หลักสูตร : การพัฒนากรรมวิธีการย้อมสีธรรมชาติ เพื่อให้เกิดมาตรฐานกระบวนการผลิต และการกำหนดคุณสมบัติของวัตถุดิบในการย้อมจากธรรมชาติสำหรับผ้าทอ (บุรีรัมย์)

เข้าชมแล้ว 271 ครั้ง

ปีงบประมาณ : 2567

ประเภทของหลักสูตร : ผลิตภัณฑ์จักสานและสิ่งทอ

หลักการและเหตุผล : จากการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและความต้องการรับเทคโนโลยี พบว่าผู้ประกอบการสินค้าประเภทผ้าทอจำนวนหนึ่งมีความต้องการความรู้ด้านการย้อมสีธรรมชาติในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อให้ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เนื่องจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากสีธรรมชาติส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านเรื่องความเป็น กรด - ด่าง และการตกสี อีกทั้งยังไม่มีวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสีหลากหลายเฉด ซึ่งกระบวนการย้อมสีธรรมชาตินั้นเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคเหนือมีผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่รู้จักอย่าง เช่น ผ้าไทยยวน ผ้าไทลื้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่รู้จักอย่าง เช่น ผ้าแพรวา ผ้าขิด ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าโฮล ผ้ามัดหมี่ และภาคใต้มีผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่รู้จักอย่าง เช่น ผ้ายก เป็นต้น ดังนั้นหากสามารถพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า สามารถก้าวเข้าสู่สนามแข่งขันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้อย่างเข้มแข็ง และสามารถนำเอกลักษณ์ผ้าทอของประเทศออกสู่ผู้บริโภคในระดับสากล กองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงได้จัดหลักสูตร “การพัฒนากรรมวิธีการย้อมสีธรรมชาติ เพื่อให้เกิดมาตรฐานกระบวนการผลิต และการกำหนดคุณสมบัติของวัตถุดิบในการย้อมจากธรรมชาติสำหรับผ้าทอ” เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการย้อมสีธรรมชาติ การเลือกวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และสามารถนำไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ผ้าทอ ทั้งในเรื่องความปลอดภัยในการฟอกย้อมเส้นใย วัตถุดิบที่ให้สี การวัดค่าความเป็น กรด – ด่าง เบื้องต้น และการพัฒนาสมบัติผ้าทอให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและสากล เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการตลาดและการส่งออกให้กับสินค้า OTOP ประเภทผ้าทอของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้

วัตถุประสงค์ : - ผู้ประกอบการผ้าทอสามารถแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ที่มาจากกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ การเลือกวัตถุดิบให้สี เพื่อให้เกิดมาตรฐานกระบวนการผลิต เช่น ความคงทนของสีย้อมธรรมชาติ ความเป็น กรด – ด่าง เป็นต้น - เพื่อผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการเข้าสู่กระบวนการยื่นขอการรับรอง มผช.

คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ด้านผ้าทอ

หลักสูตรการฝึกอบรม : การพัฒนากรรมวิธีการย้อมสีธรรมชาติ เพื่อให้เกิดมาตรฐานกระบวนการผลิต และการกำหนดคุณสมบัติของวัตถุดิบในการย้อมจากธรรมชาติสำหรับผ้าทอ

วิธีการฝึกอบรม : ภาคทฤษฎี - ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน - การทำความสะอาดเส้นใย และการกำจัดของเสียจากการฟอกย้อม - ทฤษฎีเรื่องสีธรรมชาติ - การสกัดสีธรรมชาติจากสัตว์ เช่น ครั่ง - การสกัดสีย้อมจากคราม - การสกัดสีธรรมชาติจากวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ เป็นต้น - การย้อมสีธรรมชาติ และการสร้างเฉดสี - การใช้สารช่วยติดสีอย่างถูกต้อง - การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ผ้าทออย่างง่าย ภาคปฏิบัติ - การทำความสะอาดเส้นใยด้วยวัสดุที่หาได้ง่าย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม - การเตรียมวัตถุดิบในการสกัดสีย้อมจากธรรมชาติ - การสกัดสีธรรมชาติจาก ครั่ง คราม และวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น - การสร้างเฉดสี - การตรวจสอบคุณภาพของสิ่งทออย่างง่าย เช่น การวัดค่าความเป็น กรด – ด่าง และการประเมินความคงทนของสีต่อการซัก

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 6 ส.ค. 67 ถึง 8 ส.ค. 67 รวมระยะเวลาการฝึกอบรม 3 วัน

สถานที่การจัดฝึกอบรม : ที่ทำการกลุ่มทอผ้าก่วยแปรรูปผ้าบ้านสวายสอ ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

แผนที่สถานที่จัดฝึกอบรม : คลิก

อัตราค่าลงทะเบียน : -

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ฟรี

ที่ปรึกษาโครงการ : ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ : กลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นถิ่น กองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ

กำหนดการฝึกอบรม :
วันและเวลารายการวิทยากร

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567

08.30 – 09.00 น.

 

09.00 – 10.00 น.

 

 

10.00 – 17.00 น.

 

ลงทะเบียน

ภาคทฤษฎี

- ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

- การทำความสะอาดเส้นใย และการกำจัดของเสียจากการฟอกย้อม

ภาคปฏิบัติ

- แบ่งกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการ  การทำความสะอาดเส้นใยด้วย

 วัสดุที่หาได้ง่าย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม   

- แบ่งกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการ  การเตรียมวัตถุดิบในการ

  สกัดสีย้อมจากธรรมชาติ

 

 


   น.ส.โสรญา

  

   น.ส.โสรญา

   น.ส.ธัญญภรณ์

   น.ส.จุติมา

   น.ส.ทิพรัตน์

   น.ส.นารีรัตน์

   น.ส.กมลลักษณ์

วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567

08.30 – 09.00 น.

 

09.00 – 10.00 น.

 

 

 

 

 

10.00 – 17.00 น.

 

ลงทะเบียน

ภาคทฤษฎี

- ทฤษฎีเรื่องสีธรรมชาติ

- การสกัดสีย้อมจากคราม

- การสกัดสีธรรมชาติจากสัตว์ เช่น ครั่ง

- การสกัดสีธรรมชาติจากวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น 

  เช่น  ใบไม้ ดอกไม้  เปลือกไม้  เป็นต้น

ภาคปฏิบัติ

- แบ่งกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการ  การสกัดสีธรรมชาติจาก  ครั่ง

  คราม  และวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

- สรุปและวิจารณ์ผล

 

 


   น.ส.จุติมา

   น.ส.ทิพรัตน์

  

 

 

   น.ส.โสรญา

   น.ส.ธัญญภรณ์

   น.ส.จุติมา

   น.ส.ทิพรัตน์

   น.ส.นารีรัตน์

   น.ส.กมลลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567

08.30 – 09.00 น.

 

09.00 – 10.00 น.

 

 

10.00 – 17.00 น.

 

ลงทะเบียน

ภาคทฤษฎี

- การใช้สารช่วยติดสีอย่างถูกต้อง

- การย้อมสีธรรมชาติ และการสร้างเฉดสี

- การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ผ้าทออย่างง่าย

ภาคปฏิบัติ

- แบ่งกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการ  การสร้างเฉดสี

- การตรวจสอบคุณภาพของสิ่งทออย่างง่าย  เช่น  การวัดค่าความ

  เป็น  กรด –  ด่าง  และการประเมินความคงทนของสีต่อการซัก

- สรุปและวิจารณ์ผล

 

 


   น.ส.ธัญญภรณ์

  

 

   น.ส.โสรญา

   น.ส.ธัญญภรณ์

   น.ส.จุติมา

   น.ส.ทิพรัตน์

   น.ส.นารีรัตน์

   น.ส.กมลลักษณ์