11.เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

1.หากต้องการทดสอบแอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ มอก. 950-2547 ต้องดำเนินการอย่างไร?

การส่งตัวอย่างแอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงไปทดสอบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการแบ่งเป็น 2 กรณี

  • กรณีที่ผู้ผลิตต้องการนำผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพื่อประกอบการขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย มอก. จาก สมอ.
  • กรณีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายแล้ว และถูก สมอ. สุ่มตรวจตามระยะเวลาที่กำหนด   

           ทั้ง 2 กรณีต้องเตรียมตัวอย่าง ดังนี้

  • ปริมาณตัวอย่างรวมต้องไม่น้อยกว่าชุดละ 500 กรัม จำนวน 2 ชุด (ในแต่ละชุด  

    ประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ภาชนะบรรจุ)

  • ตัวอย่างต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทสามารถป้องกันการระเหยได้
  • มีฉลากชี้บ่ง ชื่อหรือเครื่องหมายของตัวอย่าง วันที่ผลิต น้ำหนักสุทธิ

รายการที่ให้บริการทดสอบแอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง

 

รายการ

ค่าธรรมเนียม

ทั่วไป

สมอ.

1.

ลักษณะทั่วไป (Appearance)

100

100

2.

ค่าความร้อน (Gross calorific value)

800

500

3.

เมทานอลในส่วนที่กลั่นได้ (Methanol in distillate)

600

600

4.

ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose)

300

300

5.

 การจุดติดไฟ 

100

100

6.

ความคงสภาพ (Stability)

150

150

7.

ระยะเวลาติดไฟ (Time of ignitability)

150

150

8.

น้ำหนักสุทธิ (Net weight)

100

100

9.

เสถียรภาพต่อการเก็บ (Shelf-life)

1,400

1,100

หมายเหตุ:  1. ค่าธรรมเนียมทั่วไปเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ผลิตส่งตรวจด้วยตนเอง
           2. ค่าธรรมเนียม สมอ. เป็นค่าธรรมเนียมที่ สมอ. สุ่มเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตมาส่งตรวจ

 

ระยะเวลาแล้วเสร็จ :  ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากห้องปฏิบัติการรับตัวอย่าง ยกเว้นรายการเสถียรภาพต่อการเก็บ จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ผลิต (ตามข้อกำหนดของ มอก.)

2.ต้องเตรียมตัวอย่างเชื้อเพลิงแข็งชีวมวล (แกลบ ชานอ้อย กะลาปาล์ม เศษไม้ 2.ถ่านอัดแท่ง ฯลฯ) อย่างไร ในการส่งให้ห้องปฏิบัติการ วศ. ทดสอบ?

ตัวอย่างชีวมวลที่จะส่งทดสอบควรมีสภาพแห้ง เพราะตัวอย่างที่มีเปียกหรือมีความชื้นสูงบางครั้งเกิดการบูดเน่าหรือขึ้นราก่อนที่ห้องปฏิบัติการจะทำการทดสอบ และควรตัดหรือบดตัวอย่างให้มีขนาดเล็ก (ห้องปฏิบัติการไม่มีเครื่องบดขนาดใหญ่) โดยเตรียมตัวอย่างประมาณ 0.5 กก. บรรจุในภาชนะที่แห้งและปิดสนิท พร้อมปิดฉลากระบุชื่อตัวอย่างให้ตรงกับที่ระบุในใบคำร้องฯ

3.ห้องปฏิบัติการ วศ. สามารถตรวจสอบสมบัติอะไรในตัวอย่างประเภทเชื้อเพลิงแข็งชีวมวล/ถ่านอัดแท่ง?

ห้องปฏิบัติการ วศ. สามารถทดสอบปริมาณ ความชื้น (Moisture) เถ้า (Ash) สารที่ระเหยได้ (Volatile matter) คาร์บอนคงตัว (Fixed carbon) คาร์บอน (Carbon) ไฮโดรเจน (Hydrogen) ไนโตรเจน (Nitrogen) กำมะถัน (Sulfur) ออกซิเจน (Oxygen) ค่าความร้อนแบบกรอส (Gross calorific value) ค่าความร้อนแบบเนท (Net calorific value)