1.เกี่ยวกับงานพัสดุ

1.การประกวดราคาเมื่อปรากฏว่าผลการประกวดราคาสูงต่ำกว่า 15% ของวงเงินงบประมาณใครต้องชี้แจง สตง. ?

คณะกรรมการกำหนดราคากลาง จะต้องดำเนินการชี้แจงเหตุผลผ่านหัวหน้าส่วนราชการเพื่อแจ้ง สตง.

อ้างอิงจาก : ปัญหาจากการสัมมนาทางวิชาการด้านพัสดุ สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย

2.หน่วยงานไม่มีที่เก็บพัสดุ แต่จำเป็นต้องจัดซื้อคราวละมากๆ จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ?

หน่วยงานไม่มีที่เก็บพัสดุ แต่จำเป็นต้องจัดซื้อคราวละมากๆ จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ? เพราะคณะกรรมการไปตรวจรับที่คลังผู้ขายไม่ได้ หรือจะฝากผู้ขายไว้ก็ไม่ได้

ในกรณีที่หน่วยงานไม่มีที่เก็บพัสดุ เมื่อมีความจำเป็นต้องจัดซื้อคราวละมากๆ ควรจะ ต้องดำเนินการจัดหาที่มีเงื่อนไขการส่งมอบพัสดุตามปริมาณสถานที่และวันเวลา ที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อแต่ละคราว ซึ่งหน่วยงานผู้ซื้อจะออกใบสั่งซื้อมอบให้แก่ผู้ขายล่วงหน้า ตามกำหนดเวลา ที่ตกลงกันตามรูปแบบ สัญญาจะซื้อจะขายคงที่ไม่จำกัดปริมาณ

อ้างอิงจาก : ปัญหาจากการสัมมนาทางวิชาการด้านพัสดุ สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย

3.การตรวจรับพัสดุประจำปีมีพัสดุบางรายการขาดหายไปพัสดุจะทำอย่างไร ?

การตรวจรับพัสดุประจำปีมีพัสดุบางรายการขาดหายไปกรรมการจึงไม่ยอมรับหรือบันทึกว่ามีครบถ้วนงานพัสดุจะทำอย่างไร ?

งานพัสดุ ควรต้องรายงานข้อเท็จจริงให้หัวหน้าส่วนราชการได้รับทราบ เพื่อให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ตามระเบียบฯ ข้อ 156

อ้างอิงจาก : ปัญหาจากการสัมมนาทางวิชาการด้านพัสดุ สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย

4. การจ้างเหมาบริการ หากมอบหมายให้ปฏิบัตินอกเวลา จะเบิกค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการได้หรือไม่ ?

เบิกไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง

อ้างอิงจาก : ปัญหาจากการสัมมนาทางวิชาการด้านพัสดุ สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย

5การจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคา จะต้องขออนุมัติ การจัดหาทุกครั้งหรือไม่ ?

ต้องได้รับอนุมัติให้จัดหาทุกครั้ง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 27 และข้อ 29

อ้างอิงจาก : ปัญหาจากการสัมมนาทางวิชาการด้านพัสดุ สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย