โครงสร้างกอง : กองวัสดุวิศวกรรม (วว.)

แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม

1. กลุ่มอำนวยการวัสดุและวิศวกรรม (อก.วว.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการภายในกองให้ได้มาตรฐาน
  • ประสานงานและบริหารจัดการตัวอย่างเพื่อการทดสอบ สอบเทียบในห้องปฏิบัติการตามความต้องการของผู้รับบริการ
  • ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนการพัฒนาและยกระดับความสามารถของห้องปฏิบัติการภายในกอง
  • ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
  • งานธุรการ งานด้านสารบรรณ บุคลากร พัสดุ การเงินงบประมาณ ภายในกองและ ประสานงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกโครงการ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. กลุ่มวัสดุขั้นสูง (วข.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมวัสดุ ทางด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม
  • วิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบ การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมวัสดุ ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
  • วิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมวัสดุ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายแนวทางกรอบยุทธศาสตร์งานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ รวมทั้งการให้บริการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมวัสดุและผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านนวัตกรรมวัสดุและผลิตภัณฑ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

3. กลุ่มวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ (วพ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ทางด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม
  • วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เทคโนโลยีการผลิต เทคนิควิธีทดสอบ และมาตรฐานการทดสอบ ในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • ให้การตรวจสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ รวมทั้งการให้บริการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดีมอบหมาย

4. กลุ่มพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก (ผพ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์พลาสติก ทางด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม
  • วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก เทคโนโลยีการผลิต เทคนิควิธีทดสอบ และมาตรฐานการทดสอบ ในการปรับปรุงคุณภาพพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกให้การตรวจสอบและรับรองคุณภาพพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ รวมทั้งการให้บริการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมพลาสติก
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

5. กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง (ผย.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง ทางด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม
  • วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง เทคโนโลยีการผลิต เทคนิควิธีทดสอบ และมาตรฐานการทดสอบในการปรับปรุงคุณภาพยางและผลิตภัณฑ์ยาง
  • ให้การตรวจสอบและรับรองคุณภาพยางและผลิตภัณฑ์ยาง
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ รวมทั้งการให้บริการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมยาง 
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

6. กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ (สธ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เส้นใยธรรมชาติ ทางด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม
  • วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยธรรมชาติ เทคโนโลยีการผลิต เทคนิควิธีทดสอบ และมาตรฐานการทดสอบ ในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์เส้นใยธรรมชาติ
  • ให้การตรวจสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เส้นใยธรรมชาติ
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ รวมทั้งการให้บริการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเส้นใยธรรมชาติ
  • สอบเทียบความถูกต้องเที่ยงตรงของเครื่องมือและอุปกรณ์วัด ให้กับภาคอุตสาหกรรมเส้นใยธรรมชาติ
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเส้นใยธรรมชาติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดีมอบหมาย

7. กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (วส.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง ทางด้านฟิสิกส์ และฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม
  • วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง เทคโนโลยีการผลิต เทคนิควิธีทดสอบ และมาตรฐานการทดสอบ ในการปรับปรุงคุณภาพผลิตวัสดุก่อสร้าง
  • ให้การตรวจสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ รวมทั้งการให้บริการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย

8. กลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นอ.) มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  • วิจัยและพัฒนา ประดิษฐ์ นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation) รวมถึงเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยสนับสนุนทางด้านประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตของอุตสาหกรรมและภาคบริการ และการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
  • ส่งเสริมคุณภาพของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาข้อกำหนดคุณลักษณะและวิธีการทดสอบที่สำคัญและเหมาะสมเป็นมาตรฐาน
  • ให้การตรวจสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ รวมทั้งการให้บริการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่อธิบดีมอบหมาย

กองวัสดุวิศวกรรม (วว.)

หน่วยงานในสังกัด