สามารถมองเห็นหรือ ไม่เห็นด้วยตาเปล่า ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือส่งผลต่อคุณภาพสินค้าที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานดังนั้นการปรับปรุงคุณภาพและตรวจสอบคุณภาพก่อนนำมาใช้อุปโภคหรือบริโภค หรือใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำมาใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดงานวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน กองเทคโนโลยีชุมชน กลุ่มวิจัยและพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ชุมชน จึงได้จัดทำแผนการดำเนินการ ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคยั่งยืน” เพื่อเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการนำเทคโนโลยีไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP รวมถึงหน่วยงานที่สนใจ สามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำและบำรุงรักษาระบบกรองน้ำได้เอง นอกจากนี้ประชาชนสามารถผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคใช้เองในครัวเรือนโดยมีเป้าหมายช่วยเสริมสร้างสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายเกี่ยวกับคุณภาพน้ำชนิดต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้ประชาชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP หน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ และผู้สนใจ ทั่วไป สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้มาพัฒนาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคได้ 3. เพื่อให้ประชาชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP หน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ และผู้สนใจ ทั่วไป สามารถดูแลบำรุงรักษาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคและผลิตน้ำที่สะอาดปลอดภัย เพื่อใช้ในกระบวนการอุปโภคและบริโภคได้เอง 4. เพื่อให้ประชาชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP หน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ และผู้สนใจ ทั่วไป ตระหนักถึงผล กระทบที่จะเกิดจากสารปนเปื้อนในน้ำที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย และคุณภาพสินค้าของประชาชน 5. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องกรองน้ำ ตลอดจนนำความรู้และทักษะไปใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อการสร้างรายได้

คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม : 1. วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP หน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ 2. ประชาชนหรือผู้สนใจทั่วไปที่สนใจ 3. สามารถเข้าฝึกอบรมฯ ได้ตลอดหลักสูตร

หลักสูตรการฝึกอบรม : การฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้เรื่องน้ำการปรับปรุงคุณภาพน้ำ และภาคปฏิบัติการทำการฝึกปฏิบัติการระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคสำหรับติดตั้ง ระยะเวลาฝึกอบรมจำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 3 วัน ดังนี้ - ภาคทฤษฎี 1. ความสำคัญของคุณภาพน้ำต่อสุขภาพ 2. มาตรฐานน้ำดื่มและน้ำใช้ในครัวเรือน 3. การตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ 4. การปรับปรุงคุณภาพน้ำและเครื่องกรองน้ำที่มีในท้องตลาด 5. การพัฒนาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคอย่างเหมาะสม - ภาคปฏิบัติ 1. วิธีการพัฒนาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค 2. วิธีการตรวจสอบประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค 3. วิธีการบำรุงรักษาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค 4. วิธีการซ่อมบำรุงระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค

วิธีการฝึกอบรม : 1. ภาคทฤษฎี 3 ชม. /ครั้ง 1. ความสำคัญของคุณภาพน้ำต่อสุขภาพ 2. มาตรฐานน้ำดื่มและน้ำใช้ในครัวเรือน 3. การตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ 4. การปรับปรุงคุณภาพน้ำและเครื่องกรองน้ำที่มีในท้องตลาด 5. การพัฒนาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภคอย่างเหมาะสม 2. ภาคปฏิบัติ 15 ชม. /ครั้ง การผลิตระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค ประกอบด้วย ท่อกรองบรรจุถ่านกัมมันต์ เครื่องกรองเรซินอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ (ด้วยระบบฆ่าเชื้อด้วยแสง UV หรือ โอโซน) กรองใส วิิธีการพัฒนา ตรวจสอบประสิทธิภาพ การบำรุงรักษา และซ่อมบำรุงระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 29 ต.ค. 67 ถึง 31 ม.ค. 68 รวมระยะเวลาการฝึกอบรม 3 วัน

สถานที่การจัดฝึกอบรม : กรมวิทยาศาสตร์บริการ

แผนที่สถานที่จัดฝึกอบรม : คลิก

อัตราค่าลงทะเบียน : -

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม : -

ที่ปรึกษาโครงการ : ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ : กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

กำหนดการฝึกอบรม :
วันและเวลารายการวิทยากร

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2567

08.00 – 09.00 น.

 

09.00 – 12.00   น.

 

 

 

 

 

 

 

13.00 – 16.30 น.

 

ลงทะเบียน  

ภาคทฤษฎี  

- ความสำคัญของคุณภาพน้ำต่อสุขภาพ 

- มาตรฐานน้ำดื่มและน้ำใช้ในครัวเรือน 

- การตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ 

- การปรับปรุงคุณภาพน้ำและเครื่องกรองน้ำที่มีใน
  ท้องตลาด 

- การพัฒนาระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค
  อย่างเหมาะสม

ภาคปฏิบัติ

-  การผลิตระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค  
   ประกอบด้วย ท่อกรองบรรจุถ่านกัมมันต์ 
   เครื่องกรองเรซิน อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ (ด้วยระบบ
   ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV หรือ โอโซน) กรองใส 
   วิิธีการพัฒนา ตรวจสอบประสิทธิภาพ 
   การบำรุงรักษา และซ่อมบำรุงระบบปรับปรุง 
   คุณภาพน้ำบริโภค

 

 

 

    

 

    นายนพดล

 

 

 

 

 

     นายนพดล

      นายชนก

      นายวิโรจน์

วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567

08.00 – 08.30 น.

 

08.30 – 16.30 น.

 

ลงทะเบียน

ภาคปฏิบัติ

-  การผลิตระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค  
   ประกอบด้วย ท่อกรองบรรจุถ่านกัมมันต์ 
   เครื่องกรองเรซิน อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ (ด้วยระบบ
   ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV หรือ โอโซน) กรองใส 
   วิิธีการพัฒนา ตรวจสอบประสิทธิภาพ 
   การบำรุงรักษา และซ่อมบำรุงระบบปรับปรุง 
   คุณภาพน้ำบริโภค

 

 

 

     นายนพดล

      นายชนก

      นายวิโรจน์

วันและเวลารายการวิทยากร

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567

08.00 – 08.30 น.

 

08.30 – 16.00 น.

 

 

 

 16.00 – 16.30 น.

 

ลงทะเบียน

ภาคปฏิบัติ

-  การผลิตระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบริโภค  
   ประกอบด้วย ท่อกรองบรรจุถ่านกัมมันต์ 
   เครื่องกรองเรซิน อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ (ด้วยระบบ
   ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV หรือ โอโซน) กรองใส 
   วิิธีการพัฒนา ตรวจสอบประสิทธิภาพ 
   การบำรุงรักษา และซ่อมบำรุงระบบปรับปรุง 
   คุณภาพน้ำบริโภค

- สรุปประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น  ตอบข้อซักถามและ        
 การประเมินผลความพึงพอใจจากการฝึกอบรม

 

 
 

       นายนพดล

       นายชนก

      นายวิโรจน์